WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Gสวชญ โรจนวานชคลัง เผย เดือนแรกปีงบ 61 จัดเก็บรายได้ 1.92 แสนลบ. สูงกว่าประมาณการ 9.18 พันลบ.

    คลังเผย เดือนแรกปีงบ 61 จัดเก็บรายได้ 1.92 แสนลบ. สูงกว่าประมาณการ 9.18 พันลบ. หลังเก็บ ภาษีเบียร์ ภาษีน้ำมัน และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ดีเกินเป้า

    นายสุวิชญ  โรจนวานิช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยว่า “ผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลสุทธิเดือนตุลาคม 2560 ซึ่งเป็นเดือนแรกของปีงบประมาณ 2561 (ต.ค.60-ก.ย.61) รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ จำนวน 192,425 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 9,180 ล้านบาท มีสาเหตุจากการนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจ และการจัดเก็บรายได้ของส่วนราชการอื่น สูงกว่าประมาณการ 4,444 และ 1,376 ล้านบาท หรือร้อยละ 14.8 และ 8.3 ตามลำดับ โดยภาษีที่จัดเก็บได้สูงกว่าเป้าหมายที่สำคัญ ได้แก่ ภาษีเบียร์ ภาษีน้ำมัน และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา”

   นายสุวิชญฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า “สถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่องจะส่งผลดีต่อการจัดเก็บรายได้รัฐบาล และกระทรวงการคลังจะติดตามกำกับดูแลการจัดเก็บรายได้ของหน่วยงานในสังกัดอย่างใกล้ชิด เพื่อให้การจัดเก็บรายได้รัฐบาลปีงบประมาณ 2561 เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้”

สถานะการคลังรัฐยังปึ้ก ตุน3 แสนล้านนำร่องงบปี'61

    แนวหน้า : นายสุวิชญ โรจนวานิช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจ การคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบ กระแสเงินสดเดือนตุลาคม 2560 ซึ่งเป็นเดือนแรก ของปีงบประมาณ 2561 รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลัง 1.83 แสนล้านบาท ขณะที่มีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ 4.28 แสนล้านบาท รัฐบาลได้กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลจำนวน 4.06 หมื่นล้านบาท ส่งผลให้เงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2560 มี 3.04 แสนล้านบาท

   ทั้งนี้ฐานะการคลังในเดือนตุลาคม 2560 อยู่ในระดับที่เข้มแข็ง โดยเงินคงคลัง เพียงพอสำหรับการรองรับการเบิกจ่าย งบประมาณและสนับสนุนการขยายตัวทาง เศรษฐกิจให้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้

    สำหรับการเก็บรายได้รัฐบาลเดือนตุลาคม 2560 จำนวน 1.83 แสนล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 3.27 หมื่นล้านบาท หรือ 21.7% สาเหตุหลักมาจากการนำส่งเงินจากรายได้รัฐวิสาหกิจและภาษีมูลค่าเพิ่มที่สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว

    ส่วนการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ 4.28 แสนล้านบาท ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วจำนวน 6,981 ล้านบาท หรือ 1.6% โดยเป็นรายจ่ายปีปัจจุบันจำนวน 4.13 แสนล้านบาท ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 2.0% ประกอบด้วยรายจ่ายประจำ 3.81 แสน ล้านบาท ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 3.3% และรายจ่ายลงทุน 3.22 หมื่นล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 17.0% และการเบิกจ่ายเงินจากงบประมาณปีก่อน จำนวน 1.44 หมื่นล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 11.2%

สศค.ฟุ้งรีดรายได้เฉียด 2 แสนล. รัฐวิสาหกิจหนุน/ท่องเที่ยวเผย10เดือนโกยเงินพุ่ง

     ไทยโพสต์ : พระราม 6 * คลังฟุ้งจัดเก็บรายได้เดือนแรกของปีงบประมาณ2561 แตะเฉียด 2 แสนล้านบาท อานิสงส์รัฐวิสาหกิจส่งรายได้กระหึ่ม กระทรวงท่องเที่ยวเผย 10 เดือน สร้างรายได้ 2.1 ล้านล้านบาท

    นายสุวิชญ โรจนวานิช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยถึงผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลสุทธิในเดือน ต.ค.2560 ซึ่งเป็นเดือนแรกของปีงบประมาณ 2561 ว่า รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิจำนวน 1.92 แสนล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 9.18 พันล้านบาท เนื่องจากการนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจสูงกว่าประมาณการ 4.44 พันล้านบาท หรือ 14.8% และการจัดเก็บรายได้ของส่วนราชการอื่นสูงกว่าประมาณการ 1.37 พันล้านบาท หรือ 8.3%

    "สถานการณ์ทางเศรษฐ กิจที่มีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่องจะส่งผลดีต่อการจัดเก็บรายได้รัฐบาล และกระทรวงการคลังจะติดตามกำกับดูแลการจัดเก็บรายได้ของหน่วยงานในสังกัดอย่างใกล้ชิด เพื่อให้การจัดเก็บรายได้รัฐบาลปีงบประมาณ 2561 เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้" นายสุวิชญกล่าว

    สำหรับภาพรวมการจัดเก็บรายได้ในเดือน ต.ค.2560 ของกรมสรรพากรอยู่ที่ 1.16 แสนล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 726 ล้านบาท หรือ 0.6% กรมสรรพสามิตจัดเก็บรายได้รวมอยู่ที่ 4 หมื่นล้านบาท สูงกว่าประมาณการเล็กน้อย โดยภาษียาสูบจัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 2.01 พันล้านบาท หรือ 47.6% ขณะที่กรมศุลกากรจัดเก็บรายได้รวมอยู่ที่ 8.65 พันล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 948 ล้านบาท หรือ 9.9% เนื่องจากจัดเก็บอากรขาเข้าต่ำกว่าประมาณการจำนวน 1.15 พันล้านบาท หรือ 12.3% เนื่องจากการใช้สิทธิพิเศษภายใต้ความตกลงเขตการค้าเสรีที่ขยายตัวต่อเนื่อง

    สำหรับรัฐวิสาหกิจนำส่งรายได้รวม 3.45 หมื่นล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 4.44 พันล้านบาท หรือ 14.8% โดยรัฐวิสาหกิจที่นำส่งรายได้สูงกว่าประมาณการ 5 อันดับแรก ได้แก่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล การท่าเรือแห่งประเทศไทย การประปาส่วนภูมิภาค และธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.)

    ด้าน นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า นับตั้งแต่มกราคม-ตุลาคม 2560 อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวก่อให้เกิดประโยชน์ในรูปของรายได้แก่ประเทศ และกระจายรายได้สู่ภูมิภาคต่างๆ จำนวน 2,167,932 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้น 8.67% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นรายได้ที่เกิดขึ้นจากการท่องเที่ยวของชาวต่างชาติ 1,472,698 ล้านบาท และการท่องเที่ยวภาย ในประเทศของชาวไทย 695,233 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ในช่วง 10 เดือนแรก (ม.ค.-ต.ค.) ปี 60 มีนักท่องเที่ยวต่างชาติจำนวน 28,824,753 คน ขยายตัวเพิ่มขึ้น 6.69% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

    นายพงษ์ภาณุกล่าวว่า ขณะที่สถานการณ์ไทยเที่ยวไทยในช่วง 9 เดือนแรก (ม.ค.-ก.ย.) ปี 60 มีคนไทยเดินทางท่องเที่ยวในประเทศรวม 109.15 ล้านคนต่อครั้ง ขยายตัวเพิ่มขึ้น 6.32% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และก่อให้เกิดรายได้รวม 695,233 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้น 7.34% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับเดือน ก.ย.60 มีคนไทยเดินทางท่องเที่ยวในประเทศจำนวน 13.11 ล้านคนต่อครั้ง ขยายตัวเพิ่มขึ้น 5.79% จากเดือน ก.ย.59 และสร้างรายได้ 86,607 ล้านบาท.

คลัง เผยผลจัดเก็บรายได้รัฐ ต.ค.60 ที่ 1.92 แสนลบ. สูงกว่าเป้าจากภาษีเบียร์-น้ำมัน-ภาษีเงินได้ฯ

      นายสุวิชญ โรจนวานิช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า ผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลสุทธิเดือนตุลาคม 2560 ซึ่งเป็นเดือนแรกของปีงบประมาณ 2561 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ จำนวน 192,425 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 9,180 ล้านบาท สาเหตุจากการนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจ และการจัดเก็บรายได้ของส่วนราชการอื่น สูงกว่าประมาณการ 4,444 ล้านบาท และ 1,376 ล้านบาท หรือ 14.8% และ 8.3% ตามลำดับ โดยภาษีที่จัดเก็บได้สูงกว่าเป้าหมายที่สำคัญ ได้แก่ ภาษีเบียร์ ภาษีน้ำมัน และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

   "สถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง จะส่งผลดีต่อการจัดเก็บรายได้รัฐบาล และกระทรวงการคลังจะติดตามกำกับดูแลการจัดเก็บรายได้ของหน่วยงานในสังกัดอย่างใกล้ชิด เพื่อให้การจัดเก็บรายได้รัฐบาลปีงบประมาณ 2561 เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้" ผู้อำนวยการ สศค.กล่าว

    สำหรับรายละเอียดผลการจัดเก็บรายได้สุทธิในเดือน ต.ค.60 สรุปได้ดังนี้

   1.1 กรมสรรพากร จัดเก็บรายได้รวม 116,848 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 726 ล้านบาท หรือ 0.6% สูงกว่าเดือนเดียวกันปีก่อนจำนวน 2,762 ล้านบาท หรือ 2.4% โดยภาษีที่จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการที่สำคัญ ได้แก่

    - ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจัดเก็บได้ 22,069 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 584 ล้านบาท หรือ 2.7% แต่ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีก่อน 2.5%

    - ภาษีมูลค่าเพิ่มจัดเก็บได้ 63,712 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 488 ล้านบาท หรือ 0.8% สูงกว่าเดือนเดียวกันปีก่อน 8.8%

   1.2 กรมสรรพสามิต จัดเก็บรายได้รวม 40,043 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการเล็กน้อย แต่ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีก่อนจำนวน 977 ล้านบาท หรือ 2.4% โดยภาษีที่จัดเก็บได้สูงกว่าเป้าหมาย ได้แก่

            - ภาษีเบียร์จัดเก็บได้ 5,558 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 1,137 ล้านบาท หรือ 25.7% แต่ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีก่อน  9.6%

            - ภาษีน้ำมันฯ จัดเก็บได้ 18,467 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 966 ล้านบาท หรือ 5.5% และสูงกว่าเดือนเดียวกันปีก่อน  19.5% อย่างไรก็ดี ภาษียาสูบจัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 2,017 ล้านบาท หรือ 47.6% (ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีก่อน 55.7%) เนื่องจากอยู่ในช่วงปรับตัวของผู้ประกอบกิจการยาสูบหลังพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2560 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2560

    1.3 กรมศุลกากร จัดเก็บรายได้รวม 8,652 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 948 ล้านบาท หรือ 9.9% แต่สูงกว่าเดือนเดียวกันปีก่อน 10.5% โดยเป็นผลจากการจัดเก็บอากรขาเข้าต่ำกว่าประมาณการจำนวน 1,159 ล้านบาท หรือ 12.3% แต่สูงกว่าเดือนเดียวกันปีก่อน 7.3% เนื่องจากการใช้สิทธิพิเศษภายใต้ความตกลงเขตการค้าเสรีที่ขยายตัวต่อเนื่อง ส่งผลให้มูลค่าต้องอากรของสินค้าที่มีสัดส่วนอากรขาเข้าสูงลดลงอย่างมีนัยสำคัญ เช่น ยานบกและส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ประกอบ เครื่องจักรและเครื่องใช้กล ของทำด้วยเหล็กหรือเหล็กกล้า เป็นต้น

    1.4 รัฐวิสาหกิจ นำส่งรายได้รวม 34,546 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 4,444 ล้านบาท หรือ 14.8% แต่ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีก่อน 4.3% โดยรัฐวิสาหกิจที่นำส่งรายได้สูงกว่าประมาณการ 5 อันดับแรก ได้แก่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล การท่าเรือแห่งประเทศไทย การประปาส่วนภูมิภาค และธนาคารอาคารสงเคราะห์

    1.5 หน่วยงานอื่น จัดเก็บรายได้รวม 18,242 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 1,398 ล้านบาท หรือ 8.3% แต่ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีก่อน 37.1% ส่วนราชการอื่นจัดเก็บรายได้รวม 18,047 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 1,376 ล้านบาท แต่ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีก่อน 37.5% กรมธนารักษ์จัดเก็บรายได้รวม 195 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 22 ล้านบาท หรือ 12.7% และสูงกว่าเดือนเดียวกันปีก่อน 28.3% เนื่องจากรายได้จากการจ่ายแลกเหรียญกษาปณ์จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 43 ล้านบาท หรือ 64.3%

   1.6 การคืนภาษีของกรมสรรพากร จำนวน 23,000 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 2,831 ล้านบาท หรือ 11.0% ประกอบด้วยการคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม 18,000 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 4,600 ล้านบาท หรือ 20.4% และการคืนภาษีอื่น ๆ (ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์) จำนวน 5,000 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 1,769 ล้านบาท หรือ 54.8%

            1.7 อากรถอนคืนกรมศุลกากร จำนวน 706 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 294 ล้านบาท หรือ 29.4%

            1.8 การจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มให้กับองค์การบริหารส่วนจังหวัด จำนวน 1,400 ล้านบาท ใกล้เคียงประมาณการ

            1.9 เงินกันชดเชยภาษีสำหรับสินค้าส่งออก จำนวน 800 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 397 ล้านบาท หรือ 33.2% เนื่องจากการปรับลดอัตราเงินกันชดเชยภาษีสำหรับสินค้าส่งออกจาก 0.75% เป็น 0.5% ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2560 เป็นต้นไป

                อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!