- Details
- Category: คลัง
- Published: Thursday, 14 August 2014 22:18
- Hits: 3296
ซุปเปอร์บอร์ดมีมติให้ 4 รสก.ประเมินทรัพย์สิน-หนี้สิน รายงานกลับใน 3 เดือน
นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ(คนร.) ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) เป็นประธานว่า ที่ประชุมได้รับทราบความคืบหน้าการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการ 3 ชุด ดังนี้ 1.คณะอนุกรรมการกลั่นกรองแผนการแก้ไขรัฐวิสาหกิจ ที่มีพล.ท.อนันตพร กาญจนรัตน์ ปลัดบัญชีทหารบกเป็นประธาน ได้รายงานผลการพิจารณาแผนการแก้ไขปัญหารัฐวิสาหกิจ 4 แห่ง คือ บมจ.ทีโอที, บมจ.กสท โทรคมนาคม, ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ibank)
เบื้องต้นคณะอนุกรรมการกลั่นกรองฯ เห็นว่าการพิจารณาแผนแก้ไขปัญหาของรัฐวิสาหกิจทั้ง 4 แห่ง ต้องมีแผนข้อมูลของแต่ละองค์ โดยเฉพาะข้อมูลทรัพย์สิน หนี้สิน และข้อพิพาทของรัฐวิสาหกิจ โดย คนร.จึงมีมติให้รัฐวิสาหกิจทั้ง 4 แห่งไปดำเนินการตรวจสอบวิเคราะห์สถานะองค์กร ประเมินทรัพย์สินและหนี้สินขององค์กรตามเป็นจริง และรายงานกลับมาภายใน 3 เดือนโดยมอบหมายให้ ทาง สคร.ประสานกับรัฐวิสาหกิจในการปรับปรุงแผนก่อนที่จะเสนอให้ คนร.พิจารณาต่อไป
2. คณะอนุกรรมการกำหนดยุทธศาสตร์รัฐวิสาหกิจ มีนายอารีพงษ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานอนุกรรมการฯ ได้รายงานความคืบหน้าจัดทำแผนยุทธศาสตร์รัฐวิสาหกิจทั้ง 56 แห่งว่า จะมีการกำหนดบทบาทรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งให้เชื่อมโยงการพัฒนาประเทศในแต่ละด้านได้ภายในเดือน ก.ย.นี้ เพื่อกำหนดทิศทางการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจตามบทบาทในระยะยาวต่อคนร. รวมถึงจะมีการนำเสนอโครงสร้างการกำกับนโยบายของรัฐวิสาหกิจต่อไป
และ 3.คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบกำกับดูแลและระบบบรรษัทภิบาลของรัฐวิสาหกิจ มีนายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)เป็นประธาน ได้รายงานมาตรการเร่งด่วน เช่น การปฎิรูปกำกับดูแลสถาบันการเงินเฉพาะกิจ, การสร้างความโปร่งใส, การลงทุนรัฐวิสาหกิจ และแนวทางการแต่งตั้งกรรมการ, ผู้บริหารรัฐวิสาหกิจ เป็นต้น ภายในเดือนต.ค.-พ.ย.57 และมาตรการปฎิรูประยะยาว จะมีการกำหนดรูปแบบการกำกับรัฐวิสาหกิจภาพรวมซึ่งจะทำเป็นโรดแมพการพัฒนาระบบธรรมาภิบาลของรัฐวิสาหกิจภายใน 1 ปี
นอกจากนี้ ที่ประชุม คนร.ได้พิจารณาแผนและแนวทางการแก้ไขปัญหาองค์กรของรัฐวิสาหกิจ 4 แห่ง ได้แก่ บมจ.ทีโอที, บมจ.กสท โทรคมนาคม, SME Bank และธนาคารอิสลามฯ แล้วมีมติให้รัฐวิสาหกิจไปดำเนินการตรวจสอบวิเคราะห์สถานะองค์กรและประเมินทรัพย์สินและหนี้สินขององค์กรว่ามีครบถ้วนและมีอยู่จริง ก่อนการพิจารณาแผนการแก้ไขปัญหาอีกครั้ง รวมทั้งมอบหมายให้ สคร.ประสานกับคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจในการปรับปรุงแผนต่อไป
ทั้งนี้ ที่ประชุม คนร.เมื่อวันที่ 9 ก.ค.57 กำหนดให้รัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาในการดำเนินการตามภารกิจจัดส่งแผนการแก้ไขปัญหามาให้ คนร.พิจารณา ซึ่งในเบื้องต้นคณะอนุกรรมการกลั่นกรองแผนการแก้ไขปัญหารัฐวิสาหกิจ ที่มี พล.ท.อนันตพร กาญจนรัตน์ ปลัดบัญชีทหารบก เป็นประธาน เห็นว่า การพิจารณาแผนแก้ไขปัญหาของรัฐวิสาหกิจทั้ง 4 แห่ง มีความจำเป็นต้องมีความชัดเจนถึงข้อเท็จจริงต่างๆ ของข้อมูลทรัพย์สินและข้อพิพาททางกฎหมายของรัฐวิสาหกิจก่อน
ส่วนแนวทางการแก้ไขปัญหาของขสมก.นั้น ตามที่ขสมก.มีแผนจัดซื้อรถโดยสารใหม่จำนวนมากเพื่อทดแทนรถเดิม ประกอบกับประสบปัญหาขาดทุนอย่างต่อเนื่อง คนร.จึงมีมติให้ ขสมก.จัดทำแผนการแก้ไขปัญหาองค์กรให้คณะอนุกรรมการกลั่นกรองฯ พิจารณาภายใน 15 วัน เพื่อนำเสนอ คนร.พิจารณาต่อไป
ด้านนายกุลิศ สมบัติศิริ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ(สคร.) กล่าวด้วยว่า หัวหน้า คสช.ได้มอบหมายให้ สคร.ไปพิจารณาเรื่องการจ่ายเงินบริจาคของรัฐวิสาหกิจในด้านสาธารณะประโยชน์ โดยต้องการให้กำหนดเป็นหลักเกณฑ์และมาตรฐานการบริจาคเดียวกัน เนื่องจากที่ผ่านมามีการใช้เงินบริจาคในด้านนี้เป็นจำนวนมาก โดยให้ สคร.ไปจัดทำหลักเกณฑ์ก่อนเสนอให้ คนร.ต่อไป
ประยุทธ์ นั่งหัวโต๊ะซุปเปอร์บอร์ดวางแนวทางรสก.มุ่งบริการ-แก้ขาดทุน-เชื่อม AEC
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก(ผบ.ทบ.) ในฐานะหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในฐานะประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ (คนร.) หรือซุปเปอร์บอร์ด เพื่อวางแนวทางในการทำงานของรัฐวิสาหกิจในอนาคตกล่าวในที่ประชุมว่า การดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับรัฐวิสาหกิจทั้งในและต่างประเทศ ต้องสร้างความพึงพอใจให้กับประชาชน
ทั้งนี้ ประเด็นสำคัญ คือ รัฐวิสาหกิจต้องมุ่งไปสู่การบริการอย่างแท้จริง พร้อมกันนี้ให้มีการจัดระเบียบกลุ่มรัฐวิสาหกิจ โดยรัฐวิสาหกิจที่ได้ผลกำไรต้องไปดูแลงานด้านอื่นๆ มากขึ้น ส่วนรัฐวิสาหกิจที่รายได้น้อยหรือขาดทุนก็ต้องสามารถเลี้ยงตนเองได้ เพื่อไม่ให้การให้บริการหยุดชะงัก และต้องดูแลประชาชนให้ทันต่อเหตุการณ์ รวมทั้งภาวะโลกที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะการก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปีหน้า เพื่อเชื่อมต่อการขนส่งและบริการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน รวมทั้งมีแผนพัฒนาในทุกด้าน
"ความคาดหวังว่าซุปเปอร์บอร์ดจะต้องเป็นหลักและอยู่ภายใต้ความมุ่งหวัง เพราะประชาชนทั้งประเทศกำลังติดตามดู จึงขอให้ทุกฝ่ายทำตามเจตนารมณ์และนโยบายที่ตั้งไว้ พร้อมหวังว่าจะขับเคลื่อนทุกรัฐวิสาหกิจให้เดินหน้าไปได้"พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
อินโฟเควสท์
เผยซูเปอร์บอร์ดถกบินไทย-การรถไฟ-แบงก์เฉพาะกิจ
บัณฑูรเผยประชุมซูเปอร์ บอร์ดวันนี้ ถกกรณี"บินไทย-การรถไฟ-แบงก์เฉพาะกิจ" ระบุเป็นการวางกรอบกว้างๆ ประเด็นหลักๆ อุดรอยรั่ว-เพิ่มประสิทธิภาพ
นายบัณฑูร ล่าซำ ประธานกรรมการ ธนาคารกสิกรไทย ในฐานะ 1 ในคณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ กล่าวว่า ในการประชุม ซูเปอร์วันนี้ จะเป็นการการหารือในกรอบกว้าง ในส่วนของบริษัท การบินไทย การรถไฟแห่งประเทศไทย และธนาคารเฉพาะกิจ เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพมากที่สุด
โดยใน 2 ประเด็นหลักๆ ก็คือ ทำอย่างไรที่จะอุดรอยรั่วที่มีอยู่หากว่ามี และทำอย่างไรให้รัฐวิสาหกิจให้บริการที่ดีกับประชาชนตามวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งรัฐวิสาหกิจนั้นๆ ซึ่งจริงๆแล้ววัตถุประสงค์ต่างๆก็ได้ระบุไว้ชัดเจนอยู่แล้ว แต่พออยู่ๆไปก็เป๋ๆ หรือรางเลือนไปบ้าง ก็ต้องกลับมาถกกันในดรื่องนี้
"เราคงไม่ได้ลงไปลึกถึงขั้นดำเนินการ แต่จะวางกรอบนโยบายอย่างเข้มมากกว่า แต่ก่อนหน้านั้น ก็ต้องมาถกกันก่อนว่ามันเกิดปัญหาอะไร แล้วจะวางนโยบายอย่างไรให้การรั่วไหลหมดลงหรือน้อยลง และประชาชนได้รับบริการที่ดีพอสมควร อย่างธ.กส.ก็ต้องทำหน้าที่ลงลึกไปในชชุมชน หรือรายเล็กมากๆ ซึ่งแน่นอนว่าความเสี่ยงสูง เราก็ต้องมาดูว่าจะทำอย่างไรให้เกิดความพอดีระหว่างความเสี่ยงกับผลตอบแทนให้อยู่ได้ประมาณนี้"
สั่งรื้อสวัสดิการบอร์ดรัฐวิสาหกิจ เหลือเบี้ยประชุม-เงินรายเดือน
แนวหน้า : ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา17.00 น. ที่สโมสรทบ.เทเวศร์ นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ (คนร.) หรือซุปเปอร์บอร์ด ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธาน เมื่อวันที่ 14ส.ค.ที่ผ่านมา ได้สั่งให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) พิจารณาปรับลดสิทธิประโยชน์พิเศษของคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจทั้งหมด โดยจะกำหนดให้รับเพียงเบี้ยประชุมคณะกรรมการและค่าตอบแทนรายเดือนเท่านั้น ส่วนสิทธิพิเศษอื่นๆ เช่น ค่ารับรอง และบัตรโดยสารฟรี ให้ยกเลิกทั้งหมด“เท่าที่ได้ตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้น มีรัฐวิสาหกิจไม่กี่แห่งเท่านั้นที่ได้รับสิทธิพิเศษดังกล่าว ไม่ได้มีมากทุกๆรัฐวิสาหกิจเหมือนที่เข้าใจกัน จึงไม่น่ามีปัญหา เหมือนกับที่บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้ยกเลิกสิทธิพิเศษบัตรโดยสารฟรี โดยการกลับไปพิจารณาเรื่องดังกล่าว คาดว่าจะได้ข้อสรุปและเสนอให้คนร.พิจารณาครั้งต่อไป”
ทั้งนี้ ที่ประชุมยังได้รับทราบการรายงานความคืบหน้าของคณะอนุกรรมการ 3 ชุด โดยในชุดของคณะอนุกรรมการกลั่นกรองแผนการแก้ไขปัญหารัฐวิสาหกิจ ได้เสนอแผนฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจ 4 แห่ง คือ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ,บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ,ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ไอแบงก์) แต่ข้อมูลของแผนยังไม่ชัดเจน จึงให้กลับไปรวบรวมรายละเอียดก่อนเสนอมาคนร.อีกครั้ง ส่วนคณะอนุกรรมการกำหนดยุทธศาสตร์รัฐวิสาหกิจ ได้รายงายความคืบหน้า ถึงความคืบหน้าในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์รัฐคาดว่าในเดือนก.ย.นี้จะเสร็จสิ้น ขณะที่คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบกำกับดูแลและระบบบรรษัทภิบลของรัฐวิสาหกิจ จะเสนอมาตรการเร่งด่วน เช่น การปฏิรูปการกำกับดูแลสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ภายในเดือนพ.ย.57
นายกุลิศ สมบัติศิริ ผู้อำนวยการสคร. กล่าวว่า แผนฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจทั้ง4 แห่งนั้น คนร.ขอให้ไปประสานกับคณะกรรมการที่แต่งตั้งใหม่ ไปจ้างปริษัทที่ปรึกษาเพื่อตรวจสอบและประเมินสถานะองค์กร รวมทั้งตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สินว่ามีสถานะอย่างไร กำหนดมาตรการลดค่าใช้จ่าย เพิ่มประสิทธิภาพโดยหารายได้จากธุรกิจ หรือพิจารณาเลิกดำเนินธุรกิจที่ไม่เกิดประโยชน์กับองค์กร แล้วมาเสนอภายใน 3 เดือน จากนั้นจึงมาพิจารณาว่า แผนที่เสนอมานั้นเมื่อเปรียบเทียบกับสถานะองค์กรแล้ว เป็นไปได้หรือไม่ ทำได้หรือไม่ หรือจะกลับมาทำธุรกิจได้มีประสิทธิภาพหรือไม่ขณะเดียวกันที่ปรชุมยังสั่งให้องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) จัดทำแผนฟื้นฟูมาเสนอคนร.เพิ่มเติมอีก 1 แห่ง เพราะเห็นว่า แม้ขสมก.จะมีแผนจัดหารถเมล์เอ็นจีวีใหม่ 3,182 คัน แต่ก็พบปัญหาขาดทุนสะสมอย่างต่อเนื่องจึงต้องมาพิจารณาแผนฟื้นฟูใหม่ เพื่อจะได้ติดตาแก้ไขปัญหาให้ชัดเจนขึ้น
ซุปเปอร์บอร์ดมีมติให้ 4 รสก.ประเมินทรัพย์สิน-หนี้สิน รายงานกลับใน 3 เดือน
นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ(คนร.) ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) เป็นประธานว่า ที่ประชุมได้รับทราบความคืบหน้าการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการ 3 ชุด ดังนี้ 1.คณะอนุกรรมการกลั่นกรองแผนการแก้ไขรัฐวิสาหกิจ ที่มีพล.ท.อนันตพร กาญจนรัตน์ ปลัดบัญชีทหารบกเป็นประธาน ได้รายงานผลการพิจารณาแผนการแก้ไขปัญหารัฐวิสาหกิจ 4 แห่ง คือ บมจ.ทีโอที, บมจ.กสท โทรคมนาคม, ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ibank)
เบื้องต้นคณะอนุกรรมการกลั่นกรองฯ เห็นว่าการพิจารณาแผนแก้ไขปัญหาของรัฐวิสาหกิจทั้ง 4 แห่ง ต้องมีแผนข้อมูลของแต่ละองค์ โดยเฉพาะข้อมูลทรัพย์สิน หนี้สิน และข้อพิพาทของรัฐวิสาหกิจ โดย คนร.จึงมีมติให้รัฐวิสาหกิจทั้ง 4 แห่งไปดำเนินการตรวจสอบวิเคราะห์สถานะองค์กร ประเมินทรัพย์สินและหนี้สินขององค์กรตามเป็นจริง และรายงานกลับมาภายใน 3 เดือนโดยมอบหมายให้ ทาง สคร.ประสานกับรัฐวิสาหกิจในการปรับปรุงแผนก่อนที่จะเสนอให้ คนร.พิจารณาต่อไป
2. คณะอนุกรรมการกำหนดยุทธศาสตร์รัฐวิสาหกิจ มีนายอารีพงษ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานอนุกรรมการฯ ได้รายงานความคืบหน้าจัดทำแผนยุทธศาสตร์รัฐวิสาหกิจทั้ง 56 แห่งว่า จะมีการกำหนดบทบาทรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งให้เชื่อมโยงการพัฒนาประเทศในแต่ละด้านได้ภายในเดือน ก.ย.นี้ เพื่อกำหนดทิศทางการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจตามบทบาทในระยะยาวต่อคนร. รวมถึงจะมีการนำเสนอโครงสร้างการกำกับนโยบายของรัฐวิสาหกิจต่อไป
และ 3.คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบกำกับดูแลและระบบบรรษัทภิบาลของรัฐวิสาหกิจ มีนายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)เป็นประธาน ได้รายงานมาตรการเร่งด่วน เช่น การปฎิรูปกำกับดูแลสถาบันการเงินเฉพาะกิจ, การสร้างความโปร่งใส, การลงทุนรัฐวิสาหกิจ และแนวทางการแต่งตั้งกรรมการ, ผู้บริหารรัฐวิสาหกิจ เป็นต้น ภายในเดือนต.ค.-พ.ย.57 และมาตรการปฎิรูประยะยาว จะมีการกำหนดรูปแบบการกำกับรัฐวิสาหกิจภาพรวมซึ่งจะทำเป็นโรดแมพการพัฒนาระบบธรรมาภิบาลของรัฐวิสาหกิจภายใน 1 ปี
นอกจากนี้ ที่ประชุม คนร.ได้พิจารณาแผนและแนวทางการแก้ไขปัญหาองค์กรของรัฐวิสาหกิจ 4 แห่ง ได้แก่ บมจ.ทีโอที, บมจ.กสท โทรคมนาคม, SME Bank และธนาคารอิสลามฯ แล้วมีมติให้รัฐวิสาหกิจไปดำเนินการตรวจสอบวิเคราะห์สถานะองค์กรและประเมินทรัพย์สินและหนี้สินขององค์กรว่ามีครบถ้วนและมีอยู่จริง ก่อนการพิจารณาแผนการแก้ไขปัญหาอีกครั้ง รวมทั้งมอบหมายให้ สคร.ประสานกับคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจในการปรับปรุงแผนต่อไป
ทั้งนี้ ที่ประชุม คนร.เมื่อวันที่ 9 ก.ค.57 กำหนดให้รัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาในการดำเนินการตามภารกิจจัดส่งแผนการแก้ไขปัญหามาให้ คนร.พิจารณา ซึ่งในเบื้องต้นคณะอนุกรรมการกลั่นกรองแผนการแก้ไขปัญหารัฐวิสาหกิจ ที่มี พล.ท.อนันตพร กาญจนรัตน์ ปลัดบัญชีทหารบก เป็นประธาน เห็นว่า การพิจารณาแผนแก้ไขปัญหาของรัฐวิสาหกิจทั้ง 4 แห่ง มีความจำเป็นต้องมีความชัดเจนถึงข้อเท็จจริงต่างๆ ของข้อมูลทรัพย์สินและข้อพิพาททางกฎหมายของรัฐวิสาหกิจก่อน
ส่วนแนวทางการแก้ไขปัญหาของขสมก.นั้น ตามที่ขสมก.มีแผนจัดซื้อรถโดยสารใหม่จำนวนมากเพื่อทดแทนรถเดิม ประกอบกับประสบปัญหาขาดทุนอย่างต่อเนื่อง คนร.จึงมีมติให้ ขสมก.จัดทำแผนการแก้ไขปัญหาองค์กรให้คณะอนุกรรมการกลั่นกรองฯ พิจารณาภายใน 15 วัน เพื่อนำเสนอ คนร.พิจารณาต่อไป
ด้านนายกุลิศ สมบัติศิริ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ(สคร.) กล่าวด้วยว่า หัวหน้า คสช.ได้มอบหมายให้ สคร.ไปพิจารณาเรื่องการจ่ายเงินบริจาคของรัฐวิสาหกิจในด้านสาธารณะประโยชน์ โดยต้องการให้กำหนดเป็นหลักเกณฑ์และมาตรฐานการบริจาคเดียวกัน เนื่องจากที่ผ่านมามีการใช้เงินบริจาคในด้านนี้เป็นจำนวนมาก โดยให้ สคร.ไปจัดทำหลักเกณฑ์ก่อนเสนอให้ คนร.ต่อไป
อินโฟเควสท์