- Details
- Category: คลัง
- Published: Thursday, 19 October 2017 13:22
- Hits: 2231
ผลการประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ปี 2560 และการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกา
นายสุวิชญ โรจนวานิช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง แถลงว่า นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้รับมอบหมายให้เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย เข้าร่วมการประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารโลก (World Bank) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund: IMF) ปี 2560 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ในระหว่างวันที่ 12 - 14 ตุลาคม 2560 ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกา โดยมีสาระสำคัญของการประชุมสรุปดังนี้
1) การประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ปี 2560 เป็นการประชุมร่วมกันระหว่างผู้ว่าการธนาคารโลกและผู้ว่าการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ จากสมาชิก 189 ประเทศทั่วโลก โดยในปีนี้ นาย Imad Najib Fakhoury ผู้ว่าการธนาคารโลกของจอร์แดน ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม โดยนาย Jim Yong Kim ประธานธนาคารโลก และนาง Christine Lagarde กรรมการผู้จัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ได้กล่าวสุนทรพจน์ครอบคลุม 3 ประเด็นหลักเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนประกอบด้วย การระดมทุนจากภาคเอกชนเพื่อสนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืน การเตรียมความพร้อมรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการลงทุนในทรัพยากรมนุษย์โดยมุ่งเน้นถึงการศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต นอกจากนี้ กองทุนการเงินระหว่างประเทศได้ปรับประมาณการเศรษฐกิจโลกขึ้นจากร้อยละ 3.2 ในปี 2559 มาอยู่ที่ร้อยละ 3.6 ในปี 2560 และเพิ่มเป็นร้อยละ 3.7 ในปี 2561 ซึ่งสะท้อนภาวะเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวจากการเติบโตของการลงทุน การค้าระหว่างประเทศ และราคาสินค้าโภคภัณฑ์ สำหรับประเทศไทยนั้น กองทุนการเงินระหว่างประเทศได้ปรับประมาณการเศรษฐกิจไทยในปี 2560 ขึ้นจากร้อยละ 3.2 เป็นร้อยละ 3.7 และได้เพิ่มประมาณการสำหรับปี 2561 จากร้อยละ 3.3 เป็นร้อยละ 3.5 อนึ่ง ธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศได้เรียกร้องให้รัฐบาลของประเทศสมาชิกเร่งปรับปรุงโครงสร้างเศรษฐกิจ สังคม และกฎระเบียบภายในประเทศ เพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนและทั่วถึง ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในฐานะผู้ว่าการธนาคารโลกของไทยได้นำเสนอถ้อยแถลงถึงภาวะเศรษฐกิจที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องของไทย ซึ่งเป็นผลจากการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่าง ๆ รวมถึงมาตรการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินของไทยผ่านระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนี้ ยังได้ให้ความมั่นใจว่าประเทศไทยพร้อมให้การสนับสนุนและร่วมมือกับทั้ง 2 องค์กรเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน
2) การประชุมร่วมระหว่างผู้ว่าการของประเทศสมาชิกกลุ่มออกเสียงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (Joint Meeting of the World Bank-IMF Southeast Asia Group (SEA Group)) ที่ประชุมรับทราบผลการดำเนินงานของกลุ่มออกเสียง SEA Group ในรอบปีที่ผ่านมาและแนวทาง การดำเนินงานที่สำคัญในอนาคต พร้อมยืนยันสนับสนุนแผนการเพิ่มทุนของธนาคารโลกเพื่อให้สามารถขับเคลื่อน การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ ที่ประชุมได้หารือร่วมกับผู้เชี่ยวชาญจากธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศเกี่ยวกับบทบาทของนวัตกรรมทางการเงินในยุคเศรษฐกิจดิจิทัลสำหรับลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการทางการเงินของผู้มีรายได้น้อย ซึ่งครอบคลุมทั้งด้านการจ่ายเงิน การโอนเงิน การออมเงิน การขอสินเชื่อ และการบริหารความเสี่ยง ประกอบกับนวัตกรรมทางการเงินสามารถช่วยลดต้นทุนการทำธุรกรรมสำหรับผู้มีรายได้น้อยได้ และเพิ่มความสะดวก ความรวดเร็ว และความปลอดภัยในการทำธุรกรรมแก่ผู้ใช้ พร้อมทั้งช่วยลดต้นทุนการให้บริการทางการเงิน และเพิ่มฐานข้อมูลแก่ผู้ประกอบการอีกด้วย
3) การประชุมคณะกรรมการพัฒนาการของธนาคารโลก ครั้งที่ 96 (96th Development Committee Meeting) เป็นการประชุมของผู้ว่าการธนาคารโลกที่เป็นผู้แทนจากกลุ่มออกเสียงของประเทศสมาชิกจำนวน 25 คน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพิจารณาและให้ข้อเสนอแนะแนวนโยบายต่อผู้บริหารธนาคารโลก เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินการแก้ไขปัญหาความยากจนและเกิดการพัฒนาในประเทศสมาชิก โดยครั้งนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของไทยในฐานะผู้แทนของกลุ่มออกเสียง SEA Group ได้กล่าวถ้อยแถลงต่อที่ประชุมใน 4 ประเด็นหลัก ได้แก่ (1) ความสำคัญของการพัฒนาระบบการศึกษาเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้อย่างแท้จริง เพราะการศึกษานอกจากจะช่วยบรรเทาปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคมได้แล้ว คุณภาพของทรัพยากรมนุษย์ที่สูงขึ้นยังเป็นปัจจัยหลักในการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน (2) การส่งเสริมบทบาทและการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนในการลงทุนเพื่อการพัฒนา โดยเฉพาะการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่สนับสนุนความเชื่อมโยงในภูมิภาค (3) ได้เรียกร้องให้ประเทศสมาชิกเร่งหาข้อสรุปเกี่ยวกับแนวทางเพิ่มทุนของธนาคารโลกให้แล้วเสร็จภายในเดือนเมษายน 2561 เพื่อให้ธนาคารโลกมีฐานเงินทุนที่แข็งแกร่งในการดำเนินการตามพันธกิจได้ และ (4) ได้กระตุ้นให้ธนาคารโลกเป็นองค์กรที่มีความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพในการสนับสนุนประเทศสมาชิกทั้งในด้านเงินทุนและความช่วยเหลือทางวิชาการ
4) การประชุมทวิภาคี ในโอกาสนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้หารือทวิภาคีกับนาง Victoria Kwakwa รองประธาน ธนาคารโลกประจำภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ถึงแนวทางความร่วมมือระหว่างไทยและธนาคารโลกภายใต้กรอบความเป็นหุ้นส่วนระหว่างประเทศที่อยู่ระหว่างการจัดทำ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ชี้แจงถึงพันธกิจของรัฐบาลที่ให้ความสำคัญกับการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ การปฏิรูประบบการศึกษาเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้อย่างแท้จริง และการเพิ่มความเข้มแข็งของโครงข่ายความคุ้มครองด้านสวัสดิการพื้นฐานให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย โดยเฉพาะกลุ่มผู้ด้อยโอกาสและผู้สูงอายุ นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการทรวงการคลังได้หารือทวิภาคีกับผู้บริหารระดับสูงของสถาบันการเงินต่างประเทศ อาทิ ธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้แบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น ธนาคารมิซูโฮ จำกัด เป็นต้น โดยสถาบันการเงินต่างประเทศเล็งเห็นถึงความสำคัญของประเทศไทยในฐานะศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของอนุภูมิภาคและอาเซียน ประกอบกับมีระบบการเงินและตลาดทุนที่แข็งแกร่ง และได้แสดงความสนใจในการสนับสนุนโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกของไทย (Eastern Economic Corridor: EEC)
สำนักนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร. 0 2273 9020 ต่อ 3681กระทรวงการคลัง
คลัง เผยผลการประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารโลก ชี้ IMF เพิ่มเป้าจีดีพีไทยปีนี้เป็นโต 3.7% ส่วนปีหน้าโต 3.5%
คลังเผย ผลการประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ปี 2560 และการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกา IMF เพิ่มเป้าจีดีพีโลก มาอยู่ที่ร้อยละ 3.6 ในปี 2560 และเพิ่มเป็นร้อยละ 3.7 ในปี 2561 ส่วนจีดีพีไทย ปี 2560 เพิ่มเป้าจากร้อยละ 3.2 เป็นร้อยละ 3.7 และได้เพิ่มประมาณการสำหรับปี 2561 จากร้อยละ 3.3 เป็นร้อยละ 3.5
นายสุวิชญ โรจนวานิช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง แถลงว่า นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้รับมอบหมายให้เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย เข้าร่วมการประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารโลก (World Bank) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund: IMF) ปี 2560 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ในระหว่างวันที่ 12 - 14 ตุลาคม 2560 ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกา โดยมีสาระสำคัญของการประชุมสรุปดังนี้
1) การประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ปี 2560 เป็นการประชุมร่วมกันระหว่างผู้ว่าการธนาคารโลกและผู้ว่าการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ จากสมาชิก 189 ประเทศทั่วโลก โดยในปีนี้ นาย Imad Najib Fakhoury ผู้ว่าการธนาคารโลกของจอร์แดน ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม โดยนาย Jim Yong Kim ประธานธนาคารโลก และนาง Christine Lagarde กรรมการผู้จัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ได้กล่าวสุนทรพจน์ครอบคลุม 3 ประเด็นหลักเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนประกอบด้วย
การระดมทุนจากภาคเอกชนเพื่อสนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืน การเตรียมความพร้อมรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการลงทุนในทรัพยากรมนุษย์โดยมุ่งเน้นถึงการศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต นอกจากนี้ กองทุนการเงินระหว่างประเทศได้ปรับประมาณการเศรษฐกิจโลกขึ้นจากร้อยละ 3.2 ในปี 2559 มาอยู่ที่ร้อยละ 3.6 ในปี 2560 และเพิ่มเป็นร้อยละ 3.7 ในปี 2561 ซึ่งสะท้อนภาวะเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวจากการเติบโตของการลงทุน การค้าระหว่างประเทศ และราคาสินค้าโภคภัณฑ์
สำหรับ ประเทศไทยนั้น กองทุนการเงินระหว่างประเทศได้ปรับประมาณการเศรษฐกิจไทยในปี 2560 ขึ้นจากร้อยละ 3.2 เป็นร้อยละ 3.7 และได้เพิ่มประมาณการสำหรับปี 2561 จากร้อยละ 3.3 เป็นร้อยละ 3.5 อนึ่ง ธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศได้เรียกร้องให้รัฐบาลของประเทศสมาชิกเร่งปรับปรุงโครงสร้างเศรษฐกิจ สังคม และกฎระเบียบภายในประเทศ เพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนและทั่วถึง ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในฐานะผู้ว่าการธนาคารโลกของไทยได้นำเสนอถ้อยแถลงถึงภาวะเศรษฐกิจที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องของไทย ซึ่งเป็นผลจากการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่าง ๆ รวมถึงมาตรการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินของไทยผ่านระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนี้ ยังได้ให้ความมั่นใจว่าประเทศไทยพร้อมให้การสนับสนุนและร่วมมือกับทั้ง 2 องค์กรเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน
2) การประชุมร่วมระหว่างผู้ว่าการของประเทศสมาชิกกลุ่มออกเสียงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (Joint Meeting of the World Bank-IMF Southeast Asia Group (SEA Group)) ที่ประชุมรับทราบผลการดำเนินงานของกลุ่มออกเสียง SEA Group ในรอบปีที่ผ่านมาและแนวทาง การดำเนินงานที่สำคัญในอนาคต พร้อมยืนยันสนับสนุนแผนการเพิ่มทุนของธนาคารโลกเพื่อให้สามารถขับเคลื่อน การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ ที่ประชุมได้หารือร่วมกับผู้เชี่ยวชาญจากธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศเกี่ยวกับบทบาทของนวัตกรรมทางการเงินในยุคเศรษฐกิจดิจิทัลสำหรับลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการทางการเงินของผู้มีรายได้น้อย ซึ่งครอบคลุมทั้งด้านการจ่ายเงิน การโอนเงิน การออมเงิน การขอสินเชื่อ และการบริหารความเสี่ยง ประกอบกับนวัตกรรมทางการเงินสามารถช่วยลดต้นทุนการทำธุรกรรมสำหรับผู้มีรายได้น้อยได้ และเพิ่มความสะดวก ความรวดเร็ว และความปลอดภัยในการทำธุรกรรมแก่ผู้ใช้ พร้อมทั้งช่วยลดต้นทุนการให้บริการทางการเงิน และเพิ่มฐานข้อมูลแก่ผู้ประกอบการอีกด้วย
3) การประชุมคณะกรรมการพัฒนาการของธนาคารโลก ครั้งที่ 96 (96th Development Committee Meeting) เป็นการประชุมของผู้ว่าการธนาคารโลกที่เป็นผู้แทนจากกลุ่มออกเสียงของประเทศสมาชิกจำนวน 25 คน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพิจารณาและให้ข้อเสนอแนะแนวนโยบายต่อผู้บริหารธนาคารโลก เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินการแก้ไขปัญหาความยากจนและเกิดการพัฒนาในประเทศสมาชิก โดยครั้งนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของไทยในฐานะผู้แทนของกลุ่มออกเสียง SEA Group ได้กล่าวถ้อยแถลงต่อที่ประชุมใน 4 ประเด็นหลัก ได้แก่ (1) ความสำคัญของการพัฒนาระบบการศึกษาเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้อย่างแท้จริง เพราะการศึกษานอกจากจะช่วยบรรเทาปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคมได้แล้ว คุณภาพของทรัพยากรมนุษย์ที่สูงขึ้นยังเป็นปัจจัยหลักในการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน (2) การส่งเสริมบทบาทและการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนในการลงทุนเพื่อการพัฒนา โดยเฉพาะการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่สนับสนุนความเชื่อมโยงในภูมิภาค (3) ได้เรียกร้องให้ประเทศสมาชิกเร่งหาข้อสรุปเกี่ยวกับแนวทางเพิ่มทุนของธนาคารโลกให้แล้วเสร็จภายในเดือนเมษายน 2561 เพื่อให้ธนาคารโลกมีฐานเงินทุนที่แข็งแกร่งในการดำเนินการตามพันธกิจได้ และ (4) ได้กระตุ้นให้ธนาคารโลกเป็นองค์กรที่มีความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพในการสนับสนุนประเทศสมาชิกทั้งในด้านเงินทุนและความช่วยเหลือทางวิชาการ
4) การประชุมทวิภาคี ในโอกาสนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้หารือทวิภาคีกับนาง Victoria Kwakwa รองประธาน ธนาคารโลกประจำภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ถึงแนวทางความร่วมมือระหว่างไทยและธนาคารโลกภายใต้กรอบความเป็นหุ้นส่วนระหว่างประเทศที่อยู่ระหว่างการจัดทำ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ชี้แจงถึงพันธกิจของรัฐบาลที่ให้ความสำคัญกับการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ การปฏิรูประบบการศึกษาเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้อย่างแท้จริง และการเพิ่มความเข้มแข็งของโครงข่ายความคุ้มครองด้านสวัสดิการพื้นฐานให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย โดยเฉพาะกลุ่มผู้ด้อยโอกาสและผู้สูงอายุ นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการทรวงการคลังได้หารือทวิภาคีกับผู้บริหารระดับสูงของสถาบันการเงินต่างประเทศ อาทิ ธนาคาร
เพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้แบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น ธนาคารมิซูโฮ จำกัด เป็นต้น โดยสถาบันการเงินต่างประเทศเล็งเห็นถึงความสำคัญของประเทศไทยในฐานะศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของอนุภูมิภาคและอาเซียน ประกอบกับมีระบบการเงินและตลาดทุนที่แข็งแกร่ง และได้แสดงความสนใจในการสนับสนุนโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกของไทย (Eastern Economic Corridor: EEC)
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย
IMF-เวิลด์แบงก์ เรียกร้องสมาชิกปรับปรุงโครงสร้าง-กฎระเบียบภายในปท., ใช้นวัตกรรมการเงินลดความเหลื่อมล้ำ
นายสุวิชญ โรจนวานิช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง แถลงว่า ตามที่นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง ได้รับมอบหมายให้เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย เข้าร่วมการประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารโลก (World Bank) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund: IMF) ปี 2560 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ในระหว่างวันที่ 12 - 14 ตุลาคม 2560 ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกา
สำหรับ การประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ปี 2560 เป็นการประชุมร่วมกันระหว่างผู้ว่าการธนาคารโลกและผู้ว่าการ IMF จากสมาชิก 189 ประเทศทั่วโลก โดยในปีนี้ นาย Imad Najib Fakhoury ผู้ว่าการธนาคารโลกของจอร์แดน ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม
โดยนาย Jim Yong Kim ประธานธนาคารโลก และนาง Christine Lagarde กรรมการผู้จัดการ IMF กล่าวสุนทรพจน์ครอบคลุม 3 ประเด็นหลักเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนประกอบด้วย การระดมทุนจากภาคเอกชนเพื่อสนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืน การเตรียมความพร้อมรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการลงทุนในทรัพยากรมนุษย์โดยมุ่งเน้นถึงการศึกษาที่ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต
นอกจากนี้ IMF ได้ปรับประมาณการเศรษฐกิจโลกขึ้นจาก 3.2% ในปี 59 มาอยู่ที่ 3.6% ในปี 2560 และเพิ่มเป็น 3.7% ในปี 61 ซึ่งสะท้อนภาวะเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวจากการเติบโตของการลงทุน การค้าระหว่างประเทศ และราคาสินค้าโภคภัณฑ์
สำหรับประเทศไทยนั้น IMF ได้ปรับประมาณการเศรษฐกิจไทยในปี 60 ขึ้นจาก 3.2% เป็น 3.7% และได้เพิ่มประมาณการสำหรับปี 61 จาก 3.3% เป็น 3.5%
อนึ่ง ธนาคารโลกและ IMF ได้เรียกร้องให้รัฐบาลของประเทศสมาชิกเร่งปรับปรุงโครงสร้างเศรษฐกิจ สังคม และกฎระเบียบภายในประเทศเพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนและทั่วถึง โดยรมว.คลังในฐานะผู้ว่าการธนาคารโลกของไทยได้นำเสนอถ้อยแถลงถึงภาวะเศรษฐกิจที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องของไทย ซึ่งเป็นผลจากการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่าง ๆ รวมถึงมาตรการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินของไทยผ่านระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนี้ ยังได้ให้ความมั่นใจว่าประเทศไทยพร้อมให้การสนับสนุนและร่วมมือกับทั้ง 2 องค์กรเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ส่วนการประชุมร่วมระหว่างผู้ว่าการของประเทศสมาชิกกลุ่มออกเสียงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของธนาคารโลกและ IMF (Joint Meeting of the World Bank-IMF Southeast Asia Group (SEA Group)) ที่ประชุมรับทราบผลการดำเนินงานของกลุ่มออกเสียง SEA Group ในรอบปีที่ผ่านมาและแนวทาง การดำเนินงานที่สำคัญในอนาคต พร้อมยืนยันสนับสนุนแผนการเพิ่มทุนของธนาคารโลกเพื่อให้สามารถขับเคลื่อน การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน
นอกจากนี้ ที่ประชุมได้หารือร่วมกับผู้เชี่ยวชาญจากธนาคารโลกและ IMF เกี่ยวกับบทบาทของนวัตกรรมทางการเงินในยุคเศรษฐกิจดิจิทัลสำหรับลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการทางการเงินของผู้มีรายได้น้อย ซึ่งครอบคลุมทั้งด้านการจ่ายเงิน การโอนเงิน การออมเงิน การขอสินเชื่อ และการบริหารความเสี่ยง ประกอบกับนวัตกรรมทางการเงินสามารถช่วยลดต้นทุนการทำธุรกรรมสำหรับผู้มีรายได้น้อยได้ และเพิ่มความสะดวก ความรวดเร็ว และความปลอดภัยในการทำธุรกรรมแก่ผู้ใช้ พร้อมทั้งช่วยลดต้นทุนการให้บริการทางการเงิน และเพิ่มฐานข้อมูลแก่ผู้ประกอบการอีกด้วย
ขณะที่การประชุมคณะกรรมการพัฒนาการของธนาคารโลก ครั้งที่ 96 (96th Development Committee Meeting) เป็นการประชุมของผู้ว่าการธนาคารโลกที่เป็นผู้แทนจากกลุ่มออกเสียงของประเทศสมาชิกจำนวน 25 คน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพิจารณาและให้ข้อเสนอแนะแนวนโยบายต่อผู้บริหารธนาคารโลก เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินการแก้ไขปัญหาความยากจนและเกิดการพัฒนาในประเทศสมาชิก
โดยครั้งนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของไทยในฐานะผู้แทนของกลุ่มออกเสียง SEA Group ได้กล่าวถ้อยแถลงต่อที่ประชุมใน 4 ประเด็นหลัก ได้แก่ (1) ความสำคัญของการพัฒนาระบบการศึกษาเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้อย่างแท้จริง เพราะการศึกษานอกจากจะช่วยบรรเทาปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคมได้แล้ว คุณภาพของทรัพยากรมนุษย์ที่สูงขึ้นยังเป็นปัจจัยหลักในการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน (2) การส่งเสริมบทบาทและการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนในการลงทุนเพื่อการพัฒนา โดยเฉพาะการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่สนับสนุนความเชื่อมโยงในภูมิภาค
(3) ได้เรียกร้องให้ประเทศสมาชิกเร่งหาข้อสรุปเกี่ยวกับแนวทางเพิ่มทุนของธนาคารโลกให้แล้วเสร็จภายในเดือนเมษายน 2561 เพื่อให้ธนาคารโลกมีฐานเงินทุนที่แข็งแกร่งในการดำเนินการตามพันธกิจได้ และ (4) ได้กระตุ้นให้ธนาคารโลกเป็นองค์กรที่มีความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพในการสนับสนุนประเทศสมาชิกทั้งในด้านเงินทุนและความช่วยเหลือทางวิชาการ
ในการประชุมทวิภาคี ในโอกาสนี้ รมว.คลังได้หารือทวิภาคีกับนาง Victoria Kwakwa รองประธาน ธนาคารโลกประจำภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ถึงแนวทางความร่วมมือระหว่างไทยและธนาคารโลกภายใต้กรอบความเป็นหุ้นส่วนระหว่างประเทศที่อยู่ระหว่างการจัดทำ โดยรมว.คลังได้ชี้แจงถึงพันธกิจของรัฐบาลที่ให้ความสำคัญกับการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ การปฏิรูประบบการศึกษาเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้อย่างแท้จริง และการเพิ่มความเข้มแข็งของโครงข่ายความคุ้มครองด้านสวัสดิการพื้นฐานให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย โดยเฉพาะกลุ่มผู้ด้อยโอกาสและผู้สูงอายุ
นอกจากนี้ รมว.คลังได้หารือทวิภาคีกับผู้บริหารระดับสูงของสถาบันการเงินต่างประเทศ อาทิ ธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้แบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น ธนาคารมิซูโฮ จำกัด เป็นต้น โดยสถาบันการเงินต่างประเทศเล็งเห็นถึงความสำคัญของประเทศไทยในฐานะศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของอนุภูมิภาคและอาเซียน ประกอบกับมีระบบการเงินและตลาดทุนที่แข็งแกร่ง และได้แสดงความสนใจในการสนับสนุนโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกของไทย (Eastern Economic Corridor: EEC)
อินโฟเควสท์