- Details
- Category: CSR
- Published: Sunday, 28 June 2015 21:17
- Hits: 3269
จากรายงานขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ที่ให้ข้อมูลว่า ขณะนี้มีประชากรโลกอยู่ในภาวะขาดแคลนอาหารประมาณ 1,000 ล้านคน ฉะนั้น เราจึงต้องมีการเตรียมความพร้อม เริ่มศึกษาเรื่อง demand size และ คิดค้นนวัตกรรมด้านอาหารที่เหมาะกับผู้บริโภคหลายช่วงวัย อย่างเช่น อาหารผู้สูงอายุ การเข้าถึงอาหาร การจัดการอาหารส่วนเกินและเพิ่มเติมส่วนที่ขาด สร้างการผลิตที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและดูแลความหลากหลายทางชีวภาพ เพราะบริษัทจะเติบโตเพียงลำพังไม่ได้ ต้องอาศัยการเดินไปบนเส้นทางเดียวกันกับสังคมและสิ่งแวดล้อมด้วย
เทรนด์การทำซีเอสอาร์ในระดับโลกปี 2558 ในธุรกิจอาหารนอกเหนือจากเรื่องของการผลิตอาหารปลอดภัยแล้วนั้น ยังต้องคำนึงการมีส่วนรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ทุกวันนี้สิ่งที่หลายคนเป็นกังวล คือ มีการบริโภคที่เป็นส่วนเกิน (food waste) สูง ในขณะที่ประชากรอีกจำนวนมากต้องประสบปัญหาทุพโภชนาการและขาดแคลนอาหาร ในฐานะผู้นำในธุรกิจอาหาร บริษัทได้เริ่มศึกษาการผลิตอาหารที่มีความยั่งยืนมากขึ้น
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาจะเห็นว่า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เป็นหนึ่งในบริษัทชั้นนำที่ให้ความสำคัญและดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม หรือ ซีเอสอาร์มาโดยตลอด เพราะด้วยบริบทความยั่งยืนที่ถือเป็นกระแสโลกและความท้าทายของภาคธุรกิจ ทำให้บริษัทได้ทบทวนและพัฒนากรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์การดำเนินงานซีเอสอาร์สู่ความยั่งยืน เพื่อให้มั่นใจได้ว่าการดำเนินงานซีเอสอาร์ขององค์กรตอบรับแนวโน้มและการเปลี่ยนแปลง อยู่บนแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน รวมถึงตอบโจทย์ความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย ล่าสุดบริษัทฯได้นำแนวทางสากล GRI ฉบับ G4 มาประยุกต์ใช้ในรายงานความยั่งยืนของบริษัท และเตรียมความพร้อมเข้าร่วมประเมิน DJSI ในปี 2558 โดยมองว่าพลังบุคลากรจะสร้างพลังซีเอสอาร์องค์กรให้แข็งแกร่ง
เป้าหมายของซีพีเอฟ คือ การเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน ภายใต้วิสัยทัศน์ “ครัวของโลก” โดยบริษัทยังคงเดินหน้าแผนซีเอสอาร์สู่ความยั่งยืนตามยุทธศาสตร์ 3 เสาหลัก คือ อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และ ดินน้ำป่าคงอยู่ ผ่านการขับเคลื่อนทั้งในกระบวนการดำเนินธุรกิจ โดยการจัดตั้งคณะทำงานชุดต่างๆ อาทิ คณะทำงาน Supply Chain Management และ คณะทำงานโครงการผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืน และ คณะทำงานโครงการเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
บริษัทมีตัวแทน CSR Leader จากทุกหน่วยธุรกิจที่ช่วยขับเคลื่อนแผนซีเอสอาร์ไปสู่เป้าหมายที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น เพราะ CSR Leader เหล่านี้จะเป็นผู้รายงานความคืบหน้าของ CSR Project ตั้งแต่กระบวนการคิด การวางเป้าหมาย การจัดทำแผนกิจกรรมที่มีการวัดผลมากขึ้น ผ่านกลยุทธ์ ขีด-คิด-ร่วม-ข่าย คือ ใช้ขีดความสามารถของตัวเองบวกกับแนวคิดความยั่งยืน ผสานความร่วมมือระหว่างบริษัทและชุมชน ควบคู่ไปกับการจับมือกับเครือข่ายความยั่งยืน อาทิ อาหารมั่นคง นอกจากการบริโภคอาหารที่ปลอดภัยแล้ว ยังต้องคำนึงถึงการเข้าถึงอาหารของคนทุกกลุ่มด้วย หรือ ดินน้ำป่าคงอยู่ เราได้วางยุทธศาสตร์ป่าชายเลน โดยดึงการมีส่วนร่วมของ third party โดยเฉพาะชุมชนโดยรอบในพื้นที่ตั้งของฟาร์มหรือโรงงาน มีเป้าหมายที่จะตอบแทนคุณระบบนิเวศ” นายวุฒิชัย กล่าว
ธุรกิจขององค์กรจะเติบโตยั่งยืนได้นั้น บริษัทต้องให้ความสำคัญตลอดห่วงโซ่การผลิต โดยเฉพาะธุรกิจของซีพีเอฟครอบคลุมตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่บริษัทจะต้องเข้าไปช่วยพัฒนาคู่ค้า หรือ ซัพพลายเออร์ ให้เดินไปด้วยกัน เติบโตไปด้วยกัน โดยในปีหน้า ซีพีเอฟเตรียมที่จะถ่ายทอด “นโยบายการจัดหาอย่างยั่งยืนและแนวปฏิบัติสำหรับคู่ค้าธุรกิจไปยังกลุ่มคู่ค้าธุรกิจหลักของบริษัท” ตามเป้าหมายส่งเสริมคู่ค้าธุรกิจให้เติบโตไปด้วยกัน (Win-Win Partnership)
นอกจากนี้ การเปิดเผยผลการดำเนินงานซีเอสอาร์ ถือเป็นอีกเรื่องที่ซีพีเอฟให้ความสำคัญ และ บทพิสูจน์ความตั้งใจในการทำงานด้านซีเอสอาร์ของบริษัทตามแนวทางความยั่งยืน โดยได้จัดทำมาอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 ซึ่งในปีนี้เราได้นำแนวทางสากลของ Global Reporting Initiative (GRI) G.4 ซึ่งเป็นเวอร์ชั่นล่าสุดมาใช้ โดยเป็นการเปิดเผยข้อมูลที่เป็นประเด็นความยั่งยืนที่สำคัญที่สุดของบริษัทรวมถึงในปี 2558 บริษัทเตรียมที่จะเข้าร่วมการประเมินของ Dow Jones Sustainability Indices หรือ DJSI ซึ่งเป็นดัชนีจัดอันดับผลการปฏิบัติงานด้านความยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลก จะทำให้ทราบจุดแข็งและจุดอ่อนของบริษัทในแต่ละมิติทั้งด้าน เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อที่จะนำผลการประเมินมาพัฒนาและปรับปรุงการบริหารจัดการองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นในระยะยาว
จริงๆ แล้วเรื่องของซีเอสอาร์นั้นเริ่มได้ทุกวันที่ตัวเรา เพราะซีเอสอาร์ ก็คือ Responsibility หรือ ความรับผิดชอบ สิ่งที่เรารับผิดชอบทุกวัน นั่นก็ถือว่า เราได้ทำซีเอสอาร์แล้ว ทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุด องค์กรอาจจะเป็นแค่วัตถุ แต่พนักงานนี่ละจะหลอมรวมองค์กรให้มีชีวิต ช่วยสร้างชื่อเสียงให้เป็นที่ยอมรับรู้จัก หากเราทำหน้าที่ตามจิตสำนึกที่ดี ลูกค้าเราก็จะได้รับสิ่งที่มีคุณค่าด้วย เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมก็จะเดินหน้าไปด้วยกันอย่างยั่งยืน