WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

MOFพรชย ฐระเวชสศค. เผยเตรียมปรับเพิ่มเป้าจีดีพีปี 61 ช่วงม.ค.นี้ จากเดิมคาดโต 3.8% หลังส่งออกดีกว่าคาด ปีนี้คาดส่งออกโตเกิน 10%

       สศค. เผยเศรษฐกิจไทย พ.ย. 60 เติบโตต่อเนื่อง หลังส่งออก-บริโภคสินค้าคงทน-ลงทุนเอกชนขยายตัวดี พร้อมปรับเพิ่มเป้าจีดีพีปี 61 จากเดิมคาดขยายตัว 3.8% หลังส่งออกเติบโตดีกว่าคาด ปีนี้คาดเติบโตเกิน 10% สูงกว่าเป้าหมายที่คาดเติบโต 8.5%

  นายพรชัย ฐีระเวช ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน ในฐานะโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า ในเดือน ม.ค. 61 สศค.เตรียมปรับเพิ่มประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 61 จากเดิมคาดขยายตัว 3.8% ซึ่งประเมินไว้เมื่อ ต.ค.ที่ผ่านมา หลังเห็นสัญญาณการฟื้นตัวในหลายด้านทั้งงการส่งออกที่เติบโตได้ดีกว่าคาด เดิมประเมินปีนี้ส่งออกเติบโต 8.5% ซึ่งมีโอกาสที่จะเติบโตมากกว่า 10% หลัง 11 เดือนส่งออกเติบโต 10% เนื่องจากเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวดีกว่าคาด ส่วน ปี 61 ประเมินส่งออกเติบโต 4%

  "ปีนี้จีดีพีน่าจะดีกว่าคาดได้ เพราะส่งออกเติบโตได้ดี ส่วนปีหน้าก็คาดจะดีต่อเนื่อง เพราะเศรษฐกิจโลกขยายตัวได้ดี จากปีนี้เราปรับจีดีพีโลกเพิ่มขึ้นเป็น 3.9% จากเดิม 3.7% ซึ่งถือว่าเป็นครั้งแรกที่เศรษฐกิจการค้าโลกโตสูงกว่าเศรษฐกิจโลก ซึ่งมองได้ว่าเศรษฐกิจโลกโตได้เพราะการค้าเป็นตัวนำ"นายพรชัย กล่าว

  สำหรับ ปี 61 ยังมีปัจจัยเสี่ยงจากการเบิกจ่ายภาครัฐที่ยังไม่เป็นไปตามเป้าหมาย รวมถึงการปรับขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐ และ ความขัดแย้งระหว่างประเทศอาจมีผลต่อการค้าโลก แต่สศค.จะติดตามอย่างใกล้ชิดเพื่อประเมินสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ทุนสำรองระหว่างประเทศของไทยยังอยู่ในระดับสูงจึงไม่น่ากังวล

  ทางด้านรายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือน พ.ย. 60 เศรษฐกิจไทย ขยายตัวได้อย่างแข็งแกร่ง โดยเฉพาะในด้านอุปสงค์ พบว่า การส่งออกสินค้า การบริโภคสินค้าคงทน การลงทุนภาคเอกชน ขยายตัวในอัตราเร่งและได้รับแรงสนับสนุนจากการใช้จ่ายภาครัฐที่ขยายตัวได้ดี ส่วนในด้านอุปทาน พบว่า จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศยังคงขยายตัวในระดับสูงต่อเนื่อง บวกกับความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัวดีขึ้น

  สำหรับ เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคภาคเอกชนยังขยายตัวได้ดีสะท้อนจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ขยาย 1.6% ต่อปี สำหรับปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งขยายตัวต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเดือนที่ 11 นับตั้งแต่ต้นปี และ ขยายตัวสูงถึง 34.9% ต่อปี และ เมื่อปรับผลทางฤดูกาลขยายตัว 5.7% ต่อเดือน

  ส่วนปริมาณนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคใน พ.ย.60 ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 ติดต่อกันโดยขยายตัว 11.9% ต่อปี และเมื่อปรับผลทางฤดูกาลออก (m-o-m SA) พบว่า ขยายตัว 4.0% ต่อเดือน ขณะที่ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวต่อเนื่องที่ 10.7% ต่อปี และ เมื่อปรับผลทางฤดูกาลขยายตัว 8.8% ต่อเดือนนอกจากนี้ รายได้เกษตรกรที่แท้จริง หดตัว 6.0% ต่อปี

  ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ที่ระดับ 65.2 เป็นการปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน และ ถือเป็นระดับสูงสุดในรอบ 7 เดือน เนื่องจากผู้บริโภคมีความหวังว่าเศรษฐกิจไทยมีสัญญาณปรับตัวดีขึ้นตามการส่งออกและการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ

  อย่างไรก็ตาม เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวในอัตราที่เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าทั้งจากการลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรและหมวดก่อสร้าง สะท้อนจากปริมาณนำเข้าสินค้าทุน ขยายตัวต่อเนื่องที่ 10.1% ต่อปี และ เมื่อปรับผลทางฤดูกาลออกขยายตัว 5.5% ต่อเดือน ขณะที่ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ขยายตัวต่อเนื่องที่ 12.5% ต่อปี จากยอดจำหน่ายรถกระบะขนาด 1 ตัน ที่ขยายตัวสูงถึง 11.0% ต่อปี ในขณะที่การลงทุนในหมวดก่อสร้างสะท้อนจากปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศกลับมาขยายตัวที่ 6.4% ต่อปี เป็นการขยายตัวสูงสุดในรอบปี 60 และ เมื่อปรับผลทางฤดูกาลขยายตัว 8.7% ต่อเดือน ขณะที่ภาษีการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ขยายตัว 1.2% ต่อปี สำหรับดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือนพฤศจิกายน 2560 ขยายตัว 3.6% ต่อปี

  การส่งออก พ.ย.60 ขยายตัวในระดับสูงอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 9 ติดต่อกัน และ ถือเป็นการขยายตัวสูงสุดในรอบปี โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าขยายตัวสูงถึง 13.4% ต่อปี และ เมื่อปรับผลทางฤดูกาลขยายตัว 6.0% ต่อเดือน ทั้งนี้ หมวดสินค้าสำคัญที่สนับสนุนการส่งออก เช่น อิเล็กทรอนิกส์ ยานพาหนะอุปกรณ์และส่วนประกอบ สินค้าเกษตรกรรม ผลิตภัณฑ์ยาง และ เคมีภัณฑ์ เป็นต้น ขณะที่ประเทศคู่ค้าที่ขยายตัวได้ดี เช่น อาเซียน-9 อาเซียน-5 จีน ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา เป็นต้น สำหรับมูลค่าการนำเข้าสินค้าขยายตัวต่อเนื่องที่ 13.7% ต่อปี ทั้งนี้ มูลค่าการส่งออกสินค้าที่มากกว่ามูลค่าการนำเข้าสินค้าส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุลจำนวน 1.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

  เครื่องชี้เศรษฐกิจไทยด้านอุปทานได้รับปัจจัยสนับสนุนจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยที่ขยายตัวในระดับสูง โดย พ.ย.60 จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทย มีจำนวน 3.02 ล้านคน ขยายตัว 23.2% ต่อปี โดยนักท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้ดีจากจีน เกาหลี รัสเซีย ลาว กัมพูชา และอินเดีย เป็นหลัก

  สำหรับ ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตร พ.ย.60 หดตัวชะลอลงที่ 0.6% ต่อปี จากหมวดประมงและหมวดปศุสัตว์ อย่างไรก็ตาม หมวดพืชผลสำคัญยังขยายตัวได้ดี สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) อยู่ที่ระดับ 87.0 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า จากการเพิ่มขึ้นของยอดคำสั่งซื้อและยอดขายในประเทศจากมาตรการช็อปช่วยชาติ การใช้จ่ายผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่เป็นแรงกระตุ้นการใช้จ่าย และ การบริโภค การจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายของผู้ประกอบการเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรการภาครัฐ ประกอบกับ ผู้ประกอบการได้ปรับเพิ่มการผลิตสินค้าเพื่อจำหน่ายในช่วงเทศกาลปีใหม่

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

ก.คลัง เผย ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค ธ.ค.60 สะท้อนแนวโน้มดีขึ้นในทุกภูมิภาค นำโดยภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคตะวันตก

      นายพรชัย ฐีระเวช ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน พร้อมด้วย นายศรพล ตุลยะเสถียร ผู้อำนวยการสำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะรองโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยรายงานดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค ประจำเดือนธันวาคม 2560 ว่า การประมวลผลข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจรายจังหวัดล่าสุด จากสำนักงานคลังจังหวัด 76 จังหวัดทั่วประเทศ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจ (คาดการณ์ 6 เดือนข้างหน้า) อยู่ในระดับที่ดีขึ้นกว่าเดือนก่อนหลายภูมิภาค นำโดยภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคตะวันตก โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ เป็นสำคัญ

  ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคกลาง ปรับตัวดีขึ้นมาอยู่ที่ 90.8 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากแนวโน้มที่ดีขึ้นในอีก 6 เดือนข้างหน้าของภาคการลงทุน เนื่องจากความคืบหน้าของนโยบายภาครัฐด้านการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน เช่น โครงการทางพิเศษ (ทางด่วน) สายอุดรรัถยา-พระนครศรีอยุธยา เป็นต้น ประกอบกับมีการลงทุนขยายโรงงานในหลายจังหวัด เช่น สระบุรี อ่างทอง เป็นต้น อีกทั้ง ได้รับอานิสงส์จากโครงการกองทุนพัฒนา SMEs ตามแนวประชารัฐ ส่งผลให้ดัชนีแนวโน้มภาคอุตสาหกรรมของภูมิภาค ปรับตัวสูงขึ้นอยู่ที่ 96.6

  เช่นเดียวกับภาคการผลิตของภาคเหนือ ที่มีแนวโน้มที่ดี โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากความต้องการสินค้าที่เพิ่มขึ้นของประเทศคู่ค้าและการเพิ่มกำลังการผลิตในอุตสาหกรรมสำคัญ เช่น อุตสาหกรรมแปรรูปพืชผลทางการเกษตรในจังหวัดสุโขทัย เป็นต้น รวมถึงแนวโน้มการจ้างงานของภาคเหนือ ยังคงส่งสัญญาณที่ดี ค่าดัชนีอยู่ที่ระดับ 89.2 โดยส่วนใหญ่เป็นการจ้างงานในภาคบริการ ตามแนวโน้มการเติบโตของภาคธุรกิจท่องเที่ยวและค้าปลีก ส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจเหนือ ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนมาอยู่ที่ 87.3

  สำหรับ ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคตะวันตก อยู่ที่ 83.3 ตามแรงสนับสนุนจากแนวโน้มที่ดีของภาคบริการในเกือบทุกจังหวัด โดยเฉพาะสาขาการท่องเที่ยวและค้าส่งค้าปลีกที่มีแนวโน้มสดใส จากการใช้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐส่งผลให้ดัชนีแนวโน้มภาคบริการ อยู่ในระดับที่ดีที่ 91.8 ประกอบกับแนวโน้มที่ดีในภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากจำนวนโรงงานที่เพิ่มขึ้นในจังหวัดสมุทรสงครามและเพชรบุรี อีกทั้งปริมาณการใช้ไฟฟ้าในโรงงานอุตสาหกรรมมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกเดือน ในขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตภาคตะวันออก อยู่ที่ระดับ 83.1 โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนหลักจากภาคบริการ ซึ่งมีค่าดัชนีแนวโน้มอยู่ที่ 99.1 โดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยว ที่พบว่าในช่วง 3-6 ข้างหน้า เป็นช่วงเทศกาลท่องเที่ยว เช่น เทศกาลตรุษจีน เทศกาลสงกรานต์ เป็นต้น รวมถึงแนวโน้มที่ดีในสาขาค้าปลีกค้าส่ง ซึ่งเป็นผลมาจากการดำเนินโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ รวมถึงสถานการณ์การลงทุนภายในภูมิภาคที่มีแนวโน้มดีขึ้น เนื่องจากความชัดเจนที่มีมากขึ้นของโครงการระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ส่งผลให้ดัชนีแนวโน้มการลงทุนอยู่ในระดับสูงที่ 97.2

  ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อยู่ที่ระดับ 82.9 จากดัชนีแนวโน้มที่ดีขึ้นของภาคบริการในเกือบทุกจังหวัด โดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยว ที่พบว่ามีการเปิดเส้นทางการบินนครราชสีมา-เชียงใหม่-ภูเก็ต ซึ่งจะช่วยเชื่อมโยงนักท่องเที่ยวระหว่างภูมิภาค อีกทั้ง สาขาค้าปลีกค้าส่ง ที่พบว่าการบริโภคของประชาชนน่าจะฟื้นตัวขึ้น จากการใช้จ่ายผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ รวมถึงดัชนีแนวโน้มของภาคเกษตร ยังอยู่ในระดับที่ดีที่ 89.4 เนื่องจากกำลังจะเข้าสู่ฤดูกาลเก็บเกี่ยวผลผลิตพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ เช่น ข้าว อ้อย มันสำปะหลัง เป็นต้น สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจ กทม.และปริมณฑล อยู่ที่ 80.3 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ตามดัชนีแนวโน้มในอีก 6 เดือนข้างหน้าของภาคอุตสาหกรรมและบริการ ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดีที่ 89.6 และ 86.0 เนื่องจากนโยบายภาครัฐด้านโครงสร้างพื้นฐานหลายโครงการ จะเริ่มดำเนินการในช่วงปี พ.ศ.2561 โดยเฉพาะการก่อสร้างรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานคร

  ดัชนี ความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคใต้ ยังคงอยู่ในเกณฑ์ที่ดีที่ 73.1 จากดัชนีแนวโน้มในภาคอุตสาหกรรม ส่งสัญญาณที่ดีต่อเนื่อง อยู่ที่ 87.1 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากจำนวนผู้ประกอบการยื่นขออนุญาตลงทุนในโรงงานเพิ่มขึ้น อีกทั้งแนวโน้มที่ดีของการขยายตัวของตลาดต่างประเทศ

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!