WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

customsกรมศุลกากร เผยคณะกรรมการอุทธรณ์ตามกฏหมาย มีมติให้ 'อีซูซุ มอเตอร์ (ประเทศไทย)'ชำระอากรเพิ่ม 52 ลบ. เหตุนำเข้าเกินปริมาณ-ไม่ตรงรุ่น

     นายสมชัย สัจจพงษ์ อธิบดีกรมศุลกากร เปิดเผยว่า การดำเนินคดีบริษัท อีซูซุ มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด เจ้าหน้าที่กรมศุลฯได้ตรวจสอบเอกสารการนำเข้าพบว่า ระหว่างปี 2543-2545 บริษัทมีการนำเข้าสินค้าชุดเกียร์รถยนต์ ตามใบขนสินค้ารวม 102 ฉบับจากฟิลิปปินส์ โดยขอใช้สิทธิลดอัตราอากรตามโครงการความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางอุตสาหกรรมอาเซียน หรือ AICO จากปกติ 42% เหลือ 5% แต่ได้นำเข้าเกินกว่าสิทธิที่ได้รับเป็นเหตุให้อากรขาเข้าจาก 753,793,390 บาท ภาษีมูลค่าเพิ่มขาด 52,765,538 บาท

    โดยในส่วนภาษีอากรที่ขาดคณะกรรมการอุทธรณ์ตามกฎหมายกรมศุลฯมีมติให้บริษัทต้องชำระอากรเพิ่ม โดย 2 กรณี คือ 1.การนำเข้าเกินกว่าปริมาณที่ได้รับตามโครงการ และ2.กรณีการนำเข้าไม่ตรงรุ่น ให้ชำระอากรในอัตราปกติ 42% เป็นเหตุให้อากรขาเข้าขาด 624,061,738 บาท ภาษีมูลค่าเพิ่มขาด 42,684,320 บาท เงินเพิ่มอาการ 1,042,319,795.43 บาท เงินเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่ม 43,684,320 บาท เลี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม 43,684,320 ล้านบาท ซึ่งกรมศุลฯได้มีหนังสือแจ้งไปยังบริษัทแล้ว

    ส่วนคดีการนำเข้ารถยนต์โตโยต้า รุ่นพรีอุส นั้นกรมศุลฯได้ทยอยออกแบบแจ้งการประเมินอากรให้บริษัทมาชำระค่าภาษีอากรที่ขาดแล้ว โดยบริษัทมีความผิดโดยชำระภาษีอากรไม่ถูกต้อง เป็นความผิดในฐานสำแดงเท็จ ตามมาตรา99 แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 เป็นเหตุให้อากรและค่าภาษีข่เ โดยอากรขาเข้า 7,605,928,511.58 บาท ภาษีสรรพสามิต 2,024,461,697.13 บาท ภาษีเพื่อมหาดไทย 216,543,087.10 บาท รวมทั้งสิ้น 11,669,128,837.44 บาท โดยขณะนี้บริษัทฯได้มีการยื่นอุทธรณ์การประเมินอากรดังกล่าว ซึ่งกรมศุลฯได้นำเรื่องดังกล่าวเข้าประชุมในคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เรียบร้อยและที่ประชุมมีมติให้เรียกเก็บภาษีที่ขาดตามที่ตรวจสอบต่อไป

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

โตโยต้า โดนเรียกเก็บภาษีเพิ่ม 1.16 หมื่นล. ผิดชำระภาษีรุ่นพรีอุส

     กรมศุลกากร สั่งบริษัท โตโยต้า จ่ายภาษีเพิ่มอีก 1.16 หมื่นล้านบาท กรณีชำระภาษีรถยนต์รุ่นพรีอุสไม่ครบ

    นายสมชัย สัจจพงษ์ อธิบดีกรมศุลกากร เผยว่า ต้นเดือนมิถุนายน 55 ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่กรมศุลกากรได้ตรวจสอบการชำระอากรของบริษัทโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ที่นำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์จากประเทศญี่ปุ่นมาประกอบเป็นรถยนต์โตโยต้า รุ่นพรีอุส ระหว่างปี 2553 ถึง 2555 ตามใบขนสินค้า 244 ฉบับ พบว่า มีการสำแดงในใบขนและขอใช้สิทธิลดอัตราการนำเข้าไม่ตรงตามข้อเท็จจริง ดังนั้นโตโยต้าจึงมีความผิดโดยชำระภาษีอากรไม่ถูกต้อง เป็นเหตุให้อากรและภาษีขาดไปคือ อากรขาเข้า 7,605 ล้านบาท ภาษีสรรพสามิต 2,024 ล้านบาท ภาษีเพื่อมหาดไทย 216 ล้านบาท และภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) 1,822 ล้านบาท รวมทั้งสิ้นเป็นเงิน 1.16 หมื่นล้านบาท ซึ่งกรมศุลกากรได้ทยอยออกแบบแจ้งการประเมินอากรให้บริษัท โตโยต้า มาชำระค่าภาษีอากรที่ขาดแล้ว

รมว.คลัง คาดปีนี้รัฐ-เอกชน CLMV แห่ระดมทุนผ่านตลาดตราสารหนี้ไทยเพิ่มขึ้น

    นายสมหมาย ภาษี รมว.คลัง คาดว่า ภาครัฐและเอกชนของประเทศในกลุ่ม CLMV โดยเฉพาะพม่า ลาว และกัมพูชา จะเข้ามาระดมทุนด้วยตราสารสกุลบาทผ่านตลาดตราสารหนี้ของไทยเพิ่มขึ้นในปีนี้ หลังจากที่ตลาดตราสารหนี้ไทยเปิดให้ประเทศเพื่อนบ้าน อย่างลาวเข้ามาระดมทุนด้วยพันธบัตรสกุลบาท(บาทบอนด์) และประสบความสำเร็จ เนื่องจากสกุลเงินบาทมีความแข็งแกร่งเมื่อเทียบกับค่าเงินในภูมิภาค

    "ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ต่างชาติเชื่อมั่นเข้ามาลงทุนในไทย คือสกุลเงินบาท ที่ต้องยอมรับว่าเป็นสกุลเงินที่ถือว่าแข็งแกร่งในภูมิภาคเอเชีย เมื่อเทียบกับสกุลเงินหยวน เยน ริงกิต วอน เป็นต้น อีกทั้งประเด็นสำคัญที่ได้มีการหารือกับทางแบงก์ชาติ ก็คือให้พยายามเปิดกับประเทศเพื่อนบ้านไม่ใช่แค่เรื่องของบาทบอนด์ แต่ให้รวมไปถึงเรื่องของการค้า เกี่ยวกับการทำธุรกรรม จากที่จะมีการเปิด AEC"นายสมหมาย กล่าว

    ทั้งนี้ ตลาดตราสารหนี้ของไทยมีการขยายตัวมาอย่างต่อเนื่อง โดยขณะนี้มีขนาดราว 13 ล้านล้านบาท มูลค่าการซื้อขายคิดเป็น 76% ของผลผลิตมวลรวมในประเทศ(GDP) แต่ยังมีมูลค่าน้อยกว่าตลาดสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ที่มีการปล่อยสินเชื่อ 106% ของ GDP รวมถึงตลาดตราสารทุนที่มีมูลค่าการซื้อขายคิดเป็น 114% ของ GDP ซึ่งตลาดตราสารหนี้ยังมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก

    นายสมหมาย กล่าวว่า การเติบโตที่เพิ่มสูงขึ้นของตลาดตราสารหนี้ทำให้รัฐบาลพึ่งพาการกู้จากตลาดตราสารหนี้จำนวนมาก จากปี 40 รัฐบาลมีสัดส่วนหนี้ต่างประเทศมากถึง 85% และที่เหลืออีก 15% เป็นการกู้ยืมจากสถาบันทางการเงินในประเทศ แต่ในปี 58 ตั้งแต่เดือน ม.ค.ที่ผ่านมา การกู้ยืมจากต่างประเทศลดลงเหลือเพียง 1.92% เนื่องจากรัฐบาลมีการกู้เงินผ่านตลาดตราสารหนี้มากขึ้นถึง 98% ทำให้ประเทศไทยเป็นหนี้ต่างประเทศลดลงมาก

    ขณะที่ก็มีผู้เข้ามาลงทุนเพิ่มขึ้น โดยส่วนใหญ่จะเป็นนักลงทุนสถาบัน 40% ธนาคารพาณิชย์ 14% และที่เหลือเป็นนักลงทุนต่างชาติ จะเห็นได้ว่าต่างชาติได้ให้ความเชื่อถือตลาดตราสาหนี้ของไทยสูงมาก

      อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!