- Details
- Category: คลัง
- Published: Wednesday, 26 October 2016 14:09
- Hits: 2741
คลังโต้ข่าวเศรษฐกิจไทยปลายปีทรุดหนัก ยันยังขยายตัวต่อเนื่อง-ประชาชนเชื่อมั่น
น.ส.กุลยา ตันติเตมิท รองโฆษกกระทรวงการคลัง ปฏิเสธรายงานข่าวเศรษฐกิจไทยช่วงปลายปีจะทรุดหนัก เนื่องจากการบริโภคภายในประเทศลดต่ำลงตามรายได้ประชาชนที่ลดลง การลงทุนภาคเอกชนยังอยู่ในระดับต่ำ และจำนวนนักท่องเที่ยวมีปริมาณลดลงมาก โดยยืนยันเศรษฐกิจไทยยังมีทิศทางขยายตัว สะท้อนจากตัวเลขเศรษฐกิจต่างๆ ล่าสุด เช่น การบริโภคภาคเอกชน และจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ อีกทั้งการดำเนินนโยบายการคลังและการเงินที่ต่อเนื่องยังเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้
"ข้อมูลดังกล่าวมีความคลาดเคลื่อนและไม่ตรงกับข้อเท็จจริง" น.ส.กุลยา กล่าว
รองโฆษกฯ ระบุว่า ขณะนี้การบริโภคภาคเอกชนยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการบริโภคในหมวดสินค้าคงทนสะท้อนจากยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือน ก.ย.59 ขยายตัว 13.4% ต่อปี ตามรายได้ของเกษตรกรที่ปรับตัวดีขึ้น สะท้อนจากรายได้เกษตรกรที่แท้จริง ณ เดือน ก.ย.59 ที่ขยายตัว 4.5% ต่อปี สำหรับยอดการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ในเดือน ก.ย.59 ขยายตัว 3.2% ต่อปี โดยเฉพาะการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากฐานการใช้จ่ายภายในประเทศที่ขยายตัวถึง 5.2% ต่อปี
นอกจากนี้ ประชาชนยังคงมีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจไทยสะท้อนได้จากดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมในเดือน ก.ย.59 ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 63.4 โดยเป็นการปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 และเป็นระดับสูงสุดในรอบ 6 เดือน ซึ่งจะส่งผลต่อความมั่นใจในการใช้จ่ายของผู้บริโภคในระยะต่อไป
ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากมาตรการของรัฐบาลในการสนับสนุนการลงทุนในกลุ่ม 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ซึ่งในเดือน ม.ค.-ก.ย.59 การขอรับการส่งเสริมใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายมีมูลค่าทั้งสิ้น 157.8 พันล้านบาท คิดเป็น 43% ของมูลค่าการขอรับการส่งเสริมโดยรวม โดยเป็นการขอรับการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน 42.0 พันล้านบาท อุตสาหกรรมการเกษตร 38.5 พันล้านบาท อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ 28.0 พันล้านบาท อุตสาหกรรมปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ 23.0 พันล้านบาท อุตสาหกรรมท่องเที่ยว 13.1 พันล้านบาท และอุตสาหกรรมการแพทย์ 5.2 พันล้านบาท
ด้านสถานการณ์ท่องเที่ยวต่างประเทศล่าสุด พบว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยในเดือน ก.ย.59 (ข้อมูลเบื้องต้นจากกรมการท่องเที่ยว) มีจำนวน 2.4 ล้านคน ขยายตัว 17.8% ต่อปี ทำให้ในช่วง 9 เดือนแรกปี 59 มีจำนวนนักท่องเที่ยว 24.8 ล้านคน ขยายตัว 12.4% ต่อปี สร้างรายได้จากการท่องเที่ยวต่างชาติแล้วประมาณ 1,230.2 พันล้านบาท ขยายตัว 16.1% ต่อปี
ทั้งนี้ จากการติดตามข้อมูลเบื้องต้นช่วง 1-16 ต.ค.59 จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินมายังประเทศไทยยังคงขยายตัวได้ต่อเนื่อง
สำหรับ ในไตรมาส 4/59 การดำเนินนโยบายการคลังและการเงินยังคงมีความต่อเนื่องเพื่อผลักดันเศรษฐกิจให้ขยายตัวได้ในช่วงที่เหลือของปี โดยปัจจุบันกระทรวงการคลังยังมีอีกหลายโครงการที่อยู่ระหว่างการดำเนินงานและมีเม็ดเงินที่จะอัดฉีดเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง เช่น มาตรการสนับสนุนการเบิกจ่ายของภาครัฐในไตรมาส 4/59 โครงการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ และโครงการยกระดับศักยภาพหมู่บ้านเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากตามแนวประชารัฐประจำปีงบประมาณ 2560
นอกจากนี้ ยังมีมาตรการการเงินการคลังเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)ในระยะเร่งด่วน เพื่อสนับสนุนธุรกิจ SMEs ให้สามารถแข่งขันได้ เช่น (1) โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Policy Loan) (2) โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อปรับเปลี่ยนเครื่องจักรและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสำหรับผู้ประกอบการ SMEs และ (3) โครงการค้ำประกันสินเชื่อเพื่อผู้ประกอบการ Micro Entrepreneurs ระยะที่ 2 เป็นต้น
ด้าน พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีความเป็นห่วงกรณีที่มีอดีตรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจของรัฐบาลที่ผ่านมาออกมาให้ข้อมูลในทำนองว่าขณะนี้เศรษฐกิจมีการ Shut down ไปทั้งหมด ซึ่งอาจทำให้ประชาชนเกิดความวิตกกังวลจนส่งผลกระทบต่อดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคตามไปด้วย
"ข้อมูลที่อดีตรัฐมนตรีทางด้านเศรษฐกิจท่านนั้นได้ชี้แจงไม่ได้มีพื้นฐานข้อมูลที่ตรงกับความเป็นจริงเลย และท่านไม่ได้ลงในรายละเอียดข้อมูล พูดเพียงตีขลุม หรือหว่านแห" พล.ท.สรรเสริญ กล่าว
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ประเด็นสำคัญที่ทำให้มั่นใจว่าเศรษฐกิจไทยยังขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง คือ การดำเนินนโยบายด้านการเงินและการคลังในช่วงไตรมาสที่ 4/59 โดยมีการอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นมาตรการสนับสนุนการเบิกจ่ายภาครัฐ การเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวประชารัฐ การยกระดับศักยภาพกองทุนหมู่บ้านเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากตามแนวประชารัฐ การส่งเสริมผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในระยะเร่งด่วน
"ทั้งหมดนี้ เป็นข้อมูลยืนยันได้ว่าข้อมูลที่อดีตรัฐมนตรีที่เกี่ยวกับด้านเศรษฐกิจให้ข้อมูลที่ไม่ค่อยตรงกับความเป็นจริง" พล.ท.สรรเสริญ กล่าว
อินโฟเควสท์
เศรษฐกิจไทย ยังคงมีทิศทางขยายตัวต่อเนื่อง
“เศรษฐกิจไทยยังมีทิศทางขยายตัว สะท้อนจากตัวเลขเศรษฐกิจต่างๆ ล่าสุด เช่น การบริโภคภาคเอกชน และจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ อีกทั้งการดำเนินนโยบายการคลังและการเงินที่ต่อเนื่องยังเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้”
จากข่าวที่ปรากฏเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2559 ว่า เศรษฐกิจไทยในช่วงปลายปีจะทรุดหนัก เนื่องจากการบริโภคภายในประเทศลดต่ำลงตามรายได้ประชาชนที่ลดลง การลงทุนภาคเอกชนยังอยู่ในระดับต่ำ และจำนวนนักท่องเที่ยวมีปริมาณลดลงมาก
นางสาวกุลยา ตันติเตมิท ในฐานะรองโฆษกกระทรวงการคลัง ได้แถลงข่าวชี้แจงว่า ข้อมูลดังกล่าวมีความคลาดเคลื่อนและไม่ตรงกับข้อเท็จจริง โดยมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
1. การบริโภคภาคเอกชนยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการบริโภคในหมวดสินค้าคงทนสะท้อนจากยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือนกันยายน 2559 ที่ขยายตัวร้อยละ 13.4 ต่อปี ตามรายได้ของเกษตรกรที่ปรับตัวดีขึ้น สะท้อนจากรายได้เกษตรกรที่แท้จริง ณ เดือนกันยายน 2559 ที่ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 4.5 ต่อปี สำหรับยอดการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ในเดือนกันยายน 2559 ขยายตัวร้อยละ 3.2 ต่อปี โดยเฉพาะการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากฐานการใช้จ่ายภายในประเทศที่ขยายตัวถึงร้อยละ 5.2 ต่อปี นอกจากนี้ ประชาชนยังคงมีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจไทยสะท้อนได้จากดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมในเดือนกันยายน 2559 ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 63.4 โดยเป็นการปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 และเป็นระดับสูงสุดในรอบ 6 เดือน ซึ่งจะส่งผลต่อความมั่นใจในการใช้จ่ายของผู้บริโภคในระยะต่อไป
2. การลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากมาตรการของรัฐบาลในการสนับสนุนการลงทุนในกลุ่ม 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ซึ่งในเดือนมกราคม-กันยายน 2559 การขอรับการส่งเสริมใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายมีมูลค่าทั้งสิ้น 157.8 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 43 ของมูลค่าการขอรับการส่งเสริมโดยรวม โดยเป็นการขอรับการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน 42.0 พันล้านบาท อุตสาหกรรมการเกษตร 38.5 พันล้านบาท อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ 28.0 พันล้านบาท อุตสาหกรรมปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ 23.0 พันล้านบาท อุตสาหกรรมท่องเที่ยว 13.1 พันล้านบาท และอุตสาหกรรมการแพทย์ 5.2 พันล้านบาท
3. ด้านสถานการณ์ท่องเที่ยวต่างประเทศล่าสุด พบว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยในเดือนกันยายน 2559 (ข้อมูลเบื้องต้นจากกรมการท่องเที่ยว) มีจำนวน 2.4 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 17.8 ต่อปี ทำให้ในช่วง 9 เดือนแรกปี 2559 มีจำนวนนักท่องเที่ยว 24.8 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 12.4 ต่อปี สร้างรายได้จากการท่องเที่ยวต่างชาติแล้วประมาณ 1,230.2 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 16.1 ต่อปี ทั้งนี้ จากการติดตามข้อมูลเบื้องต้นช่วง 1 – 16 ตุลาคม 2559 จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินมายังประเทศไทยยังคงขยายตัวได้ต่อเนื่อง
4. สำหรับในไตรมาสที่ 4 ของปี 2559 การดำเนินนโยบายการคลังและการเงินยังคงมีความต่อเนื่องเพื่อผลักดันเศรษฐกิจให้ขยายตัวได้ในช่วงที่เหลือของปี โดยปัจจุบันกระทรวงการคลังยังมีอีกหลายโครงการที่อยู่ระหว่างการดำเนินงานและมีเม็ดเงินที่จะอัดฉีดเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง เช่น มาตรการสนับสนุนการเบิกจ่ายของภาครัฐในไตรมาสที่ 4 ปี 2559 โครงการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ และโครงการยกระดับศักยภาพหมู่บ้านเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากตามแนวประชารัฐประจำปีงบประมาณ 2560
นอกจากนี้ ยังมีมาตรการการเงินการคลังเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในระยะเร่งด่วน เพื่อสนับสนุนธุรกิจ SMEs ให้สามารถแข่งขันได้ เช่น (1) โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Policy Loan) (2) โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อปรับเปลี่ยนเครื่องจักรและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสำหรับผู้ประกอบการ SMEs และ (3) โครงการค้ำประกันสินเชื่อเพื่อผู้ประกอบการ Micro Entrepreneurs ระยะที่ 2 เป็นต้น
สำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร. 0 2273 9020 ต่อ 3274 โทรสาร 0 2298 5602
การขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยจะดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง
นายสมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ปัจจุบันเศรษฐกิจไทยมีความเข้มแข็งและมีพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งสามารถรองรับความผันผวนทางเศรษฐกิจต่างๆ ได้ อีกทั้งการดำเนินนโยบายการคลังและการเงินจากภาครัฐที่ยังคงมีความต่อเนื่อง จะเป็นแรงขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจในระยะต่อไปขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. เครื่องชี้วัดทางเศรษฐกิจล่าสุดแสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทั้งในส่วนของการบริโภคภาคเอกชน การใช้จ่ายภาครัฐ รายได้เกษตรกร และดัชนีความเชื่อมั่นต่างๆ ของผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรม นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งพร้อมรองรับความผันผวนทางเศรษฐกิจได้ ภาพรวมเศรษฐกิจมีเสถียรภาพสูงทั้งภายในและภายนอกโดยเห็นได้จากอัตราเงินเฟ้อและอัตราว่างงานที่ต่ำ อีกทั้งระบบการเงินและสถาบันการเงินก็มีเสถียรภาพและมั่นคง ในขณะที่ภาคการคลังมีระดับหนี้สาธารณะอยู่ในระดับต่ำกว่ากรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ร้อยละ 60 ของ GDP อยู่มาก นอกจากนี้ เสถียรภาพทางเศรษฐกิจภายนอกก็มีความมั่นคงจากทุนสำรองระหว่างประเทศที่อยู่ในระดับสูง
2. การดำเนินนโยบายการคลังและการเงินยังคงมีความต่อเนื่องมุ่งสู่ประเทศไทย 4.0 โดยเน้นมาตรการที่ดูแลทุกภาคส่วนของเศรษฐกิจตั้งแต่ระดับฐานรากไปจนถึง super cluster ขนาดใหญ่ เช่น การสนับสนุนผู้ประกอบการ SMEs ธุรกิจ Startup การส่งเสริมการลงทุนจากทั้งภายในและภายนอกประเทศ การส่งเสริมนวัตกรรมและการวิจัยพัฒนา การส่งเสริมอุตสาหกรรมแห่งอนาคต 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย การพัฒนาสู่เศรษฐกิจดิจิตัล และ การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง นอกจากนี้ ยังให้ความสำคัญในมิติอื่นๆ ได้แก่ การลดความเหลื่อมล้ำ การดูแลสิ่งแวดล้อม และการบริหารงานอย่างมีธรรมาภิบาลอีกด้วย ทั้งนี้ ในปัจจุบันมีหลายโครงการที่อยู่ระหว่างการดำเนินงานและมีเงินที่จะเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจได้อย่างต่อเนื่อง เช่น มาตรการสนับสนุนการเบิกจ่ายของภาครัฐในไตรมาสที่ 4 ปี 2559 โครงการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ และโครงการสนับสนุนเงินช่วยเหลือแก่เกษตรกรและผู้มีรายได้น้อย เป็นต้น
โดยสรุป กระทรวงการคลังมั่นใจว่าแรงส่งทางเศรษฐกิจในระยะที่ผ่านมาจะช่วยสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะถัดไป อีกทั้งปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งและมีความยืดหยุ่นพร้อมรองรับความผันผวนทางเศรษฐกิจได้ นอกจากนี้ การดำเนินนโยบายการคลังที่มีความต่อเนื่องโดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน และการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณ จึงทำให้มั่นใจได้ว่าเศรษฐกิจไทยในระยะต่อไปจะขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี กระทรวงการคลังจะติดตามภาวะเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิดและพร้อมที่จะดำเนินมาตรการการคลังการเงินเพิ่มเติมหากมีความจำเป็น
สำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร. 0 2273 9020 ต่อ 3224 และ 3279 โทรสาร 0 2298 5602
ปลัดคลัง ยันเศรษฐกิจเข้มแข็งแต่ยังเฝ้าระวังใกล้ชิดพร้อมออกมาตรการเสริมหากจำเป็น
นายสมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ปัจจุบันเศรษฐกิจไทยมีความเข้มแข็งและมีพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งสามารถรองรับความผันผวนทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ได้ อีกทั้งการดำเนินนโยบายการคลังและการเงินจากภาครัฐที่ยังคงมีความต่อเนื่องจะเป็นแรงขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจในระยะต่อไปขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ เครื่องชี้วัดทางเศรษฐกิจล่าสุดแสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทั้งในส่วนของการบริโภคภาคเอกชน การใช้จ่ายภาครัฐ รายได้เกษตรกร และดัชนีความเชื่อมั่นต่างๆ ของผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรม นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งพร้อมรองรับความผันผวนทางเศรษฐกิจได้ ภาพรวมเศรษฐกิจมีเสถียรภาพสูงทั้งภายในและภายนอกโดยเห็นได้จากอัตราเงินเฟ้อและอัตราว่างงานที่ต่ำ
อีกทั้ง ระบบการเงินและสถาบันการเงินก็มีเสถียรภาพและมั่นคง ขณะที่ภาคการคลังมีระดับหนี้สาธารณะอยู่ในระดับต่ำกว่ากรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ 60% ของ GDP อยู่มาก นอกจากนี้เสถียรภาพทางเศรษฐกิจภายนอกก็มีความมั่นคงจากทุนสำรองระหว่างประเทศที่อยู่ในระดับสูง
สำหรับ การดำเนินนโยบายการคลังและการเงินยังคงมีความต่อเนื่องมุ่งสู่ประเทศไทย 4.0 โดยเน้นมาตรการที่ดูแลทุกภาคส่วนของเศรษฐกิจตั้งแต่ระดับฐานรากไปจนถึง super cluster ขนาดใหญ่ เช่น การสนับสนุนผู้ประกอบการ SMEs ธุรกิจ Startup การส่งเสริมการลงทุนจากทั้งภายในและภายนอกประเทศ การส่งเสริมนวัตกรรมและการวิจัยพัฒนา การส่งเสริมอุตสาหกรรมแห่งอนาคต 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย การพัฒนาสู่เศรษฐกิจดิจิตัล และ การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง
นอกจากนี้ ยังให้ความสำคัญในมิติอื่นๆ ได้แก่ การลดความเหลื่อมล้ำ การดูแลสิ่งแวดล้อม และการบริหารงานอย่างมีธรรมาภิบาลอีกด้วย ทั้งนี้ในปัจจุบันมีหลายโครงการที่อยู่ระหว่างการดำเนินงานและมีเงินที่จะเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจได้อย่างต่อเนื่อง เช่น มาตรการสนับสนุนการเบิกจ่ายของภาครัฐในไตรมาสที่ 4 ปี 59 โครงการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ และโครงการสนับสนุนเงินช่วยเหลือแก่เกษตรกรและผู้มีรายได้น้อย เป็นต้น
ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวว่า กระทรวงการคลังมั่นใจว่าแรงส่งทางเศรษฐกิจในระยะที่ผ่านมาจะช่วยสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะถัดไป อีกทั้งปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งและมีความยืดหยุ่นพร้อมรองรับความผันผวนทางเศรษฐกิจได้ นอกจากนี้ การดำเนินนโยบายการคลังที่มีความต่อเนื่องโดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน และการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณ จึงทำให้มั่นใจได้ว่าเศรษฐกิจไทยในระยะต่อไปจะขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี กระทรวงการคลังจะติดตามภาวะเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิดและพร้อมที่จะดำเนินมาตรการการคลังการเงินเพิ่มเติมหากมีความจำเป็น
อินโฟเควสท์