WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

สคร.เร่งผลักดันพ.ร.บ.ร่วมลงทุนฯ เพื่อรองรับการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2.4 ล้านลบ.

    นายกุลิศ สมบัติศิริ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผยว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการออกกฎหมายลูกของ พ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมลงทุนในรูปแบบ Public Private Partnerships (PPPs) ซึ่งขณะนี้ค้างอยู่ 8 ฉบับ โดยจะเร่งให้ได้ข้อสรุปเร็วที่สุด เพื่อให้ทันโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2.4 ล้านล้านบาท ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)

    สำหรับ พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ ฉบับปัจจุบันตั้งเป้าให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนประมาณ 20% ของโครงการลงทุนของรัฐวิสาหกิจทั้งหมด ซึ่งในส่วนนี้รวมถึงการลงทุนในกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure fund)ด้วย โดยในปี 58 คาดว่าจะเห็นการจัดตั้งกองทุนของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ก่อน ขนาดราว 1.6 พันล้านบาท นอกจากนี้ ตามแผนจะมีการตั้งกองทุนฯของการท่าเรือแห่งประเทศไทย เพื่อนำเงินไปใช้ขยายท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างหารือในรายละเอียด

    นอกจากนี้ สคร. ยังเร่งดำเนินการเกี่ยวกับแผนฟื้นฟูของรัฐวิสาหกิจ โดยมีรัฐวิสาหกิจจำนวน 6 แห่งที่ส่งรายละเอียดของแผนมาแล้ว ได้แก่ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์), ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย(ไอแบงก์), บมจ.ทีโอที, บมจ.กสท โทรคมนาคม ส่วน บมจ.การบินไทย (THAI) และ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กำลังเร่งดำเนินการส่งมา โดยจะเร่งหาข้อสรุปเพื่อนำเสนอให้ซุปเปอร์บอร์ดพิจารณาภายใน 14 ส.ค.นี้

สคร.เผยอยู่ระหว่างออกกฏหมายลูก PPPs รองรับโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2.4 ล้านลบ.

   นายกุลิศ สมบัติศิริ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผยว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการออกกฎหมายลูกของ พ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมลงทุนในรูปแบบ Public Private Partnerships (PPPs) ซึ่งขณะนี้ค้างอยู่ 8 ฉบับ โดยจะเร่งให้ได้ข้อสรุปเร็วที่สุดเพื่อให้ทันโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2.4 ล้านล้านบาทของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)

   สำหรับ พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ ฉบับปัจจุบันตั้งเป้าให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนประมาณ 20% ของโครงการลงทุนของรัฐวิสาหกิจทั้งหมด ซึ่งในส่วนนี้รวมถึงการลงทุนในกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure fund)ด้วย โดยในปี 58 คาดว่าจะเห็นการจัดตั้งกองทุนของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ก่อน ขนาดราว 1.6 พันล้านบาท นอกจากนี้ ตามแผนจะมีการตั้งกองทุนฯ ของการท่าเรือแห่งประเทศไทย เพื่อนำเงินไปใช้ขยายท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างหารือในรายละเอียด

   นอกจากนี้ สคร.ยังเร่งดำเนินการเกี่ยวกับแผนฟื้นฟูของรัฐวิสาหกิจ โดยมีรัฐวิสาหกิจจำนวน 6 แห่งที่ส่งรายละเอียดของแผนมาแล้ว ได้แก่ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์), ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย(ไอแบงก์), บมจ.ทีโอที, บมจ.กสท โทรคมนาคม ส่วน บมจ.การบินไทย (THAI) และ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กำลังเร่งดำเนินการส่งมา โดยจะเร่งหาข้อสรุปเพื่อนำเสนอให้ซุปเปอร์บอร์ดพิจารณาภายใน 14 ส.ค.นี้

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!