WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

G เอกนต นตทณฑประภาศสคร.มั่นใจศก.ไทยปี 60 ฟื้นหลัง Q2/60 โต 3.7% อานิสงส์ลงทุนรัฐวิสาหกิจเป็นหลัก แนะภาคเกษตรปรับตัวเพิ่มมูลค่าสินค้า

     สคร.มั่นใจศก.ไทยปี 60 ฟื้น หลังจีดีพี Q2/60 โต 3.7% อานิสงส์ลงทุนรัฐวิสาหกิจเป็นหลัก แนะภาคเกษตรปรับตัวเพิ่มมูลค่าสินค้า ฟาก ส.อ.ท.ระบุ ศก.ไทยยังโตแบบกระจุกตัว ชี้หากไทยจะหลุดพ้นกำดับรายได้ปานกลางใน 20 ปี จีดีพีจะต้องโต 6-7% พร้อมแนะเกษตรปรับตัว เพื่อเพิ่มทางเลือก เชื่อมต่ออุตสาหกรรม

      นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) และในฐานะนักศึกษาหลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้านวิทยาการพลังงาน เปิดเผยว่า ขณะมองว่า เศรษฐกิจไทยเริ่มเห็นสัญญาการฟื้นตัวแล้ว สะท้อนจากตัวเลขอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ หรือ จีดีพี ไตรมาส 2/2560 ที่ผ่านมา ขยายตัวได้ 3.7% เพิ่มขึ้นจากไตรมาสแรกที่ขยายตัวได้ 3.2% ขณะที่การส่งออกเพิ่มขึ้นจาก 2.7% มาอยู่ที่ 6% ในไตรมาส 2 แต่อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจที่ขยายตัวได้ดี ยังคงไม่กระจายตัวไปสู่กลุ่มชนบท และภาคเกษตร ดังนั้นทุกภาคส่วนจะต้องหาแนวทางช่วยเหลือกลุ่มดังกล่าว เพื่อให้เศรษฐกิจเติบโตได้ในระยะยาว แบบกระจายตัวไปทุกกลุ่ม

      อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไทยในช่วงที่ผ่านมา ขยายตัวได้ดี เกิดจาก การลงทุนของภาครัฐเป็นสำคัญ โดยเฉพาะการลงทุนของรัฐวิสาหกิจ โดยไตรมาส 2 ที่ผ่านมา การลงทุนรัฐวิสาหกิจขยายตัวได้ถึง 20% ซึ่งถือเป็นแรงขับเคลื่อนหลักที่ส่งผลให้จีดีพีเติบโตได้ดี 

     "ที่ผ่านมา เราเริ่มเห็นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจตั้งแต่ปี 2557 โดยในเวลานั้น รัฐบาลเลือกที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจโดยการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน แม้ว่าจะไม่เห็นผลทันที เนื่องจากการลงทุนต้องใช้ระยะเวลา เงินเข้าสู่ระบบต้องเป็นไปตามงวดงาน ดังนั้นทำให้เงินไม่ได้ลงสู่ระบบเป็นก้อน เหมือนการอัดฉีดเงินโดยการใช้มาตรการช่วยชาติ ดังนั้นประชาชนจึงรู้สึกว่าเศรษฐกิจยังไม่ได้เติบโต" นายเอกนิติ กล่าว 

       นายเอกนิติ กล่าวว่า  ในระยะต่อไป จากการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ การลงทุนรัฐวิสาหกิจ และมาตรการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ หรือ PPP เช่น โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว สายสีเหลือง และสายสีชมพู ที่จะเริ่มเดินหน้าโครงการต่อไป จะเป็นแรงส่งของเศรษฐกิจที่สำคัญในระยะยาว ขณะที่ปัจจัยที่จะต้องเร่งผลักดัน เพื่อให้เศรษฐกิจเติบโตได้แบบกระจายตัวนั้น คือ การเพิ่มผลิตภาพการผลิตในภาคการเกษตร เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในอนาคต เนื่องจากในปัจจุบัน พบว่า ราคาสินค้าเกษตรเพิ่งเริ่มฟื้นตัว จากที่ตกต่ำมานาน และจากการไม่ได้เพิ่มผลิตภาพการผลิต ส่งผลให้รายได้กลุ่มดังกล่าวยังไม่ได้เติบโตมากนัก ทำให้กำลังซื้อในกลุ่มดังกล่าวยังไม่ฟื้นตัวดี 

      ด้านกลุ่มระดับกลางยังมีหนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับสูง แม้ว่าจะลดลงต่ำกว่า 80% ของจีดีพี แต่ยังมีภาระหนี้เก่า ส่งผลให้กลุ่มดังกล่าวยังชะลอการใช้จ่าย เพื่อชำระหนี้คงค้างเดิมที่มีอยู่ 

       นายเจน นำชัยศิริ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ในปัจจุบัน พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการขนาดเล็กยังต่ำกว่า 100 ขณะที่ผู้ประกอบการขนาดใหญ่สูงกว่า 100 และในพื้นที่กลุ่มระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ EEC นั้น อยู่ในระดับเกิน 100 สะท้อนว่า เศรษฐกิจไทยในปัจจุบันยังเติบโตแบบกระจุกตัว โดยเฉพาะในกลุ่มภาคเกษตรที่ดัชนีความเชื่อมั่นยังอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ ดังนั้น การจะผลักดันให้เศรษฐกิจเติบโตแบบกระจายตัวได้ จะต้องเร่งผลิตภาพการผลิตในกลุ่มภาคเกษตร เนื่องจากกลุ่มดังกล่าวคิดเป็น 40% ของแรงงานทั้งระบบ 

      ทั้งนี้ ตามนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการลดความเหลื่อมล้ำ หลุดพ้นจากประเทศรายได้ปานกลาง โดยมีรายได้เพิ่มขึ้น 12,500 ล้านดอลลาร์ จากปัจจุบันที่ 5,700-5,800 ล้านดอลลาร์ในอีก 20 ปีข้างหน้านั้น เศรษฐกิจไทยจะต้องเติบโตเฉลี่ยอย่างน้อยปีละ 6-7% และเน้นการเติบโตแบบมีคุณภาพ ไม่เน้นปริมาแบบที่ผ่านมา รวมถึงการส่งเสริมให้ภาคเกษตรมีสินค้าที่มีคุณภาพ มีตลาดใหม่รองรับ รวมถึงสามารถเชื่อมโยงกับภาคอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ได้ในอนาคต 

   “หากเราต้องการให้ประเทศไทยหลุดพ้นจากประเทศที่มีรายได้ปานกลางใน 20 ปีข้างหน้า จีดีพีจะต้องโตปีละ 6-7% และต้องมุ่งเน้นไปยังภาคเกษตร เพิ่มผลิตภาพ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และสร้างการสมดุลแบบใหม่ในระบบเศรษฐกิจ เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในอนาคต”นายเจน กล่าว

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!