WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Gอภศกดผลการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน ครั้งที่ 21 การประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน ครั้งที่ 3 และการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

    ผลการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน ครั้งที่ 21 การประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน ครั้งที่ 3 และการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ 6 - 7 เมษายน 2560 ณ เมืองเซบู สาธารณรัฐฟิลิปปินส์

    นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทย เข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน ครั้งที่ 21 (The 21st ASEAN Finance Minister’s Meeting: 21st AFMM) การประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน ครั้งที่ 3 (The 3rd ASEAN Finance Ministers’ and Central Bank Governors’ Meeting: 3rd AFMGM) และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ 6 - 7 เมษายน 2560 ณ เมืองเซบู สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ แถลงผลการประชุมในประเด็นที่สำคัญ ดังนี้

      รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ลงนามในพิธีสารฉบับที่ 2 ว่าด้วยการกำหนดที่ทำการพรมแดน (Protocol 2 Designation of Frontier Points) ภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยการอำนวยความสะดวกการขนส่งสินค้าผ่านแดน (ASEAN Framework Agreement on the Facilitation of Goods in Transit) ร่วมกับประเทศสมาชิกอาเซียนอีกจำนวน 6 ประเทศ ได้แก่ ฟิลิปปินส์ บรูไนดารุสซาลาม อินโดนีเซีย สปป. ลาว สิงคโปร์ และเวียดนาม ซึ่งพิธีสารฯ ดังกล่าวจะช่วยให้กระบวนการขนส่งสินค้าข้ามแดน ในภูมิภาคอาเซียนมีความสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ที่ทำการพรมแดนของประเทศไทยที่กำหนดไว้และมีความสอดคล้องตรงกันกับที่ประเทศเพื่อนบ้านกำหนดแล้ว ประกอบด้วย 1) ที่ทำการพรมแดนแม่สาย 2) ที่ทำการพรมแดนแม่สอด 3) ที่ทำการพรมแดนอรัญประเทศ 4) ที่ทำการพรมแดนหนองคาย 5) ที่ทำการพรมแดนสะเดา 6) ที่ทำการพรมแดนมุกดาหาร และ 7) ที่ทำการพรมแดนเชียงของ ที่ประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียนได้มีการหารือเรื่องการดำเนินการความร่วมมือ

     ด้านศุลกากรที่มีความคืบหน้าอย่างต่อเนื่อง เช่น การพัฒนาระบบศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์ ณ จุดเดียวของอาเซียน (ASEAN Single Window: ASW) และการให้สัตยาบันในพิธีสารฉบับที่ 7 ว่าด้วยระบบศุลกากรผ่านแดน เป็นต้น

     โดยประเทศไทยได้แจ้งให้ทราบถึงความคืบหน้าใน ASW ว่า ระบบของไทยสามารถใช้งานได้ทั้งภายใต้สภาวะการทดสอบและภายใต้การใช้งานจริง ซึ่งประเทศที่ผ่านการทดสอบระบบภายใต้การใช้งานจริง ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และประเทศไทย รวมถึงได้เชื่อมโยงหน่วยงานภายในที่เกี่ยวข้องแล้ว 33 หน่วยงาน จากทั้งหมด 36 หน่วยงาน ทั้งนี้ สำหรับการให้สัตยาบันพิธีสารฉบับที่ 7 ว่าด้วยระบบศุลกากรผ่านแดน ประเทศไทยได้จัดทำสัตยาบันสารและดำเนินการจัดส่งต่อสำนักเลขาธิการอาเซียนเรียบร้อยแล้ว สำหรับความร่วมมือทางด้านภาษีอากรมีความคืบหน้าอย่างน่าพอใจ โดยประเทศสมาชิกได้ให้การรับรองแผนการดำเนินการด้านภาษีอากร ค.ศ. 2016 – 2025 ครบทุกประเทศแล้ว พร้อมทั้งยินดีกับความคืบหน้าในการเจรจาสนธิสัญญาภาษีซ้อนของประเทศสมาชิก การพัฒนาแนวทางการหักภาษี ณ ที่จ่าย มาตรการป้องกันการถูกกัดกร่อนฐานภาษีและการโอนกำไรไปต่างประเทศ (Base Erosion and Profit Shifting: BEPS) และการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางภาษี (Exchange of Information: EOI)

      รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียนได้รับทราบความคืบหน้าในการดำเนินการตามแผนการรวมกลุ่มด้านการเงินของอาเซียน (Roadmap for Integration: Financial and Monetary Integration: RIA-Fin) รวมถึงได้ให้การรับรองตัวชี้วัดความคืบหน้าการรวมตัวด้านการเงิน (Financial Integration) และเสถียรภาพทางการเงิน (Financial Stability) เพื่อติดตามให้เกิดการพัฒนาทางการเงินของประเทศสมาชิกอย่างทั่วถึงและยั่งยืนให้เป็นไปตามแผนการดำเนินการด้านการเงินการคลังอาเซียน ค.ศ. 2016 - 2025 ภายใต้ AEC Blueprint 2025 รวมไปถึงรับทราบรายงานความก้าวหน้าการพัฒนาตลาดทุนเพื่อให้มีความเข้มแข็งและมีความเชื่อมโยงในภูมิภาค และแนวคิดริเริ่มต่างๆ อาทิ การริเริ่มพันธบัตรสีเขียว (ASEAN Green Bond Initiatives) ที่ประเทศสมาชิกได้ตระหนักถึงความสำคัญในการลงทุนในโครงการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยคณะทำงานเพื่อพัฒนาตลาดทุน (Working Committee on Capital and Market Development: WC-CMD) และ ASEAN Capital Markets Forum (ACMF) ที่จะร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดต่อไป เป็นต้น

     ที่ประชุมยังได้รับทราบความก้าวหน้าของการเปิดเสรีการค้าบริการทางการเงินภายในอาเซียน โดยขณะนี้สมาชิกอยู่ระหว่างการดำเนินกระบวนการภายในประเทศ เพื่อให้สัตยาบันพิธีสารอนุวัติข้อผูกพันการเปิดเสรีการค้าบริการด้านการเงิน ภายใต้กรอบความตกลงด้านการค้าบริการของอาเซียน ฉบับที่ 7 ซึ่งสมาชิก 4 ประเทศ ได้แก่ ประเทศสิงคโปร์ ไทย บรูไนดารุสซาราม และ สปป. ลาว ให้สัตยาบันพีธีสารดังกล่าวแล้ว โดยประเทศไทยได้ปรับปรุงข้อผูกพันในสาขาย่อยประกันชีวิตและประกันวินาศภัยให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของกฎหมายไทยที่บังคับใช้ในปัจจุบัน และขณะนี้สมาชิกอาเซียนอยู่ระหว่างการเจรจาเปิดเสรีการค้าบริการด้านการเงิน ฉบับที่ 8 ซึ่งคาดว่าการลงนามในพิธีสารฯ ฉบับที่ 8 จะมีขึ้นในการประชุม AFMGM ในปี 2561 ที่ประเทศสิงคโปร์ นอกจากนั้น ที่ประชุมได้ยินดีกับความก้าวหน้าในความร่วมมือด้านระบบการชำระเงินและธุรกรรมทางการเงิน ซึ่งได้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจทวิภาคีว่าด้วยการจัดตั้งกลไกการชำระเงินสกุลท้องถิ่น ระหว่างธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารกลางมาเลเซีย และธนาคารกลางอินโดนีเซีย

     สำหรับ ความร่วมมือด้านการประกันภัย ที่ประชุมได้แสดงความยินดีกับการจัดตั้ง ASEAN Insurance Forum (AIFo) เพื่อเป็นเวทีหารือร่วมกันระหว่างการประชุมผู้กำกับดูแลธุรกิจประกันภัยอาเซียน (ASEAN Insurance Regulators’ Meeting: AIRM) กับคณะทำงานเปิดเสรีภาคการเงิน (Working Committee on Financial Services Liberalisation:  WC-FSL) เพื่อเร่งรัดการเปิดเสรีสาขาประกันภัย และร่วมกับคณะทำงานด้านการเข้าถึงบริการทางการเงิน (Working Committee on Financial Inclusion: WC-FINC) เพื่อพัฒนาการเข้าถึงบริการทางการเงินของประเทศสมาชิกอาเซียนเพื่อสนับสนุนการเปิดเสรีภาคประกันภัย

      นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้มีการหารือความก้าวหน้าในด้านอื่น ๆ ได้แก่ ความร่วมมือด้านการเงินอาเซียน+3 การเข้าถึงบริการทางการเงิน การเปิดเสรีบัญชีทุนเคลื่อนย้าย เป็นต้น

     การประชุม AFMM และ AFMGM ครั้งต่อไปจะจัดขึ้นที่ประเทศสิงคโปร์ในเดือนเมษายน 2561

     สำนักนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร. (02) 273-9020 ต่อ 3619 กระทรวงการคลัง

อภิศักดิ์ เผยที่ประชุมรัฐมนตรีคลัง-ธนาคารกลางอาเซียนมีแนวคิดริเริ่มพันธบัตรสีเขียว เน้นลงทุนโครงการที่เป็นมิตรสวล.

    นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทย ได้เข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน ครั้งที่ 21 (The 21st ASEAN Finance Minister’s Meeting: 21st AFMM) การประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน ครั้งที่ 3 (The 3rd ASEAN Finance Ministers’ and Central Bank Governors’ Meeting: 3rd AFMGM) และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ 6 - 7 เมษายน 2560 ณ เมืองเซบู สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ โดยผลการประชุมมีประเด็นที่สำคัญ ดังนี้

     รมว.คลัง ได้ลงนามในพิธีสารฉบับที่ 2 ว่าด้วยการกำหนดที่ทำการพรมแดน (Protocol 2 Designation of Frontier Points) ภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยการอำนวยความสะดวกการขนส่งสินค้าผ่านแดน (ASEAN Framework Agreement on the Facilitation of Goods in Transit) ร่วมกับประเทศสมาชิกอาเซียนอีกจำนวน 6 ประเทศ ได้แก่ ฟิลิปปินส์ บรูไน อินโดนีเซีย ลาว สิงคโปร์ และเวียดนาม ซึ่งพิธีสารฯ ดังกล่าวจะช่วยให้กระบวนการขนส่งสินค้าข้ามแดน ในภูมิภาคอาเซียนมีความสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ที่ทำการพรมแดนของประเทศไทยที่กำหนดไว้และมีความสอดคล้องตรงกันกับที่ประเทศเพื่อนบ้านกำหนดแล้ว ประกอบด้วย 1) ที่ทำการพรมแดนแม่สาย 2) ที่ทำการพรมแดนแม่สอด 3) ที่ทำการพรมแดนอรัญประเทศ 4) ที่ทำการพรมแดนหนองคาย 5) ที่ทำการพรมแดนสะเดา 6) ที่ทำการพรมแดนมุกดาหาร และ 7) ที่ทำการพรมแดนเชียงของ

     นอกจากนี้ ที่ประชุม รมว.คลังอาเซียน ได้มีการหารือเรื่องการดำเนินการความร่วมมือด้านศุลกากรที่มีความคืบหน้าอย่างต่อเนื่อง เช่น การพัฒนาระบบศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์ ณ จุดเดียวของอาเซียน (ASEAN Single Window: ASW) และการให้สัตยาบันในพิธีสารฉบับที่ 7 ว่าด้วยระบบศุลกากรผ่านแดน เป็นต้น

     โดยประเทศไทย ได้แจ้งให้ทราบถึงความคืบหน้าใน ASW ว่า ระบบของไทยสามารถใช้งานได้ทั้งภายใต้สภาวะการทดสอบและภายใต้การใช้งานจริง ซึ่งประเทศที่ผ่านการทดสอบระบบภายใต้การใช้งานจริง ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และประเทศไทย รวมถึงได้เชื่อมโยงหน่วยงานภายในที่เกี่ยวข้องแล้ว 33 หน่วยงาน จากทั้งหมด 36 หน่วยงาน

     ทั้งนี้ สำหรับการให้สัตยาบันพิธีสารฉบับที่ 7 ว่าด้วยระบบศุลกากรผ่านแดน ประเทศไทยได้จัดทำสัตยาบันสารและดำเนินการจัดส่งต่อสำนักเลขาธิการอาเซียนเรียบร้อยแล้ว สำหรับความร่วมมือทางด้านภาษีอากรมีความคืบหน้าอย่างน่าพอใจ โดยประเทศสมาชิกได้ให้การรับรองแผนการดำเนินการด้านภาษีอากร ค.ศ. 2016 – 2025 ครบทุกประเทศแล้ว พร้อมทั้งยินดีกับความคืบหน้าในการเจรจาสนธิสัญญาภาษีซ้อนของประเทศสมาชิก การพัฒนาแนวทางการหักภาษี ณ ที่จ่าย มาตรการป้องกันการถูกกัดกร่อนฐานภาษีและการโอนกำไรไปต่างประเทศ (Base Erosion and Profit Shifting: BEPS) และการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางภาษี (Exchange of Information: EOI)

     นอกจากนี้ รัฐมนตรีคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน ได้รับทราบความคืบหน้าในการดำเนินการตามแผนการรวมกลุ่มด้านการเงินของอาเซียน (Roadmap for Integration: Financial and Monetary Integration: RIA-Fin) รวมถึงได้ให้การรับรองตัวชี้วัดความคืบหน้าการรวมตัวด้านการเงิน (Financial Integration) และเสถียรภาพทางการเงิน (Financial Stability) เพื่อติดตามให้เกิดการพัฒนาทางการเงินของประเทศสมาชิกอย่างทั่วถึงและยั่งยืน ให้เป็นไปตามแผนการดำเนินการด้านการเงินการคลังอาเซียน ค.ศ. 2016 - 2025 ภายใต้ AEC Blueprint 2025

     รวมไปถึงรับทราบรายงานความก้าวหน้าการพัฒนาตลาดทุนเพื่อให้มีความเข้มแข็งและมีความเชื่อมโยงในภูมิภาค และแนวคิดริเริ่มต่างๆ อาทิ การริเริ่มพันธบัตรสีเขียว (ASEAN Green Bond Initiatives) ที่ประเทศสมาชิกได้ตระหนักถึงความสำคัญในการลงทุนในโครงการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยคณะทำงานเพื่อพัฒนาตลาดทุน (Working Committee on Capital and Market Development: WC-CMD) และ ASEAN Capital Markets Forum (ACMF) ที่จะร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดต่อไป เป็นต้น

      ที่ประชุมยังได้รับทราบความก้าวหน้าของการเปิดเสรีการค้าบริการทางการเงินภายในอาเซียน โดยขณะนี้สมาชิกอยู่ระหว่างการดำเนินกระบวนการภายในประเทศ เพื่อให้สัตยาบันพิธีสารอนุวัติข้อผูกพันการเปิดเสรีการค้าบริการด้านการเงิน ภายใต้กรอบความตกลงด้านการค้าบริการของอาเซียน ฉบับที่ 7 ซึ่งสมาชิก 4 ประเทศ ได้แก่ ประเทศสิงคโปร์ ไทย บรูไน และลาว ให้สัตยาบันพีธีสารดังกล่าวแล้ว โดยประเทศไทยได้ปรับปรุงข้อผูกพันในสาขาย่อยประกันชีวิตและประกันวินาศภัยให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของกฎหมายไทยที่บังคับใช้ในปัจจุบัน และขณะนี้สมาชิกอาเซียนอยู่ระหว่างการเจรจาเปิดเสรีการค้าบริการด้านการเงิน ฉบับที่ 8 ซึ่งคาดว่าการลงนามในพิธีสารฯ ฉบับที่ 8 จะมีขึ้นในการประชุม AFMGM ในปี 2561 ที่ประเทศสิงคโปร์

     นอกจากนั้น ที่ประชุมได้ยินดีกับความก้าวหน้าในความร่วมมือด้านระบบการชำระเงินและธุรกรรมทางการเงิน ซึ่งได้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจทวิภาคีว่าด้วยการจัดตั้งกลไกการชำระเงินสกุลท้องถิ่น ระหว่างธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารกลางมาเลเซีย และธนาคารกลางอินโดนีเซีย

     สำหรับ ความร่วมมือด้านการประกันภัย ที่ประชุมได้แสดงความยินดีกับการจัดตั้ง ASEAN Insurance Forum (AIFo) เพื่อเป็นเวทีหารือร่วมกันระหว่างการประชุมผู้กำกับดูแลธุรกิจประกันภัยอาเซียน (ASEAN Insurance Regulators’ Meeting: AIRM) กับคณะทำงานเปิดเสรีภาคการเงิน (Working Committee on Financial Services Liberalisation : WC-FSL) เพื่อเร่งรัดการเปิดเสรีสาขาประกันภัย และร่วมกับคณะทำงานด้านการเข้าถึงบริการทางการเงิน (Working Committee on Financial Inclusion: WC-FINC) เพื่อพัฒนาการเข้าถึงบริการทางการเงินของประเทศสมาชิกอาเซียนเพื่อสนับสนุนการเปิดเสรีภาคประกันภัย

     นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้มีการหารือความก้าวหน้าในด้านอื่นๆ ได้แก่ ความร่วมมือด้านการเงินอาเซียน+3 การเข้าถึงบริการทางการเงิน การเปิดเสรีบัญชีทุนเคลื่อนย้าย เป็นต้น

อินโฟเควสท์

รมว.คลังร่วมประชุม AFMM-AFMGM ลงนามตกลงการค้า พัฒนาตลาดเงินตลาดทุนในอาเซียนร่วมกัน

    รมว.คลังร่วมประชุม AFMM-AFMGM ณ เมืองเซบู สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ลงนามตกลงการค้าข้ามแดนในอาเซียน - แก้ไขปัญหาภาษี รับทราบแผนพัฒนาตลาดทุน- เร่งรัดการเปิดเสรีด้านการเงินและสาขาประกันภัย ร่วมกัน

     นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทย เข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน ครั้งที่ 21 (The 21st ASEAN Finance Minister’s Meeting: 21st AFMM) การประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน ครั้งที่ 3 (The 3rd ASEAN Finance Ministers’ and Central Bank Governors’ Meeting: 3rd AFMGM) และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ 6 - 7 เมษายน 2560 ณ เมืองเซบู สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ แถลงผลการประชุมในประเด็นที่สำคัญ ดังนี้

     รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ลงนามในพิธีสารฉบับที่ 2 ว่าด้วยการกำหนดที่ทำการพรมแดน (Protocol 2 Designation of Frontier Points) ภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยการอำนวยความสะดวกการขนส่งสินค้าผ่านแดน (ASEAN Framework Agreement on the Facilitation of Goods in Transit) ร่วมกับประเทศสมาชิกอาเซียนอีกจำนวน 6 ประเทศ  ได้แก่ ฟิลิปปินส์ บรูไนดารุสซาลาม อินโดนีเซีย สปป. ลาว สิงคโปร์ และเวียดนาม ซึ่งพิธีสารฯ ดังกล่าวจะช่วยให้กระบวนการขนส่งสินค้าข้ามแดน ในภูมิภาคอาเซียนมีความสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น  ทั้งนี้ ที่ทำการพรมแดนของประเทศไทยที่กำหนดไว้และมีความสอดคล้องตรงกันกับที่ประเทศเพื่อนบ้านกำหนดแล้ว ประกอบด้วย 1) ที่ทำการพรมแดนแม่สาย 2) ที่ทำการพรมแดนแม่สอด 3) ที่ทำการพรมแดนอรัญประเทศ 4) ที่ทำการพรมแดนหนองคาย 5) ที่ทำการพรมแดนสะเดา 6) ที่ทำการพรมแดนมุกดาหาร และ 7) ที่ทำการพรมแดนเชียงของ

     ที่ประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียนได้มีการหารือเรื่องการดำเนินการความร่วมมือ ด้านศุลกากรที่มีความคืบหน้าอย่างต่อเนื่อง เช่น การพัฒนาระบบศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์ ณ จุดเดียวของอาเซียน (ASEAN Single Window: ASW) และการให้สัตยาบันในพิธีสารฉบับที่ 7 ว่าด้วยระบบศุลกากรผ่านแดน เป็นต้น

     โดยประเทศไทยได้แจ้งให้ทราบถึงความคืบหน้าใน ASW ว่า ระบบของไทยสามารถใช้งานได้ทั้งภายใต้สภาวะการทดสอบและภายใต้การใช้งานจริง ซึ่งประเทศที่ผ่านการทดสอบระบบภายใต้การใช้งานจริง ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และประเทศไทย รวมถึงได้เชื่อมโยงหน่วยงานภายในที่เกี่ยวข้องแล้ว 33 หน่วยงาน จากทั้งหมด 36 หน่วยงาน ทั้งนี้ สำหรับการให้สัตยาบันพิธีสารฉบับที่ 7 ว่าด้วยระบบศุลกากรผ่านแดน ประเทศไทยได้จัดทำสัตยาบันสารและดำเนินการจัดส่งต่อสำนักเลขาธิการอาเซียนเรียบร้อยแล้ว สำหรับความร่วมมือทางด้านภาษีอากรมีความคืบหน้าอย่างน่าพอใจ โดยประเทศสมาชิกได้ให้การรับรองแผนการดำเนินการด้านภาษีอากร ค.ศ. 2016 – 2025 ครบทุกประเทศแล้ว พร้อมทั้งยินดีกับความคืบหน้าในการเจรจาสนธิสัญญาภาษีซ้อนของประเทศสมาชิก การพัฒนาแนวทางการหักภาษี ณ ที่จ่าย มาตรการป้องกันการถูกกัดกร่อนฐานภาษีและการโอนกำไรไปต่างประเทศ (Base Erosion and Profit Shifting: BEPS) และการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางภาษี (Exchange of Information: EOI)

     รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียนได้รับทราบความคืบหน้าในการดำเนินการตามแผนการรวมกลุ่มด้านการเงินของอาเซียน (Roadmap for Integration: Financial and Monetary Integration: RIA-Fin) รวมถึงได้ให้การรับรองตัวชี้วัดความคืบหน้าการรวมตัวด้านการเงิน (Financial Integration) และเสถียรภาพทางการเงิน (Financial Stability) เพื่อติดตามให้เกิดการพัฒนาทางการเงินของประเทศสมาชิกอย่างทั่วถึงและยั่งยืนให้เป็นไปตามแผนการดำเนินการด้านการเงินการคลังอาเซียน ค.ศ. 2016 - 2025 ภายใต้ AEC Blueprint 2025 รวมไปถึงรับทราบรายงานความก้าวหน้าการพัฒนาตลาดทุนเพื่อให้มีความเข้มแข็งและมีความเชื่อมโยงในภูมิภาค และแนวคิดริเริ่มต่าง ๆ อาทิ การริเริ่มพันธบัตรสีเขียว (ASEAN Green Bond Initiatives) ที่ประเทศสมาชิกได้ตระหนักถึงความสำคัญในการลงทุนในโครงการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยคณะทำงานเพื่อพัฒนาตลาดทุน (Working Committee on Capital and Market Development: WC-CMD) และ ASEAN Capital Markets Forum (ACMF) ที่จะร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดต่อไป เป็นต้น

     ที่ประชุมยังได้รับทราบความก้าวหน้าของการเปิดเสรีการค้าบริการทางการเงินภายในอาเซียน โดยขณะนี้สมาชิกอยู่ระหว่างการดำเนินกระบวนการภายในประเทศ เพื่อให้สัตยาบันพิธีสารอนุวัติข้อผูกพันการเปิดเสรีการค้าบริการด้านการเงิน ภายใต้กรอบความตกลงด้านการค้าบริการของอาเซียน ฉบับที่ 7 ซึ่งสมาชิก 4 ประเทศ ได้แก่ ประเทศสิงคโปร์ ไทย บรูไนดารุสซาราม และ สปป. ลาว ให้สัตยาบันพีธีสารดังกล่าวแล้ว โดยประเทศไทยได้ปรับปรุงข้อผูกพันในสาขาย่อยประกันชีวิตและประกันวินาศภัยให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของกฎหมายไทยที่บังคับใช้ในปัจจุบัน และขณะนี้สมาชิกอาเซียนอยู่ระหว่างการเจรจาเปิดเสรีการค้าบริการด้านการเงิน ฉบับที่ 8 ซึ่งคาดว่าการลงนามในพิธีสารฯ ฉบับที่ 8 จะมีขึ้นในการประชุม AFMGM ในปี 2561 ที่ประเทศสิงคโปร์ นอกจากนั้น ที่ประชุมได้ยินดีกับความก้าวหน้าในความร่วมมือด้านระบบการชำระเงินและธุรกรรมทางการเงิน ซึ่งได้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจทวิภาคีว่าด้วยการจัดตั้งกลไกการชำระเงินสกุลท้องถิ่น ระหว่างธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารกลางมาเลเซีย และธนาคารกลางอินโดนีเซีย

     สำหรับ ความร่วมมือด้านการประกันภัย ที่ประชุมได้แสดงความยินดีกับการจัดตั้ง ASEAN Insurance Forum (AIFo) เพื่อเป็นเวทีหารือร่วมกันระหว่างการประชุมผู้กำกับดูแลธุรกิจประกันภัยอาเซียน (ASEAN Insurance Regulators’ Meeting: AIRM) กับคณะทำงานเปิดเสรีภาคการเงิน (Working Committee on Financial Services Liberalisation: WC-FSL) เพื่อเร่งรัดการเปิดเสรีสาขาประกันภัย และร่วมกับคณะทำงานด้านการเข้าถึงบริการทางการเงิน (Working Committee on Financial Inclusion: WC-FINC) เพื่อพัฒนาการเข้าถึงบริการทางการเงินของประเทศสมาชิกอาเซียนเพื่อสนับสนุนการเปิดเสรีภาคประกันภัย

     นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้มีการหารือความก้าวหน้าในด้านอื่น ๆ ได้แก่ ความร่วมมือด้านการเงินอาเซียน+3 การเข้าถึงบริการทางการเงิน การเปิดเสรีบัญชีทุนเคลื่อนย้าย เป็นต้น

     การประชุม AFMM และ AFMGM ครั้งต่อไปจะจัดขึ้นที่ประเทศสิงคโปร์ในเดือนเมษายน 2561

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!