WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

CGDสทธรตน รตนโชตกรมบัญชีกลาง แจงเงินคงคลังยังเหลือกว่า 2.5 แสนลบ. ชี้ตัวเลข 7.4 หมื่นลบ.ตามข่าวในโลกโซเชียลเป็นตัวเลขช่วงปลายปี 59

     กรมบัญชีกลางชี้แจงเงินคงคลังยังเหลือกว่า 2.5 แสนลบ. ส่วนตัวเลข 7.4 หมื่นลบ.ตามข่าวในโลกโซเชียลเป็นตัวเลขช่วงปลายปี 59 เป็นไปตามนโยบายที่ไม่ถือเงินคงคลังมากเกินไปเพื่อลดภาระดอกเบี้ย

      นางสาวสุทธิรัตน์ รัตนโชติ อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า ตามที่แฟนเพจ ‘อาณาจักรไบกอน Returns’ เผยแพร่ตัวเลขเงินคงคลังปี 2560 เหลือ 74,907 ล้านบาท ลดลงจากปี 2559 ที่มีอยู่ 235,805 ล้านบาท ซึ่งแฟนเพจดังกล่าว แสดงความไม่พอใจและได้วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลในประเด็นการบริหารการคลังที่ใช้จ่ายงบประมาณ โดยไม่คำนึงถึงรายรับและไม่มีวิธีการหารายได้เข้ารัฐที่มีประสิทธิภาพ นั้น

 อธิบดีกรมบัญชีกลาง ขอชี้แจงว่า เงินคงคลัง คือ เงินสดคงเหลือในมือของรัฐบาล (Cash on hand) ที่มีสำรองไว้สำหรับใช้จ่าย ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง ซึ่งจะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสถานการณ์การจัดเก็บรายได้ และการใช้จ่ายเงินของรัฐบาล หากมีการจัดเก็บรายได้มากกว่ารายจ่าย เงินคงคลังก็จะเพิ่มขึ้น ในทางกลับกัน หากจัดเก็บรายได้ได้น้อยกว่ารายจ่าย เงินคงคลังก็จะลดลง ดังนั้น ตัวเลขเงินคงคลังปี 2560 เหลือ 74,907 ล้านบาท เป็นข้อมูลเงินคงคลังคงเหลือ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2559 ที่ผ่านมา ซึ่งนโยบายในการบริหารจัดการเงินคงคลังของกระทรวงการคลัง มีการกำกับดูแลอย่างใกล้ชิด โดยไม่ต้องการจะถือครองเงินคงคลังไว้มากเกินความจำเป็น เนื่องจากต้องการประหยัดภาระดอกเบี้ยที่เกิดจากการกู้เงิน

     อธิบดีกรมบัญชีกลาง กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ดีในช่วง 10 เดือนแรกของปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 (ตุลาคม 2559-กรกฎาคม 2560) รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ จำนวน 1,912,725 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 6,755 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.4 โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 กระทรวงการคลังคาดว่าจะสามารถจัดเก็บรายได้ ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ สำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ รัฐบาลได้ดำเนินโครงการต่างๆ เช่น โครงการพัฒนาระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (National e-Payment) และการผลักดันนโยบายการจัดทำบัญชีเดียวของผู้ประกอบการ (Single Financial Account) เพื่อให้ผู้ประกอบการ SMEs ที่มีหลายบัญชีให้มาทำบัญชีเดียว เป็นต้น ซึ่งการดำเนินมาตรการดังกล่าว จะช่วยให้ผู้เสียภาษีเข้าสู่ระบบมากขึ้น ส่งผลให้มีฐานภาษีที่กว้างขึ้น สามารถจัดเก็บภาษีได้ถูกต้องและครบถ้วน อันจะส่งผลดีต่อการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลในอนาคต โดย ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2560 เงินคงคลังคงเหลือจำนวน 258,419 ล้านบาท

    ในส่วนของการให้ความช่วยเหลือค่าโดยสารรถไฟผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เป็นกรณีที่รัฐบาลได้เปลี่ยนวิธีการให้ความช่วยเหลือจากเดิมที่เป็นแบบเหมาจ่ายรายเดือนให้กับการรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นการให้ความช่วยเหลือกับผู้ลงทะเบียนตามโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2560 โดยกำหนดคุณสมบัติสำหรับผู้มีสิทธิได้รับความช่วยเหลือ ดังนี้ 1.มีสัญชาติไทย 2.มีอายุตั้งแต่ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป (โดยต้องเกิดก่อนวันที่ 16 พฤษภาคม 2542)3.ว่างงานหรือมีรายได้ที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2559 ทั้งสิ้นไม่เกิน 100,000 บาท

       4.ไม่มีทรัพย์สินทางการเงิน ได้แก่ เงินฝากธนาคาร สลากออมสิน สลาก ธ.ก.ส. พันธบัตรรัฐบาล และตราสารหนี้ หรือถ้ามีทรัพย์สินทางการเงินดังกล่าว จะต้องมีจำนวนรวมทั้งสิ้นไม่เกิน 100,000 บาท ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง และ 5.ไม่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ตามกฎหมาย หรือถ้าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ดังกล่าว จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด  ซึ่งผู้มีสิทธิจะได้รับความช่วยเหลือเพื่อแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทาง  ทั้งนี้ หากพบว่ามีผู้มีคุณสมบัติตามเงื่อนไข แต่ยังไม่ได้มาลงทะเบียนในปี 2560 สามารถมาลงในทะเบียนในปีถัดไปได้

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย 

กรมบัญชีกลาง เผย 11 เดือนแรกปีงบ 60 เบิกจ่ายได้แล้ว 2.39 ล้านลบ. หรือ 87.78% คาดทั้งปีเบิกจ่ายได้ตามเป้า

    น.ส.อรนุช ไวนุสิทธิ์ ที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบการเงินการคลัง ในฐานะโฆษกกรมบัญชีกลาง เปิดเผยถึงผลการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2560 ในช่วง 11 เดือน ตั้งแต่เดือนต.ค.59 - สิ้นเดือน ส.ค.60 พบว่า ผลการเบิกจ่ายงบประมาณภาพรวมเบิกจ่ายได้จำนวน 2,399,152 ล้านบาท ของวงเงินงบประมาณ 2,733,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น 87.78% สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 0.86% (ปีก่อนเบิกจ่ายได้ 86.92%)

     โดยเบิกจ่ายรายจ่ายประจำแล้ว 2,078,689 ล้านบาท ของวงเงินงบประมาณ 2,184,128 ล้านบาท หรือคิดเป็น 95.17% ขณะที่รายจ่ายลงทุน (ไม่รวมงบกลาง) เบิกจ่ายแล้ว 318,993 ล้านบาท ของวงเงินงบประมาณ 464,226 ล้านบาท คิดเป็น 68.72% ซึ่งสามารถก่อหนี้รายจ่ายลงทุนได้แล้ว 399,898 ล้านบาท หรือคิดเป็น 86.14%

      โฆษกกรมบัญชีกลาง กล่าวต่อว่า สำหรับผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ภาพรวมเบิกจ่ายแล้ว 88,191 ล้านบาท ของวงเงินงบประมาณเพิ่มเติม 190,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น 46.42% โดยแบ่งเป็น รายจ่ายประจำ เบิกจ่ายแล้ว 77,888 ล้านบาท ของวงเงินงบประมาณเพิ่มเติม 104,136 ล้านบาท หรือคิดเป็น 74.79% และรายจ่ายลงทุนเบิกจ่ายแล้ว 10,303 ล้านบาท ของวงเงินงบประมาณเพิ่มเติม 85,864 ล้านบาท หรือคิดเป็น 12% ซึ่งสามารถก่อหนี้ได้แล้ว 44,949 ล้านบาท หรือคิดเป็น 52.35% สำหรับเงินงบประมาณที่กันไว้เบิกเหลื่อมปี เบิกจ่ายแล้ว 191,952 ล้านบาท ของวงเงินงบประมาณ 276,603 ล้านบาท หรือคิดเป็น 69.40% ซึ่งก่อหนี้ได้แล้ว 242,168 ล้านบาท คิดเป็น 87.55%

    "กรมบัญชีกลาง จะเร่งรัดการเบิกจ่ายของส่วนราชการในช่วงเดือนสุดท้ายของปีงบประมาณ 2560 เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ซึ่งคาดว่าจะเบิกจ่ายงบประมาณได้ใกล้เคียงกับเป้าหมาย" น.ส.อรนุช กล่าว

               อินโฟเควสท์

เบิกจ่ายงบ 2.4 ล้านล้านไล่บี้เดือนสุดท้ายชนเป้า

       ไทยโพสต์ : พระราม 6 * กรมบัญชีกลางบี้เบิกจ่ายงบประมาณเดือนสุดท้ายปีงบ 60 หวังให้ได้ใกล้เคียงเป้าหมาย หลังจาก 11 เดือน ทำได้ 2.39 ล้านล้านบาท เบิกจ่ายงบลงทุนฉลุย 3.18 แสนล้านบาท

     น.ส.อรนุช ไวนุสิทธิ์ ที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบการเงินการคลัง ในฐานะโฆษกกรมบัญชีกลาง เปิดเผยถึงผลการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2560 ในช่วง 11 เดือน (ต.ค.2559-ส.ค.2560) ว่าในภาพรวมเบิก จ่ายได้จำนวน 2.39 ล้านล้านบาท ของวงเงินงบประมาณ 2.73 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 87.78% สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 0.86%

      โดยสามารถเบิกจ่ายรายจ่ายประจำแล้ว 2.07 ล้านล้านบาท ของวงเงินงบประมาณ 2.18 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 95.17% ขณะที่รายจ่ายลงทุน (ไม่รวมงบกลาง) เบิกจ่ายแล้ว 3.18 แสนล้านบาท ของวงเงินงบประมาณ 4.64 แสนล้านบาท คิดเป็น 68.72% ซึ่งสามารถก่อหนี้รายจ่ายลงทุนได้แล้ว 3.99 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 86.14%

     สำหรับ ผลการเบิก จ่ายเงินงบประมาณราย จ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประ มาณ พ.ศ.2560 ภาพรวมเบิกจ่ายแล้ว 8.81 หมื่นล้านบาท ของวงเงินงบประมาณเพิ่มเติม 1.9 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 46.42% โดยแบ่งเป็นรายจ่ายประจำ เบิกจ่ายแล้ว 7.78 หมื่นล้านบาท ของวงเงินงบประมาณเพิ่มเติม 1.04 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 74.79% และรายจ่ายลงทุนเบิกจ่ายแล้ว 1.03 หมื่นล้านบาท ของวงเงินงบประมาณเพิ่มเติม 8.58 หมื่นล้านบาท หรือคิดเป็น 12% ซึ่งสามารถก่อหนี้ได้แล้ว 4.49 หมื่นล้านบาท หรือคิดเป็น 52.35%

     ส่วนเงินงบประมาณที่กันไว้เบิกเหลื่อมปี เบิกจ่ายแล้ว 1.91 แสนล้านบาท ของวงเงินงบประมาณ 2.76 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 69.40% ซึ่งก่อหนี้ได้แล้ว 2.42 แสนล้านบาท คิดเป็น 87.55%

     "กรมบัญชีกลา งจะเร่งรัดการเบิกจ่ายของส่วนราชการในช่วงเดือนสุดท้ายของปีงบประมาณ 2560 เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ซึ่งคาดว่าจะเบิกจ่ายงบประ มาณได้ใกล้เคียงกับเป้าหมาย" น.ส.อรนุชกล่าว.

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!