WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

คสช.เสริมเขี้ยวเล็บเจ้าหน้าที่สรรพากร ยึดทรัพย์คนโกงเงินภาษี

    แนวหน้า : คลัง ยอมรับคดีโกง VAT กว่า 4,100 ล้านบาท ยังไม่สามารถตามเงินภาษีดังกล่าวกลับคืนมาได้แม้แต่บาทเดียว ขณะที่ คสช.เห็นช่องโหว่ เห็นชอบในหลักการแล้วให้อำนาจสรรพากรอายัด-สอบสวนธุรกรรมทางการเงินโกงภาษี เชื่อผ่านการพิจารณาจากสนช.แน่ เผยขั้นตอนปัจจุบันให้อำนวจสอบสวนกับ ตำรวจส่งเรื่องขออำนาจศาล หรืออำนาจของ ปปง.อายัดทรัพย์สิน พบล่าช้า เปิดช่องทางให้ถ่ายเททรัพย์สินได้

   นายประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมสรรพากร กระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) เห็นชอบในหลักการที่จะเพิ่มอำนาจให้เจ้าหน้าที่ของ กรมสรรพากรมีอำนาจระงับธุรกรรมทางการเงินของขบวนการโกงภาษีทั้งธุรกรรมของตัวการ และผู้ร่วมขบวนการ พร้อมทั้งให้อำนาจ กรมสรรพากร เป็นพนักงานสอบสวนกรณีโกงภาษีได้ ซึ่งจะทำให้การติดตามเงินภาษีที่หายไปจากการทุจริต การโกง ได้อย่างทันท่วงที จากเดิมที่อำนาจในการสอบสวนเป็นของตำรวจ หลังจากนั้นต้องส่งเรื่องฟ้องศาลฯ ขออำนาจศาล หรือขออำนาจของ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน(ปปง.) ในการอายัดทรัพย์สิน ซึ่งกระบวนการดังกล่าวต้องใช้เวลาทำให้ไม่สามารถอายัดธุรกรรมทางการเงินได้ทันที ส่งผลให้ที่ผ่านมากลุ่มที่กระทำผิดจะโยกย้ายถ่ายเทเงินทองและทรัพย์สินไปก่อนถูกอายัดแล้ว

    “ก่อนหน้านี้มีกรณีการโกงภาษีมูลค่าเพิ่ม(VAT) เพื่อการส่งออกกว่า 4,100 ล้านบาท ซึ่งจนถึงขณะนี้ยังไม่สามารถตามเงินภาษีดังกล่าวกลับคืนมาได้แม้แต่บาทเดียว เพราะกลุ่มที่กระทำผิดรู้ตัว หลบหนี และถ่ายเททรัพย์สินไปจนเกือบหมดแล้ว หากต่อไปกรมสรรพากรมีอำนาจในการสอบสวนและอายัดบัญชีได้ น่าจะช่วยปิดช่องโหว่จะตามเงินภาษีที่ถูกโกงไปกลับมาได้เร็วขึ้น ทำให้รัฐเสียหายน้อยลง โดยเกิดกรณีนี้มาหลายเคสแต่การตามเงินภาษีคืนนั้นยากมาก”นายประสงค์ กล่าว

    ทั้งนี้ ฝ่ายกฎหมายของกรมสรรพากร กำลังพิจารณาเพื่อจัดทำร่างกฎหมายเสนอไปยังสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) คาดว่าเรื่องนี้จะได้รับการพิจารณา และนำมาออกมาใช้ได้ในเร็วๆ นี้ เพราะที่ผ่านมา คสช.ได้เห็นชอบในหลักการเบื้องต้นแล้ว

   นายประสงค์ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้กรมสรรพากร เตรียมเสนอ สนช.ให้มีการแก้ไขกฎหมายกรณีการจัดเก็บภาษีของคณะบุคคล เพื่อปิดช่องว่างของกลุ่มที่มีอาชีพพิเศษ อาทิ หมอ วิศวะ ดารา นักร้องฯลฯ ที่ตั้งคณะบุคคลขึ้นมาเพื่อหลบเลี่ยงภาษี โดยก่อนหน้านี้กรมได้ปรับลดภาษีเงินได้บุคคลจากสูงสุด 37% เหลือ 35% และซอยขั้นของภาษีให้ถี่ขึ้น ดังนั้นกลุ่มคณะบุคคลควรต้องนำรายได้มาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในช่องทางปกติ แม้จะลงรายได้เป็นคณะบุคคล แต่การเสียภาษีต้องแยกรายได้มาเสียภาษีเป็นรายบุคคลแทน เท่ากับว่าต่อไปการคำนวณภาษีแบบคณะบุคคลก็จะไม่มีแล้ว

    มีรายงานข่าวแจ้งว่า ที่ผ่านมา มีการหลีกเลี่ยงภาษี โดยการจัดตั้งคณะบุคคลเป็นเท็จ สร้างรายจ่ายเท็จ ทำให้เสียภาษีน้อยลงหรือไม่ต้องเสียภาษี หรือมีการขอคืนภาษี ทั้งนี้วิธีการจัดตั้งคณะบุคคลเป็นเท็จขึ้นมาหลายๆ คณะโดยแต่ละคณะบุคคลจะมีชื่อของผู้มีเงินได้อยู่ในทุกคณะบุคคล เพื่อเป็นการกระจายฐานเงินได้ของผู้มีเงินได้ที่แท้จริง ทำให้เสียภาษีในอัตราต่ำ นอกจากนี้คณะบุคคลยังมีการขอคืนภาษี โดยอ้างว่าถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย นำส่งกรมสรรพากรไว้

    สำหรับ คณะบุคคล คือบุคคลตั้งแต่สองคน ไม่เกินสามคน (ที่ไม่ใช่ สามี ภรรยา ซึ่งจดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย) ร่วมธุรกิจกัน ประกอบกิจการ การค้า โดยต้อง ทำสัญญาตกลงจัดตั้งคณะบุคคล โดยระบุวัตถุประสงค์ที่ต้องการจัดตั้งและต้องมอบหมายให้ บุคคลใด บุคคลหนึ่ง เป็นผู้ดำเนินการของคณะบุคคลนี้ โดยยื่นต่อกรมสรรพากร เพื่อขอ หมายเลข ประจำตัวผู้เสียภาษี

สรรพากรล้างแก๊งโกงภาษีเล็งยื่นสนช.เพิ่มอำนาจสอบ-อายัดเงิน

   ไทยโพสต์ : อารีย์ * กรมสรรพากรจ่อชง สนช.ขอเพิ่มอำนาจเจ้าหน้าที่ ลุยสอบสวน-อายัดบัญชีแก๊งโกงภาษี หลัง คสช.เห็นชอบในหลักการไปแล้ว

   นายประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เห็นชอบในหลักการที่จะเพิ่มอำนาจให้เจ้าหน้าที่ของกรมสรรพากรมีอำนาจระงับธุรกิจ ทางการเงินของขบวนการโกงภาษี ทั้งธุรกรรมของตัวการและผู้ร่วมขบวนการ พร้อมทั้งให้อำนาจกรมสรรพากรเป็นพนักงานสอบสวนกรณีโกงภาษีได้ ซึ่งตรงนี้ทำให้การติดตามเงินภาษีที่หายไปจากการทุจริต การโกง ได้อย่างทันท่วงที จากเดิมที่อำนาจในการสอบสวนเป็นของตำรวจ ซึ่งต้องส่งเรื่องฟ้องศาล ขออำนาจศาล หรือขออำนาจของคณะกรรมการป้องกันและ ปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ในการอายัดทรัพย์สิน ซึ่งกระ บวนการดังกล่าวต้องใช้เวลา ทำให้ไม่สามารถอายัดธุรกรรมทางการเงินได้ทันที ส่งผลให้ที่ผ่านมากลุ่มที่กระทำผิดจะโยกย้ายถ่ายเทเงินทองและทรัพย์สินไปก่อนถูกอายัดแล้ว

   "ก่อนหน้านี้มีกรณีการโกงภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) เพื่อการส่งออกกว่า 4.1 พันล้านบาท ซึ่งจนถึงขณะนี้ยังไม่สามารถตามเงินภาษีดังกล่าวกลับคืนมาได้แม้แต่บาทเดียว เพราะกลุ่มที่กระทำผิดรู้ตัว หลบหนี และถ่ายเททรัพย์สินไปจนเกือบหมดแล้ว หากต่อไปกรมสรรพากรมี อำนาจในการสอบสวนและอายัดบัญชีได้ น่าจะช่วยปิดช่องโหว่จะตามเงินภาษีที่ถูกโกงไปกลับมาได้เร็วขึ้น ทำให้รัฐเสียหายน้อยลง โดยเกิดกรณีนี้มาหลายเคส แต่การตามเงินภาษีคืนนั้นยากมาก" นายประสงค์กล่าว

   ทั้งนี้ ฝ่ายกฎหมายของกรมกำลังพิจารณาเพื่อจัดทำร่างกฎหมายเสนอไปยังสภานิติ บัญญัติแห่งชาติ (สนช.) คาดว่าเรื่องนี้จะได้รับการพิจารณาและนำมาออกมาใช้ได้ในเร็วๆ นี้ เพราะ คสช.ได้เห็นชอบในเบื้องต้นแล้ว

   นอกจากนี้ กรมเตรียมเสนอ สนช.ให้มีการแก้ไขกฎ หมายกรณีคณะบุคคล เพื่อปิดช่องว่างของกลุ่มที่มีอาชีพพิเศษ อาทิ หมอ วิศวะ ดารา นักร้อง ที่ตั้งคณะบุคคลขึ้นมาเพื่อหลบเลี่ยงภาษี โดยก่อนหน้านี้กรมได้ปรับลดภาษีเงินได้บุคคลจากสูงสุด 37% เหลือ 35% และซอยขั้นของภาษีให้ถี่ขึ้น ดังนั้นกลุ่มคณะบุคคลควรต้องนำรายได้มาเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในช่องทางปกติ แม้จะลงรายได้เป็นคณะบุคคล แต่การเสียภาษีต้องแยกรายได้มาเสียภาษีเป็นรายบุคคลแทน เท่ากับว่าต่อไปการคำนวณภาษีแบบคณะบุคคลก็จะไม่มีแล้ว

   ก่อนหน้านี้ กรมสรรพากรได้เชิญสำนักงานบัญชีกว่า 1 หมื่นแห่งทั่วประเทศ ที่มีลูกค้าในมือเกินกว่า 30 ราย มาประชุมเพื่อทำความเข้าใจ และชี้แจงถึงหลักเกณฑ์ในการจัดทำบัญชีให้ลูกค้า โดยเฉพาะในส่วนของการประเมินผล

  การดำเนินงานในปี 2557 ที่จะใช้ในการคำนวณภาษีให้อยู่บนพื้นฐานที่ถูกต้องและเป็นจริงมากที่สุด เนื่องจากสถิติที่ผ่านมา สำนักงานบัญชีมีการ ประเมินผลการดำเนินงานของ บริษัทเอกชนไม่สอดคล้องกับ ความเป็นจริงถึง 7% ของจำ นวนบริษัทนิติบุคคลที่ต้องเสียภาษีทั้งหมด

   นอกจากนี้ จะมีการตรวจสอบเจ้าหน้าที่สรรพากรเข้มงวดมากขึ้น เนื่องจากกรมเก็บภาษีได้ต่ำกว่าเป้าหมาย โดยให้สรรพากรเขตมีอำนาจเข้าไปตรวจสอบการทำงานของสรรพากรจังหวัดได้ หากพบว่าผู้ตรวจสอบกระทำผิดก็จะสั่งให้ขึ้นบัญชีดำและปรับ หรือเพิกถอนใบอนุญาต.

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!