- Details
- Category: คลัง
- Published: Saturday, 22 April 2017 21:47
- Hits: 9262
กฤษฎีกา เบรก ครรส.ชง ครม.เพิ่มเงินเดือนพนักงาน ธ.ก.ส.ชี้ขัดหลักความเป็นกลาง
มีรายงานสำนักงานคณะกรรการกฤษฎีกา ว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ สำนักงานคณะกรรการกฤษฎีกา ได้เผยแพร่บันทึกเรื่องเสร็จที่ 377/2560 ของคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง เรื่อง ปัญหาความเป็นกลางในคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (ครรส.) กรณีกรรมการฝ่ายลูกจ้างเป็นพนักงานขอรัฐวิสาหกิจที่คณะกรรมการฯ จะพิจารณาให้คามเห็นชอบให้ปรับบัญชีโครงสร้างอัตราเงินเดือนและปรับเพิ่มเงินเดือนพนักงาน
ภายหลังกรมสวัสดิการและคุมครองแรงงาน ได้ทำหนังสือหารือว่า กรณีดังกล่าวถือว่า กรรมการถือว่ามีส่วนได้ส่วนเสียหรือไม่ เนื่องจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.) ได้เสนอเรื่องต่อ ครรส. เพื่อขอความเห็นชอบในการ ปรับบัญชีโครงสร้างอัตราเงินเดือนและปรับเพิ่มเงินเดือนพนักงาน
ทั้งนี้ เป็นไปตามมาตรา 13 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติแรงงานวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2543 ที่กำหนดให้รัฐวิสาหกิจที่จะปรับปรุงสภาพการจ้างงานที่เกี่ยวกับการเงินที่อยู่เหนือนอกจากที่กำหนดในมาตรา 13 (2) (สภาพการจ้างที่เกี่ยวกับการเงินซึ่งรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งอาจดำเนินการได้) จะต้องได้รับความเห็นชอบจาก ครรส. และคณะรัฐมนตรี (ครม.) ก่อนที่จะดำเนินการได้
อย่างไรก็ตาม ปรากฏว่า การประชุม ครรส.เมื่อวันที่ 29 ต.ค.2559 ปรากฏว่า มี นายเอกศักดิ์ เมืองแก้ว กรรมการฝ่ายลูกจ้างใน ครรส. ซึ่งเป็นพนักงาน ในธ.ก.ส. ร่วมประชุมอยู่ด้วย จะเป็นคู่กรณีหรือเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งนี้ตามความเห็นของคณะกรรมการที่ปรึกษากฎหมายแรงงาน กรมสวัสดิการและคุมครองแรงงาน 2 ฝ่าย ระบุว่า ฝ่ายแรก มติ ครรส. เป็นคำสั่งทางปกครอง เนื่องจากการพิจารณาให้ความเห็นชอบหรือไม่ให้ความเห็นชอบของ ครรส. มีผลกระทบต่อการปรับบัญชีโครงสร้างอัตราเงินเดือน ฯ ของพนักงาน ธ.ก.ส. หาก ครรส. ไม่ให้ความเห็นชอบ ย่อมไม่สามารถส่งเรื่องให้ ครม.พิจารณาให้ความเห็นชอบได้ จึงกระทบสิทธิต่อพนักงาน ธ.ก.ส.ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรง
ขณะที่อีกฝ่ายเห็นว่า มติ ครรส. ยังไม่ใช่คำสั่งทางปกครอง แต่เป็นเพียงขั้นตอนหนึ่งในกระบวนการพิจารณาที่จะนำปสู่การมีคำสั่งทางปกครอง มติ ครรส.ยังไม่มีผลกระทบต่อสิทธิพนักงาน ธ.ก.ส. โดยตรง เพราะแม้ว่า ครรส.จะมีมติเห็นชอบแล้ว แต่ต้องเสนอ ครม.ให้ความเห็นชอบต่อไป รัฐวิสาหกิจจึงจะดำเนินการปรับปรุงสภาพการจ้างที่เกี่ยวกับการเงินได้ ขณะที่กรมสวัสดิการและคุมครองแรงงาน มีมติว่า กรณีมติของ ครรส. ถือเป็นคำสั่งทางปกครอง ทำให้กรณีของนายเอกศักดิ์ จึงถือว่า มีส่วนได้ส่วนเสียตามาตรา 13 (1) แห่งพระราชบัญญัติปฏิบัติราชการทางปกครองฯ และไม่สามารถอยู่ในที่ประชุมเพื่อชี้แจงข้อเท็จจริงและลงมติได้
มีรายงานว่า คณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ในสำนักงานคณะกรรการกฤษฎีกา มีความเห็นในประเด็นว่า ตามาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 กำหนดว่า วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง กำหนดหลักเกณฑ์เฉพาะคำสั่งทางปกครอง จึงมิใช่บังคับแก่การออกกฎ สำหรับการปรับบัญชีโครงสร้างอัตราเงินเดือนและปรับเพิ่มเงินเดือนพนักงาน ธ.ก.ส. นั้น จะต้องกระทำโดยการแกข้อบังคับ ธ.ก.ส. ฉบับใหม่ เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับ ธ.ก.ส. ว่าด้วยอัตราตำแหน่งและเงินเดือนสำหรับพนักงานอันเป็นการดำเนินการที่มีผลบังคับเป็นการทั่วไปแก่พนักงาน ธ.ก.ส.มิได้มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่บุคคลใดเป็นการเฉพาะ จงมีลักษณะเป็นกฎตามาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539
“ดังนั้น การที่ ครรส. จะพิจารณาให้ความเห็นชอบให้ ธ.ก.ส. ปรับบัญชีโครงสร้างอัตราเงินเดือนและปรับเพิ่มเงินเดือนพนักงาน ก่อนนำเสนอ ครม. เพื่อมีมติให้คามเห็นชอบตามกำหนดในมาตรา 13 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติแรงงานวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2543 อันเป็นขั้นตอนการเตรียมการและการดำเนินการเพื่อออกกฎ ขึงไม่อยู่ภายใต้ พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 ซึ่งรวมถึงบทบัญญัติมาตรา 13 ที่กำหนดเหตุต้องห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ทำการพิจารณาทางปกครองด้วย"
อย่างไรก็ดี แม้ว่าการพิจารณาของ ครรส. ในกรณีดังกล่าวจะไม่อยู่ภายใต้พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 ทั้งไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายหรือกฎระเบียบข้อบังคับอื่นใดที่ห้ามมิให้กรรมการใน ครรส.ทำการพิจารณาเรื่องที่ตนมีส่วนได้ส่วนเสีย แต่โดยหลักการความเป็นกลางของเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองเป็น ‘หลักกฎหมายทั่วไป’ที่ผูกพันการดำเนินการทั้งปวงของฝ่ายปกครอง ไม่เฉพาะแต่การดำเนินการในส่วนที่เป็นการพิจารณาเพื่อออกคำสั่งทางปกครองเท่านั้น กรณีของนายเอกศักดิ์ จึงอยู่ในข่ายที่จะได้รับประโยชน์จากการปรับบัญชีโครงสร้างอัตราเงินเดือนและปรับเพิ่มเงินเดือนพนักงาน ธ.ก.ส. จึงขัดต่อหลักความเป็นกลางตามหลักกฏหมายวิธีสบัญญัติทั่วไปที่ห้ามมิให้บุคคลพิจารณาวินิจฉัยเรื่องที่ตนมีส่วนได้ส่วนเสีย ดังนั้นกรณีนี้นายเอกศักดิ์ จึงไม่ควรเข้าร่วมประชุม ครรส. เพื่อพิจารณาเรื่องดังกล่าว
อินโฟเควสท์