WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

กรมสรรพสามิต เตรียมปรับเกณฑ์ยกเว้นภาษีเครื่องดื่ม ยันเครื่องดื่มชาเขียวเข้าข่ายต้องเสียภาษีตามเกณฑ์ใหม่นี้

    นายสมชาย พูลสวัสดิ์ อธิบดีกรมสรรพสามิต เปิดเผยว่า กรมสรรพสามิต กำลังพิจารณาเกณฑ์การยกเว้นภาษีสรรพสามิตในสินค้าประเภทเครื่องดื่ม โดยสินค้าเครื่องดื่มที่เข้าข่ายได้รับยกเว้นตามประกาศของอธิบดีกรมฯ จะต้องเป็นเครื่องดื่มที่ใช้วัตถุดิบการเกษตรที่ปลูกและผลิตในประเทศ ขณะเดียวกัน จะต้องไม่เป็นผลเสียต่อสุขภาพผู้ดื่มด้วย

    ปัจจุบันมี เครื่องดื่มที่ได้รับการยกเว้นภาษีสรรพสามิตเครื่องดื่มนั้น มีอยู่ประมาณ 111 รายการ เนื่องจากเข้าเกณฑ์ 2 ข้อโดยจะต้องเข้าเกณฑ์ ข้อใดข้อหนึ่งตามที่กรมสรรพสามิตกำหนด กล่าวคือ 1. เป็นเครื่องดื่มที่ส่งเสริมการใช้วัตถุดิบการเกษตรภายในประเทศ โดยจะต้องมีสัดส่วนของวัตถุดิบการเกษตรภายในประเทศ ตามที่กรมกำหนด และ 2. จะต้องเป็นเครื่องดื่มที่ดีต่อสุขภาพ โดยผู้ผลิตต้องยื่นเรื่องให้กรมเป็นผู้พิจารณา

     "เกณฑ์ใหม่ของกรมฯที่จะกำหนด สำหรับการยกเว้นภาษีสรรพสามิตเครื่องดื่มก็คือ จะต้องเข้าเกณฑ์ทั้งสองประการ จะเข้าข้อใดข้อหนึ่งไม่ได้ เช่น ในปัจจุบัน เครื่องดื่มชาเขียวที่ได้รับการยกเว้นภาษีสรรพสามิตเครื่องดื่มนั้น ได้เข้าเกณฑ์การใช้วัตถุดิบการเกษตรภายในประเทศเท่านั้น" เขากล่าว

     กรณีของเครื่องดื่มชาเขียวที่ได้รับยกเว้นภาษี สาเหตุ คือ เราต้องการส่งเสริมคนที่อยู่บนดอยสูง ให้มีอาชีพ และส่งเสริมการปลูกป่า ดังนั้นจึงได้ยกเว้นเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของใบชา เมื่อเพิ่มเกณฑ์ด้านสุขภาพเข้ามาด้วย กรมสรรพสามิตจำเป็นต้องไปตรวจสอบว่า ชาเขียวในแต่ละยี่ห้อมีความหวานสูงจนมีผลเสียต่อสุขภาพหรือไม่

     "เรื่องนี้กรมสรรพสามิตเคยหารือกับ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เรื่องผลเสียของความหวานในระดับสูงในเครื่องดื่ม ที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ เนื่องจาก ในระยะหลังมานี้ ผู้บริโภคที่ห่วงใยต่อสุขภาพ ได้พูดถึงประเด็นความหวานในเครื่องดื่มมากขึ้น" เขากล่าว

     เขากล่าวด้วยว่า นอกจากการปรับปรุงเกณฑ์การยกเว้นภาษีเครื่องดื่มดังกล่าวแล้ว กรมสรรพสามิต ก็จะเข้มงวดมากขึ้น ประเด็น เรื่องการใช้วัตถุดิบการเกษตรในประเทศ มาเป็นส่วนผสมของเครื่องดื่ม หรือเป็นการนำเข้าหัวเชื้อจากต่างประเทศเข้ามาผสม

     ปัจจุบันภาษีสรรพสามิตเครื่องดื่ม แบ่งออกเป็น 3 รายการ คือ 1.เครื่องดื่มประเภทโซดา จัดเก็บในอัตรา 25% หรือ 077 บาท/440 ซีซี แล้วแต่ว่า เก็บวิธีใดจะทำให้รัฐได้เม็ดภาษีมากกว่ากัน 2.เครื่องดื่มทั่วไป เก็บในอัตรา 20% หรือ 0.37 บาท/440 ซีซี และ 3. น้ำผลไม้ แบ่งเป็นน้ำผลไม้ทั่วไป เก็บในอัตรา 20% หรือ 0.37 บาท/440 ซีซี และน้ำผลไม้ที่มีส่วนผสมตามที่กรมกำหนด ได้รับการยกเว้นภาษี

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

เล็งปรับเกณฑ์เว้นภาษีเครื่องดื่ม

    บ้านเมือง : นายสมชาย พูลสวัสดิ์ อธิบดีกรมสรรพสามิต เปิดเผยว่า ขณะนี้กรมสรรพสามิตเตรียมปรับปรุงเกณฑ์ยกเว้นภาษีสรรพสามิตเครื่องดื่ม โดยจะต้องเป็นเครื่องดื่มที่ใช้วัตถุดิบการเกษตรในประเทศ และไม่เป็นผลเสียต่อสุภาพผู้ดื่ม ทั้งนี้ ในปัจจุบันมีเครื่องดื่มที่ได้รับการยกเว้นภาษีสรรพสามิตเครื่องดื่ม รวมกว่า 100 รายการ เนื่องจากเข้าเกณฑ์ 2 ข้อ โดยจะต้องเข้าเกณฑ์ข้อใดข้อหนึ่งตามที่กรมสรรพสามิตกำหนด กล่าวคือ เป็นเครื่องดื่มที่ส่งเสริมการใช้วัตถุดิบการเกษตรภายในประเทศ โดยจะต้องมีสัดส่วนของวัตถุดิบการเกษตรภายในประเทศ ตามที่กรมกำหนด และจะต้องเป็นเครื่องดื่มที่ดีต่อคุณภาพ โดยผู้ผลิตต้องยื่นเรื่องให้กรมเป็นผู้พิจารณา

     อย่างไรก็ตาม เกณฑ์ใหม่ของกรมที่จะกำหนด สำหรับการยกเว้นภาษีสรรพสามิตเครื่องดื่มก็คือ จะต้องเข้าเกณฑ์ทั้ง 2 ประการ จะเข้าข้อใดข้อหนึ่งไม่ได้ เช่น ในปัจจุบันเครื่องดื่มชาเขียวที่ได้รับการยกเว้นภาษีสรรพสามิตเครื่องดื่มนั้น ได้เข้าเกณฑ์การใช้วัตถุดิบการเกษตรภายในประเทศ

   "กรณีชาเขียวนั้น เราต้องการส่งเสริมคนที่อยู่บนดอยสูงให้มีอาชีพ และส่งเสริมการปลูกป่า ดังนั้น จึงได้ยกเว้นเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของใบชา อย่างไรก็ตาม เมื่อเพิ่มเกณฑ์ด้านสุขภาพเข้ามาด้วย กรมจำเป็นต้องไปตรวจสอบว่า ชาเขียวในแต่ละยี่ห้อมีความหวานสูงจนมีผลเสียต่อสุขภาพหรือไม่ ซึ่งเรื่องนี้กรมเคยหารือกับ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เรื่องผลเสียของความหวานในเครื่องดื่ม ที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ เนื่องจากในระยะหลังมานี้ ผู้บริโภคที่ห่วงใยต่อสุขภาพได้พูดถึงประเด็นความหวานในเครื่องดื่มมากขึ้น" นายสมชาย กล่าว

    นายสมชาย กล่าวต่อว่า นอกจากการปรับปรุงเกณฑ์การยกเว้นภาษีเครื่องดื่มดังกล่าวแล้ว กรมสรรพสามิตก็จะเข้มงวดมากขึ้น ในประเด็นเรื่องการใช้วัตถุดิบการเกษตรในประเทศ มาเป็นส่วนผสมของเครื่องดื่ม หรือเป็นการนำเข้าหัวเชื้อจากต่างประเทศเข้ามาผสม

    สำหรับ ปัจจุบันภาษีสรรพสามิตเครื่องดื่ม แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ 1.โซดา เก็บในอัตรา 25% หรือ 077 บาท/440 ซีซี. แล้วแต่ว่าเก็บวิธีใดจะทำให้รัฐได้เม็ดภาษีมากกว่ากัน, 2.เครื่องดื่มทั่วไป เก็บในอัตรา 20% หรือ 0.37 บาท/440 ซีซี. 3.น้ำผลไม้ แบ่งเป็นน้ำผลไม้ทั่วไป เก็บในอัตรา 20% หรือ 0.37 บาท/440 ซีซี. และน้ำผลไม้ที่มีส่วนผสมตามที่กรมกำหนด ได้รับการยกเว้นภาษี

    นายสมชาย กล่าวต่อว่า ปัจจุบันมีผู้ได้สิทธิ์คืนเงินจากโครงการรถยนต์คันแรกประมาณ 100 คันต่อเดือนเท่านั้น จึงคาดว่าสิ้นปีงบประมาณ 58 จ่ายเงินได้ครบหมดทั้งโครงการ สำหรับผู้จองรถไว้แต่ยังไม่รับมอบรถยนต์เหลือทั้งสิ้น 114,355 ราย หรือคิดเป็น 9.22% จากจำนวนผู้เข้าโครงการทั้งสิ้น 1,259,102 ราย คิดเป็นมูลค่า 91,489 ล้านบาท โดยที่ผ่านมามีผู้ได้รับเงินคืนไปแล้วประมาณ 1,064,475 ราย คิดเป็นมูลค่า 77,848 ล้านบาท เบิกจ่ายไปรวม 38 ครั้ง ล่าสุดวันที่ 8 ส.ค.ที่ผ่านมา เป็นเงิน 1,430 ล้านบาท จำนวน 16,150 ราย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!