WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1a TASCO

ก.ล.ต. ใช้มาตรการลงโทษทางแพ่งกับผู้กระทำความผิด 2 ราย กรณีขายหุ้น TASCO โดยอาศัยข้อมูลภายใน และยินยอมให้บุคคลอื่นใช้บัญชีซื้อขายหลักทรัพย์

        ก.ล.ต. เปิดเผยการดำเนินคดีด้วยมาตรการลงโทษทางแพ่งกับผู้กระทำความผิด 2 ราย กรณีขายหุ้นบริษัท ทิปโก้แอสฟัลท์ จำกัด (มหาชน) (TASCO) โดยอาศัยข้อมูลภายใน และกรณียินยอมให้ผู้กระทำความผิดใช้บัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ของตน โดยให้ผู้กระทำผิดชำระเงินรวม 12,993,120 บาท และกำหนดระยะเวลาห้ามเป็นกรรมการหรือผู้บริหารกับผู้กระทำความผิดทั้ง 2 ราย

        สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้รับข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและตรวจสอบเพิ่มเติม พบการกระทำเข้าข่ายเป็นความผิดของบุคคล 2 ราย ได้แก่ (1) นายสิทธิลาภ ทรัพย์สาคร ขณะดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการและกรรมการบริหารของ TASCO ขายหุ้น TASCO โดยอาศัยข้อมูลภายใน และ (2) นางสาวภนิดา เกิดธูป ยินยอมให้นายสิทธิลาภใช้บัญชีซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อปกปิดตัวตนของนายสิทธิลาภ

      นายสิทธิลาภ ได้ล่วงรู้ข้อมูลภายในที่ส่งผลกระทบด้านลบต่อราคาหุ้น TASCO เกี่ยวกับกรณีที่ TASCO จะยกเลิกการซื้อน้ำมันดิบจากประเทศเวเนซุเอลาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2563 เป็นต้นไป ส่งผลให้ TASCO ต้องปิดโรงกลั่นหลักในเมือง Kemaman ประเทศมาเลเซียเป็นการชั่วคราว เนื่องจากโรงกลั่นดังกล่าวใช้น้ำมันดิบจากประเทศเวเนซุเอลาเกือบทั้งหมด ในการนำไปผลิตเป็นสินค้าที่เป็นรายได้หลักของ TASCO เกือบทั้งหมด ซึ่งนายสิทธิลาภได้ล่วงรู้ข้อมูลภายในดังกล่าวจากการประชุมคณะกรรมการบริษัท TASCO เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2563 และเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2563 นายสิทธิลาภได้ขายหุ้น TASCO ของตนเองผ่านบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ในชื่อนางสาวภนิดา ก่อนที่ TASCO เปิดเผยข้อมูลภายในดังกล่าวต่อตลาดหลักทรัพย์เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2563 เพื่อหลีกเลี่ยงผลขาดทุนจากมูลค่าหุ้น TASCO

      การกระทำของนายสิทธิลาภเป็นความผิดฐานขายหุ้น TASCO โดยอาศัยข้อมูลภายในตามมาตรา 242(1) ซึ่งมีบทกำหนดโทษตามมาตรา 296 และมาตรา 296/2 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535

       ส่วนการกระทำของนางสาวภนิดาเป็นความผิดฐานยินยอมให้นายสิทธิลาภใช้บัญชีซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อปกปิดตัวตนของนายสิทธิลาภตามมาตรา 297 วรรคหนึ่ง ซึ่งมีบทกำหนดโทษตามมาตรา 317/5(2) แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ฉบับเดียวกัน

      คณะกรรมการพิจารณามาตรการลงโทษทางแพ่ง (ค.ม.พ.) มีมติให้นำมาตรการลงโทษทางแพ่งมาใช้บังคับกับผู้กระทำความผิดทั้ง 2 ราย ดังกล่าว โดยกำหนดมาตรการลงโทษทางแพ่ง ได้แก่ ค่าปรับทางแพ่ง ชดใช้เงินในจำนวนเท่ากับผลประโยชน์ที่ได้รับหรือพึงได้รับ ชดใช้ค่าใช้จ่ายของ ก.ล.ต. เนื่องจากการตรวจสอบการกระทำความผิด และห้ามเป็นกรรมการหรือผู้บริหารในบริษัทที่ออกหลักทรัพย์หรือบริษัทหลักทรัพย์ ดังนี้

      (1)  ให้นายสิทธิลาภ ชำระค่าปรับทางแพ่ง ชดใช้เงินในจำนวนเท่ากับผลประโยชน์ที่ได้รับ และชดใช้ค่าใช้จ่ายของ ก.ล.ต. เนื่องจากการตรวจสอบการกระทำความผิด เป็นเงินรวมทั้งสิ้น 12,595,935 บาท และกำหนดมาตรการห้ามเป็นกรรมการหรือผู้บริหาร เป็นเวลา 20 เดือน

      (2)  ให้นางสาวภนิดา ชำระค่าปรับทางแพ่งและชดใช้ค่าใช้จ่ายของ ก.ล.ต. เนื่องจากการตรวจสอบการกระทำความผิดเป็นเงินรวมทั้งสิ้น 397,185 บาท และกำหนดมาตรการห้ามเป็นกรรมการหรือผู้บริหารเป็นเวลา 4 เดือน

      การกำหนดระยะเวลาห้ามเป็นกรรมการหรือผู้บริหารดังกล่าวข้างต้นจะมีผลนับตั้งแต่วันที่ผู้กระทำความผิดลงนามในบันทึกการยินยอมปฏิบัติตามมาตรการลงโทษทางแพ่งที่ ค.ม.พ. กำหนด หากผู้กระทำความผิดไม่ยินยอม ก.ล.ต. จะมีหนังสือขอให้พนักงานอัยการดำเนินการฟ้องคดีต่อศาลแพ่งเพื่อกำหนดมาตรการลงโทษทางแพ่งในอัตราที่อัตราสูงสุดที่กฎหมายบัญญัติโดยไม่ต่ำกว่าอัตราที่ ค.ม.พ. กำหนด

      ทั้งนี้ เงินค่าปรับทางแพ่งและเงินค่าชดใช้คืนผลประโยชน์ที่ได้รับจากการกระทำความผิดเป็นรายได้แผ่นดินที่นำส่งกระทรวงการคลัง

 

 Click Donate Support Web  

 

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

PTG 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!