WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Gอภศกดรมว.คลัง จี้ธปท.ดูแลค่าเงินบาท หลังพบแข็งค่ากว่าเงินสกุลเพื่อนบ้าน หวั่นกระทบส่งออก เชื่อแบงก์ชาติดูแลได้

     รมว.คลัง รับเงินบาทแข็งค่ากว่าภูมิภาค กระทบภาพรวมศก.จี้ธปท.ดูแล หวั่นกระทบส่งออก ส่วนเรื่องขอขึ้นค่าแรงต้องดูผลกระทบภาพรวม แต่พร้อมหารือก.แรงงาน -ฟังความเห็นเอกชน 

      นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า จากการที่สถานการณ์ค่าเงินบาทแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง ทางกระทรวงการคลังมีความเป็นห่วง และได้แจ้งไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เนื่องจากค่าเงินบาทขณะนี้ถือว่าแข็งค่ากว่าเงินสกุลอื่นในภูมิภาค ซึ่งธปท.รับทราบข้อห่วงใยดังกล่าวแล้ว และ กำลังมีมาตรการแก้ไข ซึ่งถือว่าเป็นหน้าที่ของธปท.โดยตรงที่จะดูแลสถานการณ์ค่าเงินบาทให้เหมาะสม ซึ่งต้องยอมรับว่าการที่ค่าเงินบาทแข็งค่าจะมีผลกระทบต่อการส่งออก แต่ไม่มากพอที่จะกระทบกับการเติบโตเศรษฐกิจของประเทศ

     “ที่ผ่านมาเราก็ได้มีมาตรการไม่ให้ค่าเงินแข็งค่าจนเกินไปด้วยการออกมาตรการให้นิติบุคคลต่างประเทศออกพันธบัตร หรือ หุ้นกู้ที่เป็นสกุลเงินบาท ด้วยการระดมเงินบาทไปใช้ในต่างประเทศ ซึ่งสามารถแลกกลับเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐได้ในช่วงระยะเวลา 6 เดือนนี้เพื่อบรรเทาไม่ให้ค่าเงินบาทแข็งเกินไป”นายอภิศักดิ์ กล่าว

     นอกจากนี้ ยังระบุถึงกรณีที่สภาองค์การลูกจ้าง สภาแรงงานแห่งประเทศไทย มีมติให้เสนอรัฐบาลเพื่อขอปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำวันละ 700 บาทนั้น นายอภิศักดิ์ กล่าวว่า เป็นเรื่องของกระทรวงแรงงาน แต่ยอมรับการปรับขึ้นค่าแรงงานเป็นการเพิ่มต้นทุนของผู้ประกอบการ ซึ่งต้องศึกษาว่าภาคเอกชนจะรับต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นได้หรือไม่ เนื่องจากการที่ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้นถือว่าเป็นเรื่องที่ดีที่จะดูแลเรื่องการลดความเหลื่อมล้ำ แต่ต้องไม่ให้กระทบจนทำให้ผู้ประกอบการอยู่ไม่ได้ ซึ่งจะต้องดูทั้ง 2 ด้านให้เกิดความสมดุล

      ล่าสุด กระทรวงการคลังได้ร่วมเปิดงาน MOF Digital Canteen'โดยเป็นกระทรวงแห่งแรกของประเทศที่ใช้ QR Code ในการชำระเงินตามนโยบายคลัง 4.0 ซึ่งเป็นต้นแบบในการก้าวสู่ Thailand 4.0 ที่จะเปลี่ยนเศรษฐกิจแบบเดิมไปสู่เศรษฐกิจยั่งยืนที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี นวัตกรรม และ สนับสนุนนโยบาย National e-Payment ของรัฐบาล

      ซึ่งความร่วมมือในครั้งนี้เป็นการเปิดประสบการณ์ใหม่สู่สังคมไร้เงินสด ด้วยการทำธุรกรรมชำระเงินค่าอาหารและเครื่องดื่มผ่าน KRUNGTHAI QR Code บนแอปพลิเคชั่น KTB netbank ซึ่งทำให้ผู้ขายเพียงสมัครพร้อมเพย์และติด QR Code ไว้ที่ร้าน จะได้รับเงินเข้าบัญชีทันที ลดความยุ่งยากในการรับ/ทอนเงิน ด้านผู้ซื้อไม่ต้องพกเงินสด เพียงใช้แอพพลิเคชันของธนาคารใดก็ได้ สแกน QR Code ของร้านค้า ระบุจำนวนเงิน และ รหัส เพื่อยืนยันการทำรายการ

       นอกจากนี้ ในโรงอาหารของกระทรวงการคลังยังมีเทคโนโลยีการชำระเงินด้วยการสแกนใบหน้า ซึ่งจะยื่นเรื่องเข้าระบบ sandbox ของธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อทดลอง และ ได้รับอนุมัติออกมาใช้ได้เป็นการทั่วไปในระดับต่อไป

       “ระบบการชำระเงินด้วยคิวอาร์โค้ดมีความปลอดภัยสูงสุดในขณะนี้ และ เป็นมาตรฐานที่ใช้ในหลายประเทศ ซึ่งในบางประเทศยังต้องใช้แอพพลิเคชัน และ คิวอาร์โค้ดที่เป็นธนาคารเดียวกันถึงจะสแกนชำระเงินได้ แต่ในไทยสามารถใช้คิวอาร์โค้ดเดียวรับชำระได้จากผู้จ่ายทุกธนาคาร ด้วยอัตราค่าธรรมเนียมแบบพร้อมเพย์ และ เมื่อผู้ใช้ได้รับความสะดวกมากขึ้นจะทำให้มีผู้หันมาใช้จ่ายผ่านระบบควอาร์โค้ดมากขึ้นตามไปด้วย ขณะที่ทางธนาคารได้ติดตั้งเครื่อง และ แนะนำวิธีการดูข้อมูลเงินเข้าบัญชีให้ผู้ค้าเพื่อช่วยลดความกังวลว่าเงินจะไม่เข้าบัญชีทำให้ผู้ค้ามีความมั่นใจมากขึ้น”นายอภิศักดิ์ กล่าว

     ส่วนผลกระทบกับนโยบายการรณรงค์ให้ผู้ประกอบการติดตั้งเครื่องอีดีซีนั้น นายอภิศักดิ์ กล่าวว่า ในระยะยาวจะทำให้การติดตั้งเครื่องน้อยลง แต่ยังจำเป็นอยู่เพื่อรองรับบัตรผู้มีรายได้น้อย และ บัตรแทนเงินสดต่างๆ สำหรับประชาชนบางส่วนที่อาจจะไม่มีสมาร์ทโฟน

 สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!