WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

SEPOปานทพย ศรพมลสคร. ชี้แจง พ.ร.บ. พัฒนารัฐวิสาหกิจแยกบทบาทชัดเจนระหว่างนโยบายกับผู้ถือหุ้น ย้ำไม่ได้แปรรูปซ่อนเงื่อน

    สคร. ชี้แจงเพิ่มเติม พรบ.พัฒนารัฐวิสาหกิจ ตอบโจทย์เพิ่มประสิทธิภาพ แยกบทบาทให้ชัดระหว่างนโยบายกับผู้ถือหุ้น ย้ำไม่ใช่การแปรรูปซ่อนเงื่อน หลังสื่อออนไลน์หวั่น พ.ร.บ.ใหม่จะทำบรรษัทฯ จะมุ่งแต่กำไรสูงสุดจนไม่คำนึงถึงภารกิจในบริการสาธารณะ การลดบทบาทของภาคแรงงานรัฐวิสาหกิจ

      นางปานทิพย์ ศรีพิมล ที่ปรึกษาด้านการพัฒนารัฐวิสาหกิจ เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ได้ชี้แจงทำความเข้าใจเกี่ยวกับเจตนารมณ์และหลักการของร่าง พ.ร.บ. พัฒนารัฐวิสาหกิจที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้มีมติรับหลักการไปแล้ว เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2560 ปรากฏข้อเท็จจริงผ่านสื่อ online ต่างๆ ว่า ยังคงมีข้อสังเกตว่าร่างกฎหมายนี้จะนำไปสู่การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ  โดยเปิดช่องให้บรรษัทฯ ลดสัดส่วนการถือหุ้นในรัฐวิสาหกิจชั้นแม่และรัฐวิสาหกิจชั้นลูก การมีบรรษัทฯ จะมุ่งแต่กำไรสูงสุดจนไม่คำนึงถึงภารกิจในบริการสาธารณะ การลดบทบาทของภาคแรงงานรัฐวิสาหกิจ เป็นต้น สคร. จึงขอชี้แจงเพิ่มเติม ดังนี้

      1. ร่าง พ.ร.บ. พัฒนารัฐวิสาหกิจ มีเจตนารมณ์ในการแยกบทบาทระหว่างผู้กำหนดนโยบาย ออกจาก ผู้ถือหุ้น โดยกำหนดให้ คนร. เป็นผู้กำหนดนโยบายผ่านแผนยุทธศาสตร์รัฐวิสาหกิจ ขณะที่บรรษัทฯ ทำหน้าที่เป็นผู้ถือหุ้นกำกับให้รัฐวิสาหกิจในกำกับดำเนินตามนโยบายอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดตั้งบรรษัทฯ จึงอยู่ภายใต้หลักการของการกำหนดบทบาทของผู้ถือหุ้นไม่ให้ทับซ้อนกับผู้กำหนดนโยบาย นอกจากนี้ ร่าง พ.ร.บ. พัฒนารัฐวิสาหกิจยังให้ความสำคัญกับการคงสถานะความเป็นรัฐวิสาหกิจเอาไว้ โดยนำเอามติคณะรัฐมนตรีที่กำหนดสัดส่วนการถือหุ้นของกระทรวงการคลังในรัฐวิสาหกิจที่เป็นบริษัท ให้มีผลบังคับกับบรรษัทฯ ในการถือหุ้นตามสัดส่วนที่กำหนดไว้ในมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวต่อไป

      2. การทำหน้าที่ของบรรษัทฯ ตามร่าง พ.ร.บ. พัฒนารัฐวิสาหกิจ จะต้องให้ความสำคัญกับหน้าที่ในการกำกับดูแลการประกอบกิจการของรัฐวิสาหกิจในฐานะผู้ถือหุ้น ให้เกิดผลตอบแทนที่เหมาะสมแก่รัฐ และยังต้องกำกับให้รัฐวิสาหกิจมีการดำเนินการที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์รัฐวิสาหกิจที่กำหนดเป้าหมาย นโยบาย และทิศทางในการพัฒนารัฐวิสาหกิจให้มีการดำเนินการให้สอดคล้องกับภารกิจตามกฎหมายของแต่ละรัฐวิสาหกิจได้อย่างโปร่งใสและมีประสิทธิภาพ ดังนั้น ข้อกล่าวอ้างที่ว่า รัฐวิสาหกิจที่มาอยู่ใต้บรรษัทฯ จะต้องมุ่งกำไรสูงสุดจึงไม่ถูกต้อง เพราะมาตรา 44 แห่งร่าง พ.ร.บ. พัฒนารัฐวิสาหกิจ กำหนดให้จัดตั้งบรรษัทฯ ขึ้นเป็นนิติบุคคลโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อถือหุ้นในรัฐวิสาหกิจในกำกับของบรรษัทและกำกับดูแลการประกอบกิจการของรัฐวิสาหกิจในฐานะผู้ถือหุ้นให้เกิดผลตอบแทนที่เหมาะสมและสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์รัฐวิสาหกิจ

     3. ในส่วนของการกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ บรรษัทฯ จะทำหน้าที่กำกับดูแลรัฐวิสาหกิจในชั้นแม่ผ่านการเป็นผู้ถือหุ้นโดยตรงให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลที่ดีตามที่กำหนดในร่าง พ.ร.บ. พัฒนารัฐวิสาหกิจ ในขณะที่การกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจในชั้นอื่นๆ (ลูก หลาน เหลน) ซึ่งบรรษัทฯ ไม่ได้เป็นผู้ถือหุ้นโดยตรง จะต้องใช้กฎหมาย กฎ และระเบียบที่เกี่ยวข้องในการกำกับรัฐวิสาหกิจชั้นอื่นๆ ในการกำกับดูแลต่อไป

       4.  ในด้านบทบาทของสหภาพและแรงงานสัมพันธ์ ร่าง พ.ร.บ. พัฒนารัฐวิสาหกิจ ได้กำหนดให้รัฐวิสาหกิจที่กระทรวงการคลังได้โอนหุ้นให้แก่บรรษัทฯ ตามร่างพระราชบัญญัตินี้เป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ซึ่งไม่เป็นการยกเลิกองค์กรแรงงานต่างๆ ตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานรัฐวิสาหกิจแต่อย่างใด

     ดังนั้น ร่าง พ.ร.บ. พัฒนารัฐวิสาหกิจที่ สนช. ได้ให้ความเห็นชอบไปในวาระที่ 1 นั้น จึงไม่มีหลักการและบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการแปรรูปทั้งโดยตรงหรือโดยอ้อมแต่ประการใด  แต่จะเป็นกฎหมายกลางที่ใช้ในการพัฒนาระบบการกำกับดูแลและบริหารรัฐวิสาหกิจให้มีการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ อยู่ภายใต้หลักธรรมาภิบาลและความโปร่งใส โดยคำนึงถึงประโยชน์ของภาครัฐและประชาชน

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!