WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Gกฤษฎา จนะวจารณะสศค.คงประมาณการจีดีพีปีนี้โต 3.3% ส่วนปี 60 คาดโต 3.4%

     สศค.คงประมาณการจีดีพีปีนี้โต 3.3% รับการลงทุนภาครัฐฯ ขยายตัว- ท่องเที่ยวสดใส ส่วนปี 60 คาดโต 3.4% ชี้การลงทุนภาครัฐฯ กลุ่มโครงสร้างพื้นฐาน ยังหนุนข้ามปี ศก.ประเทศคู่ค้าฟื้น - เงินบาทอ่อนค่า ยอดนักท่องเที่ยวโตต่อเนื่อง มองส่งออกปีนี้ติดลบ 0.5% นำเข้าติดลบ 5.1% ทำดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 34.9 พันล้านดอลลาร์ เงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ 0.4% ค่าเงินบาทอยู่ที่ 35.15 บ./ดอลล์ ส่วนปี 60 คาดส่งออกบวก 1.8%  พร้อมประเมินดอกเบี้ยนโยบายปี 59-60 อยู่ที่ 1.5% ขณะที่สรุปศก.ไทยเดือนก.ย. และ Q3/59 ขยายตัวดีต่อเนื่อง หลังได้การบริโภคในปท. - รายได้ภาคเกษตรหนุน

     นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง แถลงประมาณการเศรษฐกิจไทย ณ เดือนตุลาคม 2559 ว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2559 คาดว่าจะสามารถขยายตัวได้ร้อยละ 3.3 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 3.0 – 3.5) เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 2.8 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐที่คาดว่าจะขยายตัวต่อเนื่องจากครึ่งปีแรก ซึ่งได้รับอานิสงส์จากการเร่งรัดการเบิกจ่ายของรัฐบาล ประกอบกับการเบิกจ่ายภายใต้โครงการบริหารจัดการน้ำและระบบขนส่งทางถนน และโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานภายใต้แผนปฏิบัติการด้านคมนาคมขนส่งในระยะเร่งด่วน พ.ศ. 2559 ที่มีความพร้อม ยังคงมีความต่อเนื่อง

   นอกจากนี้ การขยายตัวของจำนวนนักท่องเที่ยวในเกณฑ์สูง คาดว่าจะสนับสนุนให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวขยายตัวดีตามไปด้วย ด้านการบริโภคภาคเอกชนมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องจากปีก่อนหน้า โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากรายได้และการจ้างงานในภาคบริการที่ขยายตัวดี ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มฟื้นตัวจากปีก่อนเช่นกัน เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ และการลงทุนภาครัฐในโครงการสำคัญต่างๆ มีความก้าวหน้าและชัดเจนมากขึ้น   

   สำหรับ การส่งออกสินค้าและบริการมีแนวโน้มขยายตัวในอัตราเร่งขึ้นจากปีก่อนมาอยู่ที่ร้อยละ 3.2 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 3.0 – 3.5) ตามการขยายตัวของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศในเกณฑ์สูง 

   ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มฟื้นตัวจากปีก่อนเช่นกันมาขยายตัวที่ร้อยละ 1.6 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 1.4 – 1.9) เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ และการลงทุนภาครัฐในโครงการสำคัญต่างๆ มีความก้าวหน้าและชัดเจนมาก สำหรับปริมาณการนำเข้าสินค้าและบริการคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 0.7 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 0.4 ถึง 0.9)

  โดยเสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศคาดว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2559 มีทิศทางปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 0.4 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 0.1 – 0.6) ตามการฟื้นตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ  อย่างไรก็ดี อัตราเงินเฟ้อทั่วไปยังอยู่ในระดับต่ำตามทิศทางราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก

  ขณะที่เสถียรภาพเศรษฐกิจภายนอกประเทศคาดว่า ดุลบัญชีเดินสะพัดจะเกินดุลประมาณ 34.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นร้อยละ 8.8 ของ GDP  (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 8.5 – 9.0 ของ GDP) เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว ซึ่งเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของมูลค่าการเกินดุลการค้าและบริการ ทั้งนี้ ดุลการค้าจะเกินดุลเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วมาอยู่ที่ 35.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ 35.0 – 35.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ) เนื่องจากมูลค่าการส่งออกสินค้าที่หดตัวในอัตราชะลอลง ซึ่งสอดคล้องกับแนวโน้มราคาสินค้าส่งออก โดยคาดว่ามูลค่าส่งออกสินค้าจะหดตัวร้อยละ -0.5 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ -0.8 ถึง -0.3)  ขณะที่มูลค่านำเข้าสินค้าในปี 2559 จะหดตัวร้อยละ -5.1 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ -5.3 ถึง -4.8)

    สำหรับ เศรษฐกิจไทยในปี 2560 สำนักงานเศรษฐกิจการคลังคาดว่า เศรษฐกิจไทยแนวโน้มขยายตัวเร่งขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 3.4 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 2.9 - 3.9) โดยได้รับแรงส่งของการใช้จ่ายภาครัฐที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมใหม่ๆ ที่คาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ในช่วงครึ่งหลังของปี 2560 อาทิ โครงการรถไฟทางคู่ และรถไฟฟ้าในเขตเมือง ประกอบกับแนวโน้มรายได้เกษตรกรที่ปรับตัวดีขึ้นตามราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกคาดว่าจะเป็นแรงสนับสนุนให้การบริโภคภาคเอกชนฟื้นตัว

   นอกจากนี้ เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่เริ่มมีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้น ประกอบกับแนวโน้มค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มอ่อนค่าต่อเนื่อง คาดว่าจะส่งผลดีต่อปริมาณคำสั่งซื้อสินค้าส่งออก ขณะที่การส่งออกบริการคาดว่าจะยังคงขยายตัวต่อเนื่องตามการขยายตัวของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศ ในด้านเสถียรภาพภายในประเทศ คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2560 จะอยู่ที่ร้อยละ 2.1 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 1.6 – 2.6) ปรับตัวสูงขึ้นจากปีนี้ ตามแนวโน้มราคาน้ำมันในตลาดโลกที่มีทิศทางเพิ่มขึ้น และการอ่อนค่าของเงินบาท

     โดยคาดว่าการบริโภคภาครัฐจะขยายตัวร้อยละ 2.0 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 1.5 – 2.5) และการลงทุนภาครัฐจะขยายตัวร้อยละ 6.2 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 5.7 – 6.7) เนื่องจากการใช้จ่ายภาครัฐจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะจากโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน

    นอกจากนี้ เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่เริ่มมีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้น และค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มอ่อนค่า คาดว่าจะส่งผลดีต่อปริมาณคำสั่งซื้อสินค้าส่งออก ประกอบกับด้านการส่งออกบริการยังคงมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง ตามการขยายตัวในเกณฑ์สูงของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย ซึ่งคาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งปี 2560 จะอยู่ที่ 37.2 ล้านคน ส่งผลให้ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการจะเติบโตต่อเนื่องจากปีก่อนมาขยายตัวร้อยละ 2.6 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 2.1 – 3.1)

    สำหรับ การบริโภคภาคเอกชนมีแนวโน้มขยายตัวในอัตราเร่งขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 3.2 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 2.7 – 3.7) จากรายได้เกษตรกรที่คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นตามราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลก และสถานการณ์ภัยแล้งที่มีแนวโน้มผ่อนคลายลง ขณะที่รายได้ครัวเรือนนอกภาคเกษตรได้รับผลดีจากภาวะตลาดแรงงานที่อยู่ในเกณฑ์ดี

   ในส่วนของการลงทุนภาคเอกชนคาดว่าจะยังขยายตัวในระดับต่ำที่ร้อยละ 1.7 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 1.2 ถึง 2.2) เนื่องจากภาคเอกชนยังมีกำลังการผลิตเหลือค่อนข้างมาก สะท้อนได้จากอัตราการใช้กำลังการผลิตที่อยู่ในระดับต่ำ ประกอบกับภาคเอกชนยังรอโอกาสที่เศรษฐกิจโลกจะฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งเพื่อที่จะนำไปสู่การขยายกำลังการผลิต   

    ทั้งนี้ คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2560 จะอยู่ที่ร้อยละ 2.1 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 1.6 – 2.6) ปรับตัวสูงขึ้นจากปีก่อนหน้า ตามแนวโน้มราคาน้ำมันในตลาดโลกที่มีทิศทางเพิ่มขึ้น โดยมีปัจจัยสนับสนุนการปรับขึ้นราคาน้ำมันส่วนหนึ่งมาจากผลการเจรจาระหว่างกลุ่ม OPEC และกลุ่ม non-OPEC ในการบรรลุข้อตกลงในการคงกำลังการผลิต  โดย สศค.คงประมาณการราคาน้ำมันดิบดูไบปีนี้ที่ 41 เหรียญ  ส่วนปี 60 ประเมินที่ 49.2 เหรียญ

   นอกจากนี้ ทิศทางการอ่อนค่าของเงินบาทยังจะส่งผลกระทบทำให้ราคาสินค้านำเข้าบางประเภทอาจปรับเพิ่มขึ้น สำหรับเสถียรภาพภายนอกประเทศคาดว่า ดุลบัญชีเดินสะพัดจะเกินดุล 32.8 พันล้านเหรียญสหรัฐหรือคิดเป็นร้อยละ 7.9 ของ GDP (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 7.4 - 8.4 ของ GDP) เนื่องจากดุลการค้าที่คาดว่าจะเกินดุลลดลงมาอยู่ที่ 32.0 พันล้านเหรียญสหรัฐ (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ 31.5 – 32.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ) ตามมูลค่าสินค้านำเข้าที่คาดว่าจะขยายตัวในอัตราเร่งกว่ามูลค่าสินค้าส่งออก โดยคาดว่ามูลค่านำเข้าสินค้าในปี 2560 จะขยายตัวร้อยละ 4.0 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 3.5 - 4.5) ขณะที่มูลค่าส่งออกสินค้าคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.8 (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 1.3 - 2.3)  โดยสศค.ประเมินค่าเงินบาทปีนี้อยู่ที่ 35.15 บ./ดอลล์ ส่วนปี 60 คาดอยู่ที่ 35.25 บ./ดอลล์

   ทั้งนี้ สศค.ยังประเมินว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะยังคงไว้ที่ระดับ 1.5% ต่อปี ต่อเนื่องถึงปี 2560 เนื่องจากแรงกดดันด้านเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับต่ำ ประกอบกับเศรษฐกิจกำลังฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป และยังไม่มีสัญญาณด้านความร้อนแรงของเศรษฐกิจเกิดขึ้น

   “ในการประมาณการเศรษฐกิจไทยจำเป็นต้องคำนึงถึงปัจจัยเสี่ยงที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด อาทิ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสำคัญของไทย และการดำเนินนโยบายการเงินของประเทศพัฒนาแล้ว  นายกฤษฎา กล่าว 

    ด้านรายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนกันยายน และไตรมาส 3 ของปี 2559 ว่า เศรษฐกิจในเดือนกันยายนและไตรมาส 3/2559 ขยายตัวดีต่อเนื่อง โดยเฉพาะจากการบริโภคภาคเอกชนที่ปรับตัวดีขึ้น ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากรายได้เกษตรกรที่ขยายตัวต่อเนื่อง และการใช้จ่ายจากรายจ่ายลงทุนภาครัฐที่ยังเป็นแรงสนับสนุนหลัก นอกจากนี้การส่งออกสินค้าในเดือนกันยายนที่ผ่านมาขยายตัวดีติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 ขณะที่ภาคการท่องเที่ยวยังขยายตัวดีต่อเนื่อง โดยสศค.ประเมินว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ไตรมาส 3 ปีนี้ จะอยู่ที่ 3.3-3.5%

   ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมในเดือนกันยายนอยู่ที่ 63.4 ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน และเป็นระดับสูงสุดในรอบ6 เดือน ทำให้ในไตรมาส 3/2559 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ที่ 62.3 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนที่อยู่ที่ระดับ 61.1

   ด้านการส่งออกในเดือนกันยายนที่ผ่านมา กลับมาขยายตัวเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์ขยายตัว 3.4% ต่อปี และเป็นการขยายตัวได้ดีในเกือบทุกตลาด โดนเฉพาะตลาดส่งออกที่สำคัญ เช่น ยุโรป จีน สหรัฐ ญีปุ่นที่ขยายตัวดี ขณะที่ไตรมาส 3/2559 ขยายตัว 1.2% ต่อปี ขณะที่นำเข้ากลับมาขยายตัวที่ 5.6% ต่อปี ทำให้ไตรมาส 3 การนำเข้าติดลบ 1.2% ทั้งนี้ มูลค่าส่งออกสินค้าที่สูงกว่านำเข้าสินค้าส่งผลให้ดุลการค้าระหว่างประเทศในเดือนกันยายนเกินดุล 2,500 ล้านดอลลาร์ ทำให้ไตรมาส 3/2559 ดุลการค้าระหว่างประเทศเกินดุล 5,900 ล้านดอลลาร์

     สำหรับ เสถียรภาพเศรษฐกิจยังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนกันยายนยังขยายตัวได้ 0.4% ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ 0.8% ส่วนไตรมาส 3/2559 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ 0.3% ส่วนเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ 0.8%

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

คลัง'ชี้ศก.โลกฉุดส่งออกปีนี้ติดลบ 0.5%เมกะโปรเจกท์ดัน GDPโต 3.3%

    แนวหน้า : สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง หรือสศค.ประเมินเศรษฐกิจล่าสุด เชื่อส่งออกยังไม่ฟื้น พร้อมคง GDP ปีนี้ ไว้ที่ขยายตัว 3.3% ขณะที่ปีหน้าขยายตัว 3.4% รับแรงส่งใช้จ่ายภาครัฐ ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม

    นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) กระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า สศค.ได้คงประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ หรือจีดีพี ของปี 2559 นี้ โดยยังคาดว่าจะสามารถขยายตัวได้ 3.3% ต่อปี มีช่วงคาดการณ์ที่ 3.0%-3.5% ภายใต้ปัจจัยสนับสนุนจากการใช้จ่าย และการลงทุนภาครัฐที่คาดว่าจะขยายตัวต่อเนื่องจากครึ่งปีแรก ซึ่งได้รับอานิสงส์จากการเร่งรัดการเบิกจ่ายของรัฐบาล ประกอบกับการเบิกจ่าย ภายใต้โครงการบริหารจัดการน้ำและระบบขนส่งทางถนน และโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานภายใต้แผนปฏิบัติการด้านคมนาคมขนส่งในระยะเร่งด่วน พ.ศ. 2559 ที่มีความพร้อม ยังคง มีความต่อเนื่อง

     นอกจากนี้ การขยายตัวของจำนวน นักท่องเที่ยวในเกณฑ์สูง คาดว่าจะสนับสนุน ให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวขยายตัวดีตามไปด้วย ด้านการบริโภคภาคเอกชนมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องจากปีก่อนหน้า โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากรายได้ และการจ้างงานในภาคบริการที่ขยายตัวดี ขณะที่การลงทุนภาคเอกชน มีแนวโน้มฟื้นตัวจากปีก่อนเช่นกัน เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ และการลงทุนภาครัฐ ในโครงการสำคัญต่างๆ มีความก้าวหน้าและชัดเจนมากขึ้น

              ด้านการส่งออก คาดว่าปัจจัยการชะลอตัว ของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า ทำให้เป็นข้อจำกัดในการส่งออก โดยคาดว่าทั้งปีจะขยายตัวติดลบ -0.5% ตามแนวโน้มประมาณเศรษฐกิจที่คาดว่า เศรษฐกิจโลกในปี 2559 จะขยายตัวได้ชะลอลงเหลือ 3.25% จาก 3.3% ส่วนปี 2560 คาดว่าส่งออกจะขยายตัวได้ 1.8%

              สำหรับ เสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศคาดว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2559 จะอยู่ที่ 0.4% โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ 0.1-0.6% เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า ตามการฟื้นตัวของอุปสงค์ ภายในประเทศ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปยังอยู่ในระดับต่ำตามทิศทางราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก

              นายกฤษฎา กล่าวว่า สสค.ยังได้ประมาณการ เศรษฐกิจไทยในปี 2560 ว่าจะขยายตัวเร่งขึ้น มาอยู่ที่ 3.4% ต่อปี มีช่วงคาดการณ์ที่ 2.9-3.9% โดยได้รับแรงส่งของการใช้จ่ายภาครัฐที่มีแนวโน้ม เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมใหม่ๆ ที่คาดว่า จะเริ่มดำเนินการได้ในช่วงครึ่งหลังของปี 2560 อาทิ โครงการรถไฟทางคู่ และรถไฟฟ้าใน เขตเมือง ประกอบกับแนวโน้มรายได้เกษตรกรที่ปรับตัวดีขึ้นตามราคาสินค้าโภคภัณฑ์ใน ตลาดโลกคาดว่าจะเป็นแรงสนับสนุนให้การ บริโภคภาคเอกชนฟื้นตัว

              นอกจากนี้ เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่เริ่ม มีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้น ประกอบกับแนวโน้ม ค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มอ่อนค่าต่อเนื่อง คาดว่า จะส่งผลดีต่อปริมาณคำสั่งซื้อสินค้าส่งออก ขณะที่การส่งออกบริการคาดว่าจะยังคงขยายตัวต่อเนื่องตามการขยายตัวของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศ ในด้านเสถียรภาพภายในประเทศ คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2560 จะอยู่ที่ 2.1% ปรับตัวสูงขึ้นจากปีนี้ ตามแนวโน้มราคาน้ำมันในตลาดโลกที่มีทิศทางเพิ่มขึ้น และการอ่อนค่าของเงินบาท

              "แนวโน้มรายได้เกษตรกรที่ปรับตัวดีขึ้นตามราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกคาดว่า จะเป็นแรงสนับสนุนให้การบริโภคภาคเอกชน ฟื้นตัว ขณะที่เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าเริ่มมี แนวโน้มขยายตัวดีขึ้น และค่าเงินบาทที่มีแนวโน้ม อ่อนค่าต่อเนื่องประมาณ 35.25 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปี 2560 จะอยู่ที่ร้อยละ 2.1 ประมาณการจีดีพีของปี 2560 ที่คาดว่า จะขยายตัวได้ 3.4% ต่อปี ยังไม่รวมการลงทุนภาคเอกชน แต่ถ้าหากภาคเอกชนเริ่มลงทุนตามในปีหน้า จะเป็นแรงส่งที่ช่วยผลักดันให้เศรษฐกิจไทยสามารถขยายตัวได้มากกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้" นายกฤษฎา กล่าว

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!