- Details
- Category: CSR
- Published: Friday, 02 October 2015 00:13
- Hits: 22089
'ตลาดยิ่งเจริญ' จับมือ ม.เกษตรฯ เดินหน้าแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม
ยกกระดับเป็น Green Market สู่ตลาดสดต้นแบบของเมืองไทยใน 3-5 ปี
'ตลาดยิ่งเจริญ' จับมือ ม.เกษตรฯ เดินหน้าแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมจัดทำ“โครงการสร้างนวัตกรรมสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาตลาดยิ่งเจริญ” (Environmental Innovation For Development of Ying Charoen Market)” หวังเป็นต้นแบบ และศูนย์การเรียนรู้ เพื่อยกระดับเป็นตลาดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือ “Green Market” ตั้งเป้าภายใน 3 - 5 ปี พัฒนามาตรฐานสู่“ตลาดสดต้นแบบของเมืองไทย” พร้อมรับมือผลกระทบจากการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียว ร่วมมือหน่วยงานราชการในเขตพื้นที่บางเขนและใกล้เคียงแก้ปัญหาการจราจร ฝุ่นละออง และมลภาวะเป็นพิษ
นางณฤมล ธรรมวัฒนะ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท สุวพีร์ ธรรมวัฒนะ จำกัด และบริษัทในเครือ เปิดเผยว่า ปัจจุบันปัญหาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติเป็นปัญหาสำคัญสำหรับประเทศไทยและระดับโลก เพราะก่อให้เกิดผลกระทบในวงกว้างที่เชื่อมโยงถึงกัน เช่น ปัญหามลพิษ ปัญหาอุทกภัย ปัญหาภัยแล้ง โดยสาเหตุของปัญหา มาจากการใช้ทรัพยากร การขาดความตระหนักรู้ การขาดคุณธรรมจริยธรรม การขาดความรู้ การรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และการใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม ตลาดยิ่งเจริญได้ตระหนักถึงความสำคัญในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวและมุ่งหวังเป็นต้นแบบ และศูนย์การเรียนรู้ เพื่อการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม และกระตุ้นการมีส่วนร่วมของประชาคมตลาด และชุมชนโดยรอบหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
ทั้งองค์กรภาครัฐ ภาคสังคม รวมถึงภาคประชาชน เพื่อร่วมกันป้องกัน แก้ไขปัญหา และจัดการไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตได้อย่างยั่งยืน จึงได้จัดทำโครงการความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ภายใต้ชื่อ “โครงการสร้างนวัตกรรมสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาตลาดยิ่งเจริญ (Environmental Innovation For Development of Ying Charoen Market)” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างการรับรู้และส่งเสริมความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมสู่สมาชิกในตลาดยิ่งเจริญ และกระตุ้นการมีส่วนร่วมของประชาชนที่อยู่บริเวณชุมชนโดยรอบ หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในองค์กรเพื่อร่วมกันป้องกัน แก้ไขปัญหา และจัดการไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของชุมชนโดยรอบตลาดได้อย่างยั่งยืน โดยมีเป้าหมายสำคัญเพื่อยกระดับเป็น “ตลาดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม” หรือ “Green Market” และก้าวสู้การเป็น “ตลาดสดต้นแบบของเมืองไทย” ให้ได้ภายใน 3-5 ปีนี้
ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวมีแนวทางดำเนินงาน 4 ขั้นตอนสำคัญ คือ การประเมินสถานภาพสิ่งแวดล้อมและการใช้พลังงานรวมทั้งสาธารณูปโภค, การสร้างการรับรู้และส่งเสริมความรู้ด้วยนวัตกรรมสื่อเพื่อสิ่งแวดล้อมสู่สมาชิกในสังคม, การให้คำปรึกษาและสร้างนวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม และการรวบรวมติดตามประเมินผลต้นแบบนวัตกรรมการพัฒนาสิ่งแวดล้อมในการเป็นตลาดสีเขียว มีระยะเวลาดำเนินโครงการเบื้องต้น 1 ปี ระหว่าง ก.ย.58 – ก.ย.59 อย่างไรก็ดีนอกจากความร่วมมือดังกล่าวแล้ว ยังได้มีการจัดเสวนาในหัวข้อ “คิดสู่ปฏิบัติ เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน อย่างมีส่วนร่วม” ถือเป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือระหว่างตลาดยิ่งเจริญ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และองค์กรภาครัฐ ภาคสังคม รวมถึงภาคประชาชน
“ด้วยตลาดยิ่งเจริญเป็นศูนย์รวมการค้าขายกลางใจเมืองซึ่งแวดล้อมไปด้วยชุมชนและองค์กรเป็นจำนวนมาก จึงมีความร่วมมือกันอย่างมีส่วนร่วม ระหว่างตลาดยิ่งเจริญกับทุกภาคส่วน อาทิ สถาบันการศึกษา ภาคประชาชน สมาคมหรือองค์กรการค้า หน่วยงานกรุงเทพมหานคร และหน่วยงานภาครัฐต่างๆ ซึ่งหลายฝ่ายมีส่วนร่วมกันในการศึกษาปัญหา หาสาเหตุ คิดสร้างสรรค์เพื่อการแก้ไขปัญหา และการป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนร่วมกัน เพราะปัจจุบันผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมเป็นผลกกระทบในวงกว้างต่อทุกภาคส่วน จึงจำเป็นที่หลายฝ่ายควรร่วมมือกันในการระดมความคิด สู่การปฏิบัติจริง เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน อันจะนำมาซึ่งคุณภาพชีวิตและสภาพแวดล้อมที่ดี รวมทั้งการพัฒนาอย่างยั่งยืนตลอดไป” นางณฤมล กล่าว
อย่างไรก็ดีในช่วงที่ผ่านมาตลาดยิ่งเจริญให้ความสำคัญกับเรื่องการจัดการสิ่งแวดล้อมภายในตลาดและบริเวณชุมชนโดยรอบตลาดมาโดยตลอด ซึ่งนโยบายหลักจะมุ่งเน้นเรื่องความสะอาดด้านสุขอนามัย เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค เช่น ส่งเสริมให้พ่อค้าแม่ค้าใช้ “ภาชีวะ” บรรจุอาหาร เพื่อลดโลกร้อน การรณรงค์กำจัดและแยกขยะ การตรวจสอบสินค้าที่ปลอดสารพิษ และส่งเสริมด้านอาหารปลอดภัยและการใช้ QR Code กับสินค้าเพื่อทดสอบย้อนกลับถึงแหล่งที่มาของสินค้า ตลอดจนดูแลบำบัดน้ำเสียปรับสภาพน้ำในลำคลองให้มีคุณภาพดีขึ้น สามารถเป็นเส้นทางคมมนาคมทางน้ำได้อีกเส้นทางหนึ่งเพื่อเป็นทางเส้นทางเลี่ยงรถติดได้ และร่วมมือกับองค์การต่าง ๆ ในการขุดลอกคลองเพื่อแก้ปัญหาด้านสาธารณสุขต่างๆ และป้องกันน้ำท่วม รวมทั้งแนวทางการแก้ปัญหาเรื่องฝุ่นละออง จากผลกระทบการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียว ที่มีเส้นทางผ่านหน้าตลาดยิ่งเจริญอีกด้วย
ผศ.ดร. สุจิณณา กรรณสูตร ผู้แทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า ตลาดยิ่งเจริญเป็นองค์กรที่มีส่วนสำคัญในการเป็นต้นแบบในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม และกระตุ้นการมีส่วนร่วมของประชาคมตลาดและชุมชนโดยรอบหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในองค์กรเพื่อร่วมกันป้องกันแก้ไขปัญหา และจัดการไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของประชาคมตลาด และชุมชนโดยรอบตลาดได้อย่างยั่งยืน โดยความร่วมมือกันในครั้งนี้ประโยชน์ที่จะได้รับ คือ จะทราบถึงสถานภาพด้านสิ่งแวดล้อม ทราบข้อมูลการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ ได้แนวทางในการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน มีการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมได้อย่างรวดเร็ว เป็นองค์กรที่รับผิดชอบต่อสังคม CSR และสิ่งแวดล้อม เป็นต้น สำหรับกลุ่มเป้าหมายของโครงการการนี้ ประกอบด้วย ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ ผู้ประกอบการร้านค้า ลูกค้าของตลาด ตัวแทนสมาชิกในชุมชนโดยรอบ และหน่วยงานต่าง ๆที่เกี่ยวข้อง
สำหรับ แนวทางและระยะเวลา 1 ปี จะมีการการประเมินสถานภาพสิ่งแวดล้อมของตลาดยิ่งเจริญโดยการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์สาเหตุปัญหาสิ่งแวดล้อมทั้งในปัจจุบันและย้อนหลังไป 5 ปี และสร้างการรับรู้ด้านสิ่งแวดล้อมสู่สมาชิกในตลาดยิ่งเจริญ ผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงาน ผู้ประกอบการ/ร้านค้า และลูกค้า ตลอดจนให้คำปรึกษาการจัดการสิ่งแวดล้อม คำแนะนำ การแก้ไขปัญหา และข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับตลาด ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และทำการรวมรวม ติดตามผล เก็บข้อมูลสถิติสิ่งแวดล้อมรายเดือนของตลาดยิ่งเจริญ ระหว่าง ก.ย.58 – ก.ย.59
ด้านพันตำรวจโท พิษณุ โกษิยวัฒน์ รองผู้กำกับการจราจร สถานีตำรวจนครบาลบางเขน กล่าวถึง ผลกระทบการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียว นอกจากเรื่องของฝุ่นละออง และปัญหามลภาวะเป็นพิษ และที่เกิดจาการก่อสร้างแล้ว ตลาดยิ่งเจริญได้ให้ความสำคัญและสร้างความเข้าใจกับกลุ่มคู่ค้าในตลาดและผู้มาจับจ่ายใช้สอยถึงเรื่องรายละเอียดของเส้นทางการจราจร โดยขณะนี้มีเส้นทางหลายเส้นทางที่เป็นเส้นทางลัดเข้าสู่ถนนพหลโยธิน เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหารถติด ประกอบด้วย 1.เส้นทาง ถ.พหลโยธิน – ถ.วิภาวดี (ทางเข้ากองทัพอากาศทางเข้าที่ 1 ทางลงสะพานใหม่มุ่งสู่ถนนวิภาวดีออกถ.คลังสินค้าข้างเจ๊เล้ง 2.เส้นทาง ถ.พหลโยธิน–ถ.วิภาวดี (ทางเข้ากองทัพอากาศทางเข้าที่ 2 แยกคปอ. มุ่งสู่ ถ.วิภาวดีออกแยก 8 แฉก) 3.เส้น ถ.พหลโยธิน-สายไหม, เพิ่มสิน (วิ่งทางเข้าแยกกองทัพประตู 1 มุ่งสู่เส้นเลียบคลองเข้าสู่ถนนเพิ่มสิน และ ถ.สายไหม ลัดที่ซอยสายไหม 39 ออกถ.ลำลูกกา) 4.เส้นถ.พหลโยธิน-สุขาภิบาล 5 - ถ.วัชรพล (วิ่งเข้าถนนตัดใหม่ข้างบิ๊กซี สะพานใหม่มุ่งสู่ถ.สุขาภิบาล 5 ถ.วัชรพล ออก ถ.รามอินทรา)