- Details
- Category: คลัง
- Published: Saturday, 18 November 2017 23:23
- Hits: 4537
ขุนคลัง จี้ทบทวนราคากลาง ชี้อี-โปรคิวเมนท์ช่วยเซฟงบ รัฐวิสาหกิจนำส่งเงินทะลุเป้า
ไทยโพสต์ : ราชดำริ * ‘ขุนคลัง’ สั่งบัญชีกลางทบทวนราคากลางเปิดประมูล โครงการรัฐใหม่ให้มีประสิทธิภาพ ปลื้ม'จัดซื้อจัดจ้างอิเล็กทรอ นิกส์' ช่วยรัฐประหยัดงบประมาณ 3 ปีกว่า 9 หมื่นล้านบาท จ่อปลดล็อก 10 รัฐวิสาหกิจใช้จัดซื้อจัดจ้างเป็นการเฉพาะ สคร.ผลงานแรง เดือนแรกปีงบ 61 รีดรายได้รัฐวิสาหกิจกระฉูด
นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.การคลัง เปิดเผยว่า ได้ให้ นโยบายกับกรมบัญชีกลางในการปรับทบทวนราคากลางสำหรับเปิดประมูลโครงการภาครัฐ ใหม่ให้มีประสิทธิภาพ และช่วย ให้รัฐประหยัดงบประมาณแผ่นดินมากขึ้น หลังจากที่ผ่านมาเมื่อ ภาครัฐได้ใช้วิธีจัดซื้อจัดจ้างอิเล็ก ทรอนิกส์ (อี-โปรคิวเมนท์) มาตลอด 3 ปีพบว่า มีการประมูลต่ำ กว่าราคากลางมากถึง 17-18% และช่วยให้ภาครัฐประหยัดงบประมาณมากกว่า 9 หมื่นล้านบาท หรือเฉลี่ยประหยัดงบประมาณปีละมากกว่า 3 หมื่นล้านบาท
"ที่ผ่านมามีการประมูลโครงการภาครัฐด้วยวิธีอิเล็กทรอ นิกส์ ทำให้ได้ผลราคาประมูลที่ต่ำกว่าราคากลางจำนวนมาก ซึ่งถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างความโปร่งใส จึงเห็นว่าหลังจากนี้ควรมีการประเมินราคากลางใหม่ด้วยให้เหมาะสม โดยคณะกรรมการพิจารณาราคากลางจะต้องไปดูว่าจะปรับอย่างไร โดยให้วิเคราะห์จากราคาวัตถุดิบ ราคาสินค้าในปัจจุบัน กับสถิติการประมูลในอดีตว่ามีต่ำลงมากน้อยแค่ไหน โดยยืนยันว่าตั้งแต่มีการนำวิธีจัดซื้อจัดจ้างอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ ได้ช่วยลดปัญหาทุจริตลงได้จริง โดยเฉพาะการแก้ปัญหาการฮั้วประมูล เพราะแต่ละรายจะไม่ทราบว่ามีใครเข้ามาประมูลได้"นายอภิศักดิ์กล่าว
นายอภิศักดิ์ กล่าวอีกว่า สำหรับผลการใช้ พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้างฉบับใหม่ที่เริ่มมาตั้งแต่เดือน ส.ค.2560 พบว่าภาพรวมทุกหน่วยงานปฏิบัติตามระเบียบใหม่ได้ดี แต่ในบางหน่วยงานหากไม่มีความพร้อม กรมบัญชีกลางก็อนุญาตให้ไปใช้กฎหมายเก่าได้ก่อน เพื่อไม่ให้การเบิกใช้งบประมาณเกิดหยุดชะงัก เห็นได้จากภาพรวมการเบิกจ่ายงบประมาณเดือนแรกของปีงบ 2561 ก็ทำได้เกินเป้าหมาย โดยเบิกจ่ายได้รวม 4.13 แสนล้านบาท คิดเป็น 14.27% ของวงเงินงบประมาณ 2.9 ล้านล้านบาท ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายการเบิกจ่ายที่ตั้งไว้ 9.32%
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่ติดขัดปัญหาจาก พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้าง โดยเฉพาะในโครงการที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขันทางธุรกิจ กระทรวงการคลังได้ให้เวลา 2 เดือน ไปพิจารณาระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างที่เหมาะสมเพื่อเสนอมาให้กระทรวงการคลังพิจารณา ซึ่งจะครบกำหนดและมีการนัดประชุมในสัปดาห์หน้า โดยมีรัฐวิสาหกิจประมาณ 10 แห่ง เสนอระเบียบเข้ามาให้พิจารณา หากที่ประชุมเห็นว่าไม่ขัดต่อเจตนา รมณ์ของ พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้างฉบับ ใหม่ ซึ่งเน้นการสร้างความมีประ สิทธิภาพและความโปร่งใส ก็จะเห็นชอบให้หน่วยงานรัฐวิสาหกิจใช้ระเบียบเป็นการเฉพาะในบางโครงการได้ทันที
ด้านนายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผยว่า ในเดือน ต.ค.2560 (เดือนแรกของปีงบประมาณ 2561) สคร.จัดเก็บรายได้แผ่นดิน อยู่ที่ 3.45 หมื่นล้านบาท สูงกว่าเป้าหมาย 4.44 พันล้านบาท หรือ 25% ซึ่งมีส่วนช่วยรักษาเสถียรภาพการคลังของประเทศ จากปีงบ ประมาณ 2561 สคร.ได้รับเป้าหมาย การนำส่งรายได้ อยู่ที่ 1.37 แสนล้านบาท.
รมว.คลัง สั่งกรมบัญชีกลางปรับราคากลางใหม่ให้เหมาะสม ชี้ช่วยประหยัดงบประมาณ-ลดการฮั้วประมูล
นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง เปิดเผยว่า ได้ให้นโยบายกับกรมบัญชีกลางไปทบทวนราคากลาง สำหรับเปิดประมูลโครงการภาครัฐใหม่ให้มีประสิทธิภาพ และช่วยให้รัฐประหยัดงบประมาณแผ่นดินมากขึ้น เนื่องจากพบว่าเมื่อภาครัฐใช้วิธีจัดซื้อจัดจ้างอิเล็กทรอนิกส์ตลอด 3 ปีที่ผ่านมาทำให้การประมูลต่ำกว่าราคากลางมากถึง 17-18% และช่วยให้ภาครัฐประหยัดงบประมาณมากกว่า 9 หมื่นล้านบาท หรือเฉลี่ยต่อปีประหยัดงบมากกว่า 3 หมื่นล้านบาท
"ควรมีการประเมินราคากลางใหม่ให้เหมาะสม โดยคณะกรรมการพิจารณาราคากลางจะต้องไปดูว่าจะปรับอย่างไร ให้วิเคราะห์จากราคาวัตถุดิบ ราคาสินค้าในปัจจุบันกับสถิติการประมูลในอดีตว่าต่ำลงมากน้อยแค่ไหน ตั้งแต่มีการนำวิธีจัดซื้อจัดจ้างอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ได้ช่วยลดปัญหาทุจริตลงได้จริง โดยเฉพาะการแก้ปัญหาการฮั้วประมูล เพราะแต่ละรายจะไม่ทราบว่ามีใครเข้ามาประมูลได้" นายอภิศักดิ์ กล่าว
รมว.คลัง กล่าวว่า สำหรับ การบังคับใช้ พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้างฯ ฉบับใหม่ที่เริ่มมาตั้งแต่เดือนส.ค.60 พบว่าภาพรวมทุกหน่วยงานปฏิบัติตามระเบียบใหม่ได้ดี แต่ในบางหน่วยงานหากไม่มีความพร้อมกรมบัญชีกลางก็อนุญาตให้ไปใช้กฎหมายเก่าได้ก่อน เพื่อไม่ให้การเบิกใช้งบประมาณเกิดหยุดชะงัก เห็นได้จากภาครวมการเบิกจ่ายงบประมาณเดือนแรกของปีงบ 2561 ก็ทำได้เกินเป้าหมาย โดยเบิกจ่ายได้รวม 413,946 ล้านบาท คิดเป็น 14.27% ของวงเงินงบประมาณ 2.9 ล้านล้านบาท ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายการเบิกจ่ายที่ตั้ง 9.32%
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่ติดขัดปัญหาจาก พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้างฯ โดยเฉพาะในส่วนของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขันทางธุรกิจ กระทรวงการคลังได้ให้เวลา 2 เดือนไปพิจารณาระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างที่เหมาะสม เพื่อเสนอมาให้คลังพิจารณา ซึ่งจะครบกำหนดและมีการนัดประชุมในสัปดาห์หน้า โดยมีรัฐวิสาหกิจประมาณ 10 แห่ง เสนอระเบียบเข้ามาให้พิจารณา หากที่ประชุมเห็นว่าไม่ขัดต่อเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้างฯ ฉบับใหม่ ซึ่งเน้นการสร้างความมีประสิทธิภาพและความโปร่งใส ก็จะเห็นชอบให้หน่วยงานรัฐวิสาหกิจใช้ระเบียบเป็นการเฉพาะในบางโครงการได้ทันที
คลังจับมือ ธ.โลก สัมมนาจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐอาเซียนสร้างความเชื่อมั่นยกระดับสู่มาตรฐานสากล
นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดงานการประชุมสัมมนาการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ระดับภูมิภาคอาเซียน ครั้งที่ 2 ประจำปี 2560 ภายใต้หัวข้อ "การสร้างมาตรฐานวิชาชีพด้านการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ เพื่อผลลัพธ์แห่งการพัฒนาที่ยั่งยืน"ว่า กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ได้รับเกียรติจากธนาคารโลกให้เป็นเจ้าภาพในปีนี้ โดย Mr.Elmas Arisoy ผู้จัดการส่วนภูมิภาค, World Bank Headquarters, Washington DC และ Mr.Ulrich Zachau ผู้อำนวยการส่วนภูมิภาค, South East Asia Countries, World Bank Office, Bangkok เป็นผู้กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมงาน ประกอบกับมีผู้บริหารจากธนาคารโลกและตัวแทนจากประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคอาเซียนเข้าร่วมการสัมมนาเป็นจำนวนมาก
รมว.คลัง กล่าวต่อว่า รัฐบาลให้ความสำคัญกับการต่อต้านและแก้ปัญหาการทุจริตแห่งชาติ โดยถือเป็นหนึ่งในวาระแห่งชาติ จึงได้มีการปฏิรูปและพัฒนาระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ปรับปรุงแก้ไขและยกระดับกฎระเบียบในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐจากเดิมที่เป็นเพียงระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เป็น พ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 ที่มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 23 ส.ค.60 ซึ่งมีความสอดคล้องกับมาตรฐานสากล
โดยอาศัยกรอบแนวคิดมาจากกรอบกฎหมายของเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐของ The United Nations Commission on International Trade Law (UNCITRAL) และความตกลงว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐขององค์การการค้าโลก (WTO Government Procurement Agreement : GPA) ซึ่งเน้นหลักความคุ้มค่า ความโปร่งใส มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และสามารถตรวจสอบได้ รวมถึงให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ โดยกำหนดให้จัดทำข้อตกลงคุณธรรม เพื่อป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
ด้าน น.ส.ชุณหจิต สังข์ใหม่ ที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบการเงินการคลัง กรมบัญชีกลาง กล่าวว่า การประชุมสัมมนาครั้งนี้ มุ่งเน้นการสร้างเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพด้านพัสดุ โดยเปิดโอกาสให้ผู้กำหนดนโยบายและผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐของประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคอาเซียนพบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความรู้เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ รวมถึงสร้างเครือข่ายด้านการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐที่เข้มแข็งในภูมิภาคอาเซียน และป้องกันการทุจริตคอร์รัปชัน รวมทั้งเกิดการพัฒนาทางการค้าและโอกาสทางธุรกิจของประเทศในภูมิภาคอาเซียน
ทั้งนี้ ประเทศไทยได้พยายามที่จะยกระดับมาตรฐานการจัดซื้อจัดจ้างตลอดมา จนประสบความสำเร็จมากขึ้นตามลำดับ โดยมุ่งมั่นที่จะพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างให้มีความโปร่งใส ส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันอย่างเป็นธรรมในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งมีจุดมุ่งหมายให้การจัดซื้อจัดจ้างเป็นมาตรฐานสากลและสร้างความเชื่อมั่น
อินโฟเควสท์