WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

FPOพรชย ฐระเวช copyสศค.เผย ศก.ไทย ต.ค.ขยายตัวดี จากการบริโภคภาคเอกชน-เบิกจ่ายภาครัฐ ทั้งปียังคงคาดโต 3.3% ส่วนส่งออกปีนี้เชื่อติดลบ 0.5%

     สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ประเมิน เศรษฐกิจไทยในเดือนตุลาคม 2559 ขยายตัวดีจากการบริโภคภาคเอกชนและการเบิกจ่ายภาครัฐ ขณะที่ผลผลิตสินค้าเกษตรที่ยังขยายตัวดีต่อเนื่อง เสถียรภาพเศรษฐกิจไทยยังคงแข็งแกร่งรองรับความผันผวนจากภายในและภายนอกประเทศได้ ทั้งปี 59 ยังคงประมาณการเศรษฐกิจไทยขยายตัว 3.3% ส่วนส่งออกคาดติดลบ 0.5%

  นายพรชัย ฐีระเวช รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน ในฐานะโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง หรือ สศค. เปิดเผยรายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนตุลาคม 2559 ว่า  เศรษฐกิจไทยในเดือนตุลาคม 2559 ขยายตัวดีจากการบริโภคภาคเอกชนและการเบิกจ่ายภาครัฐ ขณะที่ผลผลิตสินค้าเกษตรที่ยังขยายตัวดีต่อเนื่อง สำหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจไทยยังคงแข็งแกร่งรองรับความผันผวนจากภายในและภายนอกประเทศได้

    โดย เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการใช้จ่ายยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากการบริโภคภาคเอกชนที่ยังคงขยายตัว โดยปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ยังขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ 3.1 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7  ส่วนหนึ่งเป็นผลจากรายได้เกษตรกรที่แท้จริงที่ยังขยายตัวได้ที่ร้อยละ 3.8 นอกจากนี้ ยอดการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่สามารถขยายตัวได้ที่ร้อยละ 0.3 จากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากฐานการใช้จ่ายภายในประเทศที่ขยายตัวร้อยละ 1.1 ขณะที่การใช้จ่ายของรัฐบาลโดยเฉพาะรายจ่ายประจำและรายจ่ายลงทุนขยายตัวดีต่อเนื่อง สะท้อนจากการเบิกจ่ายงบประมาณรวมในเดือนตุลาคม 2559 สามารถเบิกจ่ายได้จำนวน 435.4 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 16.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยเฉพาะการเบิกจ่ายรายจ่ายประจำและรายจ่ายลงทุนจากงบประมาณรายจ่ายปีปัจจุบันที่ขยายตัวร้อยละ 17.5 และร้อยละ 17.0 ตามลำดับ

    ส่วนการลงทุนภาคเอกชนในภาพรวมมีสัญญาณทรงตัว โดยการลงทุนในหมวดก่อสร้างสะท้อนจากภาษีการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ในเดือนตุลาคม 2559 หดตัวที่ร้อยละ -2.9 ต่อปี แต่ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2559 ขยายตัวได้ที่ร้อยละ 3.9

    เสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศยังอยู่ในเกณฑ์ดี และเสถียรภาพภายนอกอยู่ในระดับที่มั่นคง สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนตุลาคม 2559 อยู่ที่ร้อยละ 0.3 ต่อปี โดยเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก โดยสินค้าในหมวดยานพาหนะและน้ำมันเชื้อเพลิงที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น เป็นสำคัญ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 0.7 อัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 1.2 ของแรงงานรวม หรือคิดเป็นผู้ว่างงาน 4.5  แสนคน นอกจากนี้ สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ณ สิ้นเดือนกันยายน 2559 อยู่ที่ระดับร้อยละ 42.8 ถือว่ายังอยู่ภายใต้กรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 60.0 

    ด้านส่งออกสินค้าในเดือนตุลาคม 2559 ชะลอตัวลง โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ มีมูลค่า 17.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวร้อยละ -4.2 ต่อปี โดยเป็นการหดตัวเกือบทุกตลาด โดยเฉพาะตลาดส่งออกสำคัญ เช่น สหรัฐฯ สหภาพยุโรป  สินค้าส่งออกที่หดตัว ได้แก่ สินค้าในกลุ่มเกษตร/อุตสาหกรรมเกษตร ยานพาหนะและส่วนประกอบ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า สำหรับมูลค่าการนำเข้าสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐมีมูลค่า 17.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 6.5 ต่อปี ทั้งนี้ มูลค่าส่งออกสินค้าที่สูงกว่าการนำเข้าสินค้าส่งผลให้ดุลการค้าระหว่างประเทศเกินดุล 0.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

    นายพรชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า ดัชนีความเชื่อมั่นเศรษฐกิจโดยรวมเดือนต.ค. อยู่ที่ 62 ลดลงจากเดือน ก.ย. ที่ 63.4  ซึ่งในเดือนต.ค. พบว่ามีปัจจัยลบทั้งราคาพืชผลทางการเกษตรที่อยู่ในระดับต่ำ เพราะผู้บริโภคมีความกังวลเกี่ยวกับค่าครองชีพ และราคาสินค้าที่ยังทรงตัวอยู่ในระดับสูง

    สำหรับ ตัวเลขการส่งออกที่กระทรวงพาณิชย์เปิดเผยถึงเดือนต.ค. ที่ติดลบ 4.2% นั้น สศค. มองว่ายังอยู่ในกรอบที่ประเมินไว้ โดยมั่นใจว่าปีนี้การส่งออกไทยจะติดลบที่ 0.5% ขณะที่ยังคงประมาณการเศรษฐกิจไทยปีนี้ที่ 3.3% อย่างไรก็ตามต้องติดตามมาตรการต่าง ๆของภาครัฐที่ออกมา ทั้งมาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย ช้อปช่วยชาติ ซึ่งอยู่ระหว่างรวบรวมตัวเลขเพื่อประเมินถึงผลต่อเศรษฐกิจ

     สำหรับอัตราการว่างงานในเดือนต.ค. อยู่ที่ 1.2% คิดเป็นผู้ว่างงาน 4.5 แสนคน  ซึ่งถือว่าเพิ่มขึ้นจากเดือนก.ย. ที่อยู่ 0.9% โดยเป็นการว่างงานจากภาคการเกษตรที่มีผลจากราคาสินค้าเกษตรที่ปรับตัวลดลง แต่กลับพบว่าภาคอุตสาหกรรมยังมีการจ้างงานที่สูง ซึ่งจะชดเชยในช่วงที่ราคาสินค้าเกษตรปรับตัวลดลง และมองว่าอัตราการว่างงานไม่ส่งผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

  โฆษก สศค.กล่าวอีกว่า ในพรุ่งนี้ (29 พ.ย.59)  สศค. จะหารือกับธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทย และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ หรือ ธ.ก.ส.  ถึงการเบิกจ่ายเงินให้กับผู้มีรายได้น้อยที่ลงทะเบียนไว้ 3 ล้านราย โดยแบ่งเป็นนอกภาคเกษตร 5.4 ล้านราย หรือคิดเป็นเม็ดเงิน 1.27 หมื่นล้านบาทและภาคเกษตรจำนวน 2.9 ล้านราย  คิดเป็นเม็ดเงิน 6,000 ล้านบาท เบื้องต้นคาดว่าวันที่ 1 ธ.ค. นี้ จะสามารถเบิกจ่ายเงินให้กับผู้ที่เข้ามาลงทะเบียนได้

สศค.เผย ศก.ไทย ต.ค.ขยายตัวดี จากการบริโภคภาคเอกชน-เบิกจ่ายภาครัฐ

   สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ประเมิน เศรษฐกิจไทยในเดือนตุลาคม 2559 ขยายตัวดีจากการบริโภคภาคเอกชนและการเบิกจ่ายภาครัฐ ขณะที่ผลผลิตสินค้าเกษตรที่ยังขยายตัวดีต่อเนื่อง เสถียรภาพเศรษฐกิจไทยยังคงแข็งแกร่งรองรับความผันผวนจากภายในและภายนอกประเทศได้

นายพรชัย ฐีระเวช รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน ในฐานะโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง หรือ สศค. เปิดเผยรายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนตุลาคม 2559 ว่า  เศรษฐกิจไทยในเดือนตุลาคม 2559 ขยายตัวดีจากการบริโภคภาคเอกชนและการเบิกจ่ายภาครัฐ ขณะที่ผลผลิตสินค้าเกษตรที่ยังขยายตัวดีต่อเนื่อง สำหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจไทยยังคงแข็งแกร่งรองรับความผันผวนจากภายในและภายนอกประเทศได้

 โดย เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการใช้จ่ายยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากการบริโภคภาคเอกชนที่ยังคงขยายตัว โดยปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ยังขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ 3.1 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7  ส่วนหนึ่งเป็นผลจากรายได้เกษตรกรที่แท้จริงที่ยังขยายตัวได้ที่ร้อยละ 3.8 นอกจากนี้ ยอดการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่สามารถขยายตัวได้ที่ร้อยละ 0.3 จากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากฐานการใช้จ่ายภายในประเทศที่ขยายตัวร้อยละ 1.1 ขณะที่การใช้จ่ายของรัฐบาลโดยเฉพาะรายจ่ายประจำและรายจ่ายลงทุนขยายตัวดีต่อเนื่อง สะท้อนจากการเบิกจ่ายงบประมาณรวมในเดือนตุลาคม 2559 สามารถเบิกจ่ายได้จำนวน 435.4 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 16.3 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยเฉพาะการเบิกจ่ายรายจ่ายประจำและรายจ่ายลงทุนจากงบประมาณรายจ่ายปีปัจจุบันที่ขยายตัวร้อยละ 17.5 และร้อยละ 17.0 ตามลำดับ

 ส่วนการลงทุนภาคเอกชนในภาพรวมมีสัญญาณทรงตัว โดยการลงทุนในหมวดก่อสร้างสะท้อนจากภาษีการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ในเดือนตุลาคม 2559 หดตัวที่ร้อยละ -2.9 ต่อปี แต่ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2559 ขยายตัวได้ที่ร้อยละ 3.9

 เสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศยังอยู่ในเกณฑ์ดี และเสถียรภาพภายนอกอยู่ในระดับที่มั่นคง สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนตุลาคม 2559 อยู่ที่ร้อยละ 0.3 ต่อปี โดยเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก โดยสินค้าในหมวดยานพาหนะและน้ำมันเชื้อเพลิงที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น เป็นสำคัญ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 0.7 อัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 1.2 ของแรงงานรวม หรือคิดเป็นผู้ว่างงาน 4.5  แสนคน นอกจากนี้ สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ณ สิ้นเดือนกันยายน 2559 อยู่ที่ระดับร้อยละ 42.8 ถือว่ายังอยู่ภายใต้กรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 60.0 

  ด้านส่งออกสินค้าในเดือนตุลาคม 2559 ชะลอตัวลง โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐ มีมูลค่า 17.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวร้อยละ -4.2 ต่อปี โดยเป็นการหดตัวเกือบทุกตลาด โดยเฉพาะตลาดส่งออกสำคัญ เช่น สหรัฐฯ สหภาพยุโรป  สินค้าส่งออกที่หดตัว ได้แก่ สินค้าในกลุ่มเกษตร/อุตสาหกรรมเกษตร ยานพาหนะและส่วนประกอบ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า สำหรับมูลค่าการนำเข้าสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐมีมูลค่า 17.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 6.5 ต่อปี ทั้งนี้ มูลค่าส่งออกสินค้าที่สูงกว่าการนำเข้าสินค้าส่งผลให้ดุลการค้าระหว่างประเทศเกินดุล 0.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!