WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1aaaA1Aมธบจบมอออมสน

มธบ.จับมือ ออมสิน ร่วมพัฒนาชุมชนคลองศาลากุลเกาะเกร็ด นนทบุรี ระดมไอเดียเพิ่มศักยภาพมูลค่าสินค้า บริการ แหล่งท่องเที่ยว ตั้งเป้าสร้างรายได้และความยั่งยืนสู่ชุมชน

      ดร.ศิริเดช คำสุพรหม คณบดีวิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (มธบ.) เปิดเผยว่า ธนาคารออมสิน ร่วมกับ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ จัดทำโครงการ ออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษานำความรู้ที่ได้เรียนจากภาคทฤษฎีมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาศักยภาพชุมชน ทั้งในด้านของมูลค่าผลิตภัณฑ์และบริการ อันจะนำไปสู่การพัฒนารายได้และความเป็นอยู่ของชุมชนอย่างยั่งยืน

        โดยทางมหาวิทยาลัยได้เลือกชุมชนคลองศาลากุล ต.เกาะเกร็ด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี เป็นชุมชนกลุ่มเป้าหมาย เนื่องจากเป็นชุมชนที่กำลังมีการเติบโตและต้องการองค์ความรู้ในการพัฒนาต่อยอดให้มีความยั่งยืน โดยพื้นที่ของชุมชนนี้ตั้งอยู่คนละฟากกับกับชุมชนปากเกร็ดเดิมซึ่งธุรกิจมีการเจริญเติบโต ผลประกอบการดีและเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวอยู่แล้ว ดังนั้น ทางมหาวิทยาลัยจึงสนใจที่จะพัฒนาชุมชนปากเกร็ดในอีกฟากหนึ่ง เพื่อให้มีศักยภาพเพียงพอหรือเทียบเท่ากับอีกฝั่งของปากเกร็ด

      ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยได้เสนอการเพิ่มศักยภาพในโครงการทั้งหมด 7 โครงการย่อย ประกอบด้วย ชุมชนกระเป๋าผ้า กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปสมุนไพรและเบเกอรี่ ( 2 ผลิตภัณฑ์ ) กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านนางรำ ( 2 ผลิตภัณฑ์ ) กลุ่มวิสาหกิจชุมชนดอกไม้ผ้าใยบัว และกลุ่มเกษตรกรทำสวนเกาะเกร็ด โดยเบื้องต้นมหาวิทยาลัยได้นำนักศึกษาลงพื้นที่เพื่อสำรวจและรับทราบปัญหา ความต้องการของชาวบ้านในชุมชนเพื่อนำข้อมูลกลับมาวางแผนในการเพิ่มศักยภาพของชุมชนได้ตรงตามความต้องการ โดยพบว่าส่วนหนึ่งชุมชนต้องการให้พัฒนาออกแบบบรรจุภัณฑ์สินค้าให้มีความทันสมัย พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลาย ยกระดับสินค้าชุมชนให้มีความน่าสนใจมากขึ้น รวมไปถึงสินค้าประเภทบริการ และการพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวให้เชื่อมโยงจากอีกฟากของปากเกร็ดกก็เป็นส่วนสำคัญ เพราะหากช่วยให้นักท่องสามารถเดินทางมาท่องเที่ยวยังอีกฟากฝั่งได้อย่างง่ายดาย ก็จะเป็นการเพิ่มโอกาสทางธุรกิจให้กับชุมชนแห่งนี้ได้อีกด้วย

      ดร.ศิริเดช กล่าวอีกว่า การลงพื้นที่จะทำให้นักศึกษาได้เห็นสภาพที่แท้จริงของธุรกิจ เป็นการเปิดโอกาสให้ได้ฝึกการทำงานจริง โดยมีคณาจารย์เป็นที่ปรึกษาตลอดระยะเวลาดำเนินการ 9 เดือน และมีนักศึกษาร่วมโครงการประกอบด้วย วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี หลักสูตรการจัดการและการเป็นผู้ประกอบการ หลักสูตรการตลาดสาขาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน และคณะศิลปกรรม รวมทั้งหมดกว่า 30 คน ซึ่งจะร่วมกันคิดแผนธุรกิจการพัฒนาศักยภาพชุมชนในโครงการนี้ก่อนนำไปสู่การปฏิบัติจริง โดยตั้งเป้าสร้างรายได้และความยั่งยืนสู่ชุมชนอย่างยั่งยืน

Click Donate Support Web

ais 790x90

GC 950x120

sme 720x90SIAM790x90

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!