- Details
- Category: คลัง
- Published: Monday, 13 March 2017 23:30
- Hits: 14101
กระทรวงการคลังลงนามบันทึกข้อตกลง เลือกผู้ติดตั้งเครื่องรับชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ เดินหน้ายุทธศาสตร์ National E-Payment ต่อเนื่อง
กระทรวงการคลัง เดินหน้าขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ National e-Payment โครงการขยายการใช้บัตร ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงระหว่างคณะอนุกรรมการคัดเลือกและกำกับดูแลผู้ให้บริการวางอุปกรณ์รับชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์และผู้มีสิทธิ์ให้บริการวางอุปกรณ์รับชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 2 รายได้แก่ กลุ่ม Consortium และกลุ่มกิจการการค้าร่วมโครงการอีเพเม้นท์ โดยมีธนาคารแห่งประเทศไทย และกรมบัญชีกลาง สองหน่วยงานผู้กำกับดูแลการคัดเลือกร่วมเป็นสักขีพยาน
นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า “การขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ National e-Payment เป็นงานที่กระทรวงการคลังให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากการชำระเงินที่สะดวก ปลอดภัย และมีต้นทุนต่ำ ถือเป็นกลไกสำคัญที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการทำงานของทุกภาคส่วน ช่วยสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจและเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
โครงการย่อยภายใต้ National e-Payment มีทั้งหมด 6 โครงการ ซึ่งมีความคืบหน้ามาอย่างต่อเนื่อง โดยสำหรับโครงการที่ 1 และ 2 ได้มอบหมายให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้ดูแลและผลักดัน ซึ่งบริการพร้อมเพย์ของโครงการที่ 1 ได้เปิดให้บริการไปแล้วในเดือนมกราคม หากจะกล่าวว่าพร้อมเพย์เป็นการชำระเงินแบบ Non-card โครงการที่ 2 จะเป็นการชำระเงินแบบ Card Payment
โครงการขยายการใช้บัตรจะเริ่มอย่างเป็นทางการในวันนี้ โดยมีการลงนามใน MOU เพื่อกระจายอุปกรณ์รับชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ในขั้นตอนของการคัดเลือกผู้มีสิทธิ์ดำเนินการ ได้มอบหมายให้มีการตั้งคณะอนุกรรมการคัดเลือกมากำหนดแนวทางและพิจารณาผู้ที่มีความเหมาะสม เพื่อให้กระบวนการมีความโปร่งใสและสามารถพิจารณาคุณสมบัติต่างๆ ได้อย่างครบถ้วน ซึ่งท่านปลัดกระทรวงการคลังได้มาเป็นประธานคณะอนุกรรมการคัดเลือกดังกล่าว โดยสามารถดำเนินการคัดเลือกได้แล้วเสร็จตามที่คาดหวัง และกลุ่มผู้ที่ได้รับการคัดเลือกก็จะเริ่มต้นวางอุปกรณ์ หรือเครื่อง EDC ทันที
โครงการที่ 2 ให้ความสำคัญกับ 2 สิ่งไปพร้อมกัน คือ ร้านค้ามีเครื่องรับบัตรทั่วถึงด้วยต้นทุนที่ต่ำลง และประชาชนใช้บัตรเดบิตในการซื้อสินค้าหรือชำระเงินค่าบริการต่างๆ มากขึ้น โดยมุ่งเน้นให้มีการกระจายเครื่องรับบัตรหรือเครื่อง EDC ไปทั่วประเทศ ไม่กระจุกตัวอยู่ในเฉพาะเมืองใหญ่ ต่อไปร้านค้าเล็ก ๆ หรือหน่วยราชการที่รับเงินก็จะสามารถติดเครื่องรับบัตรเดบิตได้โดยมีค่าใช้จ่ายที่ถูกลงมาก รวมทั้งสนับสนุนให้ประชาชนหันมาใช้บัตรเดบิตเพื่อจับจ่ายซื้อของในชีวิตประจำวัน ซึ่งคนส่วนใหญ่มีกันอยู่แล้ว แต่ไม่เคยใช้ เพราะคิดว่าเป็นบัตร ATM เอาไว้กดเงินสดเพียงอย่างเดียว
ปัจจุบัน คนไทยมีบัตรเดบิตจำนวน 54 ล้านใบ และมีเครื่องรับบัตร 4 แสนกว่าเครื่อง แต่เมื่อเทียบกับจำนวนประชากรในประเทศแล้ว จำนวนเครื่องรับบัตรของไทยยังถือว่าน้อยกว่าประเทศพัฒนาแล้วอยู่ถึง 4-5 เท่าตัว รวมทั้งปริมาณการใช้บัตรเดบิตในการรูดซื้อสินค้าและบริการยังไม่มากนัก เราหวังว่าโครงการนี้จะเป็นแรงผลักดันสำคัญในการส่งเสริมให้คนไทยหันมาใช้บัตรเดบิต ที่คนส่วนใหญ่มีความคุ้นเคยกันอยู่แล้วมากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนสะดวกมากขึ้น ร้านค้ามีช่องทางรับชำระเงินในการทำธุรกิจด้วยต้นทุนที่ต่ำลง และประเทศสามารถลดต้นทุนการใช้เงินสดลงได้มาก
นอกจากนี้ ในระยะต่อไปจะสามารถต่อยอดการใช้เครื่องรับบัตรกับบริการอื่นได้ เช่น โครงการตั๋วร่วม และบัตรสวัสดิการผู้มีรายได้น้อย ซึ่งจะมีส่วนช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยให้ดีขึ้น
“สุดท้ายนี้ขอขอบคุณผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่าน ทั้งผู้ให้บริการทั้ง 2 กลุ่ม ที่ได้เสนอตัวเข้ามาเป็นผู้วางอุปกรณ์ ซึ่งพวกเรารู้ดีว่ามีงานหนักรออยู่ข้างหน้าที่จะต้องทำให้ได้ตามข้อตกลง ท่านคณะอนุกรรมการคัดเลือกที่ได้ช่วยให้กระบวนการดำเนินไปได้อย่างเรียบร้อย และธนาคารแห่งประเทศไทย ที่กำกับดูแลและผลักดันในหลายเรื่องที่สำคัญ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า โครงการจะสามารถดำเนินการแล้วเสร็จตามแผนด้วยดี และเป็นการวางโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญของประเทศ ช่วยสนับสนุนให้เราก้าวสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างเป็นรูปธรรม” นายอภิศักดิ์กล่าวเสริม
หลังจากติดตั้งเครื่องรับชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์แล้ว รัฐบาลจะกระตุ้นการใช้บัตรและชำระเงินในระบบอีเพย์เมนต์ โดยจัดแคมเปญแจกรางวัล ให้ผู้ใช้และร้านค้ามีสิทธิลุ้นโชคจากการชำระเงินผ่านเครื่องรับบัตรและตู้ ATM และจะแจกรางวัลเป็นระยะเวลา 1 ปี เริ่มตั้งแต่เดือน มิ.ย. 60 (สำหรับผู้ที่ใช้บริการในเดือน พ.ค.) เป็นรางวัลมูลค่าเดือนละ 7 ล้านบาท รวมมูลค่ารางวัลเป็นเงิน 84 ล้านบาท
ดร.สมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่าตามที่รัฐบาลโดยกระทรวงการคลัง ได้ผลักดันแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ หรือ National e-Payment ซึ่งมีความคืบหน้ามาเป็นลำดับนั้น ในส่วนของโครงการที่ 2 คือ โครงการขยายการใช้บัตร ได้ก้าวมาถึงจุดสำคัญ คือ การคัดเลือกผู้มีสิทธิ์ให้บริการวางอุปกรณ์รับชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งในวันนี้จะมีพิธีลงนามในบันทึกข้อตกลง และจะเป็นจุดเริ่มต้นในการเริ่มกระจายอุปกรณ์รับชำระเงินไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ
โครงการขยายการใช้บัตร ถือเป็นภารกิจสำคัญภายใต้แผนยุทธศาสตร์ National e-Payment เพื่อวางโครงสร้างพื้นฐานรองรับการชำระเงินด้วยการใช้บัตร หรือ Card Payment โดยมีเป้าหมายในการกระจายอุปกรณ์รับชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือที่เรียกว่าเครื่อง EDC แก่ร้านค้าและหน่วยงานภาครัฐทั่วประเทศ รวมประมาณ 560,000 ราย คณะกรรมการขับเคลื่อนตามแผนยุทธศาสตร์ National e-Payment จึงได้มอบหมายให้คณะอนุกรรมการคัดเลือกและกำกับดูแลผู้ให้บริการวางอุปกรณ์ฯ เป็นผู้คัดเลือกผู้มีสิทธิ์ดำเนินการ ซึ่งคณะอนุกรรมการคัดเลือก ประกอบด้วยผู้แทนจาก กระทรวงการคลัง
กระทรวงพาณิชย์ และธนาคารแห่งประเทศไทย โดยได้มีการออกประกาศ TOR ให้ผู้ที่สนใจยื่นข้อเสนอ ซึ่งเปิดกว้างให้ทั้ง Bank และ Non-Bank สามารถยื่นข้อเสนอเข้ามาได้ โดยมีปัจจัยในการพิจารณาที่สำคัญ 4ประการ คือ
(1) การกำหนดค่าธรรมเนียม
(2) แผนงานการวางอุปกรณ์
(3) ประสบการณ์และความพร้อมในการดำเนินงาน
(4) มาตรการในการลดต้นทุนของร้านค้า / หน่วยงานภาครัฐ และการส่งเสริมการใช้บัตรเดบิต
“คณะอนุกรรมการคัดเลือกฯ พิจารณาแล้วว่าทั้ง 2 ราย มีคุณสมบัติเหมาะสม และมีข้อเสนอที่เป็นประโยชน์ต่อโครงการ จึงมีมติคัดเลือกผู้ให้บริการทั้ง 2 ราย คือกลุ่ม Consortium ประกอบด้วย ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) และธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) และกลุ่มกิจการค้าร่วมโครงการอีเพเม้นท์ ประกอบด้วย ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการทั้ง 2 ราย ได้ยื่นข้อเสนอสำคัญ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนและร้านค้า เช่น ลดค่าธรรมเนียมการรับบัตรเดบิตจาก 1.5 – 2.5% ของมูลค่าเงินที่ชำระ เป็นไม่เกิน 0.55% และไม่เก็บค่าเช่าและค่าติดตั้งอุปกรณ์ฯ โดยอาจเก็บค่ามัดจำเพื่อป้องกันอุปกรณ์เสียหาย ซึ่งร้านค้าจะได้คืนเมื่อยกเลิกการใช้บริการ”
นอกจากนี้ ภาครัฐก็ได้มีมาตรการช่วยเหลือร้านค้าที่ติดตั้งอุปกรณ์ โดยให้ร้านค้าสามารถนำค่าใช้จ่ายจากการรับบัตร(MDR) ไปหักเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้ 2 เท่า จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564ซึ่งมาตรการดังกล่าวนี้ จะช่วยลดภาระของร้านค้าในการรับบัตรได้มาก
ภายหลังพิธีลงนามตามข้อตกลงในวันนี้ ผู้ให้บริการทั้ง 2 ราย จะเริ่มทยอยวางอุปกรณ์ฯ ทันที โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในไตรมาส 1 ปี 2561”ดร.สมชัย กล่าวปิดท้าย
Ministry of Finance signed MOU appointing two EDC providers for deployment nationwide; boosting card usage under the National e-Payment Master Plan
The Ministry of Finance and the Screening sub-committee today signed an MOU appointing two electronic-data-capture (EDC) service providers to deploy EDC at merchants and government agencies nationwide, fostering the development of the national payment system in accordance with the National e-Payment Master Plan. The MOU signing was witnessed by the Bank of Thailand and the Comptroller General’s Department.
The two selected consortiums came from two groups of commercial banks.
Mr. Apisak Tantivorawong, Finance Minister, said, “The Finance Ministry has highly been emphasizing on the National e-Payment Master Plan, as implementing services that are convenient, secure and cheap are key in elevating efficiency and enhancing the economic growth and competitiveness of the country.”
The National e-Payment Master Plan comprises six projects, all of them have been progressing continually. The two projects under this Master Plan are led by the Bank of Thailand, including the development of PromptPay fund transfer service that was launched since January 2017 and the other is the promotion of card payment through EDC expansion. While PromptPay is a non-card payment system, the expansion of EDC will foster card payments.
The card payment expansion is inaugurated today after the MOU signing ceremony. Under the current phase, EDC terminals will be deployed nationwide. The Screening sub-committee was appointed to select the installers, chaired by the Permanent Secretary of the Finance Ministry, has screened and selected appropriate consortiums through a transparent process under which qualifications of the bidders were thoroughly considered. The screening process has been completed and the selected installers will be able to begin their EDC deployments from today.
The EDC expansion project focuses on two major tasks: 1) enabling shops across the nation to install EDC terminals at a lower cost and encouraging individuals to use debit cards for daily payments. Both selected consortiums will ensure that EDC installations are distributed to all parts of the nation, not to concentrate only in urban areas. The installation of EDCs will enable small retailers and government agencies to accept debit cards with a low cost. At the same time, it will encourage individuals to use debit cards more frequently for payments. It can be assumed that most people who own a debit card have used their cards only for cash withdrawal, without realizing that it is, in fact, a debit card that can also be used for purchasing goods and services.
Currently, there are over 54 million debit cards and 400,000 EDC terminals nationwide. The EDC per capita is considered to be low compared to developed nations, while the usage of debit cards have also remained low relatively. The Ministry hopes that this project will change the behavior of the Thai people, shifting from paper-based payments towards
e-Payment for greater convenience. While shops can also offer their customers with a variety of payment options at lower costs, which results in a lowering cash-handling cost for the country and promotes an efficient payment ecosystem.
For the next phase, the EDC machine will be further enhanced to accept more types of cards, such as the common ticket card (new card scheme for transit) and the social welfare card. To the end, it will improve the quality of life of the Thai people.
“I wish to thank the two consortiums and concerned parties for taking part in this project. We realize that hard work is ahead for the two consortiums in honoring their contracts. I wish to thank the Screening sub-committee for completing the selection process smoothly and efficiently. I believe that this project will finally become a great success and be the
e-Payment infrastructure that will in the end bring us towards the digital economy,” said the Finance Minister.
After the EDC machines are installed, the government will further attract e-Payment usage through a marketing campaign that will offer cardholders and shops a chance to be rewarded from their payment transactions through EDC terminals and ATM machines. The campaign will run for the period of one year, starting from June 2017 as the first time to announce the reward (for debit card transactions in May 2017). The total prize of 7 million baht will be distributed monthly, comprising the total of 84 million baht for whole campaign.
Dr. Somchai Sujjapongse, Permanent Secretary of the Finance Ministry, said that under the National e-Payment Master Plan, this project that aims to boost debit card usage, has made a good progress with the selection of the two consortiums completed. The MOU signing remarks a significant step in distributing EDC terminal across the nation.
The EDC expansion project is a significant step under the National e-Payment strategy as it builds a card payment infrastructure with a goal to equip over 560,000 merchants and government agencies nationwide with EDC terminals. The National e-Payment Committee then assigned the Screening sub-committee to select the EDC providers. The screening sub-committee comprises representatives from the Ministry of Finance, Commerce Ministry and the Bank of Thailand. The term of reference was announced to invite interested entity, both banks and non-banks, to bid for the project. Major criteria for considerations are:
Fee structure
Machine deployment plan
Experience and readiness to perform the task
Cost reduction measures for shops/government agencies and methods in promoting debit card usage
“The Screening Sub-committee unanimously announced that the two consortiums have the right qualifications and offer the best benefits and they are therefore being selected. The two consortiums include: 1) “The Consortium” comprising Krungthai Bank, Bank of Ayudhya, Thai Military Bank, Siam Commercial Bank and Thanachart Bank, and 2) “The e-Payment Consortium” comprising Bangkok Bank and Kasikorn Bank.
Both consortiums have proposed benefits in lowering Merchant discount rate (MDR) for debit card from 1.5-2.5% to the maximum of 0.55% and waiving equipment rental fee. The consortiums may require deposits to cover possible damage to the EDC terminals and will be returned once the shops discontinue the service.
The government has also introduced various measures to incentivize card acceptance among merchants, including using the MDR expense as tax exemption at 2 times of the total amount until 31 December 2017. This will significantly reduce shops’ financial burden.
After the MOU signing ceremony, the two consortiums will to start deploying EDC terminals and are expected to complete within the first quarter of 2018, according to Dr. Somchai.