- Details
- Published: Tuesday, 06 August 2024 19:39
- Hits: 7129
ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนปรับลงสู่เกณฑ์ ‘ซบเซา’ นักลงทุนคาดหวังปัจจัยหนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย ปัจจัยฉุดคือความขัดแย้งระหว่างประเทศ และนโยบาย Fed
นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล ประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย เปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุน (FETCO Investor Confidence Index) ผลสำรวจในเดือนสิงหาคม 2567 (สำรวจระหว่างวันที่ 20-31 สิงหาคม 2567) พบว่า “ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุน (FETCO Investor Confidence Index: ICI) ในอีก 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 60.40 ปรับลงมาอยู่ในเกณฑ์ “ซบเซา” นักลงทุนมองว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ เป็นปัจจัยหนุนความเชื่อมั่นมากที่สุด รองลงมาคือการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศ และการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว ในขณะที่ปัจจัยที่ฉุดความเชื่อมั่นนักลงทุนมากที่สุด ได้แก่ สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างประเทศ รองลงมาคือนโยบายการเงินของ FED และการถดถอยของเศรษฐกิจในประเทศ
ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุน (FETCO Investor Confidence Index) สำรวจในเดือนกรกฎาคม 2567 ได้ผลสำรวจโดยสรุป ดังนี้
● ดัชนีความเชื่อมั่นรวมทุกกลุ่มนักลงทุนในอีก 3 เดือนข้างหน้า (ตุลาคม 2567) อยู่ในเกณฑ์ “ซบเซา” (ช่วงค่าดัชนี 40-79) ที่ระดับ 60.40
● ความเชื่อมั่นกลุ่มนักลงทุนบุคคล กลุ่มบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ และกลุ่มนักลงทุนสถาบัน อยู่ในเกณฑ์ “ทรงตัว” ในขณะที่ความเชื่อมั่นกลุ่มนักลงทุนต่างประเทศอยู่ในเกณฑ์ “ซบเซาอย่างมาก”
● หมวดธุรกิจที่น่าสนใจมากที่สุด คือ หมวดท่องเที่ยวและสันทนาการ (TOURISM)
● หมวดธุรกิจที่ไม่น่าสนใจมากที่สุด คือ หมวดยานยนต์ (AUTO)
● ปัจจัยหนุนที่มีอิทธิพลต่อตลาดหุ้นไทยมากที่สุด คือ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ
● ปัจจัยฉุดที่มีอิทธิพลต่อตลาดหุ้นไทยมากที่สุด คือ สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างประเทศ
“ผลสำรวจ ณ เดือนกรกฎาคม 2567 รายกลุ่มนักลงทุน พบว่า ความเชื่อมั่นกลุ่มนักลงทุนบุคคลปรับลด 11.3% มาอยู่ที่ระดับ 83.10 กลุ่มบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ปรับเพิ่ม 96.9% มาอยู่ที่ระดับ 112.50 กลุ่มนักลงทุนสถาบันในประเทศปรับลด 17.4% มาอยู่ที่ระดับ 90.91 และกลุ่มนักลงทุนต่างประเทศปรับลด 55.6% อยู่ที่ระดับ 33.33
ในช่วงกรกฎาคม 2567 ตลาดทุนได้รับข่าวดีจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นโดยได้อานิสงส์จากเงินเฟ้อสหรัฐที่ปรับตัวลดลงส่งผลต่อความคาดหวังที่ FED จะลดดอกเบี้ยนโยบาย รวมถึงการเริ่มใช้มาตรการของตลาดหลักทรัพย์ในการใช้ Uptick rules สำหรับการทำ Short sell และความคืบหน้าของโครงการ Digital Wallet ถึงแม้ว่าได้รับผลกระทบจากการที่ World Bank ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยในปี 2567 เหลือ 2.4% จากที่เคยประมาณการที่ 2.8% เมื่อ เม.ย. 2567 และสถานการณ์ด้านธรรมาภิบาลของบริษัทจดทะเบียน โดย SET Index ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2567 ปิดที่ 1,320.86 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.5% จากเดือนก่อนหน้า ปริมาณซื้อขายเฉลี่ยต่อวันในเดือนกรกฎาคม 2567 อยู่ที่ 44,162 ล้านบาท นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 1,576 ล้านบาท โดยตั้งแต่ต้นปีนักลงทุนต่างชาติยังคงขายสุทธิกว่า 117,559 ล้านบาท
ปัจจัยต่างประเทศที่ต้องติดตามได้แก่ นโยบายการเงินของ FED ในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ทิศทางการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ หลัง โดนัลด์ ทรัมป์ อดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ ถูกลอบยิง และ โจ ไบเดนประกาศถอนตัวจากการเข้าร่วมชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐ ผลของมาตรการตลาดทุนจีนที่จะกระตุ้นความเชื่อมั่นนักลงทุน อาทิ การควบคุม short sell และสถานการณ์ความขัดแย้งในตะวันออกกลาง ในส่วนของปัจจัยในประเทศที่น่าติดตาม ได้แก่ ผลประกอบการบริษัทจดทะเบียน การดำเนินโครงการดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท และสถานการณ์ทางการเมืองที่อยู่ระหว่างรอการตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ”
8155