WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

MOFพรชย ฐระเวชคลังลุ้นล้านคนบริจาคเบี้ยชรา เดินหน้าจัดสรรงบดูแลผู้สูงวัย

       ไทยโพสต์ :  พระราม 6 * คลังลุ้น 1 ล้านคนบริจาคเบี้ยผู้สูงอายุเข้ากองทุนคนชรา หวังดันเงินกองทุนทะยานแตะ 1.2 หมื่นล้านบาท จัดสรรดูแลคนแก่ที่ยากจนในโครงการลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อย 3.6 ล้านราย

       นายพรชัย ฐีระเวช ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 16 พ.ย.ที่ผ่านมา สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้มีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ผู้สูงอายุ (ฉบับที่..) พ.ศ... เพื่อเพิ่มเติมแหล่งที่มาของกองทุนผู้สูงอายุ และนำเงินกอง ทุนผู้สูงอายุไปจัดสรรเป็นเงินช่วยเหลือให้แก่ผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อย ซึ่งเป็นการรองรับมาตรการให้เงินช่วยเหลือแก่ผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อยในโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ เพื่อดูแลประชาชนกลุ่มดังกล่าวให้มีรายได้ในการดำรงชีพเพิ่มขึ้น และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

      ปัจจุบันมีผู้สูงอายุที่รับเบี้ยยังชีพทั้งสิ้น 8 ล้านราย ในส่วนนี้แบ่งเป็นผู้สูงอายุที่มีความยากจน และลงทะเบียนในโครงการเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐจำนวน3.6 ล้านราย ส่วนที่เหลืออีก 4.4 ล้านรายนั้น เป็นผู้สูงอายุที่ไม่ได้ลงทะเบียนในโครงการดังกล่าว และคาดว่าในส่วนนี้จะมีผู้สูงอายุที่บริจาคเบี้ยยังชีพเข้ากองทุนผู้สูงอายุประมาณ 25% หรือคิดเป็น 1 ล้านราย คิดเป็นวงเงินประมาณ 8 พันล้านบาท ซึ่งวงเงินดังกล่าวเมื่อรวมกับเงินบำรุงกองทุนจากภาษีสรรพสามิตแล้ว จะทำให้กองทุนผู้สูงอายุมีเงินทั้งสิ้น 1.2 หมื่นล้านบาท ซึ่งน่าจะเพียงพอในการจัดสรรดูแลผู้สูงอายุที่มีความยากจนจำนวน 3.6 ล้านรายต่อไป.

สนช.ผ่านร่าง พ.รบ.ผู้สูงอายุแล้ว รองรับมาตรการให้เงินช่วยเหลือผู้สูงอายุรายได้น้อยกว่า 3.6 ล้านคน

     นายพรชัย ฐีระเวช ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะรองโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้มีมติเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2560 เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.ผู้สูงอายุ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เพื่อเพิ่มเติมแหล่งที่มาของเงินกองทุนผู้สูงอายุ และนำเงินกองทุนผู้สูงอายุไปจัดสรรเป็นเงินช่วยเหลือให้แก่ผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อย ซึ่งเป็นการรองรับมาตรการให้เงินช่วยเหลือแก่ผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อยในโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ เพื่อดูแลประชาชนกลุ่มดังกล่าวให้มีรายได้ในการดำรงชีพเพิ่มขึ้น และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยมีสรุปสาระสำคัญ และความคืบหน้าของการดำเนินการที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

      1. เหตุผลและความจำเป็น

       โดยที่ปัจจุบันประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ และรัฐบาลให้ความสำคัญกับการช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อยให้ได้รับสวัสดิการที่จำเป็น จึงได้มีมาตรการให้เงินช่วยเหลือผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อยที่อยู่ในโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐเพื่อให้มีรายได้ในการดำรงชีพเพิ่มขึ้นและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยกำหนดให้กองทุนผู้สูงอายุนำเงินกองทุนมาจ่ายเป็นเงินช่วยเหลือแก่ผู้สูงอายุกลุ่มดังกล่าว และกำหนดให้มีการเพิ่มแหล่งที่มาของเงินกองทุนสำหรับนำมาใช้ตามวัตถุประสงค์นี้ ประกอบด้วย เงินบำรุงกองทุนผู้สูงอายุจากภาษีสรรพสามิตในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสินค้าสุราและยาสูบ และโครงการบริจาคเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเข้ากองทุนผู้สูงอายุ

      2. แหล่งเงินของกองทุนผู้สูงอายุ ประกอบด้วย

      2.1 เงินบำรุงกองทุนผู้สูงอายุจากเงินบำรุงกองทุนจากผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยภาษีสรรพสามิตในอัตราร้อยละ 2 ของภาษีที่เก็บจากสินค้าสุราและยาสูบตามกฎหมายดังกล่าว สูงสุดปีงบประมาณละไม่เกิน 4,000 ล้านบาท (เริ่มดำเนินการเมื่อร่างพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีผลบังคับใช้)

      2.2 โครงการบริจาคเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเข้ากองทุนผู้สูงอายุ ซึ่งกำหนดวันเริ่มโครงการตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2560 เป็นต้นไป โดยให้ผู้ที่รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุอยู่ในปัจจุบันสามารถนำบัตรประจำตัวประชาชน (หรือเอกสารมอบอำนาจ) แจ้งความประสงค์ขอบริจาคเบี้ยยังชีพได้ที่หน่วยงานที่ได้แจ้งลงทะเบียนรับเบี้ยยังชีพไว้ ได้แก่ สำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล สำนักงานเมืองพัทยา และสำหรับผู้ที่มีทะเบียนบ้านที่ต่างจังหวัดแต่อาศัยในกรุงเทพฯ สามารถแจ้งบริจาคได้ที่กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ถนนนครราชสีมา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ซึ่งหน่วยงานรับแจ้งการบริจาค จะจัดเตรียมแบบฟอร์มการขอบริจาคเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุสำหรับผู้สูงอายุที่มีความประสงค์บริจาคเบี้ยยังชีพ

       ทั้งนี้ ผู้บริจาคจะได้รับเหรียญเชิดชูเกียรติ และสิทธิในการหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 1 เท่าของเงินที่บริจาค แต่เมื่อรวมกับเงินบริจาคอื่นแล้วไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้พึงประเมินหลังจากหักค่าใช้จ่ายและหักค่าลดหย่อน ซึ่งกองทุนผู้สูงอายุจะจัดส่งใบเสร็จรับเงินให้แก่ผู้บริจาคต่อไป ทั้งนี้ ผู้บริจาคเบี้ยยังชีพสามารถใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีดังกล่าวได้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป

     3. ผู้รับเงินช่วยเหลือ

      ผู้สูงอายุในโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ โดยจากการลงทะเบียนในปี 2560 มีจำนวน 3.6 ล้านคน

     4. การจัดสรรเงินช่วยเหลือ

     หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดสรรเงินช่วยเหลือจะเป็นไปตามที่คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ (กผส.) กำหนด ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการนำเสนอ กผส. พิจารณา และกรมบัญชีกลางจะนำเงินช่วยเหลือดังกล่าวเข้าบัตรสวัสดิการแห่งรัฐให้แก่ผู้สูงอายุในโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐต่อไป

      ทั้งนี้ ร่าง พ.ร.บ.ผู้สูงอายุ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... จะรองรับการดำเนินมาตรการให้เงินช่วยเหลือแก่ผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อย ซึ่งจะช่วยเพิ่มรายได้ในการดำรงชีพ และยกระดับคุณภาพชีวิตให้แก่ผู้สูงวัย 3.6 ล้านคนทั่วประเทศ

      นายพรชัย กล่าวว่า ปัจจุบันมีผู้สูงอายุที่รับเบี้ยยังชีพทั้งสิ้น 8 ล้านราย ในส่วนนี้แบ่งเป็นผู้สูงอายุที่มีความยากจน และลงทะเบียนในโครงการเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ 3.6 ล้านราย ส่วนที่เหลืออีก 4.4 ล้านรายนั้นเป็นผู้สูงอายุที่ไม่ได้ลงทะเบียนในโครงการดังกล่าว และคาดว่าในส่วนนี้จะมีผู้สูงอายุที่บริจาคเบี้ยยังชีพเข้ากองทุนผู้สูงอายุประมาณ 25% หรือคิดเป็น 1 ล้านราย คิดเป็นวงเงินประมาณ 8 พันล้านบาท ซึ่งวงเงินดังกล่าวเมื่อรวมกับเงินบำรุงกองทุนจากภาษีสรรพสามิตแล้ว จะทำให้กองทุนผู้สูงอายุมีเงินทั้งสิ้น 1.2 หมื่นล้านบาท ซึ่งน่าจะเพียงพอในการจัดสรรดูแลผู้สูงอายุที่มีความยากจนจำนวน 3.6 ล้านรายต่อไป

       "ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยปัจจุบันมีประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปี ทั้งสิ้น 11 ล้านคน หรือคิดเป็น 16% ของประชากรทั้งหมด และคาดว่าในปี 2564 จะมีประชากรผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเป็น 20% ของประชากรทั้งหมด ทำให้รัฐบาลต้องใช้งบประมาณในการดูแลผู้สูงอายุในส่วนนี้เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก จากปัจจุบันมีการใช้งบประมาณในการดูแลเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ประมาณ 6.4 หมื่นล้านบาท" นายพรชัย กล่าว

       อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!