WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

MOFพรชย ฐระเวช copyคลังเผย พ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝากผ่านความเห็นชอบจากสนช.วาระ 2-3 แล้ว

        นายพรชัย ฐีระเวช ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยความคืบหน้าการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝาก (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ว่า ขณะนี้ได้ผ่านการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) วาระ 2 และ 3 แล้ว โดยได้รับความเห็นชอบให้ตราเป็นกฎหมายในการประชุม สนช. ครั้งที่ 61/2560 เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2560

       นายพรชัยฯ กล่าวว่า ร่างพระราชบัญญัติฯ ดังกล่าวมีจำนวนทั้งสิ้น 11 มาตรา และสรุปสาระสำคัญ ดังนี้

       1. แก้ไขเพิ่มเติมอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการสถาบันคุ้มครองเงินฝากและขั้นตอนกระบวนการจ่ายคืนเงินฝากให้แก่ผู้ฝากเงิน ในกรณีที่สถาบันการเงินถูกเพิกถอนใบอนุญาตให้มีความเหมาะสมและก่อให้เกิดประโยชน์กับประชาชนมากยิ่งขึ้น โดย

       1.1 ยกเลิกกระบวนการให้ผู้ฝากเงินต้องมายื่นคำขอรับเงินภายหลังจากที่สถาบันการเงินถูกเพิกถอนใบอนุญาต โดยสถาบันคุ้มครองเงินฝาก (สคฝ.) จะจ่ายคืนเงินฝากแก่ผู้ฝากเงินภายใน 30 วัน ภายหลังจากที่สถาบันการเงินถูกเพิกถอนใบอนุญาต จากเดิมที่กระบวนการจ่ายคืนเงินฝากแก่ผู้ฝากเงินจะต้องใช้เวลาทั้งหมด 160 วัน

     1.2 เงินฝากที่จ่ายคืนแก่ผู้ฝากเงิน หากผู้ฝากเงินมีหนี้ที่ถึงกำหนดชำระเป็นจำนวนแน่นอนก่อนหรือในวันที่สถาบันการเงินถูกเพิกถอนใบอนุญาต ให้ สคฝ.มีอำนาจหักหนี้ดังกล่าวออกก่อนการจ่ายคืนเงินฝากแก่ผู้ฝากเงิน

      1.3 กำหนดขั้นตอนการตรวจสอบข้อมูลในกรณีที่ผู้ฝากเงินไม่เห็นด้วยกับจำนวนเงินที่ สคฝ.จ่ายคืนเมื่อสถาบันการเงินถูกเพิกถอนใบอนุญาต

      1.4  กำหนดขั้นตอนการขอรับคืนเงินฝากในกรณีที่ผู้ฝากเงินมิได้รับเงินตามกำหนดระยะเวลา 30 วันภายหลังจากสถาบันการเงินถูกเพิกถอนใบอนุญาต และกำหนดขั้นตอนการวางทรัพย์ในกรณีที่ผู้ฝากเงินมิได้มายื่นขอรับคืนเงินฝากภายในระยะเวลาที่กำหนด

        2. กำหนดให้ สคฝ.มีอำนาจกู้ยืมเงินโดยตรง นอกจากการออกตราสารทางการเงิน เพื่อให้มีแหล่งเงินเพิ่มเติมเพื่อใช้ในการจ่ายคืนผู้ฝากเงิน และการดำเนินการอื่นๆ ตามพันธกิจ

                3. กำหนดให้คณะกรรมการควบคุมสถาบันการเงิน และ สคฝ.มีหน้าที่ให้ความร่วมมือและแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับสถาบันการเงินที่ถูกควบคุมระหว่างกันได้ เพื่อให้การเตรียมการรองรับการจ่ายคืนเงินฝากแก่ผู้ฝากเงินเป็นไปได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

                4. กำหนดให้สาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายไทย เพื่อประโยชน์ในการชำระบัญชี

                5. กำหนดให้คณะกรรมการสถาบันคุ้มครองเงินฝากรายงานผลการดำเนินงานต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจากเดิมรายไตรมาสเป็นรายครึ่งปี

                "ร่างพระราชบัญญัติฯ ที่ผ่านความเห็นชอบจาก สนช.เพื่อตราเป็นกฎหมายบังคับใช้นี้ หากมีสถาบันการเงินถูกเพิกถอนใบอนุญาต สคฝ.จะสามารถจ่ายคืนเงินฝากแก่ผู้ฝากเงิน โดยเฉพาะผู้ฝากเงินรายย่อยด้วยความรวดเร็วขึ้น ตลอดจนช่วยพัฒนากลไกการคุ้มครองเงินฝากแก่ผู้ฝากเงินสร้างความเชื่อมั่น และลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อสถาบันการเงินแห่งอื่นๆ ในระบบ รวมทั้งสร้างเสถียรภาพให้แก่ระบบสถาบันการเงิน อันจะเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจในภาพรวม"โฆษก สศค.ระบุ

       อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!