WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

SEC

ก.ล.ต. เปิดรับฟังความคิดเห็นต่อร่าง พ.ร.บ. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. .... เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการกำกับดูแลกองทุนและเพิ่มความยืดหยุ่นในการลงทุน

          สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดรับฟังความคิดเห็นต่อร่างพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. .... (พ.ร.บ. PVD) และหลักการที่ปรับปรุงเพิ่มเติม เพื่อรองรับพัฒนาการของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) ที่จัดตั้งในรูปแบบกองทุนที่มีนายจ้างหลายราย ที่ไม่ใช่กลุ่มบริษัทเดียวกัน (pooled fund) ให้มีโครงสร้างการบริหารจัดการที่เอื้อให้ลูกจ้างเลือกนโยบายการลงทุนที่เหมาะสมได้สะดวกยิ่งขึ้น ตลอดจนกำหนดบทบาทหน้าที่ของผู้ที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติมากขึ้น รวมทั้งเพิ่มความชัดเจนของโครงสร้างอำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแล

          ตามที่ ก.ล.ต. ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นต่อ พ.ร.บ. PVD เมื่อเดือนมกราคม - มีนาคม 2566 เพื่อปรับปรุงกฎหมายให้รองรับพัฒนาการของโครงสร้าง PVD มีกลไกการคุ้มครองสมาชิก รวมทั้งเพิ่มความยืดหยุ่นในการจัดการเงินออมของลูกจ้าง โดยผู้แสดงความคิดเห็นส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการเสนอปรับปรุงกฎหมายดังกล่าวพร้อมมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในรายละเอียด และ ก.ล.ต. ได้นำมาประกอบการพิจารณาปรับปรุงร่างกฎหมาย โดยในการประชุมคณะกรรมการ ก.ล.ต. ครั้งที่ 13/2566 เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2566 มีมติเห็นชอบหลักการในการปรับปรุงร่างกฎหมายดังกล่าวแล้วนั้น 

          ก.ล.ต. จึงยกร่าง พ.ร.บ. PVD พร้อมเปิดรับฟังความคิดเห็นต่อร่างกฎหมายและหลักการที่ปรับปรุงเพิ่มเติม โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้ 

          (1) ปรับปรุงโครงสร้าง PVD ให้รองรับพัฒนาการและความต้องการใช้ PVD ในปัจจุบัน โดยเฉพาะความต้องการใช้กองทุนแบบ pooled fund ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งนายจ้างและลูกจ้างอาจตกลงกันให้ลูกจ้างเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้ 3 ลักษณะ คือ 1) กองทุนนายจ้างรายเดียว (single fund) 2) กองทุนหลายนายจ้าง (group fund) ซึ่ง 2 ประเภทนี้คล้ายกับโครงสร้างปัจจุบัน และเพิ่มประเภท 3) กองทุนที่บริษัทจัดการจัดตั้งขึ้นเพื่อรองรับการจัดการเงินสำรองเลี้ยงชีพคล้ายกับ pooled fund ในปัจจุบัน แต่กำหนดบทบาทหน้าที่ของผู้ที่เกี่ยวข้องให้ชัดเจนขึ้น เพื่อเอื้อให้ลูกจ้างเลือกลงทุนได้สะดวกขึ้น รวมทั้งเปิดให้มี นายทะเบียนกลางเพื่อให้นายจ้างส่งเงินให้ลูกจ้างที่มีหลายกองทุนได้สะดวกขึ้น และช่วยให้ลูกจ้างเห็นภาพรวมนโยบายการลงทุน ตลอดจนสามารถติดตามจัดการกองทุนของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น 

          (2) ปรับปรุงกลไกการกำกับดูแลและคุ้มครองสมาชิกให้ได้รับความเป็นธรรมและมีความโปร่งใส เช่น การจัดให้มีข้อมูล PVD การกำหนดหลักเกณฑ์ของเอกสารจัดตั้งกองทุน การเพิ่มความชัดเจนของบทบาทหน้าที่ของนายจ้าง คณะกรรมการนายจ้างลูกจ้าง และผู้จัดการกองทุนรวมทั้งเพิ่มความยืดหยุ่นของการสะสมเงิน การจัดการเงินออม และรับเงินจากกองทุน เพื่อให้ PVD เป็นกลไกการออมและการลงทุนที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การส่งเสริมการออมใน PVD ภายใต้เงื่อนไขการสมัครเป็นสมาชิกอัตโนมัติ (automatic enrollment) การเพิ่มความเหมาะสมในการเลือกนโยบายการลงทุน กรณีที่ลูกจ้างไม่ได้แจ้งเลือกนโยบาย (default portfolio) การเพิ่มความยืดหยุ่นในส่วนของการรับเงิน การคงเงิน และการรับเงินงวด เป็นต้น

          (3) ปรับปรุงบทบาทหน้าที่ขององค์กรที่เกี่ยวข้องให้ชัดเจน โดยกำหนดอำนาจหน้าที่ที่ชัดเจนของ กระทรวงการคลัง คณะกรรมการ ก.ล.ต. คณะกรรมการกำกับตลาดทุน และสำนักงาน ก.ล.ต. ในการกำกับดูแล PVD รวมถึงการกำหนดหลักเกณฑ์เพิ่มเติมเพื่อให้เกิดมาตรฐานการปฏิบัติงานของผู้ที่เกี่ยวข้อง

          ทั้งนี้ ก.ล.ต. ได้เผยแพร่เอกสารรับฟังความคิดเห็นต่อร่างพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. .... เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพดังกล่าวไว้บนเว็บไซต์ ก.ล.ต. https://www.sec.or.th/TH/Pages/PB_Detail.aspx?SECID=950 ผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้สนใจสามารถแสดงความคิดเห็นได้ที่เว็บไซต์ หรือทาง e-mail : [email protected] [email protected] [email protected] จนถึงวันที่ 3 ธันวาคม 2566 

 

 

11167

Click Donate Support Web 

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

MTL 720x100

kbank 720x100 66

kasat 720x100TOA 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100

iconmotor

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!