WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Gอภศกด ตนตวรวงศ 1คลังยื้อรีดภาษี'อี-คอมเมิร์ซ'หลังผลโหวต'เสียงส่วนใหญ่'ค้าน

        แนวหน้า : แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่ากรมสรรพากรได้สรุปการแสดงความคิดเห็นร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) เก็บภาษีจากผู้ประกอบการธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (e-Business) หรือภาษี อี-คอมเมิร์ซผ่านทางเว็บไซต์ของกรมสรรพากร ในช่วงวันที่ 21 มิถุนายน ถึง 11 กรกฎาคม 2560 เพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โดยแสดงความคิดเห็น 64 ราย เห็นด้วย 29 ราย และไม่เห็นด้วย 35 ราย

       ทั้งนี้ การที่มีผู้แสดงไม่เห็นด้วยมากกว่าเห็นด้วย ทำให้กรมสรรพากรต้องทำการชี้การแสดงความคิดเห็นต่างๆ ที่ไม่เห็นด้วยอย่างละเอียด ว่าทำไมรัฐบาลถึงมีความจำเป็นในการออกกฎหมายดังกล่าว ก่อนที่จะเสนอร่างกฎหมายให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) และเสนอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เห็นชอบ ซึ่งเดิมกรมสรรพากรตั้งเป้าจะให้กฎหมายนี้มีผลบังคับใช้ในปี 2561 เพื่อทำให้การเก็บภาษีได้มากขึ้น แต่เมื่อมีคนไม่เห็นด้วยอาจทำให้การพิจารณากฎหมายนี้ล่าช้าออกไป

       สำหรับ สาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ. ภาษีอี-คอมเมิร์ซ การเก็บภาษีกับ ผู้ประกอบการนิติบุคคลซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ ประกอบกิจการโดยการใช้ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ทำให้เกิดรายได้ในประเทศไทย เช่น เฟซบุ๊ค กูเกิ้ล ยูทูบ ไลน์ เป็นต้น จะมีการกำหนดอัตราเพดานสูงสุดไว้ในกฎหมาย ให้ เสียภาษีหักที่จ่ายไม่เกิน 15% โดย ผู้จ่ายเงินเป็นผู้มีหน้าที่หักภาษีและนำส่งให้กรมสรรพากร อย่างไรก็ตาม จะต้องมีการออกกฎหมายลูกเพื่อกำหนดอัตราที่แท้จริงอีกครั้ง ซึ่งจะมีหลายอัตราตามประเภทการประกอบธุรกิจ

       นายอภิศักดิ์ ตันติวงรวศ์ รมว.คลัง กล่าวว่า การต้องเปิดรับแสดงความคิดเห็นตามมาตรา 77 สำหรับกฎหมายที่เกี่ยวกับ ภาษี จะทำให้เกิดปัญหามาก เพราะไม่มีใครเห็นด้วยกับการเก็บภาษีอยู่แล้ว หากไม่แก้ไขก็จะทำให้การออกกฎหมายด้านภาษีมีปัญหา และทำได้ยาก

      ทั้งนี้ การออกกฎหมายเก็บภาษีอี-คอมเมิร์ซ เป็นส่วนหนึ่งของแผนการเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บภาษีของกรมสรรพากร และการเก็บรายได้โดยรวมของรัฐบาล เพื่อให้เพียงพอกับรายจ่ายของประเทศที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยที่ ไม่ต้องไปเพิ่มอัตราภาษีอื่นๆ โดยเฉพาะการเก็บอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มที่ปัจจุบัน ลดการเก็บจากอัตรา 10% เป็น 7%

รีดภาษีอีคอมเมิร์ซมีกร่อย! รับฟังความเห็นสะดุดคลังชี้ต้องเดินหน้าต่อ

      ไทยโพสต์ * ภาษีอี-คอมเมิร์ซกร่อย! ประชาชนไม่เห็นด้วยหลังเปิดรับฟังความคิดเห็น ด้าน 'สรรพากร' เตรียมเร่งชี้แจงรายละเอียด ชูความจำเป็นในการออกกฎหมาย ก่อนเสนอ ครม.สนช. พิจารณาต่อไป ทำใจบังคับใช้กฎหมายไม่ทันตามเป้าหมาย ปี 2561

       แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า กรมสรรพา กรได้สรุปการรับฟังความคิดเห็นต่อร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) เก็บภาษีจากผู้ประกอบการธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (e- Business) หรือภาษีอี-คอมเมิร์ซ ผ่านทางเว็บไซต์ของกรมสรรพา กร ในช่วงวันที่ 21 มิ.ย.-11 ก.ค.2560 เพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โดยมีผู้แสดงความคิดเห็น 64 ราย เห็นด้วย 29 ราย และไม่เห็นด้วย 35 ราย

    ทั้งนี้ การที่มีผู้แสดงไม่ เห็นด้วยมากกว่าเห็นด้วย ทำ ให้กรมสรรพากรต้องทำการชี้ แจงถึงการแสดงความคิดเห็น ต่างๆ ที่ไม่เห็นด้วยอย่างละเอียด ว่าทำไม่รัฐบาลถึงมีความจำเป็น ในการออกกฎหมายดังกล่าว ก่อนที่จะเสนอร่างกฎหมายให้ คณะรัฐมนตรี (ครม.) และเสนอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เห็นชอบ ซึ่งเดิมกรมสรรพากรตั้งเป้าหมายจะให้กฎหมายนี้มีผลบังคับใช้ในปี 2561 เพื่อทำให้การเก็บภาษีได้มากขึ้น แต่เมื่อมีคนไม่เห็นด้วยอาจทำให้การพิจารณากฎหมายนี้ล่าช้าออกไป

       ทั้งนี้ สาระสำคัญของร่างพ.ร.บ.ภาษีอี-คอมเมิร์ซ คือการ เก็บภาษีกับผู้ประกอบการนิติ บุคคล ซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ ประกอบกิจการโดยการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ทำให้เกิดรายได้ในประเทศไทย เช่น เฟซบุ๊ก กูเกิล ยูทูบ ไลน์ เป็นต้น จะมีการกำหนดอัตราเพดานสูงสุดไว้ในกฎหมาย ให้เสียภาษีหักที่จ่ายไม่เกิน 15% โดยผู้จ่ายเงินเป็นผู้มีหน้าที่ หักภาษีและนำส่งให้กรมสรรพา กร อย่างไรก็ตาม จะต้องมีการออกกฎหมายลูกเพื่อกำหนดอัตราที่แท้จริงอีกครั้ง ซึ่งจะมีหลายอัตราตามประเภทการประกอบธุรกิจ

     "ผู้แสดงความคิดเห็นต่างตั้งข้อสังเกต ถึงการกำหนดนิยามของผู้ประกอบการที่ต้องเสียภาษีรายได้ที่ต้องเสียภาษี รวมถึงการชำระภาษีว่าเป็นอย่างไรและจะทำให้เกิดปัญหาในการประกอบธุรกิจมากน้อยขนาดไหน ซึ่งกรมสรรพากรได้ทำการชี้แจงการแสดงความเห็นต่างๆ ให้มากที่สุด" แหล่งข่าวกล่าว

      นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.การคลัง เปิดเผยว่า การออกกฎหมายเก็บภาษีอี-คอม เมิร์ซ เป็นส่วนหนึ่งของแผน การเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บภาษีของกรมสรรพากร และการเก็บรายได้โดยรวมของรัฐ บาล เพื่อให้เพียงพอกับรายจ่ายของประเทศที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยที่ไม่ต้องไปเพิ่มอัตราภาษีอื่นๆ โดยเฉพาะการเก็บอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) ที่ปัจจุบันลดการเก็บจากอัตรา 10% เป็น 7%

      อย่างไรก็ดี ก่อนหน้านี้นายประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า ขณะนี้มีช่องว่างในการเก็บภาษีธุรกิจอีคอมเมิร์ซอย่างมาก โดยเฉพาะผู้ประกอบการกิจการออนไลน์รายใหญ่ที่กรมสรรพากรไม่สามารถเก็บรายได้จากการลงโฆษณาได้ เพราะบริษัทแม่ตั้งอยู่ในต่างประเทศ ส่วนบริษัทลูกที่ตั้งในเมืองไทยก็เป็นอิสระจากบริษัทแม่ เป็นช่องว่างทำ ให้เก็บภาษีได้.

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!