WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

SEC

ก.ล.ต. เปิดรับฟังความคิดเห็นร่างประกาศเกี่ยวกับการดำรงเงินกองทุนของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล

          สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดรับฟังความคิดเห็นต่อร่างประกาศเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ด้านเงินทุนของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ให้เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและทันต่อสภาพการณ์ สามารถคุ้มครองผู้ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างเหมาะสม

          ตามที่ ก.ล.ต. ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นต่อหลักการปรับปรุงหลักเกณฑ์ด้านเงินทุนของของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลประเภทศูนย์ซื้อขาย นายหน้า และผู้ค้า (ผู้ประกอบธุรกิจ) โดยในส่วนของหลักเกณฑ์เงินทุนแรกเข้าซึ่งกำหนดเป็นทุนจดทะเบียนซึ่งชำระแล้ว (paid-up capital) และหลักเกณฑ์การดำรงเงินกองทุน (ongoing capital) รวมถึงหลักเกณฑ์อื่นที่เกี่ยวข้อง และได้นำความเห็นและข้อเสนอแนะจากภาคเอกชนไปทบทวนหลักการ ซึ่งคณะกรรมการ ก.ล.ต. มีมติเห็นชอบตามหลักการที่เสนอแล้ว นั้น

          ทั้งนี้ การปรับปรุงหลักเกณฑ์ตามที่กล่าวข้างต้นเพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือในตลาดสินทรัพย์ดิจิทัล เพิ่มการคุ้มครองผู้ซื้อขาย และเพื่อให้มั่นใจว่าผู้ประกอบธุรกิจมีคุณภาพ ความพร้อม และสะท้อนความตั้งใจในการประกอบธุรกิจ โดยมีเงินทุนเพียงพอรองรับการประกอบธุรกิจอย่างต่อเนื่อง และสามารถคุ้มครองทรัพย์สินของผู้ซื้อขาย ได้อย่างเหมาะสม 

          ก.ล.ต. จึงเปิดรับฟังความคิดเห็นต่อร่างประกาศพร้อมทั้งร่างเอกสารแนบท้ายที่เกี่ยวข้อง โดยมีสาระสำคัญดังนี้

          1. ปรับปรุงทุนจดทะเบียนซึ่งชำระแล้วของผู้ประกอบธุรกิจแต่ละประเภท โดยปรับมูลค่าของทุนจดทะเบียนให้เหมาะสมยิ่งขึ้น

          2. ปรับปรุงเกณฑ์การดำรงเงินกองทุน (Net Capital : NC) ได้แก่ 

              (1) เงินกองทุนขั้นต่ำ โดยกำหนดมูลค่าที่ต้องดำรงขั้นต่ำ เท่ากับ 25 ล้านบาทกรณีเป็นผู้ประกอบธุรกิจที่เก็บรักษาทรัพย์สินลูกค้า และ 5 ล้านบาทกรณีเป็นผู้ประกอบธุรกิจที่ไม่เก็บรักษาทรัพย์สินลูกค้า

              (2) เงินกองทุนจากการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล โดยกำหนดอัตรา NC ส่วนที่รองรับการเก็บทรัพย์สินใน hot wallet ให้แปรผันตามสัดส่วนการเก็บสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้า และปรับปรุงอัตรา NC ส่วนที่รองรับการเก็บทรัพย์สินใน cold wallet โดยแปรผันตามแหล่งที่ใช้ในการเก็บรักษาทรัพย์สิน รวมถึงเพิ่มการกำหนดการดำรงเงินกองทุนเพื่อรองรับความเสี่ยงจากการให้บริการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล

          3. ปรับปรุงเกณฑ์สัดส่วนการเก็บรักษาสินทรัพย์ดิจิทัลลูกค้าของผู้ประกอบธุรกิจที่มีการเก็บรักษาทรัพย์สินของลูกค้า โดยกรณีผู้ประกอบธุรกิจมีการเก็บรักษาสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้ารวมไม่เกิน 1,000 ล้านบาท ให้สามารถเก็บรักษาสินทรัพย์ดิจิทัลใน hot wallet ได้เพิ่มขึ้น เป็นไม่เกินร้อยละ 50 

          4. ปรับปรุงเกณฑ์การระงับการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล โดยเมื่อเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิต่ำกว่าเงินกองทุนขั้นต่ำที่ต้องดำรง (minimum requirement) ให้ผู้ประกอบธุรกิจยื่นสาเหตุและแผนแก้ไขต่อ ก.ล.ต. ภายใน 15 วัน และแก้ไขให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่แจ้งต่อ ก.ล.ต. แต่ต้องไม่เกิน 45 วัน และห้ามดำเนินการตามที่ ก.ล.ต. กำหนด เช่น การขยายธุรกิจหรือเพิ่มความเสี่ยง ทั้งนี้ หากผู้ประกอบธุรกิจไม่สามารถยื่นสาเหตุและแผนแก้ไข และดำเนินการแก้ไขให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาตามที่กำหนดข้างต้น หรือมี NC ต่ำกว่าร้อยละ 60 ของ minimum requirement ติดต่อกัน 5 วัน ให้ผู้ประกอบธุรกิจระงับการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล รวมถึงแจ้งลูกค้าและดำเนินการตามที่ ก.ล.ต. กำหนด เพื่อแก้ไขฐานะ 

          5. ปรับปรุงหลักเกณฑ์อื่นๆ และแบบรายงานที่เกี่ยวข้อง เช่น (1) การดำรงเงินกองทุนทางเลือกด้วยกรมธรรม์ประกันภัยหรือสินทรัพย์ดิจิทัลที่เป็นชนิดเดียวกันกับของลูกค้า (same coin) (2) การกำหนดรายละเอียดเพื่อเพิ่มความชัดเจนการใช้กรมธรรม์ประกันภัย (3) การยกเลิกหลักเกณฑ์ด้านเงินทุนสำหรับผู้ประกอบธุรกิจประเภทเก็บรักษาทรัพย์สินฯ แบบ cosign* (4) การปรับปรุงระดับเตือนภัย (early warning) ของผู้ประกอบธุรกิจ และ (5) การปรับปรุงการจัดทำและจัดส่งแบบรายงานเงินกองทุน รวมถึงปรับปรุงแบบรายงานและคำอธิบายประกอบการจัดทำรายงานเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิต่างๆ ให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ที่ปรับปรุงในครั้งนี้** เป็นต้น

          ทั้งนี้ ก.ล.ต. ได้เผยแพร่เอกสารรับฟังความคิดเห็นดังกล่าวบนเว็บไซต์ ก.ล.ต. https://www.sec.or.th/TH/Pages/PB_Detail.aspx?SECID=977 และระบบกลางทางกฎหมาย https://law.go.th/ ผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้สนใจสามารถแสดงความคิดเห็นได้ที่เว็บไซต์ หรือทาง e-mail : [email protected] และ [email protected] จนถึงวันที่ 21 มีนาคม 2567

________________________

หมายเหตุ:

*หมายถึง มีการเก็บรักษาทรัพย์สินของลูกค้าไว้ในความครอบครองแต่ไม่สามารถเข้าถึงหรือโอนทรัพย์สินของลูกค้าออกไปได้ เว้นแต่ได้รับความยินยอมจากลูกค้าเป็นรายครั้ง (ลูกค้าและผู้ประกอบธุรกิจแบ่งเก็บ private key ระหว่างกัน ในการโอนทรัพย์สินดังกล่าว ลูกค้าจะต้อง cosign ร่วมกับผู้ประกอบธุรกิจ)

**ได้แก่ แบบ ดจ. 1 แบบ ดจ. 1/1 และแบบ ดจ. 2 รวมถึงคำอธิบายประกอบแบบรายงานดังกล่าวให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ข้างต้น รวมถึงยกเลิกการจัดทำรายงานการคำนวณส่วนของผู้ถือหุ้น ตามแบบ ดจ. 3 เพื่อให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์การดำรงเงินกองทุนที่ปรับปรุงในครั้งนี้

 

 

3276

Click Donate Support Web 

AXA 720 x100

Banner GPF720x100 PX

MTL 720x100

kbank 720x100 66

วิริยะ 720x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100

ais 720x100

QIC 720x100

gen 720x100

CKPower 720x100

TOA 720x100

SME 720x100 66

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!