mod_mslideshows

ธพว.ร่วมพิธีทอดผ้าป่า กระทรวงการคลัง ณ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร

ธพว.ร่วมพิธีทอดผ้าป่า กระทรวงการคลัง ณ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร

ธพว.ร่วมพิธีทอดผ้าป่า กระทรวงการคลัง ณ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร          ...
More
ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย คว้ารางวัลระดับอาเซียน รางวัล Outstanding Marketing Initiative For a New Product จากเวที GRB Innovation Awards 2022 ติดต่อกัน 3 ปี

ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย คว้ารางวัลระดับอาเซียน รางวัล Outstanding Marketing Initiative For a New...

ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย คว้ารางวัลระดับอาเซียน รางวัล Outstanding Marketing Initiative For a...
More
เคทีซีเฮ! ยืนหนึ่ง 4 ปีซ้อน ครองมาตรฐานการจัดการความปลอดภัยของข้อมูลและมาตรฐานการจัดการข้อมูลส่วนบุคคล

เคทีซีเฮ! ยืนหนึ่ง 4 ปีซ้อน...

เคทีซีเฮ! ยืนหนึ่ง 4 ปีซ้อน...
More
AMC คว้ารางวัล ‘Best Company Performance Awards’ ในงาน SET Awards 2022

AMC คว้ารางวัล ‘Best Company Performance Awards’ ในงาน SET Awards 2022

AMC คว้ารางวัล ‘Best Company Performance Awards’ ในงาน SET Awards 2022      ...
More
SME D Bank ร่วมทำ Workshop เดินหน้าองค์กร ปี 2566 กำหนดกลยุทธ์ ‘เติมทุนคู่พัฒนา’ ตอกย้ำบทบาท ‘ธนาคารเพื่อเอสเอ็มอีไทย’

SME D Bank ร่วมทำ Workshop เดินหน้าองค์กร ปี 2566 กำหนดกลยุทธ์ ‘เติมทุนคู่พัฒนา’ ตอกย้ำบทบาท...

SME D Bank ร่วมทำ Workshop เดินหน้าองค์กร ปี 2566 กำหนดกลยุทธ์ ‘เติมทุนคู่พัฒนา’ ตอกย้ำบทบาท...
More
ทีเอ็มบีธนชาต ถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ประจำปี 2565 ณ วัดมหาวนาราม พระอารามหลวง จังหวัดอุบลราชธานี

ทีเอ็มบีธนชาต ถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ประจำปี 2565 ณ วัดมหาวนาราม พระอารามหลวง จังหวัดอุบลราชธานี

ทีเอ็มบีธนชาต ถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ประจำปี 2565 ณ วัดมหาวนาราม พระอารามหลวง...
More
COTTO คว้ารางวัล SET Awards 2022 ด้านความยั่งยืน

COTTO คว้ารางวัล SET Awards 2022 ด้านความยั่งยืน

COTTO คว้ารางวัล SET Awards 2022 ด้านความยั่งยืน           บริษัท...
More
กรุงไทย มอบพวงมาลัยถุงผ้า รังสรรค์จากขวดพลาสติกรีไซเคิล ร่วมต้อนรับคณะ APEC CEO Summit 2022

กรุงไทย มอบพวงมาลัยถุงผ้า รังสรรค์จากขวดพลาสติกรีไซเคิล ร่วมต้อนรับคณะ APEC CEO Summit 2022

กรุงไทย มอบพวงมาลัยถุงผ้า รังสรรค์จากขวดพลาสติกรีไซเคิล ร่วมต้อนรับคณะ APEC CEO Summit...
More
พลัส พร็อพเพอร์ตี้ โชว์ความพร้อมศูนย์ LIV - 24 รับโตโยต้า ขอนแก่น (TKK GROUP) เยี่ยมชมระบบเทคโนโลยีความปลอดภัยอัจฉริยะ 24 ชั่วโมง

พลัส พร็อพเพอร์ตี้ โชว์ความพร้อมศูนย์ LIV - 24 รับโตโยต้า ขอนแก่น (TKK...

พลัส พร็อพเพอร์ตี้ โชว์ความพร้อมศูนย์ LIV - 24 รับโตโยต้า ขอนแก่น (TKK...
More
มูลนิธิหนึ่งคนให้ หลายคนรับ มอบเงินบริจาคแก่ศูนย์สมเด็จพระเทพรัตนฯ แก้ไขความพิการบนใบหน้าและกะโหลกศีรษะ

มูลนิธิหนึ่งคนให้ หลายคนรับ...

มูลนิธิหนึ่งคนให้ หลายคนรับ...
More
FWD ประกันชีวิต นำสุดยอดตัวแทนร่วมทริปท่องเที่ยวและสัมมนา ‘FWD HiVE Agency 2022’ ที่ประเทศอังกฤษ

FWD ประกันชีวิต นำสุดยอดตัวแทนร่วมทริปท่องเที่ยวและสัมมนา ‘FWD HiVE Agency 2022’ ที่ประเทศอังกฤษ

FWD ประกันชีวิต นำสุดยอดตัวแทนร่วมทริปท่องเที่ยวและสัมมนา ‘FWD HiVE Agency 2022’...
More
เงินติดล้อ จัดอบรมหลักสูตร ‘ออมเงินง่ายๆ ที่ใครๆ ก็ทำได้’ ให้กลุ่มพนักงานพิเศษ สร้างโอกาสทางความรู้ที่เท่าเทียมในองค์กร

เงินติดล้อ จัดอบรมหลักสูตร ‘ออมเงินง่ายๆ ที่ใครๆ ก็ทำได้’ ให้กลุ่มพนักงานพิเศษ...

เงินติดล้อ จัดอบรมหลักสูตร ‘ออมเงินง่ายๆ ที่ใครๆ ก็ทำได้’ ให้กลุ่มพนักงานพิเศษ...
More
อิมแพ็ค สานต่อ ‘โครงการอิมแพ็ค ปันน้ำใจมอบรักสู่สังคม’

อิมแพ็ค สานต่อ ‘โครงการอิมแพ็ค ปันน้ำใจมอบรักสู่สังคม’

อิมแพ็ค สานต่อ ‘โครงการอิมแพ็ค ปันน้ำใจมอบรักสู่สังคม’          ...
More
รมว. คลังเยี่ยมชมงานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตดอกไม้เหมืองแก้ว จังหวัดเชียงใหม่

รมว. คลังเยี่ยมชมงานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตดอกไม้เหมืองแก้ว จังหวัดเชียงใหม่

รมว. คลังเยี่ยมชมงานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตดอกไม้เหมืองแก้ว จังหวัดเชียงใหม่      ...
More
SET เข้าเยี่ยมชมกิจการของกลุ่มบริษัท PCE

SET เข้าเยี่ยมชมกิจการของกลุ่มบริษัท PCE

SET เข้าเยี่ยมชมกิจการของกลุ่มบริษัท PCE           คุณอำนวย จิรมหาโภคา...
More
บมจ.ศุภาลัย ได้รับเกียรติจาก CAC เพื่อถ่ายทำบทสัมภาษณ์ Success Story

บมจ.ศุภาลัย ได้รับเกียรติจาก CAC เพื่อถ่ายทำบทสัมภาษณ์ Success Story

บมจ.ศุภาลัย ได้รับเกียรติจาก CAC เพื่อถ่ายทำบทสัมภาษณ์ Success Story        ...
More
‘กรุงศรี’ จับมือ ‘กรุงศรี คอนซูมเมอร์’ รุกขยายฐานลูกค้าบัตรเครดิต จัดแคมเปญสุดพิเศษ ชวนลุ้นรางวัลรวมกว่า 2 ล้านบาท

‘กรุงศรี’ จับมือ ‘กรุงศรี คอนซูมเมอร์’ รุกขยายฐานลูกค้าบัตรเครดิต จัดแคมเปญสุดพิเศษ...

‘กรุงศรี’ จับมือ ‘กรุงศรี คอนซูมเมอร์’ รุกขยายฐานลูกค้าบัตรเครดิต จัดแคมเปญสุดพิเศษ...
More
BAM จัดอบรมขยายแนวร่วมคู่ค้าเพื่อการต่อต้านการทุจริตประจำปี 2565

BAM จัดอบรมขยายแนวร่วมคู่ค้าเพื่อการต่อต้านการทุจริตประจำปี 2565

BAM จัดอบรมขยายแนวร่วมคู่ค้าเพื่อการต่อต้านการทุจริตประจำปี 2565        ...
More
ประกันมิตซุยฯ ส่งมอบคอมพิวเตอร์และหมวกนิรภัยสำหรับเด็กในโครงการ ‘ขอบคุณที่ห่วงใยหนู’ ครั้งที่ 14

ประกันมิตซุยฯ ส่งมอบคอมพิวเตอร์และหมวกนิรภัยสำหรับเด็กในโครงการ ‘ขอบคุณที่ห่วงใยหนู’ ครั้งที่ 14

ประกันมิตซุยฯ ส่งมอบคอมพิวเตอร์และหมวกนิรภัยสำหรับเด็กในโครงการ ‘ขอบคุณที่ห่วงใยหนู’ ครั้งที่...
More
เจนเนอราลี่ ชวนลูกค้าเปลี่ยนพอยท์เป็นของขวัญส่งมอบ 100 ตู้ยา เพื่อน้อง 100 โรงเรียน

เจนเนอราลี่ ชวนลูกค้าเปลี่ยนพอยท์เป็นของขวัญส่งมอบ 100 ตู้ยา เพื่อน้อง 100 โรงเรียน

เจนเนอราลี่ ชวนลูกค้าเปลี่ยนพอยท์เป็นของขวัญส่งมอบ 100 ตู้ยา เพื่อน้อง 100 โรงเรียน    ...
More

1Bแพตริเซีย มงคลวนิช

20 ปี สบน. :สู้ เสริม สร้าง เพื่อประเทศไทย

            นางแพตริเซีย มงคลวนิช ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ แถลงผลการดำเนินงานสำคัญของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ในโอกาส สบน. ครบรอบ 20 ปีเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2565 ที่ผ่านมาดังนี้

 

สู้วิกฤติ

    สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ก่อตั้งขึ้นในสภาวการณ์อันสืบเนื่องจากวิกฤติการเงินเอเชีย พ.ศ. 2540 (วิกฤติต้มยำกุ้ง)นับตั้งแต่ก้าวแรกจนถึงปัจจุบัน สบน. ได้ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ดูแลและตัดสินใจเกี่ยวกับการเงินของประเทศ (Chief Financial Officer: CFO) เดินทางผ่านวิกฤติเศรษฐกิจครั้งสำคัญของประเทศมาถึง 4 ครั้ง ได้แก่ วิกฤติต้มยำกุ้ง วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ วิกฤติอุทกภัยครั้งใหญ่ และล่าสุด คือ วิกฤติการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

 

วิกฤติล่าสุดVS ความต้องการกู้เงิน

    การระบาดของโรคอุบัติใหม่ (โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019: COVID-19)ส่งผลให้มีผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตจำนวนมาก รัฐบาลเกือบทุกประเทศทั่วโลกประกาศมาตรการล็อคดาวน์ (Lock Down) ทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ ส่งผลให้การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั่วโลกหยุดชะงัก เศรษฐกิจไทยหดตัวและถดถอยอย่างรุนแรง

    สบน. มีบทบาทสำคัญในการระดมทุนจำนวนมากในช่วงที่ประเทศประสบวิกฤติการระบาดของ COVID-19เพื่อแก้ไขปัญหาและฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมให้กลับมาสู่สภาวะปกติจึงทำให้ตลอดระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมาความต้องการกู้เงิน (Funding Need) รวมของรัฐบาลได้แก่การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ และการกู้เงินปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งเป็นการกู้เงินตามปกติเพิ่มสูงขึ้น

1สบน

นอกจากนี้ ยังต้องกู้เงินผ่านพระราชกำหนด COVID-19 อีกจำนวน 2 ฉบับ วงเงินรวม 1.5 ล้านล้านบาท เพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าวด้วยจึงเห็นได้ว่าตัวเลขความต้องการกู้เงินของรัฐบาลสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดดและมากกว่าในสถานการณ์ปกติถึง 2 เท่า

ทั้งนี้ นอกจากรัฐบาลไทยแล้ว รัฐบาลของประเทศอื่น ๆอาทิ ประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ ฝรั่งเศส เยอรมัน อังกฤษ ออสเตรเลีย และมาเลเซียก็ได้ดำเนินนโยบายการคลังเพื่อต่อสู้กับวิกฤติดังกล่าวโดยใช้เงินกู้เป็นเครื่องมือหรือกลไกสำคัญเช่นกัน

   

ระดมทุนได้อย่างครบถ้วน

    จากเหตุการณ์และความจำเป็นที่ต้องกู้เงินเพิ่มขึ้นเพื่อบรรเทาผลกระทบดังกล่าวข้างต้น สบน. จึงต้องวางแผนการบริหารหนี้สาธารณะอย่างรัดกุมและรอบคอบด้วยการจัดทำกลยุทธ์การบริหารหนี้สาธารณะระยะปานกลาง (Medium Term Debt Management Strategy : MTDS) เพื่อให้ครอบคลุมความเสี่ยงทางการเงินที่อาจเกิดขึ้น 3 ด้าน ได้แก่ ความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน อัตราดอกเบี้ย และการปรับโครงสร้างหนี้

พร้อมทั้งกระจายการกู้เงินด้วยเครื่องมือหลากหลายเพื่อให้รัฐบาลสามารถระดมทุนได้ครบตามความต้องการ ควบคู่กับการดูแลปริมาณการออกพันธบัตรรัฐบาล (Bond Supply)ให้มีเสถียรภาพและอยู่ในระดับที่เหมาะสม เพื่อป้องกันไม่ให้การกู้เงินที่เพิ่มขึ้นของรัฐบาลแย่งชิงเม็ดเงินจากภาคเอกชน และสร้างความผันผวนในตลาดการเงินและส่งผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (Yield) ปรับตัวสูงขึ้นอย่างกะทันหัน ซึ่งจะเป็นภาระต้นทุนแก่ผู้ลงทุนในอนาคต

    ทั้งนี้ ในเวลาเดียวกัน สบน. ได้ติดตามสภาวะตลาดการเงินและสื่อสารกับผู้ร่วมตลาดอย่างเป็นประจำผ่านการประชุมMarket Dialogue เพื่อรับฟังความคิดเห็นของนักลงทุนและนำมาปรับแผนการระดมทุนของรัฐบาลให้สอดคล้องกับสภาวะตลาดอย่างสม่ำเสมอ และประสานงานกับธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) อย่างใกล้ชิดเพื่อร่วมกันดูแลสภาพคล่องในตลาดตราสารหนี้และตลาดการเงินให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม

ส่งผลให้ตลอด 2 ปีที่ผ่านมา สบน. สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ในการระดมทุนได้ครบตามแผนความต้องการใช้เงินของรัฐบาล และดูแลให้ตลาดสามารถรองรับการระดมทุนของทั้งภาครัฐและเอกชนได้เป็นอย่างดี

    สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19ทำให้เศรษฐกิจไทยหดตัวลงอย่างรุนแรงและรวดเร็วสบน. จำเป็นต้องกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาและรองรับการเยียวยาประชาชนและภาคธุรกิจ รวมทั้งฟื้นฟูเศรษฐกิจจากภาวะวิกฤติอันเกิดจากการแพร่ระบาดของ COVID-19ให้กลับมาสู่ภาวะปกติโดยเร็วเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2564

คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐพิจารณาสถานการณ์ความจำเป็นแล้ว ได้เห็นชอบการขยายกรอบเพดานจากเดิมร้อยละ 60ซึ่งเป็นกรอบที่กำหนดขึ้นในช่วงภาวะปกติเป็นร้อยละ70 เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจล่าสุดอย่างเหมาะสม เพื่อให้รัฐบาลมีพื้นที่ทางการคลัง (Fiscal Space) ที่สามารถรองรับกรณีการกู้เงินเพิ่มเติมเพื่อดำเนินนโยบายการคลังและแผนพัฒนาเศรษฐกิจในอนาคต

    ทังนี้ สบน. ได้ปรับกลยุทธ์การระดมทุนโดยเน้นการใช้เครื่องมือการระดมทุนที่หลากหลาย(Diversification) เพิ่มเติมจากการออกพันธบัตรรัฐบาลซึ่งเป็นเครื่องมือหลัก ไปยังเครื่องมือระยะสั้นที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำในสัดส่วนที่ยังคงสามารถบริหารจัดการความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยและด้านการปรับโครงสร้างหนี้ได้เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของนักลงทุนในตลาดที่ต้องการสินทรัพย์สภาพคล่องเพิ่มมากขึ้น ซึ่งช่วยให้ต้นทุนเฉลี่ยของหนี้รัฐบาลลดลงจากร้อยละ3.28ในปีงบประมาณ 2562เป็นร้อยละ 2.34 ในเดือนสิงหาคม 2565

นอกจากนี้ เพื่อไม่ให้เกิดการแย่งชิงสภาพคล่องหรือทรัพยากรทางการเงิน (Crowding Out) กับธปท. และภาคเอกชนสบน. ได้กู้เงินจากแหล่งเงินกู้ทางการต่างประเทศที่เป็นเงินกู้พิเศษเพื่อแก้ปัญหาการระบาดของ COVID-19 ในสัดส่วนที่ยังคงสามารถบริหารจัดการความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนได้รวมทั้งศึกษาเครื่องมือใหม่เพื่อรองรับความผันผวนในตลาดการเงินที่สูงขึ้นและปัจจัยที่ไม่คาดคิดในอนาคต อาทิการออกพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้น (1 – 3 ปี)เพื่อเพิ่มเครื่องมือการกู้เงินระยะสั้นที่มีอัตราดอกเบี้ยคงที่

    โดย ณ สิ้นเดือนกันยายน 2565 สบน. ได้กู้เงินภายใต้ พ.ร.ก. COVID-19 ทั้งสองฉบับแล้วทั้งสิ้น 1.48 ล้านล้านบาท และเบิกจ่ายแล้วกว่า 1.38 ล้านล้านบาท

 

เสริมเศรษฐกิจ

สนับสนุนการลงทุนอย่างต่อเนื่องทั้งในภาวะปกติและภาวะวิกฤติ

    ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2565 มีหนี้สาธารณะคงค้างจำนวน 10.31 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 60.7 ต่อ GDPและมีความเสี่ยงอยู่ในระดับต่ำ โดยหนี้สาธารณะคงค้างเกือบร้อยละ 70เป็นการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณเพื่อการลงทุนซึ่งเป็นการสนับสนุนการดำเนินนโยบายการคลังแบบขยายตัวเช่นเดียวกับทุกรัฐบาลที่ผ่านมา

โดยเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณนำไปใช้ในการวางรากฐานการพัฒนาและเร่งรัดโครงสร้างพื้นฐานเพื่อกระจายความเจริญ ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ขยายโอกาสและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน รวมทั้งเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยเป็นการลงทุนด้านคมนาคมสาธารณูปการและการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเป็นสำคัญสำหรับหนี้สาธารณะคงค้างส่วนที่เหลือเกือบร้อยละ 30 ประกอบด้วย หนี้จากการตรากฎหมายพิเศษเมื่อประเทศเกิดวิกฤติ หนี้รัฐวิสาหกิจ และหนี้หน่วยงานอื่นของรัฐ

    สบน. เป็นแหล่งเงินที่สำคัญในการสนับสนุนโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญสาขาต่าง ๆ ของประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยมีโครงการเงินกู้โครงสร้างพื้นฐานสำคัญที่แล้วเสร็จและเปิดให้บริการแล้ว อาทิ โครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ทั่วประเทศ โครงการพัฒนาระบบสายส่งและสถานีไฟฟ้าทั่วประเทศ โครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและก่อสร้างปรับปรุงขยายการประปาส่วนภูมิภาค

รวมทั้งโครงการที่ช่วยเหลือสังคมอื่น ๆ เช่น โครงการก่อสร้างที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย และโครงการพัฒนากำลังคนด้านวิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม สนับสนุนการลงทุนและเพิ่มขีดความสามารถภาคอุตสาหกรรมในประเทศและภูมิภาค (Kosen) เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังมีโครงการเงินกู้โครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญในสาขาต่างๆ ที่อยู่ระหว่างดำเนินการและจะทยอยเปิดให้บริการแก่ประชาชนเพิ่มขึ้น โดยมีวงเงินกู้เพื่อการลงทุน (ไม่รวมเงินกู้ COVID-19) ช่วงปี 2563 -2565 เฉลี่ยปีละประมาณ 881,000 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าช่วงก่อนเกิด COVID-19 (ปี 2562) ที่มีวงเงินกู้เพื่อการลงทุนประมาณ 652,000 ล้านบาท

    พัฒนาตลาดตราสารหนี้อย่างต่อเนื่องแม้จะอยู่ในช่วงการระบาดของ COVID-19 อย่างไรก็ดี ตลอด2 ปีที่ผ่านมา สบน. ได้มีการพัฒนานวัตกรรมทางการเงินใหม่(Financial Innovation) ที่สำคัญ ดังนี้

  • พันธบัตรเพื่อความยั่งยืน (Sustainability Bond)

           สบน. ได้พัฒนาตลาดพันธบัตรเพื่อสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environment, Social, and Governance Bond: ESG Bond) ซึ่งเป็นประเทศแรกในอาเซียนที่ได้ออกพันธบัตรในลักษณะนี้ และได้ทำการออก Sustainability Bond อย่างต่อเนื่องจนมียอดคงค้างของพันธบัตรรวมอยู่ที่ 247,000 ล้านบาท เพื่อนำไปสนับสนุนโครงการเพื่อสิ่งแวดล้อม ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม โครงการปรับปรุง พัฒนาแหล่งน้ำ เพื่ออุปโภค บริโภค และการเกษตร

และโครงการเพื่อสังคม ได้แก่โครงการเพื่อช่วยเหลือและเยียวยาแก่ผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งการออกพันธบัตรดังกล่าวอย่างต่อเนื่องช่วยสนับสนุนการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ ตลาด ESG Bondและขยายฐานนักลงทุนของรัฐบาลรวมทั้งทำให้ภาคเอกชนตระหนักถึงการดำเนินโครงการเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น ตลอดจนลดความเสี่ยงในการปรับโครงสร้างหนี้ให้อยู่ภายใต้ต้นทุนและความเสี่ยงที่เหมาะสม ซึ่งเป็นภารกิจที่สำคัญของ สบน.

  • ธุรกรรมแลกเปลี่ยนพันธบัตร (Bond Switching)

           สบน. ได้ดำเนินธุรกรรม Bond Switching ซึ่งเป็นธุรกรรมที่มีการดำเนินการเป็นประจำอย่างต่อเนื่องทุกปี เพื่อปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรที่ครบกำหนดในช่วง 1 - 3 ปีข้างหน้า โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดการกระจุกตัวของหนี้ที่จะครบกำหนด เพิ่มสภาพคล่องในตลาดพันธบัตร ขยายฐานนักลงทุน รวมถึงส่งเสริมการบริหารจัดการหนี้ของภาครัฐบาลให้เป็นไปอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ โดยในปีงบประมาณ 2564 และ 2565 สบน. ได้ดำเนินธุรกรรม Bond Switching เป็นวงเงิน 133,277 ล้านบาท และ 90,000 ล้านบาท ตามลำดับ

โดยดำเนินการทั้งรูปแบบผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-switching) และผ่านตัวกลาง (Syndication) ซึ่งการดำเนินธุรกรรมBond Switching ทั้ง 2 ปีดังกล่าว สามารถลดการกระจุกตัวและยอดคงค้างของหนี้ที่จะครบกำหนด กระจายหนี้ไปเป็นพันธบัตรระยะกลางและยาว ตลอดจนยืดอายุเฉลี่ยของพันธบัตรต้นทางจาก 1 ปี 1 เดือน เป็น 15 ปี 11 เดือน และ 1 ปี 3 เดือน เป็น 9 ปี 10 เดือน ตามลำดับ ซึ่งช่วยบริหารจัดการพอร์ตหนี้รัฐบาลให้เหมาะสมได้เป็นอย่างดี

  • พันธบัตรออมทรัพย์ (Savings Bond)

             สบน. ประสบความสำเร็จในการนำเทคโนโลยีทางการเงินเข้ามาเพิ่มบทบาทและช่องทางในการจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ผ่านวอลเล็ต สบม. (สะสมบอนด์มั่งคั่ง) ซึ่งเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการกระจายพันธบัตรออมทรัพย์ นอกเหนือจากการจำหน่ายผ่านธนาคารตัวแทนจำหน่าย เพื่อสนับสนุนการให้ความรู้และส่งเสริมการทำธุรกรรมการเงินผ่านระบบดิจิทัลซึ่งธุรกรรมมีความน่าเชื่อถือและปลอดภัย และส่งเสริมการเข้าถึงบริการทางการเงินให้กับประชาชนทุกระดับรายได้ทั่วประเทศ (Financial Inclusion)

นอกจากนี้ ยังเป็นการพลิกโฉมการลงทุนโดยลดมูลค่าหน่วยลงทุนจากหน่วยละ 1,000 บาท เหลือหน่วยละ 1 บาท เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงและเป็นเจ้าของพันธบัตรออมทรัพย์ได้อย่างเท่าเทียม และตอบโจทย์ความต้องการลงทุนของประชาชนได้ดียิ่งขึ้น โดยปัจจุบัน สบน. ได้จำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ผ่านรูปแบบวอลเล็ต สบม. แล้วกว่า 40,200 ล้านบาท โดยมีผู้ลงทุนกว่า 44,000 รายกระจายไปทุกภูมิภาคทั่วประเทศและกระจายไปทุกกลุ่มอายุ โดยเฉพาะกลุ่มวัยทำงานอายุ 25 – 49 ปี

           นอกจากนี้ สบน. มุ่งมั่นพัฒนารูปแบบการจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์อย่างต่อเนื่อง โดยในเดือนสิงหาคม 2565 สบน. ร่วมกับ ธปท. และธนาคารตัวแทนจำหน่าย พัฒนาการจัดสรรพันธบัตรแบบ Small Lot First เป็นครั้งแรก เพื่อกระจายพันธบัตรออมทรัพย์ให้ประชาชนทุกคนอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม ภายใต้สภาวะตลาดที่ผันผวนที่มีความต้องการถือครองสูงขึ้น และซึ่งได้รับผลตอบรับเป็นอย่างดี โดยสามารถกระจายพันธบัตรออมทรัพย์ผ่านรูปแบบ Small Lot First ให้กับประชาชนได้มากเกือบ 15,000 ราย และมีแผนปรับรูปแบบการจำหน่ายให้เป็นระบบและเป็นอัตโนมัติมากขึ้น เพื่อลดขั้นตอนและกระบวนงานให้มีประสิทธิภาพ

และตอบโจทย์ผู้ลงทุนในอนาคต อีกทั้งได้พัฒนาวอลเล็ต สบม. อย่างต่อเนื่อง ทั้งการเปิดการซื้อขายตลาดรอง (Secondary Trading) ผ่านวอลเล็ตสบม. เพื่อเพิ่มสภาพคล่องตราสารให้สามารถเปลี่ยนมือหรือเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ง่ายขึ้น ตลอดจนการยื่นแบบเพื่อขอคืนภาษีหัก ณ ที่จ่ายอัตโนมัติ กรณีซื้อพันธบัตรในวอลเล็ต สบม. รวมถึงการแสดงข้อมูลการถือครองพันธบัตรออมทรัพย์ในทุกช่องทางของผู้ลงทุน เพื่อตอบโจทย์การวางแผนการออมก่อนเกษียณอายุในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

ประเทศไทยได้อะไรจากเงินกู้ COVID-19

    สำหรับ ประเมินผลการใช้จ่ายเงินโครงการภายใต้ พ.ร.ก. กู้เงิน COVID-19 พ.ศ. 2563 วงเงิน 1 ล้านล้านบาทรอบที่ 1 (วงเงินประมาณ805,000 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 81.95 ของกรอบวงเงินกู้)โดยใช้กรอบแนวคิดการประเมินผลจากองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) และองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) พบว่า ภาพรวมผลการดำเนินงานเฉลี่ยอยู่ในระดับดีมาก (A) สามารถสร้างมูลค่าผลกระทบต่อเศรษฐกิจ จำนวน2.65ล้านล้านบาท โดยคาดว่าจะมีรายได้กลับคืนภาครัฐสูงสุดถึง513,000 ล้านบาท โดยแต่ละแผนงานมีผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    1) แผนงานด้านสาธารณสุข พบว่า สามารถลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับประชาชนกลุ่มเสี่ยงและประชาชนที่ติดเชื้อCOVID-19ประมาณ 27,000ล้านบาทอาทิ อาสาสมัครชุมชน ประชาชนกลุ่มเสี่ยง และผู้ป่วยติดเชื้อ ตลอดจนสามารถสนับสนุนวัคซีน อุปกรณ์ ครุภัณฑ์และห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ เครื่องช่วยหายใจประสิทธิภาพสูง แก่ประชาชนและสถานพยาบาลทั่วประเทศ

    2)แผนงานด้านการช่วยเหลือและเยียวยา พบว่า สามารถสร้างมูลค่าผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ประมาณ2.1 ล้านล้านบาท และคาดว่าจะมีรายได้กลับคืนภาครัฐประมาณ405,000 ล้านบาท โดยมีผู้ได้รับประโยชน์ อาทิ ผู้ได้รับเงินช่วยเหลือจากโครงการเราชนะ ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐได้รับการเพิ่มกำลังซื้อในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ กลุ่มผู้ประกอบอาชีพอิสระที่ไม่อยู่ภายใต้ระบบประกันสังคมตามมาตรา 33ผู้ประกันตนภายใต้ระบบประกันสังคมตามมาตรา 33 และเกษตรกร

    3) แผนงานฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม พบว่า สามารถสร้างมูลค่าผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ประมาณ 556,000 ล้านบาท และคาดว่าจะมีรายได้กลับคืนภาครัฐสูงสุด ประมาณ 107,000 ล้านบาทโดยมีผู้ได้รับประโยชน์มากมาย อาทิ ร้านค้าผู้ประกอบการ นักท่องเที่ยว และผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวที่เข้าร่วมโครงการ

      ทั้งนี้ โครงการภายใต้ พ.ร.ก. ดังกล่าวได้ช่วยเพิ่มทักษะความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Literacy) ให้ดีขึ้น และส่งเสริมการเป็นสังคมไร้เงินสด (Cashless Society)โดยACI Worldwideและ CEBR ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านระบบชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์และการวิจัยเศรษฐศาสตร์และธุรกิจระดับสากลได้จัดให้ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 3 ของโลก เรื่องE-Payment Transaction

 

สร้างรากฐาน สบน. ดิจิทัล

    สบน. ได้เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารหนี้สาธารณะโดยนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ (Digital Transformation)และพัฒนาระบบบริหารหนี้สาธารณะใหม่ (Public Debt Management: PDM) เพื่อให้การบริหารจัดการข้อมูลหนี้สาธารณะของประเทศไทยมีความถูกต้อง (Accuracy) ครบถ้วน รวมทั้งสามารถจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น ขณะที่ยังสามารถรักษาความปลอดภัยของข้อมูลได้ในระดับมาตรฐาน ตลอดจนรองรับการเชื่อมโยงฐานข้อมูลกับระบบอื่นทั้งภายในและภายนอก

สบน. ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวสอดคล้องกับโครงการบูรณาการฐานข้อมูลหนี้สาธารณะ (Data Synchronization) เพื่อรองรับการพัฒนาด้านเทคโนโลยีทั้งในปัจจุบันและอนาคต ซึ่งจะช่วยลดความซ้ำซ้อน ระยะเวลาของการทำงาน และความผิดพลาดในการทำงาน (Human Error)

โดยจะทำให้มีฐานข้อมูลหนี้สาธารณะที่ถูกต้อง ครบถ้วนและเป็นปัจจุบัน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการตัดสินใจวางแผนการบริหารจัดการหนี้สาธารณะให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

    นอกจากนี้ สบน. มุ่งเน้นการปฏิบัติงานบน Digital Platformอย่างต่อเนื่อง โดยระยะต่อไปจะพัฒนาระบบการประมูลอาทิ การออกตั๋วสัญญาใช้เงิน(PN)ในรูปแบบตราสารอิเล็กทรอนิกส์ และงานทะเบียน PN โดยนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ (Digital Transformation)เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดหาเงินกู้ เพิ่มความปลอดภัยการบริหารจัดการฐานข้อมูลและงานทะเบียน เพิ่มสภาพคล่องให้กับ PN ในตลาดการเงินอำนวยความสะดวกแก่นักลงทุน สร้างความมั่นใจในการลงทุนและอาจส่งผลต่อต้นทุนการระดมทุนที่ลดลง

 

สนับสนุนการลงทุนและนวัตกรรมทางการเงินอย่างต่อเนื่อง

    สบน. จะสนับสนุนการลงทุนในโครงการโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนและขีดความสามารถของประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยในระยะ 5 ปี (2566 – 2570) สบน. มีแผนการกู้เงินเพื่อการลงทุนด้านคมนาคม พลังงาน สาธารณูปการ สาธารณสุข การศึกษา และการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์รวมกว่า 898,000 ล้านบาท

โดยการใช้กลยุทธ์การบริหารหนี้สาธารณะระยะปานกลางและเครื่องมือการกู้เงินหลากหลาย (Diversified Instrument) เพื่อให้การบริหารหนี้สาธารณะอยู่ภายใต้ต้นทุนและความเสี่ยงที่เหมาะสม และสร้างความเชื่อมั่นแก่ทุกภาคส่วนทั้งในและต่างประเทศว่าการบริหารหนี้สาธารณะ (Public Finance) ของประเทศไทยยังคงแข็งแกร่งอีกทั้งได้พัฒนาอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง THOR ร่วมกับธปท. เพื่อใช้การทำธุรกรรมเกี่ยวกับการกู้เงินของรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ และเพื่อประโยชน์ในการเตรียมความพร้อมของกระบวนการทำงานและรองรับการเปลี่ยนผ่านในการใช้อัตราดอกเบี้ย THOR ในอนาคต

    ในระยะต่อไป สบน. จะยังมุ่งเน้นให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมมากขึ้นโดยจะผลักดันให้มีการพัฒนาเครื่องมือทางการเงินเข้ามามีบทบาทในการช่วยอนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม ยกระดับให้ประชาชนไทยมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและส่งเสริมให้หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐบาลและภาคเอกชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยการสนับสนุนให้หน่วยงานต่างๆ ได้มีส่วนร่วมในการออก Green Bond, Social Bond, Sustainability Bond หรือ ESG Bond ในรูปแบบต่างๆ ต่อไป

    สำหรับ กลยุทธ์การพัฒนา Sustainability Bond ของกระทรวงการคลัง สบน. จะดำเนินการเพิ่มยอดคงค้างให้กับ Sustainability Bond อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีสภาพคล่องในตลาดรองที่เพียงพอและสามารถรองรับความต้องการระดมทุนของรัฐบาลได้

พร้อมทั้งจะวางแผนปรับปรุงกรอบการระดมทุนเพื่อความยั่งยืน (Kingdom of Thailand Sustainable Financing Framework: KOT Framework) เพื่อให้ครอบคลุมหมวดหมู่โครงการให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของกลุ่มสหประชาชาติ (United NationsSustainable Development Goals: UNSDGs)และสามารถรองรับโครงการที่เป็นมิตรต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมได้หลากหลายมิติยิ่งขึ้น เพื่อผลักดันประเทศไทยให้บรรลุUNSDGs ทั้ง 17 ด้าน ในการมุ่งแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและสังคมควบคู่กับการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต

 

ดำเนินการเชิงรุกร่วมกับองค์กรระหว่างประเทศ

    สำหรับ การกู้เงินต่างประเทศเพื่อสนับสนุนการเจริญเติบโตของประเทศไทยอย่างยั่งยืน ผ่านการสร้างสมดุลระหว่างอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมและสังคม

สบน. จะเร่งดำเนินการร่วมกับองค์กรระหว่างประเทศ อาทิWorld Bank, ADB,JICA,EIB, AFD และ AIIBในการนำแนวทางการศึกษาและประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม (Environmental and Social Impact) ตลอดจนแนวทางการบรรเทาผลกระทบต่างๆ (Mitigation Measures) มาประยุกต์ใช้กับโครงการเงินกู้ต่างประเทศ เพื่อพัฒนาแนวทางการระดมทุนจากต่างประเทศให้เกิดความอย่างยั่งยืน(Sustainable Finance)

ตลอดจนสร้างความตระหนักรู้ให้กับหน่วยงานเจ้าของโครงการในการจัดทำข้อเสนอโครงการที่จะขอใช้เงินกู้ต่างประเทศ โดยต้องคำนึงถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญเพื่อผลักดันให้มีโครงการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และเป็นไปตามแนวการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืนตามโมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (BCG Economy Model) พ.ศ. 2564 – 2569

 

อันดับความน่าเชื่อถือของประเทศยังอยู่ในระดับน่าลงทุน

    สบน. ยังให้ความสำคัญกับการบริหารหนี้สาธารณะตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด ตลอดจนการชำระหนี้อย่างต่อเนื่อง โดยยึดหลัก ถูกต้อง ครบถ้วน ตรงเวลา และไม่เคยผิดนัดชำระหนี้เพื่อรักษาวินัยทางการคลัง จึงทำให้บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือระดับสากล (Credit Rating Agency) อาทิ Moody’s S&P และ Fitch เชื่อมั่นและกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า ประเทศไทยมีฐานะการคลังที่แข็งแกร่ง มีความสามารถบริหารจัดการความเสี่ยงหนี้สาธารณะ ที่เพิ่มขึ้นได้เป็นอย่างดี มีความสามารถในการชำระหนี้อยู่ในระดับสูง (High Debt Affordability) และคงอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทยที่ระดับ BBB+/Baa1 ซึ่งอยู่ในระดับน่าลงทุน (Investment Grade)ท่ามกลางวิกฤติ ขณะที่หลายประเทศถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือ

 

รางวัลแห่งความสำเร็จ

    สบน. ได้รับรางวัลด้านนวัตกรรมทางการเงินเพื่อยืนยันความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง อาทิ รางวัล Sovereign Green Market Pioneer ในฐานะผู้บุกเบิกตลาดพันธบัตรสีเขียวของภาครัฐจากการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อความยั่งยืน จาก Climate Bonds Initiativeและ 3 รางวัลจากนิตยสาร The Asset คือ รางวัล Thailand’s Best Sustainable Bond และรางวัล Thailand’s Best Issuer for Sustainable Finance ในการจัดอันดับ Triple A Country Awards 2020 และรางวัล Best Sustainable Bond ระดับภูมิภาค ในการจัดอันดับ Deals of the Year – Triple A Sustainable Capital Markets Regional Awards 2020 และอีก 1 รางวัลจากนิตยสาร International Review Asia ได้แก่ รางวัล Roll of Honourสาขา Regional Awards : Domestic Bond

    นอกจากนี้ ในปี 2564 สบน. ยังได้รับรางวัลมากมาย ได้แก่ 1) รางวัลประกาศเกียรติคุณเชิดชูเกียรติการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ITA Award) ได้รับการประเมินระดับ AA (97.45 คะแนน) ซึ่งมีผลประเมินสูงที่สุดในกระทรวงการคลัง 2) รางวัลองค์กรที่มีความเป็นเลิศในการบริหารจัดการด้านการเงินการคลังเป็นปีที่ 4ติดต่อกัน จำนวน 2 รางวัล ได้แก่ รางวัลประกาศเกียรติคุณด้านปลอดความรับผิดทางละเมิด ‘ระดับดีเด่น’

และรางวัลองค์กรที่มีความเป็นเลิศรายด้าน ด้านปลอดความรับผิดทางละเมิดและ 3) รางวัลเพชรวายุภักษ์ จำนวน 3 รางวัล ได้แก่ รางวัล ‘ชนะเลิศระดับ Diamond’จำนวน 2 รางวัล ได้แก่ ประเภทผลงานนวัตกรรมผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ “’การลงทุนพันธบัตรออมทรัพย์ด้วย วอลเล็ต สบม. สะดวก เข้าถึงง่าย ได้ความมั่งคั่ง’ และประเภทผลงานการขยายผลต่อยอดนวัตกรรม ‘การพัฒนาแบบจำลองการบริหารความเสี่ยงหนี้สาธารณะเพื่อใช้ในสำนักงาน” (In-house Risk Model for Public Debt Management)และ รางวัล ‘ชนะเลิศระดับ Silver’ ประเภทแนวคิดกระบวนการทำงานใหม่ ‘ระบบสารสนเทศเพื่อจัดทำแผนการบริหารหนี้สาธารณะ (ระบบ DD Plan)’

 

บทสรุป

    ตลอดระยะเวลา 20 ปี สบน. ปฏิบัติหน้าที่อย่างระมัดระวังและรอบคอบทั้งในช่วงที่สถานการณ์เศรษฐกิจปกติและช่วงวิกฤติ เพื่อดูแลหนี้สาธารณะของประเทศและรักษาไว้ซึ่งวินัยการเงินการคลังอย่างเคร่งครัด อย่างไรก็ดี การกู้เงินของรัฐบาลแม้จะทำให้หนี้สาธารณะเพิ่มสูงขึ้น แต่กลับมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เติบโตอย่างต่อเนื่องอีกทั้งยังช่วยกระจายความเจริญไปทุกภูมิภาคทั่วประเทศลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมขยายโอกาสและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยหนี้สาธารณะปัจจุบันอยู่ในระดับดี สามารถบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกทั้งบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อระดับสากลยังชื่นชมที่ประเทศไทยสามารถบริหารจัดการทางการเงินการคลังได้ดีท่ามกลางภาวะวิกฤติ โดยได้แสดงออกถึงความเชื่อมั่นและความมีเสถียรภาพ ตลอดจนความโปร่งใสของฐานะการเงินการคลังของประเทศแม้ต้องเผชิญกับวิกฤติ

    สบน. มุ่งเน้นการปฏิบัติงานบน Digital Platform โดยได้นำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการวิเคราะห์และบริหารหนี้สาธารณะทุกมิติ ตั้งแต่การวางแผนการบริหารจัดการหนี้สาธารณะ ตลอดจนกระบวนการกู้เงิน เพื่อให้มีฐานข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วนและเป็นปัจจุบัน ตลอดจนนำไปใช้วิเคราะห์และ         จัดทำแผนการบริหารหนี้สาธารณะได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว ทันการณ์ และมีประสิทธิภาพ อีกทั้งแสดงความโปร่งใสและมีธรรมาภิบาล (Good Governance) ในกระบวนการจัดหาเงินกู้และภาพรวมการบริหารจัดการหนี้สาธารณะ

    อย่างไรก็ดี การบริหารหนี้สาธารณะของ สบน. ในระยะต่อไปยังคงเผชิญกับความท้าทายหลายประการ อาทิ1) สภาวะตลาดการเงินที่ผันผวนและอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น ซึ่ง สบน. ต้องประสานงานกับ ธปท. อย่างใกล้ชิดและสม่ำเสมอเพื่อดูแลสภาพคล่องในตลาดการเงินให้เพียงพอสำหรับการระดมทุนของทั้งภาครัฐและเอกชน ควบคู่กับการปรับกลยุทธ์การระดมทุนให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจและแนวทางการลงทุนของนักลงทุนที่เปลี่ยนไปโดยเน้นกระจายเครื่องมือการกู้เงินพร้อมกับยืดอายุเครื่องมือในการระดมทุนเพื่อรองรับความผันผวนและผลกระทบต่ออัตราผลตอบแทน(Yield)ในประเทศในอนาคตพร้อมกับทยอยปรับโครงสร้างหนี้และชำระหนี้ล่วงหน้า (Prepayment)

ตลอดจนดำเนินธุรกรรมแลกเปลี่ยนพันธบัตร (Bond Switching) อย่างต่อเนื่อง เพื่อลดการกระจุกตัวของหนี้และลดความเสี่ยงด้านการปรับโครงสร้างหนี้และความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ยของพอร์ตหนี้ของรัฐบาล และผลกระทบต่อตลาดการเงินในประเทศ และ 2)การของบประมาณเพื่อการชำระหนี้ภาครัฐเพิ่ม เพื่อให้พอเพียงและสอดรับกับภาระหนี้ที่เพิ่มขึ้นจากการกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาและฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งงบประมาณสำหรับภาระดอกเบี้ยให้สอดคล้องกับอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในช่วงขาขึ้น เพื่อรักษาความสามารถในการชำระหนี้ของรัฐบาลและเสถียรภาพทางการคลังของประเทศ

    สุดท้าย ขอเน้นย้ำว่า การกู้เงินของรัฐบาลหรือการก่อหนี้สาธารณะยังคงเป็นหนึ่งในกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนไทย พร้อมทั้งเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ นอกจากนี้ สบน. ได้ให้ความสำคัญสูงสุดกับการบริหารจัดการหนี้สาธารณะเพื่อสนับสนุนการลงทุนและดำเนินมาตรการทางการคลังภายใต้ต้นทุนและความเสี่ยงที่เหมาะสม รวมทั้งชำระหนี้อย่างเคร่งครัดและครบถ้วนตามกรอบวินัยทางการคลัง และไม่ว่าในอนาคตประเทศไทยจะเผชิญกับสถานการณ์ใด สบน. ก็พร้อมที่จะอยู่เคียงข้างคนไทย เพื่อเป็นเสาหลักในด้านการจัดหาเงินทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาประเทศต่อไป

      สำนักนโยบายและแผน ส่วนวิจัยนโยบายหนี้สาธารณะ

 

Click Donate Support Web  

 

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

PTG 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ธกส 720x100

ใจฟู720x100px

ais 720x100

สภาพัฒน์ฯ สศช.

สภาพัฒน์ฯ สศช.

Friday, 26 August 2022 22:01

Government-SE Matching Day สวส. จัดกิจกรรมรัฐรวมพลังจับคู่ธุรกิจเพื่อสังคมอย่างยั่งยืน ดึงวิสาหกิจเพื่อสังคมร่วมออกบูธกว่า 15 องค์กร สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม (สวส.) จัดกิจกรรม Government...

สภาพัฒน์ฯ สศช.

Sunday, 22 May 2022 12:47

สภาพัฒ ฯ เศรษฐกิจไทยไตรมาสแรก ปี 2565 ขยายตัวร้อยละ 2.2 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 1.8 เศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกของปี 2565 และแนวโน้มปี 2565 สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ...

สภาพัฒน์ฯ สศช.

Monday, 21 February 2022 18:27

สศช.GDP ไตรมาส 4 ปี 64 ขยายตัว 1.9% ​รวมทั้งปี 64 ขยายตัว 1.6% ​คาดปี 65 ขยายตัว 3.5-4.5% สภาพัฒน์ แถลงตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ( GDP) ไตรมาสที่สี่ ทั้งปี 2564 และแนวโน้มปี 2565...

สำนักนายกฯ

Saturday, 22 October 2022 20:49

ฟิทช์ เรทติ้งส์: เศรษฐกิจไทยยังคงฟื้นตัวได้ดีท่ามกลางความผันผวนของเศรษฐกิจโลก ฟิทช์ เรทติ้งส์ - กรุงเทพฯ - 18 ตุลาคม 2565: ในงานสัมมนาประจำปีของฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) ที่จัดขึ้นในวันนี้...

Sunday, 29 May 2022 09:12

' มองเศรษฐกิจโลก สะท้อนเศรษฐกิจไทย ' ในการจัดเสวนา 'Better Thailand Open Dialogue ถามมา-ตอบไป เพื่อประเทศไทยที่ดีกว่าเดิม ’ ผมมีโอกาสร่วมเสวนาหัวข้อ ' มองเศรษฐกิจโลก สะท้อนเศรษฐกิจไทย '...

Sunday, 22 May 2022 09:55

นายกรัฐมนตรี ปลื้ม FANC มอบใบเซอทิฟิเขท หลังเห็นความมุ่งมั่นของรัฐบาล แก้ยาเสพติดแนวใหม่ รับปาก หนุนแก้อำนาจ ป.ป.ส.เป็นพนักงานสอบสวน-เพิ่มเครื่องมือ หวังยึดทรัพย์ตัดวงจรยา ชม ก.ยุติธรรม...

Sunday, 22 May 2022 09:47

นายกรัฐมนตรี เป็นประธานพิธีเปิดการติดตามผลการบังคับใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด หวังยึดทรัพย์ตัดวงจรยาเสพติด พร้อมรับใบเซอทิฟิเขท จากกลุ่มเจ้าหน้าที่ประสานงานยาเสพติดและอาชญากรรมต่างประเทศ หรือ FANC...

Saturday, 07 May 2022 13:37

นายกฯ ติดตามงาน 'ขจัดความยากจน-พัฒนาคนทุกช่วงวัย' กำชับเร่งแก้ไขปัญหาความยากจนแบบ 'พุ่งเป้า' ตรงจุด ทันเวลา และเป็นรูปธรรม พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ติดตามการดำเนินงาน...

Monday, 28 March 2022 17:22

บุกค้น 2 ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มจำหน่ายสลากออนไลน์รายใหญ่ มีสลากขายเกินราคา 6.7 ล้านฉบับ เร่งขยายผล ตัดสิทธิ ยกเลิกโควตาตัวแทนจำหน่าย-ผู้มีสิทธิซื้อจอง รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ...

Thursday, 24 March 2022 21:31

DGA เร่งยกระดับนวัตกรรมภาครัฐโกอินเตอร์ อวดโฉมงานวิจัยสู่เวทีสากลผ่านงาน DGTi-Con 2022 สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล จัดงานประชุมวิชาการนานาชาติ ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมภาครัฐ DGTI-Con 2022...

สนับสนุนโดย Investing.com

สนับสนุนโดย Investing.com

โปรแกรมสรุปข้อมุลทางเทคนิคได้รับการควบคุมระบบการทำงานโดยInvesting.com ประเทศไทย

ตัวแปลงสกุลเงินนี้ควบคุมดูแลระบบทำงานโดย Investing.com ประเทศไทย

บริษัทจดทะเบียน

Wednesday, 09 August 2023 09:12

0 MTC มาตามนัด Q2/66 พอร์ตสินเชื่อแตะ 132,851 ลบ.เดินหน้าพัฒนาองค์กรสู่ความยั่งยืนเคียงคู่สังคมไทย เตรียมออกหุ้นกู้ชุดใหม่ อัตราดอกเบี้ย 4.25-4.80% คาดเสนอขายวันที่ 21-23 ส.ค.นี้ บมจ.เมืองไทย...

Tuesday, 08 August 2023 18:31

ALT โชว์ไตรมาส 2/66 กวาดรายได้ 396 ลบ . งานโซลาร์รูฟท็อป - บริการโครงข่ายรุ่งแนวโน้มโตต่อเนื่อง เอแอลที เทเลคอม โชว์ผลการดำเนินงานไตรมาส 2/2566 กวาดรายได้ 396 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้น 56.6%...

Tuesday, 08 August 2023 17:01

PSP พี.เอส.พี. สเปเชียลตี้ส์ บิ๊กน้ำมันหล่อลื่น จ่อเข้าเทรด SET จับตา 'พี.เอส.พี. สเปเชียลตี้ส์ (PSP)'เจ้าตลาดเบอร์หนึ่งธุรกิจน้ำมันหล่อลื่นครบวงจรของไทยและอาเซียน เตรียมขายไอพีโอเข้าเทรด SET...

เศรษฐกิจ

Tuesday, 15 November 2022 14:33

GSB ต้อนรับประธานกรรมการธนาคารออมสินคนใหม่ นายปกรณ์ พรรธนะแพทย์ ในนามคณะกรรมการธนาคารออมสิน และนายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร...

Tuesday, 15 November 2022 14:32

สนับสนุนให้ SME เข้าถึงการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ นายลวรณ แสงสนิท อธิบดีกรมสรรพากร พร้อมด้วยนายวีระพงศ์ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (...

Tuesday, 15 November 2022 00:07

‘ ณัฐพล ’ ปลัดอุตฯ บูมเศรษฐกิจภาคใต้ฝั่งอันดามัน ผุดกระบี่โมเดล ยกระดับ 3 มิติอุตสาหกรรม สู่การกระจายรายได้เศรษฐกิจชุมชนได้อย่างยั่งยืน ดร . ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม...

Monday, 14 November 2022 16:14

บอร์ด บสย. แต่งตั้ง ' เอด วิบูลย์เจริญ ' ประธาน บสย. คนใหม่ คณะกรรมการบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) มีมติแต่งตั้ง ‘เอด วิบูลย์เจริญ’ดำรงตำแหน่ง ประธาน บสย. มีผลตั้งแต่วันที่ 14...

บทความ-วิเคราะห์

EDUCATION 

Tuesday, 15 November 2022 15:30

ทีซีซีเทค ปลื้ม Enjoy to the Max 2 บรรลุตามเป้า ! ต่อยอดการยกระดับดิจิทัลขั้นสูงในองค์กร สิ้นสุดพิธีมอบรางวัลไปด้วยรอยยิ้มและความสุข สำหรับ “TCCtech X M365 Star Icon Stage” ภายใต้โครงการ Enjoy to...

กทม. ท้องถิ่น

Sunday, 13 November 2022 18:00

รมว.เฮ้ง ส่ง ' โฆษก ' เยี่ยมกลุ่มบายศรีบึงกาฬ สร้างอาชีพเสริม รับนักท่องเที่ยวสายมู นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มอบหมายให้ นางเธียรรัตน์ นะวะมะวัฒน์ โฆษกกระทรวงแรงงาน...

ข่าวสังคม

Tuesday, 15 November 2022 17:30

ธพว . ร่วมพิธีทอดผ้าป่า กระทรวงการคลัง ณ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ( ธพว .) หรือ SME D Bank โดย นายศักดิ์สิทธิ์ ราชรักษ์ ผู้อำนวยการอาวุโส...