WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

คลัง คงเป้าจีดีพีปีนี้โต 2% ส่งออกโต 1.5% หลังเดือน ก.ค. ศก. มีสัญญาณปรับตัวไปในทิศทางที่ดี จากการเข้ามาบริหารประเทศของ คสช.

     คลัง คงเป้าจีดีพีปีนี้โต 2% ส่วนส่งออกโต 1.5% เชื่อยังมีปัจจัยหนุนในไตรมาส 3-4 หลังเดือน ก.ค. ศก. มีสัญญาณปรับตัวไปในทิศทางที่ดี รับการเข้ามาบริหารประเทศของคสช. หนุนการใช้จ่าย รัฐ-เอกชน เร่งตัวขึ้น มั่นใจ เสถียรภาพของเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกยังคงแข็งแกร่ง

    นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) ในฐานะโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ยืนยันว่า ในปีนี้อัตราการขยายตัวทางเศษฐกิจ(GDP) ของไทยจะยังเติบโตได้ 2% โดยแม้การส่งออกในเดือนก.ค.จะติดลบ 0.9% แต่ยังเชื่อมั่นว่าทั้งปีการส่งออกจะโตได้ตามเป้าที่ สศค.ประเมินไว้ที่ 1.5%   

     ในช่วงที่เหลือของปีนี้ การส่งออกในแต่ละเดือนต้องมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 2 หมื่นล้านดอลลาร์ โดยมองว่ายังมีปัจจัยหนุนสำหรับไตรมาส 3-4 เนื่องจากเป็นช่วงของฤดูการผลิตที่ต้องผลิตเพื่อส่งออกมากอยู่แล้ว จากความต้องการสินค้าที่จะเพิ่มขึ้นเป็นปกติในช่วงปลายปี"นายเอกนิติ กล่าว

    อย่างไรก็ดี ยังมีความเสี่ยงที่ต้องจับตา คือ การส่งออกไปยังประเทศจีน และประเทศใหญ่ 5 ประเทศในอาเซียนซึ่งการส่งออกเริ่มชะลอตัวจากปัญหาทางเศรษฐกิจ

    สำหรับ รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนกรกฎาคม 2557 เครื่องชี้เศรษฐกิจไทยล่าสุดในเดือนกรกฎาคม 2557 เริ่มมีสัญญาณปรับตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าในส่วนของการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน โดยมีการปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องของความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมสำหรับอุปสงค์จากต่างประเทศพบว่า มูลค่าส่งออกหักสินค้าในหมวดทองคำขยายตัวได้เล็กน้อย แม้การส่งออกสินค้าโดยรวมกลับมาหดตัวอีกครั้ง ส่วนเสถียรภาพของเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกยังคงแข็งแกร่ง”

     โดย พบว่าการบริโภคภาคเอกชนในเดือนกรกฎาคม 2557 มีสัญญาณปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า สะท้อนได้จากยอดการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ในเดือนกรกฎาคม ที่ขยายตัวร้อยละ 3.6 ต่อปี และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลพบว่า ขยายตัวร้อยละ 3.3 ต่อเดือนอีกทั้งดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมได้ปรับตัวดีขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 68.5 และเป็นการปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 11 เดือนเนื่องจากผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นต่อระบบเศรษฐกิจไทยเพิ่มขึ้น ตามสถานการณ์ทางการเมืองที่คลี่คลายลงอย่างไรก็ตามการบริโภคในหมวดสินค้าคงทนยังคงหดตัว สะท้อนจากปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่งที่หดตัวร้อยละ-37.5 ต่อปี และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล หดตัวร้อยละ -7.5ต่อเดือน

     การลงทุนภาคเอกชนมีสัญญาณปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า โดยการลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร ซึ่งสะท้อนได้จากปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนขยายตัวได้ร้อยละ 5.5 ต่อปี อย่างไรก็ตาม ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ยังคงหดตัวร้อยละ -21.5 ต่อปี และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลพบว่า หดตัวเช่นกันที่ร้อยละ -2.1 ต่อเดือน สำหรับการลงทุนในหมวดก่อสร้าง สะท้อนจากภาษีธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์พบว่า หดตัวร้อยละ -11.1 ต่อปี แต่เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลพบว่า ขยายตัวร้อยละ 5.0 ต่อเดือน ขณะที่ยอดขายปูนซิเมนต์หดตัวร้อยละ-0.4 ต่อปี อย่างไรก็ดี เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลพบว่า ขยายตัวร้อยละ 0.5 ต่อเดือน

    สำหรับ การใช้จ่ายภาครัฐมีอัตราเร่งขึ้น โดยพิจารณาจากการเบิกจ่ายงบประมาณในเดือนกรกฎาคม 2557 ซึ่งรัฐบาลสามารถเบิกจ่ายงบประมาณรวมได้จำนวน 200.2 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 17.0 ต่อปีเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -1.1 ต่อปี สะท้อนให้เห็นถึงการมีส่วนสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจของภาครัฐภายหลังจากที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เข้ามาบริหารประเทศ

    ด้านอุปสงค์ต่างประเทศกลับมาหดตัวอีกครั้งสะท้อนจากการส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐในเดือนกรกฎาคม 2557มีมูลค่า 18.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐหดตัวที่ร้อยละ -0.9 ต่อปี อย่างไรก็ดีเมื่อนำมูลค่าส่งออกหักสินค้าในหมวดทองคำพบว่า ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 0.8 ต่อปีโดยในเดือนกรกฎาคม 2557 มีตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และกลุ่มประเทศ CLMV ขณะที่สินค้าส่งออกที่มีการขยายตัวดี ได้แก่ สินค้าในหมวดอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ และอุตสาหกรรมการเกษตร เป็นสำคัญ สำหรับสินค้าส่งออกที่หดตัวลง ได้แก่ สินค้าในหมวดแร่และเชื้อเพลิง เป็นสำคัญ

    ด้านนางสาวกุลยา ตันติเตมิท ผู้อำนวยการสำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ชี้แจงข้อมูลเศรษฐกิจไทยเพิ่มเติมว่า สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปทานมีสัญญาณดีขึ้นจากภาคเกษตรกรรม โดยการผลิตในภาคเกษตรกรรมสะท้อนจากดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรมในเดือนกรกฎาคม 2557 พบว่าขยายตัวร้อยละ 4.3 ต่อปี จากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -0.6 ตามการเพิ่มขึ้นของผลผลิตในหมวดยางพารา และมันสำปะหลัง ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากสถานการณ์ภัยแล้งเริ่มคลี่คลายลง ทำให้ผลผลิตออกมาเพิ่มขึ้น สอดคล้องกับผลผลิตในหมวดปศุสัตว์โดยเฉพาะสุกรและไก่เนื้อ ที่ยังคงมีความต้องการอย่างต่อเนื่องและไม่มีรายงานสถานการณ์โรคระบาด อย่างไรก็ดี ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนกรกฎาคม 2557 ปรับเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 มาอยู่ที่ระดับ 89.7 ซึ่งเป็นผลมาจากผู้ประกอบการมีระดับความเชื่อมั่นมากขึ้นจากสถานการณ์ทางการเมืองที่คลี่คลายประกอบกับการดำเนินกิจการมีทิศทางที่ดีขึ้นโดยเฉพาะผู้ประกอบการกลุ่ม SMEs เป็นสำคัญ

    ส่วน เครื่องชี้ภาคบริการที่สะท้อนจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศพบว่า จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือนกรกฎาคม 2557 มีจำนวนทั้งสิ้น 1.92 ล้านคน ซึ่งหดตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ -10.9 ต่อปี หรือขยายตัวร้อยละ 13.0 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลโดยเป็นนักท่องเที่ยวในกลุ่มภูมิภาคตะวันออกกลาง อาเซียน และแอฟริกา ที่กลับมาขยายตัวได้ดี

   ด้านเสถียรภาพในประเทศยังคงอยู่ในเกณฑ์ดี ขณะที่เสถียรภาพต่างประเทศยังคงแข็งแกร่งโดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 2.2ต่อปี ลดลงจากเดือนก่อนหน้า ขณะที่อัตราการว่างงานยังอยู่ในระดับต่ำ โดยอยู่ที่ร้อยละ 1.0 ของกำลังแรงงานรวม สำหรับเสถียรภาพภายนอกประเทศที่อยู่ในระดับที่แข็งแกร่งนั้น สะท้อนได้จากทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูงที่ 169.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสูงกว่าหนี้ต่างประเทศระยะสั้นประมาณ 2.7 เท่า สามารถรองรับความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลกได้

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

คลัง เผย ศก.ไทยเดือน ก.ค. มีสัญญาณปรับตัวดีขึ้น หลังการใช้จ่ายภาคเอกชน รัฐบาล เร่งตัวดีขึ้น

    นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังในฐานะโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการคลังเปิดเผยรายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนกรกฎาคม 2557ว่า“เครื่องชี้เศรษฐกิจไทยล่าสุดในเดือนกรกฎาคม 2557 เริ่มมีสัญญาณปรับตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าในส่วนของการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน โดยมีการปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องของความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมสำหรับอุปสงค์จากต่างประเทศพบว่า มูลค่าส่งออกหักสินค้าในหมวดทองคำขยายตัวได้เล็กน้อย แม้การส่งออกสินค้าโดยรวมกลับมาหดตัวอีกครั้ง ส่วนเสถียรภาพของเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกยังคงแข็งแกร่ง”

    ทั้งนี้ สถานการณ์เศรษฐกิจไทยล่าสุดในรายละเอียดพบว่า การบริโภคภาคเอกชนในเดือนกรกฎาคม 2557 มีสัญญาณปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า สะท้อนได้จากยอดการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ในเดือนกรกฎาคม ที่ขยายตัวร้อยละ 3.6 ต่อปี และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลพบว่า ขยายตัวร้อยละ 3.3 ต่อเดือนอีกทั้งดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมได้ปรับตัวดีขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 68.5 และเป็นการปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 11 เดือนเนื่องจากผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นต่อระบบเศรษฐกิจไทยเพิ่มขึ้น ตามสถานการณ์ทางการเมืองที่คลี่คลายลงอย่างไรก็ตามการบริโภคในหมวดสินค้าคงทนยังคงหดตัว สะท้อนจากปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่งที่หดตัวร้อยละ-37.5 ต่อปี และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล หดตัวร้อยละ -7.5ต่อเดือน

    การลงทุนภาคเอกชนมีสัญญาณปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า โดยการลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร ซึ่งสะท้อนได้จากปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนขยายตัวได้ร้อยละ 5.5 ต่อปี อย่างไรก็ตาม ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ยังคงหดตัวร้อยละ -21.5 ต่อปี และเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลพบว่า หดตัวเช่นกันที่ร้อยละ -2.1 ต่อเดือน สำหรับการลงทุนในหมวดก่อสร้าง สะท้อนจากภาษีธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์พบว่า หดตัวร้อยละ -11.1 ต่อปี แต่เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลพบว่า ขยายตัวร้อยละ 5.0 ต่อเดือน ขณะที่ยอดขายปูนซิเมนต์หดตัวร้อยละ-0.4 ต่อปี อย่างไรก็ดี เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลพบว่า ขยายตัวร้อยละ 0.5 ต่อเดือน

     สำหรับ การใช้จ่ายภาครัฐมีอัตราเร่งขึ้น โดยพิจารณาจากการเบิกจ่ายงบประมาณในเดือนกรกฎาคม 2557 ซึ่งรัฐบาลสามารถเบิกจ่ายงบประมาณรวมได้จำนวน 200.2 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 17.0 ต่อปีเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -1.1 ต่อปี สะท้อนให้เห็นถึงการมีส่วนสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจของภาครัฐภายหลังจากที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เข้ามาบริหารประเทศ

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

สศค.คงเป้า GDP ปีนี้โต 2% มองส่งออกโต 1.5% เป็นไปได้แม้ล่าสุดยังหดตัว

    นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) ในฐานะโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ยืนยันว่า ในปีนี้อัตราการขยายตัวทางเศษฐกิจ(GDP) ของไทยจะยังเติบโตได้ 2% แม้การส่งออกในเดือน ก.ค.จะติดลบ 0.9% แต่ยังเชื่อมั่นว่าทั้งปีการส่งออกจะโตได้ตามเป้าที่ สศค.ประเมินไว้ที่ 1.5%

    แต่ทั้งนี้ ในช่วงที่เหลือของปีนี้ การส่งออกในแต่ละเดือนต้องมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 2 หมื่นล้านดอลลาร์ โดยมองว่ายังมีปัจจัยหนุนสำหรับไตรมาส 3-4 เนื่องจากเป็นช่วงของฤดูการผลิตที่ต้องผลิตเพื่อส่งออกมากอยู่แล้ว จากความต้องการสินค้าที่จะเพิ่มขึ้นเป็นปกติในช่วงปลายปี

   อย่างไรก็ดี ยังมีความเสี่ยงที่ต้องจับตา คือ การส่งออกไปยังประเทศจีน และประเทศใหญ่ 5 ประเทศในอาเซียนซึ่งพบว่าการส่งออกเริ่มชะลอตัวจากปัญหาทางเศรษฐกิจ

   นายเอกนิติ กล่าวว่า ได้มีการรายงานให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) รับทราบถึงสถานการณ์และภาพรวมเศรษฐกิจไทยในช่วงนี้ว่ามีแนวโน้มการฟื้นตัวดีขึ้น ภายหลัง คสช.เข้ามาบริหารประเทศและปลดล็อกข้อจำกัดทางการเมืองให้คลี่คลายลง ส่งผลให้การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของภาครัฐขยายตัวได้ดีขึ้น ทำให้คาดว่าการเบิกจ่ายงบประมาณของภาครัฐในปีงบประมาณ 2557 จะขยายตัวได้ที่ 91% จากปัจจุบันอยู่ที่ 75%

  "สศค.ประเมินว่าภาครัฐยังมีเม็ดเงินเหลือเพียงพอที่จะใช้ในการกระตุ้นเศรษฐกิจของไทยในช่วงเวลาที่เหลือของปีนี้ นอกจากนี้ในการเบิกจ่ายงบประมาณปี 2558 กรรมาธิการได้มีการเสนอให้ภาครัฐเพิ่มอัตราการเบิกจ่ายงบประมาณในไตรมาส 1 เพิ่มเป็น 30% จากปกติเบิกจ่ายที่ 25% เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะยาว โดยเบื้องต้น สศค.ประเมินว่าหากภาครัฐสามารถเบิกจ่ายเม็ดเงินงบประมาณภาพรวมได้ 1 แสนล้านบาท จะช่วยสนับสนุนจีดีพีได้ 0.7-0.8%" นายเอกนิติ กล่าว

    นายเอกนิติ กล่าวอีกว่า สศค.ยังไม่ได้มีการเสนอแพคเก็จกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างเป็นรูปธรรมให้ คสช.พิจารณา แต่มีการเสนอให้ดึงเครื่องมือทางการคลัง โดยเฉพาะการเบิกจ่ายเม็ดเงินเพื่อเข้าสู่ระบบมาเป็นกลไกขับเคลื่อนที่สำคัญแทน พร้อมทั้งมองว่า หากจะมีการจัดทำแพคเก็จกระตุ้นเศรษฐกิจจริง จะต้องมีการศึกษาและเตรียมความพร้อมอย่างรอบด้าน เพื่อให้มาตรการมีประสิทธิภาพที่สุด และไม่ใช่มาตรการที่เป็นประชานิยมจนเกินไป

   อย่างไรก็ดี เห็นว่าในขณะนี้คงไม่ใช่เวลาที่เหมาะสมที่จะใช้มาตรการภาษีในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เพราะภาษีเป็นเรื่องระยะยาวและไม่ใช้แนวทางกระตุ้นเศรษฐกิจที่ดีด้วย

                        อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!