WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1aaaA1Abosch

'โคมขวด Botlight'บทพิสูจน์ความสำเร็จกับแรงบันดาลใจที่ไม่เคยดับ

    บ๊อช ประเทศไทย พัฒนากลไกการเรียนรู้สู่การสร้างทักษะอาชีพ ให้เยาวชนไทยชาวเขามีรายได้ และเพิ่มขีดความสามารถในการพึ่งพาตนเอง บ๊อชร่วมกับคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ต่อยอดโมเดลขับเคลื่อนโครงการพัฒนาอาชีพให้เยาวชนที่ขาดโอกาสโอกาสเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน

    บ๊อช ประเทศไทย ให้การสนับสนุนมูลนิธิทักษะเพื่อชีวิต (Skills for Life) ตั้งแต่ปีพ.ศ.2558 โดมินิค ลอยท์วีเลอร์ ผู้ก่อตั้งมูลนิธิฯ ได้เล่าให้ฟังว่า เธอพำนักอยู่ในภาคเหนือของประเทศไทยกว่า 17 ปี เดิมทีเธอให้การช่วยเหลือเด็กที่ขาดโอกาสในภาคเหนือจำนวนมาก จึงพบว่าเด็กๆ ส่วนใหญ่ไม่มีเป้าหมายด้านการศึกษา ทำให้เมื่อพวกเขาเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จึงหยุดพักการเรียนไว้แค่นั้น เธอจึงเกิดแรงบันดาลใจในการก่อตั้งมูลนิธิทักษะเพื่อชีวิตนี้ขึ้น เพื่อช่วยเยาวชนไทยชาวเขาให้ได้รับโอกาสในการศึกษาจนสามารถสร้างอาชีพเลี้ยงตัวเองได้

     ปัจจุบัน มูลนิธิทักษะเพื่อชีวิตอุปถัมภ์เยาวชนไทยชาวเขารวม 27 คนทั้งชายและหญิง ตั้งแต่ระดับมัธยมปลายจนถึงอุดมศึกษา บางรายขาดโอกาสด้านการศึกษาและอาชีพในอนาคต เนื่องจากไม่มีบัตรประจำตัวประชาชน มูลนิธิฯ จึงเข้ามาดูแลด้านความเป็นอยู่ ทั้งที่พัก อาหาร เสื้อผ้า การเดินทาง ทุนการศึกษา รวมทั้งติดตามการขอมีบัตรประจำตัวประชาชน

      บ๊อช ประเทศไทย ได้เล็งเห็นความจำเป็นเร่งด่วนในการสนับสนุนกลุ่มเยาวชนไทยชาวเขาที่ขาดโอกาส จึงมีแนวคิดในการร่วมพัฒนาโมเดลสร้างอาชีพตามความถนัดและความสนใจของเยาวชน โดยมีเป้าหมายให้เยาวชนพัฒนาทักษะอาชีพจนสามารถพึ่งพาตนเองได้ในอนาคต และส่งต่อแรงบันดาลใจให้กับเยาวชนไทยชาวเขารุ่นต่อไป โดมินิคกล่าวเสริมว่า “ดิฉันรู้สึกอุ่นใจที่มีผู้สนับสนุนมูลนิธิฯ อย่างบ๊อช รวมถึง Primavera ซึ่งเป็นมูลนิธิที่ก่อตั้งโดยพนักงานของบ๊อชที่เกษียณอายุแล้ว เข้ามาช่วยเหลือ สร้างความแตกต่าง และติดตามโครงการอย่างต่อเนื่อง พวกเราจึงไม่รู้สึกเดียวดาย ทั้งยังได้รับกำลังใจเต็มเปี่ยมเสมอมา”

     ที่ผ่านมา บ๊อชร่วมกับคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในการให้คำปรึกษาและจัดอบรมเยาวชนไทยชาวเขาในการใช้เครื่องมือช่างและแนะนำแนวทางการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เน้นการลงมือปฏิบัติ ภายใต้การบูรณาการองค์ความรู้ด้านการตลาดและการขาย โดยมีอาจารย์คณะบริหารธุรกิจเข้ามาเสริม พร้อมด้วยน้องๆ นักศึกษาคณะวิจิตรศิลป์ร่วมเป็นอาสาสมัครในการช่วยฝึกอบรม

     ดร.สุมนัสยา โวหาร อาจารย์สาขาวิชาการออกแบบ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หนึ่งในหัวเรือใหญ่ที่เข้าร่วมโครงการในฐานะอาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน กล่าวว่า “เด็กๆ ก้าวข้ามความกลัวในการใช้เครื่องมือช่าง โดยเฉพาะกลุ่มเด็กผู้หญิงที่ในปัจจุบันใช้เครื่องมือได้อย่างคล่องแคล่ว สนุกกับสิ่งที่ทำ และเกิดแรงบันดาลใจให้พวกเธอคิดต่อยอดงานได้อย่างน่าชื่นชม”

     อาจารย์อุดิษฐ์ จันทิมา อาจารย์พิเศษ (Workshop Instructor - part time) สาขาวิชาการออกแบบ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เสริมว่า “ในการใช้เครื่องมือไฟฟ้า สิ่งสำคัญที่เด็กๆ ต้องเรียนรู้คือ วิธีใช้งานอย่างถูกวิธีและปลอดภัย ในขั้นตอนนี้ นักศึกษาอาสาสมัครได้เข้ามามีส่วนร่วมแนะนำและสาธิตให้น้องๆ อย่างใกล้ชิด นักศึกษาจิตอาสาเองก็ได้รับประโยชน์ในการทบทวนความรู้และพัฒนาจากการสอนผู้อื่นเช่นกัน”

     สุริยะ แก้วลา นักศึกษาคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นิสิตจิตอาสาที่ขานรับกิจกรรมพี่ช่วยน้องทุกครั้งที่มีการร้องขอ กล่าวว่า “ผมได้เรียนรู้จากน้องๆ ชาวเขาในด้านความคิดสร้างสรรค์ น้องๆ ไม่มีพื้นฐานทางทฤษฎีแต่น้องมีความกล้าที่จะคิดนอกกรอบ และจุดประกายแนวคิดในการออกแบบได้อย่างน่าสนใจครับ”

               'Botlight' หรือ “โคมขวด” คือหนึ่งในบทพิสูจน์ความสำเร็จของมูลนิธิฯ รวมทั้งเยาวชนไทยชาวเขาและพันธมิตร ที่ร่วมกันขับเคลื่อนแรงบันดาลใจให้เกิดชิ้นงานที่สร้างความภูมิใจให้เยาวชน โดย Botlight คือชิ้นงานที่ถูกออกแบบมาจากขวดไวน์รีไซเคิลที่มูลนิธิฯ รวบรวมได้จากโรงแรม 5 ดาวในจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเด็กๆ ต้องนำมาคัดแยก ทำความสะอาด ตากให้แห้ง ติดตั้งสายไฟ ตัดแต่งกล่องไม้ และจบที่ขั้นตอนบรรจุสวยงามพร้อมส่ง เด็กๆ ใช้เวลาว่างหลังเลิกเรียนแบ่งหน้าที่กันตามถนัด ปัจจุบัน Botlight เป็นผลิตภัณฑ์ที่ช่วยสร้างรายได้ให้กับมูลนิธิฯ แบ่งเบาค่าใช้จ่าย เสริมทักษะสร้างอาชีพให้เยาวชนไทยชาวเขากลุ่มนี้ได้อย่างน่าภูมิใจ

      ดลนภา จะกอ เยาวชนไทยชาวเขาที่ปัจจุบันศึกษาด้านการโรงแรม กล่าวว่า “เครื่องมือชิ้นโปรดของหนูคือ ปืนเปลวอเนกประสงค์ค่ะ หนูชอบงานด้านศิลปะ สิ่งที่หนูได้จากการฝึกอาชีพนี้คือความภูมิใจ การเคารพตนเอง และความเชื่อมั่นว่าหนูสามารถทำในสิ่งที่หนูเคยคิดว่าทำไม่ได้ค่ะ ขอบคุณบ๊อชที่ช่วยให้หนูมาถึงจุดนี้ค่ะ”

      ณัฐพงศ์ อุดมวิริยะ เยาวชนไทยชาวเขาที่ปัจจุบันเป็นนิสิตคณะครุศาสตร์ เล่าว่า “เครื่องมือชิ้นโปรดของผมคือ เลื่อยฉลุ เพราะผมชอบการแกะสลักไม้ แต่ผมยังต้องฝึกความละเอียดงานฝีมืออีกมาก ส่วนที่ยากที่สุดสำหรับผมคือการล้างขวดไวน์ให้สะอาด เพราะฉลากบนขวดมีความเหนียว จึงล้างออกยากครับ”

      เอมอร นิคมคีรี เยาวชนไทยชาวเขาที่ปัจจุบันศึกษาด้านจิตวิทยาองค์กร กล่าวว่า “Botlight เป็นผลงานชิ้นแรกของหนู หนูชอบงานศิลปะและขัดพื้นผิวไม้ หนูได้เรียนรู้วิธีเลือกไม้ให้เข้ากับลักษณะของขวดไวน์ รู้สึกดีใจที่สามารถก้าวข้ามความกลัวการใช้เครื่องมือไฟฟ้าได้ และอยากลองต่อยอดคิดชิ้นงานอื่นๆ เพิ่มเติม เพื่อช่วยมูลนิธิฯ ให้มีรายได้เพิ่มค่ะ”

Click Donate Support Web

ais 790x90

GC 950x120

sme 720x90SIAM790x90

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!