- Details
- Category: CSR
- Published: Monday, 20 March 2023 16:21
- Hits: 1842
ทียูเดินหน้าเรียกร้องให้ฟื้นฟูสัตว์น้ำเสี่ยงสูญพันธุ์
รายงานจากองค์กรการประมงเพื่อความยั่งยืนพบการประมงทูน่าแบบเบ็ดราวสร้างความสูญเสียอันหลากหลายทางชีวภาพ
บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตอาหารทะเลรายใหญ่ของโลก และหนึ่งในผู้ผลิตปลาทูน่ากระป๋องที่ใหญ่ที่สุดของโลก ประกาศจุดยืนในการจัดหาวัตถุดิบจากเรือประมงที่มีการปฏิบัติที่ดีเพื่อปกป้องสัตว์น้ำจากปัญหาการจับติดสัตว์น้ำที่ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมาย (bycatch) ทั้งนี้ ไทยยูเนี่ยนได้อ้างอิงผลงานวิจัยขององค์กรการประมงเพื่อความยั่งยืน หรือ Sustainable Fisheries Partnership (SFP) ในเรื่องของความเสี่ยงต่อฉลาม นกและเต่าทะเล รวมถึงสัตว์ทะเลชนิดๆ อื่น จากการประมงที่ส่งวัตถุดิบให้กับบริษัท และผลการวิเคราะห์ของบริษัท Key Traceability ที่ตรวจสอบโครงการพัฒนาประมงทูน่าของไทยยูเนี่ยนและแหล่งประมงอื่นๆ ที่มีความเสี่ยงสูง
อดัม เบรนนัน ผู้อำนวยการกลุ่มด้านความยั่งยืน ของกลุ่มไทยยูเนี่ยน กล่าวว่า “ไทยยูเนี่ยนต้องการเพิ่มระดับความเข้มข้นของการทำงานของเราให้มากขึ้น เพื่อที่จะให้แน่ใจว่าจะได้วัตถุดิบจากเรือประมงที่หลีกเลี่ยงหรือลดละการจับติดสัตว์น้ำที่ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมาย สืบเนื่องจากองค์กรด้านสิ่งแวดล้อมหลายที่ได้ชี้ให้เห็นว่าโลกกำลังเผชิญกับวิกฤตการสูญเสียพันธุ์สัตว์น้ำและความหลากหลายทางชีวภาพ โดยรายงาน Sustainable Fisheries Partnership (SFP) ระบุว่าสายพันธุ์สัตว์ที่ถูกคุกคาม ใกล้สูญพันธุ์ และถูกคุ้มครองในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกตอนกลางมีปริมาณลดลงอย่างมาก”
เป็นที่ทราบกันดีว่า ไทยยูเนี่ยนเป็นผู้ผลิตและผู้จำหน่ายปลาทูน่าบรรจุกระป๋องภายใต้แบรนด์ต่างๆ ของบริษัท รวมถึงชิคเก้น ออฟ เดอะ ซี และจอห์น เวสต์ และในฐานะที่ไทยยูเนี่ยนร่วมเป็นส่วนหนึ่งในเวทีเสวนาในงาน ซีฟู้ด เอ็กซ์โป นอร์ธ อเมริกา ซึ่งเป็นงานแสดงสินค้าอาหารทะเลที่ใหญ่ที่สุดของภูมิภาคอเมริกาเหนือและที่สองของโลก บริษัทจึงประกาศเป้าหมายปี 2573 ของกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนของบริษัท ซึ่งต่อยอดจากความทุ่มเทตลอดระยะเวลา 7 ปี ที่ผ่านมา ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการประมงว่า
ภายในปี 2573 เรือประมงทุกลำต้องมีมาตรฐานการปฏิบัติที่ดีเพื่อปกป้องสายพันธุ์สัตว์ที่ถูกคุกคาม ใกล้สูญพันธุ์ และถูกคุ้มครอง
• ทำตามพันธกิจด้านปลาทูน่าของบริษัทที่ได้ประกาศไว้แล้วได้ให้ครบสมบูรณ์ 100 เปอร์เซ็นต์ ภายในปี 2568 ว่าเรือประมงทูน่าทุกลำจะต้องมีผู้สังเกตการณ์ (บุคคลหรือผ่านเครื่องมืออิเล็คทรอนิก) ซึ่งจะทำงานโดยตรงกับบริษัทคู่ค้าหรือผู้ให้บริการ
แคธริน โนวัค ผู้อำนวยการด้านการตลาดทั่วโลก องค์กร SFP กล่าวว่า “การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นภัยคุกคามต่อความยั่งยืนของการทำการประมง ไทยยูเนี่ยนได้สร้างมาตรฐานใหม่ให้กับอุตสาหกรรมอาหารทะเลในการปกป้องสายพันธุ์สัตว์ที่ถูกคุกคาม ใกล้สูญพันธุ์ และถูกคุ้มครอง โดยการตรวจสอบห่วงโซ่อุปทาน และรับซื้อวัตถุดิบจากเรือประมงที่ตื่นตัวในการจัดการปัญหาการจับสัตว์น้ำที่ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมาย”
รายงานล่าสุดโดยองค์กร SFP เกี่ยวกับผลกระทบของการจับปลาทูน่าเชิงพาณิชย์โดยใช้วิธีเบ็ดราว ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกตอนกลางที่มีต่อสายพันธุ์สัตว์ที่ถูกคุกคาม ใกล้สูญพันธุ์ และถูกคุ้มครอง พบว่า ธรรมชาติได้ถูกทำลายลงอย่างมากและประชากรสัตว์สายพันธุ์ต่างๆ ทั้งฉลาม นกและเต่าทะเลได้ลดลงกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ และพื้นที่นี้มีการทำประมงให้กับอุตสาหกรรมการผลิตทูน่ามากกว่าครึ่งหนึ่งของโลก ซึ่งส่วนใหญ่ส่งให้กับอเมริกาเหนือและญี่ปุ่น ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นหน้าที่ผู้ซื้อทูน่าที่จะผลักดันให้เกิดการฟื้นฟูธรรมชาติและประชากรสัตว์น้ำที่เปราะบางเหล่านี้ให้กลับมาใหม่ โดยเฉพาะฉลามและนกทะเล
ไทยยูเนี่ยนมีการตรวจสอบการจับสัตว์น้ำที่ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายเป็นส่วนหนึ่งของโครงการคุ้มครองสัตว์ทะเลที่องค์กร SFP จัดขึ้น นับเป็นโครงการระดับสากล ที่เป็นความพยายามของภาคอุตสาหกรรมในการแก้ไขปัญหาสัตว์ทะเลหายากที่ถูกจับในการทำประมง ทางองค์กร SFP ได้พิจารณาและประเมินแหล่งที่มาของวัตถุดิบที่ไทยยูเนี่ยนใช้วัดความเสี่ยงด้านความยั่งยืนของวัตถุดิบนั้นๆ พร้อมทั้งเสนอมาตรการที่จะช่วยลดการจับสัตว์น้ำที่ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายให้ได้ผลมากที่สุด
รายงานฉบับนี้ยังระบุว่า การประมงทูน่าโดยใช้วิธีเบ็ดราวนั้นก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อฉลาม นกทะเล และเต่าทะเล และแนะนำให้ปรับเปลี่ยนเครื่องมือประมงเพื่อลดปฏิสัมพันธ์ของสัตว์เหล่านี้ รวมทั้งความเสี่ยงที่จะทำให้สัตว์เหล่านี้ตาย รายงานยังพบว่าการประมงในพื้นที่มหาสมุทรแปซิฟิกมีผู้สังเกตการณ์ไม่เพียงพอ สอดคล้องกับความตั้งใจของไทยยูเนี่ยนที่อยากให้มีผู้สังเกตการณ์ในการทำประมงทูน่า 100 เปอร์เซ็นต์
บริษัท Key Traceability มีการตรวจเรือประมงที่อยู่ในโครงการปรับปรุงการทำประมงของไทยยูเนี่ยนปฏิบัติตามมาตรการข้อปฏิบัติที่ดี เพื่อลดการจับสัตว์น้ำที่ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายหรือไม่ ผลการประเมินพบว่าการประมงเหล่านี้ได้ลงบันทึกการจับปลาและการจัดการเกี่ยวกับสายพันธุ์สัตว์ที่ถูกคุกคาม ใกล้สูญพันธุ์ และถูกคุ้มครอง และได้ทำตามหรือทำได้ดีกว่า ข้อแนะนำจากการประเมิน
A3759