WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

 

มูลนิธิซิตี้ผนึกมูลนิธิ EDF จัดอบรมความรู้ด้านการเงินฝ่าวิกฤตโควิด–19 พิชิตหนี้ ให้ความรู้นักเรียนนักศึกษาอาชีวะ

 

8815 Citi EDF

          นางสาววันวิสาข์ โคมินทร์ (แถวยืนที่ 5 จากซ้าย) ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายสื่อสารองค์กร ธนาคารซิตี้แบงก์ประเทศไทยและผู้แทนมูลนิธิซิตี้ พร้อมด้วยอาจารย์กฤษณ์ คำศิริ (แถวยืนที่ 2 จากซ้าย) รองผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคโนโลยีวานิชบริหารธุรกิจ นายสมบูรณ์ ยิ้มขลิบ (แถวยืนที่ 6 จากซ้าย) ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 14 ตำบลบางม่วง จังหวัดนนทบุรี นางสาวโสรญา ลือยาม (แถวยืนซ้ายสุด) วิทยากรจาก บริษัท สตรองไลน์เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด และนายธนกฤต ส่องแสงตระการ (แถวยืนที่ 4 จากซ้าย) เจ้าหน้าที่ฝ่ายพัฒนาโครงการมูลนิธิ EDF (มูลนิธิกองทุนการศึกษาเพื่อการพัฒนา) ถ่ายภาพร่วมกับคณาจารย์ นักเรียน นักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีวานิชบริหารธุรกิจ ระหว่างการอบรมความรู้ด้านการเงิน (Financial Literacy) ภายใต้หัวข้อ ฝ่าวิกฤตโควิด–19 พิชิตหนี้ ภายใต้โครงการ “Skilling up Youth for Community Development Program” สนับสนุนโดยมูลนิธิซิตี้ วิทยาลัยเทคโนโลยีวานิชบริหารธุรกิจ จังหวัดนนทบุรี

 

          มูลนิธิซิตี้ร่วมกับมูลนิธิ EDF (มูลนิธิกองทุนการศึกษาเพื่อการพัฒนา) เดินหน้าพัฒนาศักยภาพเยาวชนไทยในสถาบันการศึกษา สนับสนุนโครงการ “Skilling up Youth for Community Development Program” พัฒนาทักษะนักเรียน นักศึกษาระดับแกนนำจำนวน 150 คน ในสถาบันการศึกษาระดับอาชีวศึกษา 15 แห่ง และสมาชิกชุมชน 3,000 คน ใน 15 ชุมชน ในจังหวัดนนทบุรี นครปฐม และสมุทรปราการ ล่าสุดเริ่มกิจกรรมแรกด้วยการจัดอบรมความรู้ด้านการเงิน (Financial Literacy) ภายใต้หัวข้อ ฝ่าวิกฤตโควิด–19 พิชิตหนี้ แก่นักเรียน นักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีวานิชบริหารธุรกิจ จังหวัดนนทบุรี พร้อมแกนนำชุมชนกว่า 70 คน

          การอบรมภายใต้หัวข้อ ฝ่าวิกฤตโควิด–19 พิชิตหนี้ มีเนื้อหาครอบคลุม การจัดระบบการเงิน การบริหารจัดการบัญชีรายรับ/รายจ่าย วิธีการคิดดอกเบี้ย และเทคนิคการออมเงิน โดยมีนางสาวโสรญา ลือยาม ผู้จัดการฝ่ายบัญชีและการเงิน บริษัท สตรองไลน์เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด เป็นวิทยากร

 

8815 Citi EDF3

 

          นางสาววันวิสาข์ โคมินทร์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายสื่อสารองค์กร ธนาคารซิตี้แบงก์ประเทศไทยและผู้แทนมูลนิธิซิตี้ กล่าวว่ามูลนิธิซิตี้ยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมกับมูลนิธิ EDF (มูลนิธิกองทุนการศึกษาเพื่อการพัฒนา) สนับสนุนโครงการ “Skilling up Youth for Community Development Program” ซึ่งเป็นหนึ่งในหลายๆ โครงการที่มูลนิธิซิตี้ทำในปีนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพทักษะเยาวชนคนหนุ่มสาวยุคใหม่ในจังหวัดนนทบุรี นครปฐม และสมุทรปราการ สู่การพัฒนาชุมชน โดยร่วมกับวิทยาลัยอาชีวศึกษา 15 แห่ง พัฒนาศักยภาพนักเรียนนักศึกษาแกนนำระดับอาชีวศึกษาจำนวน 150 คน และสมาชิกในชุมชนอีก 15 แห่ง จำนวน 3,000 คน โดยมุ่งเป้าพัฒนาทักษะทางอาชีพ ทักษะการเงิน และการพัฒนาธุรกิจของชุมชนให้สามารถอยู่ได้อย่างยั่งยืน โดยมีกรอบการดำเนินงานไปจนถึงเดือนธันวาคม ศกนี้ ทั้งนี้ มูลนิธิซิตี้มีความมุ่งมั่นพัฒนานักเรียนนักศึกษาอาชีวะ เพราะเราเชื่อว่าเยาวชนกลุ่มนี้จะเป็นแรงขับเคลื่อนคุณภาพที่สำคัญที่จะก้าวเข้าสู่ตลาดแรงงาน ช่วยพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้มีความมั่นคง รวมไปถึงการช่วยเหลือชุมชน เพื่อให้ชุมชนสามารถยืนหยัดอยู่ได้อย่างยั่งยืนต่อไป

          อาจารย์กฤษณ์ คำศิริ รองผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคโนโลยีวานิชบริหารธุรกิจ กล่าวว่าวิทยาลัยเทคโนโลยีวานิชบริหารธุรกิจขอขอบคุณมูลนิธิซิตี้ที่ให้การสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ เราจะมุ่งมั่นตั้งใจพัฒนานักเรียน นักศึกษาอาชีวะ รวมทั้งสนับสนุนพัฒนากิจกรรมชุมชนหลังวัดพิกุลเงินและชุมชนรอบวิทยาลัยของเรา เพื่อให้ชุมชนได้พัฒนาและมีคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและสามารถอยู่ได้อย่างยั่งยืน รวมทั้งจะนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมครั้งนี้ไปถ่ายทอดให้ประชาชนในชุมชนเกี่ยวกับการจัดระบบการเงิน การจัดทำบัญชีรายรับ รายจ่าย และเทคนิคการออมเงินเพื่อให้เกิดความมั่นคงในชีวิต ช่วยลดหนี้สิน และส่งเสริมและสร้างวินัยในการออมเงินให้ประชาชนในชุมชนต่อไป

 

8815 Citi EDF2

 

          นางสาวธิดารัตน์ พันธุมาศ และนางสาววรัชยา วงศ์สงวน นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.2) สาขาบัญชี วิทยาลัยเทคโนโลยีวานิชบริหารธุรกิจ กล่าวว่าพวกเราขอขอบคุณมูลนิธิซิตี้และมูลนิธิ EDF ที่จัดอบรมให้ความรู้ด้านการเงินที่เป็นประโยชน์อย่างมากค่ะ แม้ว่าเราจะยังอยู่ในวัยเรียนและส่วนใหญ่ยังไม่มีรายได้เป็นของตนเอง หรืออาจมีรายได้บ้างจากการทำงานพิเศษรับจ้างในช่วงปิดเทอม หรือช่วงวันหยุด แต่เราก็สามารถจัดทำงบประมาณค่าใช้จ่ายในแต่ละวันหรือในแต่ละเดือนได้ โดยรายได้ที่เราได้รับจากผู้ปกครองก็สามารถจัดสรรใช้จ่ายได้ และที่สำคัญเราควรมีเงินสำรองไว้ใช้ในยามฉุกเฉินอย่างน้อย 1-3 เดือน นอกจากนั้นเราควรแยกค่าใช้ต่างๆ ให้ชัดเจน แบ่งค่าใช้จ่ายด้านการลงทุนและค่าใช้จ่ายส่วนตัว รวมทั้งอาจจะนำเทคโนโลยีแอปพลิเคชันการเงินเข้ามาช่วยในการบริหารจัดการด้านการเงินของเราซึ่งก็จะช่วยได้มากเลยค่ะ 

          นางสาววัณนิสา หมั่นกลาง นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.2) สาขาบัญชี วิทยาลัยเทคโนโลยีวานิชบริหารธุรกิจ กล่าวเสริมว่าการอบรมด้านการเงินมีประโยชน์มากค่ะ โดยเฉพาะเทคนิคการออม เป็นการช่วยสร้างวินัยให้ตัวเองให้เรารู้จักการเก็บเงินและจัดสรรเงินเป็นส่วนๆ ก่อนนำออกไปใช้ โดยเราควรจะเก็บออมเงินไว้อย่างน้อย 10% ของเงินเดือนหรือรายได้ที่เราได้รับ หลังจากนั้นค่อยเอาไปหักกับค่าใช้จ่ายที่จำเป็นอื่นๆ ในแต่ละเดือน ซึ่งการออมเงินก็อาจจะเลือกออมธนบัตรใบละ 50 บาท หรือการออมเงินโดยการเปิดบัญชีเงินฝากประจำธนาคารที่ไม่สามารถถอนก่อนกำหนดได้ ซึ่งก็จะช่วยให้เรามีวินัยการบริหารการเงินได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้หนูและเพื่อนๆ จะนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมไปถ่ายทอดให้เพื่อนๆ ในวิทยาลัย รวมทั้งชุมชนต่อไปเพื่อให้พวกเราทุกคนมีการบริหารจัดการด้านการเงินที่ดีขึ้นค่ะ

 

A8815

 Click Donate Support Web  

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

PTG 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!