- Details
- Category: กลต.
- Published: Friday, 24 November 2017 18:16
- Hits: 11865
ก.ล.ต. ย้ำผู้ลงทุนเลือกบริษัทจดทะเบียนคุณภาพดีด้วยการอ่านรายงานข้อมูลสำคัญประกอบการตัดสินใจ
ก.ล.ต. ย้ำผู้ลงทุนถึงหลักการเลือกบริษัทจดทะเบียนที่ดี ต้องอ่านรายงานข้อมูลสำคัญ เพื่อตรวจสอบการทำหน้าที่ของกรรมการและผู้บริหาร พร้อมชูหลักการกำกับดูแลบริษัทจดทะเบียนเกิดจากการแนวคิดที่มุ่งสร้างมาตรฐานช่วยพัฒนากิจการ พัฒนาผู้ลงทุน และสร้างกลไกในตลาดทุนให้เกิดวินัยของผู้ปฏิบัติ เน้นความมีส่วนร่วมในตลาดเพื่อเสริมการทำหน้าที่กำกับดูแลตามกฎหมาย
นางสิริวิภา สุพรรณธเนศ ผู้ช่วยเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวว่า “ผู้ลงทุนสามารถเลือกลงทุนกับบริษัทจดทะเบียนที่มีคุณภาพดีได้โดยศึกษาข้อมูลจากรายงานสำคัญต่าง ๆ ที่สำคัญ อาทิ รายงาน 56-1 และรายงานอื่น ๆ ตามรอบระยะเวลา อาทิ รายงานงบการเงินรายไตรมาส งบการเงินประจำปี รายการคำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ ซึ่งรายงาน 56-1 จะเปิดเผยข้อมูลสำคัญ 3 ส่วน ได้แก่ (1) การประกอบธุรกิจ ครอบคลุมลักษณะของบริษัท หรือกลุ่มบริษัท บริษัทย่อย ที่ดำเนินงานอยู่ในปัจจุบัน (2) การจัดการและการกำกับดูแลกิจการ โครงสร้างกรรมการและผู้บริหาร ค่าตอบแทนกรรมการและผู้บริหาร นโยบายการกำกับดูแลกิจการและความรับผิดชอบต่อสังคม รายการที่เกี่ยวโยงกัน อาทิ การทำรายการระหว่างบริษัทจดทะเบียนกับบริษัทย่อย (3) ส่วนวิเคราะห์และคำอธิบายฐานะการเงินของบริษัท
อย่างไรก็ดี ก่อนบริษัทจะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยนั้น จะมีกระบวนการกลั่นกรองในเบื้องต้นตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี (CG) และเมื่อเข้ามาอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ แล้ว ก็ยังมีกลไกการกำกับดูแลให้บริษัทจดทะเบียนนั้นมีคุณภาพ ดำเนินธุรกิจอย่างโปร่งใส มีระบบควบคุมภายใน รวมถึงมีการเปิดเผยข้อมูลอย่างเพียงพอ โดยหลักการกำกับดูแลบริษัทจดทะเบียนของ ก.ล.ต. เกิดจากการแนวคิดที่มุ่งสร้างมาตรฐานและเสนอมาตรการที่ช่วยพัฒนากิจการ พัฒนาผู้ลงทุน โดยการสร้างกลไกให้เกิดจากวินัยของผู้ปฏิบัติเอง รวมถึงผู้มีส่วนร่วมในตลาด เพื่อเสริมการทำหน้าที่กำกับดูแลตามกฎหมาย โดยจะเน้นการตรวจสอบการทำหน้าที่ของกรรมการและผู้บริหาร ให้ปฏิบัติตามหลัก CG ด้วยการตระหนักถึงหน้าที่และความรับผิดชอบ ทำเพื่อประโยชน์ของบริษัท ไม่ทำสิ่งที่อาจนำไปสู่ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ขณะที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับการออกมาตรการเบื้องต้นไปแล้ว เพื่อช่วยจัดกลุ่มบริษัทจดทะเบียนที่มีปัญหาฐานะการเงิน ปัญหาด้านงบการเงิน หรือปัญหาลักษณะธุรกิจ โดยการขึ้นเครื่องหมาย “C” และกำหนดให้เป็นหุ้นที่ซื้อขายด้วย cash balance ซึ่งจะได้นำมาใช้ต่อไป
สำหรับ ผู้ลงทุนนอกจากจะต้องศึกษาข้อมูลรายงานสำคัญที่บริษัทเปิดเผยผ่านตลาดหลักทรัพย์ฯ อย่างสม่ำเสมอ ยังควรใช้รายงานการสอบบัญชีและงบการเงินของบริษัท ( KAM) ให้เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจ นอกจากนี้ ยังมีรายงานเกี่ยวกับการได้มาหรือจำหน่ายทรัพย์สิน (รายการ MT) และรายการที่เกี่ยวโยงกัน (รายการ RPT) ที่จะเปิดเผยรายการระหว่างบริษัทจดทะเบียนกับบุคคลที่เกี่ยวโยงกันของบริษัทที่ผู้ลงทุนควรทราบ ซึ่งผู้ลงทุนต้องให้ความสำคัญกับการติดตามดูแลบริษัทที่เลือกลงทุน เพราะหลายครั้งที่หน่วยงานกำกับดูแลอาจไม่มีอำนาจตามกฎหมายในการห้ามบริษัทไม่ให้กระทำการใด ๆ แต่ด้วยข้อมูลที่เปิดเผยอย่างเพียงพอ จะเป็นเครื่องมือที่ช่วยส่งสัญญาณสำคัญให้แก่ผู้ลงทุนว่าควรเลือกลงทุนในบริษัท ดังนั้น ก.ล.ต. จึงกำหนดให้บริษัทต้องรายงานและเปิดเผยข้อมูลอย่างทันท่วงที เมื่อบริษัทประสบความเสียหายอย่างร้ายแรงหรือหยุดประกอบกิจการ เกิดการเปลี่ยนแปลงลักษณะการประกอบธุรกิจ หรือทำสัญญาให้ผู้อื่นมีอำนาจในการบริหาร การถูกครอบงำกิจการ หรือกรณีอื่นที่มีหรือจะมีผลกระทบต่อสิทธิประโยชน์หรือการตัดสินใจลงทุนของผู้ถือหุ้น”
“ผู้ลงทุนเป็นผู้มีส่วนสำคัญในห่วงโซ่คุณภาพของการกำกับดูแลบริษัทจดทะเบียน ผู้ลงทุนจึงควรใช้สิทธิของตนและรักษาผลประโยชน์โดยการศึกษาข้อมูล อ่านรายงานสำคัญ และใช้โอกาสเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้นซักถามผู้บริหารเพื่อให้มีข้อมูลครบถ้วนเพียงพอในการประกอบการตัดสินใจ” นางสิริวิภากล่าวเสริม
ก.ล.ต. เล็งแขวนเครื่องหมาย C บจ.ที่มีความเสี่ยงฐานะการเงิน บังคับใช้ปี 61
นางสิริวิภา สุพรรณธเนศ ผู้ช่วยเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดทรัพย์ (ก.ล.ต.) ให้สัมภาษณ์ว่า ก.ล.ต. เล็งให้บจ.เปิดเผยความคิดเห็นกรรมการรายบุคคล กรณีมีข้อมูลเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของบริษัท คาดมาตรการเตือนผู้ลงทุน ชี้เป้า บจ.สุ่มเสี่ยง โดยขึ้นเครื่องหมาย C หรือ Compliance บังคับใช้ปี 61 เพื่อเป็นเครื่องหมายเตือนว่าบริษัทจดทะเบียนนี้ต้องระมัดระวังการลงทุน โดยหลักเกณฑ์การพิจารณาขึ้นเครื่องหมาย เช่น บริษัทที่ส่วนของผู้ถือหุ้นลดลงต่ำกว่า 50% , บริษัทที่ยื่นเข้ากระบวนการฟื้นฟูกิจการ , ถูกจำกัดการทำธุรกิจ , ผู้สอบบัญชีไม่แสดงความเห็นเรื่องงบการเงิน และถูก ก.ล.ต. สั่งให้ทำ Special Audit ทั้งนี้ เตรียมจัดทำคู่มือการให้ข้อมูลของผู้บริหาร ป้องกันการเกิดการใช้ข้อมูลภายใน
ก.ล.ต. มีแนวคิดให้บริษัทจดทะเบียนเปิดเผยข้อมูลความคิดเห็นกรรมการบริษัทแบบรายบุคคล ในประเด็นที่มีการเปลี่ยนแปลงสำคัญของบริษัท เช่น การเข้าซื้อกิจการ การเปลี่ยนแปลงสัดส่วนผู้ถือหุ้นอย่างมีนัยสำคัญ หรือในประเด็นที่ต้องให้ผู้ถือหุ้นเป็นผู้อนุมัติ เพื่อจะให้นักลงทุนมีข้อมูลความคิดเห็นที่หลากหลาย หากมีกรรมการไม่เห็นด้วย หรือเห็นด้วย และจะสามารถเป็นหนึ่งในเครื่องมือตรวจสอบหากมีการกระทำผิดหรือทุจริตได้ในระยะต่อไป
ส่วนมาตรการเตือนผู้ลงทุน ที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.) ปิดรับฟังความคิดเห็นแล้ว คาดจะบังคับใช้ภายในปี 61 โดยจะขึ้นเครื่องหมาย C หรือ Compliance เพื่อเป็นเครื่องหมายเตือนว่าบริษัทจดทะเบียนนี้ต้องระมัดระวังการลงทุน โดยหลักเกณฑ์การพิจารณาขึ้นเครื่องหมาย เช่น บริษัทที่ส่วนของผู้ถือหุ้นลดลงต่ำกว่า 50% , บริษัทที่ยื่นเข้ากระบวนการฟื้นฟูกิจการ , ถูกจำกัดการทำธุรกิจ , ผู้สอบบัญชีไม่แสดงความเห็นเรื่องงบการเงิน และถูก ก.ล.ต. สั่งให้ทำ Special Audit
โดยบริษัทที่ถูกขึ้นเครื่องหมายจะสามารถซื้อขายได้เฉพาะบัญชี Cash Balance และต้องชี้แจงข้อมูลให้กับผู้ถือหุ้นรับทราบ
ก.ล.ต. มีแผนจัดทำคู่มือสำหรับผู้บริหารบริษัทจดทะเบียน ในเรื่องการเปิดเผยข้อมูลให้กับนักลงทุน เพื่อป้องกันการใช้ข้อมูลภายในที่ไม่ถูกต้อง เนื่องจากปัจจุบันยังมีผู้ที่ไม่เข้าใจอยู่พอสมควร ซึ่งคาดว่าจะสามารถจัดทำแล้วเสร็จ ช่วงไตรมาสแรกปี 61
ผู้ลงทุนสามารถเลือกลงทุนกับบริษัทจดทะเบียนที่มีคุณภาพดีได้โดยศึกษาข้อมูลจากรายงานสำคัญต่าง ๆ ที่สำคัญ อาทิ รายงาน 56-1 และรายงานอื่น ๆ ตามรอบระยะเวลา อาทิ รายงานงบการเงินรายไตรมาส งบการเงินประจำปี รายการคำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ ซึ่งรายงาน 56-1 จะเปิดเผยข้อมูลสำคัญ 3 ส่วน ได้แก่ (1) การประกอบธุรกิจ ครอบคลุมลักษณะของบริษัท หรือกลุ่มบริษัท บริษัทย่อย ที่ดำเนินงานอยู่ในปัจจุบัน (2) การจัดการและการกำกับดูแลกิจการ โครงสร้างกรรมการและผู้บริหาร ค่าตอบแทนกรรมการและผู้บริหาร นโยบายการกำกับดูแลกิจการและความรับผิดชอบต่อสังคม รายการที่เกี่ยวโยงกัน อาทิ การทำรายการระหว่างบริษัทจดทะเบียนกับบริษัทย่อย (3) ส่วนวิเคราะห์และคำอธิบายฐานะการเงินของบริษัท
อย่างไรก็ดี ก่อนบริษัทจะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยนั้น จะมีกระบวนการกลั่นกรองในเบื้องต้นตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี (CG) และเมื่อเข้ามาอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ แล้ว ก็ยังมีกลไกการกำกับดูแลให้บริษัทจดทะเบียนนั้นมีคุณภาพ ดำเนินธุรกิจอย่างโปร่งใส มีระบบควบคุมภายใน รวมถึงมีการเปิดเผยข้อมูลอย่างเพียงพอ โดยหลักการกำกับดูแลบริษัทจดทะเบียนของ ก.ล.ต. เกิดจากการแนวคิดที่มุ่งสร้างมาตรฐานและเสนอมาตรการที่ช่วยพัฒนากิจการ พัฒนาผู้ลงทุน โดยการสร้างกลไกให้เกิดจากวินัยของผู้ปฏิบัติเอง รวมถึงผู้มีส่วนร่วมในตลาด เพื่อเสริมการทำหน้าที่กำกับดูแลตามกฎหมาย โดยจะเน้นการตรวจสอบการทำหน้าที่ของกรรมการและผู้บริหาร ให้ปฏิบัติตามหลัก CG ด้วยการตระหนักถึงหน้าที่และความรับผิดชอบ ทำเพื่อประโยชน์ของบริษัท ไม่ทำสิ่งที่อาจนำไปสู่ความขัดแย้งทางผลประโยชน์
ขณะที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับการออกมาตรการเบื้องต้นไปแล้ว เพื่อช่วยจัดกลุ่มบริษัทจดทะเบียนที่มีปัญหาฐานะการเงิน ปัญหาด้านงบการเงิน หรือปัญหาลักษณะธุรกิจ โดยการขึ้นเครื่องหมาย “C” และกำหนดให้เป็นหุ้นที่ซื้อขายด้วย cash balance ซึ่งจะได้นำมาใช้ต่อไป
สำหรับ ผู้ลงทุนนอกจากจะต้องศึกษาข้อมูลรายงานสำคัญที่บริษัทเปิดเผยผ่านตลาดหลักทรัพย์ฯ อย่างสม่ำเสมอ ยังควรใช้รายงานการสอบบัญชีและงบการเงินของบริษัท ( KAM) ให้เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจ นอกจากนี้ ยังมีรายงานเกี่ยวกับการได้มาหรือจำหน่ายทรัพย์สิน (รายการ MT) และรายการที่เกี่ยวโยงกัน (รายการ RPT) ที่จะเปิดเผยรายการระหว่างบริษัทจดทะเบียนกับบุคคลที่เกี่ยวโยงกันของบริษัทที่ผู้ลงทุนควรทราบ ซึ่งผู้ลงทุนต้องให้ความสำคัญกับการติดตามดูแลบริษัทที่เลือกลงทุน เพราะหลายครั้งที่หน่วยงานกำกับดูแลอาจไม่มีอำนาจตามกฎหมายในการห้ามบริษัทไม่ให้กระทำการใด ๆ แต่ด้วยข้อมูลที่เปิดเผยอย่างเพียงพอ จะเป็นเครื่องมือที่ช่วยส่งสัญญาณสำคัญให้แก่ผู้ลงทุนว่าควรเลือกลงทุนในบริษัท ดังนั้น ก.ล.ต. จึงกำหนดให้บริษัทต้องรายงานและเปิดเผยข้อมูลอย่างทันท่วงที เมื่อบริษัทประสบความเสียหายอย่างร้ายแรงหรือหยุดประกอบกิจการ เกิดการเปลี่ยนแปลงลักษณะการประกอบธุรกิจ หรือทำสัญญาให้ผู้อื่นมีอำนาจในการบริหาร การถูกครอบงำกิจการ หรือกรณีอื่นที่มีหรือจะมีผลกระทบต่อสิทธิประโยชน์หรือการตัดสินใจลงทุนของผู้ถือหุ้น”
“ผู้ลงทุนเป็นผู้มีส่วนสำคัญในห่วงโซ่คุณภาพของการกำกับดูแลบริษัทจดทะเบียน ผู้ลงทุนจึงควรใช้สิทธิของตนและรักษาผลประโยชน์โดยการศึกษาข้อมูล อ่านรายงานสำคัญ และใช้โอกาสเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้นซักถามผู้บริหารเพื่อให้มีข้อมูลครบถ้วนเพียงพอในการประกอบการตัดสินใจ” นางสิริวิภากล่าว
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย