- Details
- Category: CSR
- Published: Saturday, 29 April 2023 19:49
- Hits: 1532
ไทยยูเนี่ยนลงนามสัญญาสาธารณะร่วมปกป้องสัตว์น้ำที่เสี่ยงต่อการสูญพันธ์ พร้อมเดินหน้าเชิญชวนภาคธุรกิจเข้าร่วม
แคธริน โนวัค ผู้อำนวยการด้านการตลาดทั่วโลก องค์กร SFP และ อดัม เบรนนัน ผู้อำนวยการกลุ่มด้านความยั่งยืน ของกลุ่มไทยยูเนี่ยน
ไทยยูเนี่ยน ผู้ผลิตอาหารทะเลรายใหญ่ของโลก ลงนามร่วมกับองค์กรการประมงเพื่อความยั่งยืน หรือ Sustainable Fisheries Partnership (SFP) เป็นบริษัทแรก เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการปกป้องสัตว์น้ำที่เสี่ยงสูญพันธุ์ (Endangered, Threatened and protected; ETP) อันมาจากปัญหาการจับติดสัตว์น้ำที่ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมาย(bycatch) และลดความเสี่ยงโดยเพิ่มการตรวจสอบโดยผู้สังเกตการณ์ 100% สนับสนุนนวัตกรรมและวิทยาศาสตร์ เพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในห่วงโซ่อุปทาน พร้อมรายงานผลต่อสาธารณะ
“การที่ไทยยูเนี่ยนได้ลงนามในสัญญานี้กับทาง SFP เป็นบริษัทแรกนับเป็นความภาคภูมิใจของเรา พร้อมทั้งขอเชิญชวนให้บริษัทอาหารทะเลอื่นๆ เข้าร่วมในการทำสัญญานี้ด้วยกันกับไทยยูเนี่ยน เพื่อให้เป้าหมายในการป้องกันสัตว์น้ำที่เสี่ยงสูญพันธ์ประสบความสำเร็จสูงสุดและช่วยกันฟื้นฟูชีวิตสัตว์ทะเลที่อยู่ในอันตราย” อดัม เบรนนัน ผู้อำนวยการกลุ่มด้านความยั่งยืน ของกลุ่มไทยยูเนี่ยน กล่าว
เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ไทยยูเนี่ยนได้ประกาศจุดยืนในการจัดหาวัตถุดิบจากเรือประมงที่มีการปฏิบัติที่ดีเพื่อปกป้องสัตว์น้ำจากปัญหาการจับติดสัตว์น้ำที่ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมาย (bycatch) ทั้งนี้ ไทยยูเนี่ยนได้อ้างอิงผลงานวิจัยขององค์กรการประมงเพื่อความยั่งยืน หรือ Sustainable Fisheries Partnership (SFP) ในเรื่องของความเสี่ยงต่อฉลาม นกและเต่าทะเล รวมถึงสัตว์ทะเลชนิดๆ อื่น จากการประมงที่ส่งวัตถุดิบให้กับบริษัท และผลการวิเคราะห์ของบริษัท Key Traceability ที่ตรวจสอบโครงการพัฒนาประมงทูน่าของไทยยูเนี่ยนและแหล่งประมงอื่นๆ ที่มีความเสี่ยงสูง
“เป็นเรื่องยอดเยี่ยมที่ไทยยูเนี่ยนให้ความสำคัญและเคลื่อนไหวเรื่องนี้ แต่การลดปัญหาการจับติดสัตว์น้ำที่ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมาย ในเชิงพาณิชย์จะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อธุรกิจทั้งหมดร่วมมือและมุ่งมั่นไปในทิศทางเดียวกัน โดย SFP ตั้งเป้าว่าภายในวันทะเลโลก หรือ World Oceans Day ที่จะถึงในเดือนมิถุนายนนี้จะต้องมีบริษัทฯ เข้าร่วมลงนามอีก 10 บริษัท เราจึงขอเชิญชวนบริษัทอาหารทะเลอื่นๆ มาร่วมลงนามในข้อตกลงนี้” แคธริน โนวัค ผู้อำนวยการด้านการตลาดทั่วโลก องค์กร SFP กล่าว
ไทยยูเนี่ยนมีการตรวจสอบการจับสัตว์น้ำที่ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายเป็นส่วนหนึ่งของโครงการคุ้มครองสัตว์ทะเลที่องค์กร SFP จัดขึ้น นับเป็นโครงการระดับสากล ที่เป็นความพยายามของภาคอุตสาหกรรมในการแก้ไขปัญหาสัตว์ทะเลหายากที่ถูกจับในการทำประมง ทางองค์กร SFP ได้พิจารณาและประเมินแหล่งที่มาของวัตถุดิบที่ไทยยูเนี่ยนใช้วัดความเสี่ยงด้านความยั่งยืนของวัตถุดิบนั้นๆ พร้อมทั้งเสนอมาตรการที่จะช่วยลดการจับสัตว์น้ำที่ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายให้ได้ผลมากที่สุด
องค์กร SFP ขอเชิญชวนบริษัทอาหารทะเลที่สนใจสามารถสอบถาม พร้อมเรียนรู้ข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อปกป้องสัตว์น้ำจากปัญหาการจับติดสัตว์น้ำที่ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายร่วมกันได้
A4983