WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

สรรพากร หารือกฤษฎีกาพิจารณารายละเอียด ก่อนชง คสช. พิจารณาเก็บภาษีมรดก

      นายประสงค์ พูลธเนศ อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า ขณะนี้ร่าง พ.ร.บ.ภาษีการรับมรดกและภาษีการให้ กำลังอยู่ในชั้นการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งเมื่อพิจารณาแล้วเสร็จ กรมสรรพากรจะได้นำเสนอให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) พิจารณาอนุมัติ ก่อนที่จะเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) ต่อไป

     "ครม.คสช.เห็นว่า ภาษีนี้มีผลกระทบกับคนจำนวนมาก มีรายละเอียดที่ต้องพิจารณาในหลักการ ดังนั้นจึงสมควรต้องพิจารณาให้รอบคอบทุกด้าน"อธิบดีกรมสรรพากร กล่าว

      สำหรับ อัตราการจัดเก็บจะเป็นเท่าใดนั้นจะต้องไปถกกันในรายละเอียดระหว่างคณะกรรมการกฤษฎีกา คสช. และ สนช. ดังนั้นอัตราการจัดเก็บตามที่ออกมาเป็นข่าวอยู่ในขณะนี้ยังไม่นิ่ง เป็นเพียงความชัดเจนในแง่ของหลักการจัดเก็บที่ว่าเน้นเรื่องการกระจายรายได้ ให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม และต้องไม่กระทบกับผู้ที่มีรายได้น้อย รวมถึงผู้ประกอบการรายย่อยด้วย

      ทั้งนี้ อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า ความเป็นไปได้ของการบังคับใช้ พ.ร.บ.ภาษีมรดกฯ นั้นขึ้นกับว่าผู้ที่พิจารณาในชั้นต่อไปจะมีแนวคิดอย่างไร และหากในท้ายสุดได้รับความเห็นชอบจากทุกฝ่ายแล้ว กรมสรรพากรก็จะเดินหน้าในการจัดเก็บภาษีดังกล่าว แต่จะไม่มีการเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

สรรพากรเดินหน้าภาษีมรดก รอกฤษฎีกาตีความก่อนส่งคสช.-สนช.ไฟเขียว

      นายประสงค์ พูลธเนศ อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า ขณะนี้ร่าง พ.ร.บ.ภาษีการรับมรดกและภาษีการให้ กำลังอยู่ในชั้นการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งเมื่อพิจารณาแล้วเสร็จ กรมสรรพากรจะได้นำเสนอให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) พิจารณาอนุมัติ ก่อนที่จะเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) ต่อไป

     "ครม.คสช.เห็นว่า ภาษีนี้มีผลกระทบกับคนจำนวนมาก มีรายละเอียดที่ต้องพิจารณาในหลักการ ดังนั้นจึงสมควรต้องพิจารณาให้รอบคอบทุกด้าน" อธิบดีกรมสรรพากร กล่าว

     พร้อมระบุว่า สำหรับอัตราการจัดเก็บจะเป็นเท่าใดนั้นจะต้องไปถกกันในรายละเอียดระหว่างคณะกรรมการกฤษฎีกา คสช. และ สนช. ดังนั้นอัตราการจัดเก็บตามที่ออกมาเป็นข่าวอยู่ในขณะนี้ยังไม่นิ่ง เป็นเพียงความชัดเจนในแง่ของหลักการจัดเก็บที่ว่าเน้นเรื่องการกระจายรายได้ ให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม และต้องไม่กระทบกับผู้ที่มีรายได้น้อย รวมถึงผู้ประกอบการรายย่อยด้วย

    อนึ่ง มีรายงานข่าวระบุว่า หลักการจัดเก็บภาษีตามร่าง พ.ร.บ.ภาษีมรดกฯ คือ จะจัดเก็บจากผู้รับ โดยอัตราการจัดเก็บจะอยู่ระหว่าง 5% ของมูลค่าสินทรัพย์ แต่ไม่เกิน 30% ทั้งนี้อัตราภาษีที่ยืดหยุ่นนี้จะจัดเก็บตามความเหมาะสม โดยคณะกรรมการกฤษฎีกา และคสช.จะเป็นผู้พิจารณา

    ส่วนประเภทของสินทรัพย์ที่อยู่ในข่ายต้องเสียภาษีมรดก จะเป็นทรัพย์สินที่มีการลงทะเบียนไว้เป็นหลักฐาน เช่น บ้าน ที่ดิน รถยนต์ พันธบัตร และ หุ้น เป็นต้น โดยทรัพย์สินนั้นจะนับทั้งที่อยู่หรือไม่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ส่วนทรัพย์สินที่ไม่มีการขึ้นทะเบียน เช่น พระเครื่อง นาฬิกา ของสะสมต่างๆ หากไม่มีการลงทะเบียนไว้ ในชั้นนี้ยังไม่มีการจัดเก็บภาษี

    อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า ความเป็นไปได้ของการบังคับใช้ พ.ร.บ.ภาษีมรดกฯ นั้นขึ้นกับว่าผู้ที่พิจารณาในชั้นต่อไปจะมีแนวคิดอย่างไร และหากในท้ายสุดได้รับความเห็นชอบจากทุกฝ่ายแล้ว กรมสรรพากรก็จะเดินหน้าในการจัดเก็บภาษีดังกล่าว แต่จะไม่มีการเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง

อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!