WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

5270 GPSC Worawat

GPSC ปั้นเยาวชนไทยแข่งขันวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์โอลิมปิก เพิ่มองค์ความรู้นวัตกรรมพลังงานเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนในเวทีโลก

          GPSC ส่งเสริมเยาวชนไทย ร่วมแข่งขัน “วิทยาศาสตร์นิวเคลียร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ” ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ณ กรุงมะนิลา ฟิลิปปินส์ ระหว่าง 31 ก.ค. - 7 ส.ค. 2567 ขยายองค์ความรู้ ก้าวทันเทคโนโลยี และนวัตกรรมพลังงาน วางรากฐาน สร้างความมั่นคงทางพลังงาน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน 

          นายวรวัฒน์ พิทยศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC แกนนำนวัตกรรมธุรกิจไฟฟ้ากลุ่ม ปตท. เปิดเผยว่า GPSC ได้เล็งเห็นความสำคัญในการศึกษาพลังงานทางเลือกชนิดต่างๆ นอกเหนือจากการศึกษาความเป็นไปได้ในเทคโนโลยีไฮโดรเจน (Hydrogen) และเทคโนโลยีดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Capture & Storage - CCS) ที่ดำเนินการอยู่ เพื่อจะนำมาสู่การเสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงาน โดยเฉพาะพลังงานสะอาดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม GPSC จึงได้สนับสนุนการดำเนินโครงการ “การแข่งขันวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ” ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ครั้งที่ 1 ร่วมกับสมาคมนิวเคลียร์แห่งประเทศไทย (สนท.) โดยจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 31 กรกฎาคม ถึง 7 สิงหาคม 2567 ณ กรุงมะนิลา ประเทศสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ เพื่อเพิ่มโอกาสในการขยายผลให้การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ สู่การเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจในด้านการพัฒนาเทคโนโลยี และนวัตกรรมด้านพลังงานอีกแนวทางหนึ่ง ทั้งนี้ กำหนดการประกาศรับสมัครเยาวชนเพื่อสอบคัดเลือกในเดือนมีนาคม 2567 จะประกาศบนเว็บไซด์ของสมาคมนิวเคลียร์แห่งประเทศไทย www.nst.or.th เร็วๆ นี้ 

          “การสนับสนุนการแข่งขันทางวิชาการดังกล่าว เป็นหนึ่งในแนวทางของการดำเนินธุรกิจของกลุ่ม GPSC ที่จะสร้างเสริมองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีพลังงานให้กับเยาวชนในมิติต่างๆ โดยเฉพาะการใช้พลังงานสะอาดที่เป็นประโยชน์กับประเทศ เนื่องจากปัจจุบันมีความหลากหลายของชนิดพลังงาน เป็นการสร้างโอกาสให้กับเยาวชนไทยในระดับมัธยมศึกษาได้เข้าร่วมแข่งขันทางวิชาการในเวทีระดับสากล เพื่อพัฒนาความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนิวเคลียร์ในทางสันติ นับเป็นเวทีที่นำความรู้ทางวิชาการไปประยุกต์ใช้ เยาวชนไทยจะได้รับการแลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์กับเยาวชนนานาประเทศ เป็นการยกระดับการพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้านพลังงานนิวเคลียร์ร่วมกัน ในการสร้างความมั่นคงด้านพลังงานอย่างยั่งยืน ซึ่งการส่งเสริมเยาวชนในประเทศ ย่อมเป็นการพัฒนาทรัพยากรบุคคลที่มีความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาประเทศต่อไปในอนาคต” นายวรวัฒน์กล่าว 

          พลังงานนิวเคลียร์ถือเป็นหนึ่งในพลังงานที่มีประสิทธิภาพ และเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญในอนาคต เนื่องจากสามารถผลิตไฟฟ้าได้อย่างมีเสถียรภาพ ลดความผันผวนของราคาเชื้อเพลิง และที่สำคัญคือไม่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกขณะเดินเครื่อง ฯลฯ ซึ่งถือเป็นหนึ่งในพลังงานที่คาดว่าจะสามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ หรือ Net Zero Emission ได้ตามเป้าหมายของหลายๆ ประเทศ และหลายๆ องค์กรชั้นนำ ที่กำลังให้ความสำคัญกันอยู่ในขณะนี้ ดังนั้น ต้องหาแนวทางเสริมสร้างองค์ความรู้และเทคโนโลยีด้านต่างๆ ให้เยาวชนตระหนัก และมีความเข้าใจในพลังงานดังกล่าวอย่างลึกซึ้ง โดยเฉพาะการศึกษาความก้าวหน้าในเทคโนโลยีใหม่ๆ ด้านนิวเคลียร์ ให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ด้านพลังงาน ซึ่งจะเป็นพื้นฐานในการสร้างความเข้าใจเชิงบวกให้กับสังคมไทยในระยะยาว และเป็นแรงบันดาลใจให้เยาวชนในการพัฒนาพลังงานแห่งอนาคต นำมาสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านพลังงานที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนาประเทศ 

          ปัจจุบันเทคโนโลยีด้านพลังงานนิวเคลียร์ มีความก้าวหน้าด้านนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเทคโนโลยี SMR (Small Module Reactor) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์โมดูลาร์ขนาดเล็ก ที่สามารถผลิตไฟฟ้าสูงสุดไม่เกิน 300 เมกะวัตต์ต่อเครื่อง ให้ความสำคัญและต่อยอดในมาตรฐานความปลอดภัยให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยปัจจุบัน สาธารณรัฐประชาชนจีนและประเทศรัสเซียได้ใช้เทคโนโลยีดังกล่าวในการผลิตไฟฟ้าเชิงพาณิชย์แล้ว รวมถึงอีกหลายประเทศทั่วโลกต่างให้ความสนใจกับเทคโนโลยี SMR ดังกล่าวเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีพลังงานที่สำคัญต่อการลดภาวะโลกร้อน โดยล่าสุด สหภาพยุโรปเตรียมเปิดตัวพันธมิตรอุตสาหกรรมเกี่ยวกับเทคโนโลยี SMR เดินหน้าความร่วมมือก่อสร้างทั่วทวีป เพื่อเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 90% ในปี 2583 (ค.ศ. 2040)

 

 

2799

Click Donate Support Web 

AXA 720 x100

Banner GPF720x100 PX

MTL 720x100

kbank 720x100 66

วิริยะ 720x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100

ais 720x100

QIC 720x100

gen 720x100

CKPower 720x100

TOA 720x100

SME 720x100 66

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!