- Details
- Category: กลต.
- Published: Tuesday, 02 June 2015 14:56
- Hits: 2392
ก.ล.ต. จับมือนิด้า เผยผลงานวิจัยความเสี่ยงของตลาดการเงินโลกและการวางแผนทางการเงินเพื่อวัยเกษียณ
ก.ล.ต.เผยแพร่ผลงานวิจัยของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) จัด SEC Working Papers Forum ครั้งที่ 4/2558 ในหัวข้อ 'ความเสี่ยงของตลาดการเงินโลกและการวางแผนทางการเงินเพื่อวัยเกษียณ' ศึกษาความผันผวนของตลาดหลักทรัพย์ต่างๆ มีความเชื่อมโยงกันในภาวะวิกฤต และแนวทางการจัดสรรเงินลงทุนโดยที่การจัดสรรเงินลงทุนแต่เนิ่น ๆ มีโอกาสบรรลุเป้าหมายเกษียณอายุอย่างมีความสุข
ก.ล.ต. ร่วมกับ คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) จัดสัมมนา SEC Working Papers Forum ครั้งที่ 4/2558 เผยแพร่ผลงานวิจัย 2 งาน ในหัวข้อ “ความเสี่ยงของตลาดการเงินโลกและการวางแผนทางการเงินเพื่อวัยเกษียณ” ซึ่งเป็นการดำเนินงานตามบันทึกความร่วมมือระหว่าง ก.ล.ต. กับสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำ 4 แห่ง เพื่อนำผลงานวิจัยไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาตลาดทุน
ผศ.ดร.ยุทธนา เศรษฐปราโมทย์ ผู้วิจัย ในหัวข้อ “Determinants of Return and Volatility Spillovers in the International Equity Markets” เปิดเผยว่า การส่งผ่านความผันผวนของตลาดหลักทรัพย์ของประเทศต่าง ๆ สามารถอธิบายได้จากระดับความเสี่ยงในตลาดการเงินโลก ที่แทนด้วยดัชนีวัดความเสี่ยง (VIX index) และราคาสินค้าโภคภัณฑ์ (น้ำมันดิบ ทองคํา) รวมถึงส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ยภายในประเทศและต่างประเทศ นอกจากนี้ การเชื่อมโยงทางการค้าระหว่างประเทศยังมีผลต่อการส่งผ่านความผันผวน โดยประเทศขนาดใหญ่ที่มีสัดส่วนการค้าในตลาดโลกสูง มีแนวโน้มที่จะส่งความผันผวนไปยังประเทศอื่นๆ ได้มากกว่า ขณะที่ประเทศที่มีมูลค่าการค้าระหว่างประเทศต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) สูง มีแนวโน้มที่จะได้รับความผันผวนจากประเทศอื่นได้ง่าย ทั้งนี้ ขนาดทุนสํารองระหว่างประเทศที่สูง ไม่มีผลต่อการป้องกันความผันผวนจากต่างประเทศ
ผศ.ดร.ปริยดา สุขเจริญสิน ผู้วิจัยหัวข้อ “การจัดสรรการลงทุนเพื่อวัยเกษียณ” เปิดเผยว่า จากการศึกษากลุ่มผู้ลงทุนวัยทำงาน ในการจัดสรรสัดส่วนการลงทุนเพื่อเตรียมพร้อมรับวัยเกษียณ โดยลงทุนในสินทรัพย์ 4 ประเภท ได้แก่ หุ้นสามัญ พันธบัตร เงินฝาก และทองคำ แล้วคัดเลือกสัดส่วนการลงทุนเหมาะสมในแต่ละช่วงอายุ ด้วยจำนวนเงินลงทุนน้อยที่สุด แต่มีโอกาสในการประสบความสำเร็จในการลงทุนสูงสุด ตามระยะเวลาการลงทุน และระยะเวลาที่คาดว่าจะดำรงชีวิตหลังเกษียณอายุ ผลการศึกษาระบุว่า ผู้วางแผนเกษียณอายุควรวางแผนตั้งแต่เนิ่น ๆ เนื่องจากยังมีระยะเวลาลงทุนอีกนาน มีความยืดหยุ่นในการจัดสรรเงินลงทุน สามารถเลือกลงทุนแต่ละงวดไม่ต้องสูงมาก นอกจากนี้ ยังมีโอกาสบรรลุเป้าหมายในการเกษียณอายุสูงกว่า โดยไม่ควรจำกัดการลงทุนแต่ในสินทรัพย์ที่มีความผันผวนต่ำ เนื่องจากไม่สามารถเอาชนะอัตราเงินเฟ้อในระยะยาวได้ และควรจัดสรรการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความผันผวนเพิ่มขึ้น เพื่อเพิ่มอัตราความสำเร็จในการบรรลุเป้าหมายเพื่อการเกษียณ
SEC unveils NIDA’s papers on global financial market risks and financial plan for retirement
The SEC jointly with the School of Development Economics of NIDA hosted the 4th SEC Working Papers Forum, 2015 on “Global financial market risks and financial plan for retirement”. Presented at the Forum were the study on major exchange volatilities which are interrelated during the crisis and the study allocation of investment suggesting that starting plan for retirement early increase chances of achieving happy retirement.
The SEC Working Papers Forum has been hosted under the Memorandum of Understanding between the SEC and four leading business schools, aiming to apply academic researches into the capital market development. At the 4th Forum of 2015, the School of Development Economics of NIDA presented the research papers on “Global financial market risks and financial plan for retirement”.
Asst. Prof. Dr. Yuthana Sethapramote, researcher, said that the study on “Determinants of Return and Volatility Spillovers in the International Equity Markets” revealed that international transmission of major international exchanges volatilities was illustrated by the global financial market risks proxied by risk indicator (VIX Index), commodity prices (oil and gold) and difference in onshore and offshore interest rates. In addition, international trade has caused volatility spillovers; in particular, the spillovers from large economies with large volumes of international trade are more likely. Whilst, it is more likely for economies with high export/import values to gross domestic products (GDP) to be affected from the spillovers. Nonetheless, high volumes of international reserves do not shield the economies from international volatility transmission.
Asst. Prof. Pariyada Sukcharoensin, researcher, said that the study on “Investment allocation for retirement” unveiled the study on asset allocation for retirement savings in a group of working age investors. The allocation was made among common stocks, bonds, bank deposit and gold in appropriate mix adjustable through life stages. Besides, investment must be achieved by the least amount of money but at the highest probability of success during the investment period and life expectancy after retirement. The paper concluded that everyone should start retirement planning early in order to have longer investment period and more flexible investment patterns with smaller amount for each installment as well as more likelihood to attain retirement goals. Moreover, investment should not be limited only to assets with low volatility because the investment returns cannot outpace the inflation in the long run whereas allocation in assets with more volatility is encouraged in order to improve chances of successfully achieving retirement goals.