- Details
- Category: คลัง
- Published: Wednesday, 30 July 2014 23:11
- Hits: 3665
สศค.เผยเศรษฐกิจไทย Q2/57 เริ่มมีสัญญาณบวกจากความเชื่อมั่นกลับมา
นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนมิ.ย. และไตรมาสที่ 2 ปี 57 ว่า เศรษฐกิจไทยล่าสุด แม้ว่าจะยังมีสัญญาณชะลอตัวในด้านการท่องเที่ยวต่างชาติและการใช้จ่ายภาคเอกชน แต่เริ่มมีสัญญาณบวกจากความเชื่อมั่นทั้งทางด้านผู้บริโภคและธุรกิจที่ปรับดีขึ้น สะท้อนทิศทางการใช้จ่ายและการผลิตที่คาดว่าจะเริ่มดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2557 ประกอบกับการส่งออกและการใช้จ่ายภาครัฐกลับมาขยายตัวเป็นบวกอีกครั้ง นอกจากนี้เสถียรภาพเศรษฐกิจอยู่ในเกณฑ์มั่นคง ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังต่อไป
ทั้งนี้ การบริโภคภาคเอกชนในไตรมาสที่ 2 ปี 2557 มีสัญญาณทรงตัวจากไตรมาสก่อนหน้า สะท้อนได้จากยอดการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ในไตรมาสที่ 2 ขยายตัวร้อยละ 0.3 ต่อปี จากไตรมาสก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -0.1 ขณะที่การบริโภคในหมวดสินค้าคงทน สะท้อนจากปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่งในไตรมาสที่ 2 พบว่าหดตัวในอัตราที่ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ -55.3 ต่อปี มาอยู่ที่ร้อยละ -37.7 ต่อปี อย่างไรก็ดี ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมได้ปรับตัวดีขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 61.2 จากไตรมาสก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 59.9 เนื่องจากผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นต่อระบบเศรษฐกิจไทยเพิ่มขึ้น ตามสถานการณ์ทางการเมืองที่คลี่คลายลง
การลงทุนภาคเอกชนทั้งการลงทุนในหมวดก่อสร้าง และหมวดเครื่องจักร ในไตรมาสที่ 2 ปี 2557 ยังคงส่งสัญญาณชะลอตัวต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนหน้า สะท้อนจากภาษีธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ที่หดตัวร้อยละ -7.6 ต่อปี จากไตรมาสก่อนหน้าที่หดตัว -6.6 ต่อปี ขณะที่ยอดขายปูนซิเมนต์หดตัวร้อยละ -3.0 ต่อปี จากไตรมาสก่อนหน้าที่หดตัว -2.4 ต่อปี แต่เมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออก (q-o-q SA) พบว่า มีสัญญาณดีขึ้นเล็กน้อย โดยขยายตัวร้อยละ 0.7 ต่อไตรมาส สำหรับการลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร สะท้อนจากปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์หดตัวร้อยละ -30.6 ต่อปี หดตัวในอัตราที่ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -36.6 ต่อปี
สำหรับ การใช้จ่ายภาครัฐมีอัตราเร่งขึ้น สะท้อนจากภาวะเศรษฐกิจไทยด้านการคลังในไตรมาสที่ 2 ปี 2557 (ไตรมาสที่ 3 ปีงบประมาณ 2557) พบว่า รัฐบาลสามารถเบิกจ่ายงบประมาณรวมในไตรมาสที่ 2 (ไตรมาสที่ 3 ของปีงบประมาณ 2557) ได้จำนวน 514.7 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 6.8 ต่อปี เร่งขึ้นมากจากไตรมาสก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -5.6 ต่อปี สะท้อนให้เห็นว่า ภาครัฐมีส่วนสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจในช่วงที่ภาคการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนยังคงชะลอตัว
ด้านอุปสงค์ต่างประเทศ สะท้อนจากการส่งออกสินค้าของไทยในเดือนมิถุยายน 2557 กลับมาขยายตัวเป็นบวกอีกครั้ง โดยขยายตัวที่ร้อยละ 3.9 ต่อปี ส่งผลทำให้ไตรมาสที่ 2 ปี 2557 ขยายตัวเล็กน้อยอยู่ที่ร้อยละ 0.3 ต่อปี โดยตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ สหภาพยุโรป อินเดีย ตะวันออกกลาง ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน สหรัฐอเมริกา และกลุ่มประเทศ CLMV เป็นสำคัญ โดยสินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ สินค้าในหมวดเกษตรกรรม อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า
สำหรับ เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปทาน ยังมีสัญญาณชะลอตัวในสาขาอุตสาหกรรมและบริการ สะท้อนจากดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 2 หดตัวในอัตราที่ชะลอลงที่ร้อยละ -5.0 ต่อปี โดยอุตสาหกรรมที่ยังคงหดตัว ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องประดับ เครื่องปรับอากาศ และอาหาร เป็นสำคัญ ในขณะที่อุตสาหกรรมที่มีการผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ วิทยุโทรทัศน์ ยางพลาสติก เครื่องหนัง และอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมล่าสุดในเดือนมิถุนายน 2557 อยู่ที่ระดับ 88.4 ปรับเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 เนื่องจากผู้ประกอบการมีระดับความเชื่อมั่นมากขึ้นจากสถานการณ์ทางการเมืองที่คลี่คลายลง สะท้อนภาพรวมของการดำเนินกิจการการผลิตที่คาดว่าจะเริ่มดีขึ้นในระยะต่อไป ขณะที่ภาคบริการสะท้อนจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยในไตรมาสที่ 2 มีจำนวนทั้งสิ้น 5.32 ล้านคน หดตัวร้อยละ -12.3 ต่อปี โดยนักท่องเที่ยวที่หดตัวมากที่สุดได้แก่ กลุ่มเอเชีย ซึ่งเป็นนักท่องเที่ยวระยะใกล้ ขณะที่นักท่องเที่ยวกลุ่มยุโรปยังคงสามารถขยายตัวได้ อย่างไรก็ดี ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรมมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยในไตรมาสที่ 2 ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 4.3 ต่อปี ตามการเพิ่มขึ้นของผลผลิตในหมวดปศุสัตว์ที่ยังคงขยายตัวในเกณฑ์ดี โดยเฉพาะสุกรและไก่เนื้อ จากความต้องการที่มีเข้ามาอย่างต่อเนื่อง และไม่มีสถานการณ์โรคระบาด
ด้านเสถียรภาพในประเทศยังคงอยู่ในเกณฑ์ดี แม้ว่าจะเริ่มมีแรงกดดันเงินเฟ้อและการว่างงานสูงขึ้นเล็กน้อย ขณะที่เสถียรภาพต่างประเทศยังคงแข็งแกร่ง โดยในไตรมาสที่ 2 ของปี 2557 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 2.5 ต่อปี เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 2.0 ต่อปี ขณะที่อัตราการว่างงานยังอยู่ในระดับต่ำ โดยอยู่ที่ร้อยละ 1.0 ของกำลังแรงงานรวม เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 0.9 ต่อปี สำหรับเสถียรภาพภายนอกประเทศยังอยู่ในระดับที่แข็งแกร่ง สะท้อนได้จากทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูงที่ 168.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสูงกว่าหนี้ต่างประเทศระยะสั้นประมาณ 2.7 เท่า สามารถรองรับความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลกได้
นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ ปลัดกระทรวงการคลัง ระบุว่า เศรษฐกิจไทยในช่วงไตรมาส 2 ปีนี้ ยังมีอัตราการขยายตัวที่ลดลง 0.3% ส่งผลให้ในช่วงครึ่งปีแรกเศรษฐกิจไทยขยายตัวลดลง 0.4% โดยคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะเริ่มฟื้นตัวขึ้นได้ตั้งแต่ไตรมาส 3 เป็นต้นไป ขณะที่คาดว่าในช่วงครึ่งปีหลังเศรษฐกิจไทยจะเติบโตได้ถึง 4.3% ซึ่งจะทำให้ทั้งปีนี้เศรษฐกิจไทยเติบโตได้ 2.0%
สำหรับ แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 58 นั้น เชื่อว่าหากโครงการลงทุนในด้านต่างๆ เพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจสามารถดำเนินไปได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ ก็คาดว่าจะเป็นแรงผลักดันให้เศรษฐกิจปีหน้าขยายตัวได้ดีขึ้นมากกว่าปีนี้ โดยเบื้องต้นคาดว่าเศรษฐกิจไทยปีหน้าจะเติบโตได้ถึง 5%
อินโฟเควสท์
สศค. หั่นเป้าจีดีพีปีนี้เหลือโต 2% จากเดิมคาดโต 2.6%
นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2557 คาดจะสามารถขยายตัวได้ 2% (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ร้อยละ 1.5 – 2.5% ปรับลดลงจากการคาดการณ์เมื่อเดือนมีนาคม 2557 ที่ 2.6%
โดยสาเหตุมาจากปัญหาทางการเมืองซึ่งทำให้อัตราการเจริญเติบโตในไตรมาสแรกของปีหดตัวมากกว่าคาดที่ -0.6% และสถานการณ์ทางการเมืองที่ยืดเยื้อได้ส่งผลกระทบต่อระดับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและภาคธุรกิจในช่วงครึ่งปีแรก
อย่างไรก็ดี ในช่วงครึ่งปีหลังคาดว่า ทิศทางที่ชัดเจนขึ้นของสถานการณ์ทางการเมืองจะส่งสัญญาณที่ดีต่อระดับ ความเชื่อมั่นของประชาชนและนักลงทุนตามนโยบายเร่งฟื้นฟูความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจและการดำเนินมาตรการที่ให้ความช่วยเหลือบรรเทาความเดือนร้อนของประชาชน ทั้งนี้ ความชัดเจนในเรื่องนโยบายส่งเสริมการลงทุนของภาครัฐรวมทั้งการเร่งรัดการใช้จ่ายภายใต้แผนการลงทุนภาครัฐที่แต่เดิมมีแนวโน้มล่าช้ากว่าแผนที่กำหนด รวมถึงการเร่งกระบวนการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2558 จะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะเป็นแรงขับเคลื่อนหลักที่ทำให้อุปสงค์ภายในประเทศขยายตัวได้ต่อเนื่อง
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย
สศค.เผยเศรษฐกิจไทย Q2/57 เริ่มมีสัญญาณบวกจากความเชื่อมั่นกลับมา
นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนมิ.ย. และไตรมาสที่ 2 ปี 57 ว่า เศรษฐกิจไทยล่าสุด แม้ว่าจะยังมีสัญญาณชะลอตัวในด้านการท่องเที่ยวต่างชาติและการใช้จ่ายภาคเอกชน แต่เริ่มมีสัญญาณบวกจากความเชื่อมั่นทั้งทางด้านผู้บริโภคและธุรกิจที่ปรับดีขึ้น สะท้อนทิศทางการใช้จ่ายและการผลิตที่คาดว่าจะเริ่มดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2557 ประกอบกับการส่งออกและการใช้จ่ายภาครัฐกลับมาขยายตัวเป็นบวกอีกครั้ง นอกจากนี้เสถียรภาพเศรษฐกิจอยู่ในเกณฑ์มั่นคง ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังต่อไป
ทั้งนี้ การบริโภคภาคเอกชนในไตรมาสที่ 2 ปี 2557 มีสัญญาณทรงตัวจากไตรมาสก่อนหน้า สะท้อนได้จากยอดการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ในไตรมาสที่ 2 ขยายตัวร้อยละ 0.3 ต่อปี จากไตรมาสก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -0.1 ขณะที่การบริโภคในหมวดสินค้าคงทน สะท้อนจากปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่งในไตรมาสที่ 2 พบว่าหดตัวในอัตราที่ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ -55.3 ต่อปี มาอยู่ที่ร้อยละ -37.7 ต่อปี อย่างไรก็ดี ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมได้ปรับตัวดีขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 61.2 จากไตรมาสก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 59.9 เนื่องจากผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นต่อระบบเศรษฐกิจไทยเพิ่มขึ้น ตามสถานการณ์ทางการเมืองที่คลี่คลายลง
การลงทุนภาคเอกชนทั้งการลงทุนในหมวดก่อสร้าง และหมวดเครื่องจักร ในไตรมาสที่ 2 ปี 2557 ยังคงส่งสัญญาณชะลอตัวต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนหน้า สะท้อนจากภาษีธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ที่หดตัวร้อยละ-7.6 ต่อปี จากไตรมาสก่อนหน้าที่หดตัว -6.6 ต่อปี ขณะที่ยอดขายปูนซิเมนต์หดตัวร้อยละ-3.0 ต่อปี จากไตรมาสก่อนหน้าที่หดตัว -2.4 ต่อปี แต่เมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออก (q-o-q SA) พบว่า มีสัญญาณดีขึ้นเล็กน้อย โดยขยายตัวร้อยละ 0.7 ต่อไตรมาส สำหรับการลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร สะท้อนจากปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์หดตัวร้อยละ -30.6 ต่อปี หดตัวในอัตราที่ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -36.6 ต่อปี
สำหรับ การใช้จ่ายภาครัฐมีอัตราเร่งขึ้น สะท้อนจากภาวะเศรษฐกิจไทยด้านการคลังในไตรมาสที่ 2 ปี 2557 (ไตรมาสที่ 3 ปีงบประมาณ 2557) พบว่า รัฐบาลสามารถเบิกจ่ายงบประมาณรวมในไตรมาสที่ 2 (ไตรมาสที่ 3 ของปีงบประมาณ 2557) ได้จำนวน 514.7 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 6.8 ต่อปี เร่งขึ้นมากจากไตรมาสก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -5.6 ต่อปี สะท้อนให้เห็นว่า ภาครัฐมีส่วนสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจในช่วงที่ภาคการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนยังคงชะลอตัว
ด้านอุปสงค์ต่างประเทศ สะท้อนจากการส่งออกสินค้าของไทยในเดือนมิถุยายน 2557 กลับมาขยายตัวเป็นบวกอีกครั้ง โดยขยายตัวที่ร้อยละ 3.9 ต่อปี ส่งผลทำให้ไตรมาสที่ 2 ปี 2557 ขยายตัวเล็กน้อยอยู่ที่ร้อยละ 0.3 ต่อปี โดยตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ สหภาพยุโรป อินเดีย ตะวันออกกลาง ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน สหรัฐอเมริกา และกลุ่มประเทศ CLMV เป็นสำคัญ โดยสินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ สินค้าในหมวดเกษตรกรรม อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า
สำหรับ เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปทาน ยังมีสัญญาณชะลอตัวในสาขาอุตสาหกรรมและบริการ สะท้อนจากดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 2 หดตัวในอัตราที่ชะลอลงที่ร้อยละ -5.0 ต่อปี โดยอุตสาหกรรมที่ยังคงหดตัว ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องประดับ เครื่องปรับอากาศ และอาหาร เป็นสำคัญ ในขณะที่อุตสาหกรรมที่มีการผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ วิทยุโทรทัศน์ ยางพลาสติก เครื่องหนัง และอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมล่าสุดในเดือนมิถุนายน 2557 อยู่ที่ระดับ 88.4 ปรับเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 เนื่องจากผู้ประกอบการมีระดับความเชื่อมั่นมากขึ้นจากสถานการณ์ทางการเมืองที่คลี่คลายลง สะท้อนภาพรวมของการดำเนินกิจการการผลิตที่คาดว่าจะเริ่มดีขึ้นในระยะต่อไป ขณะที่ภาคบริการสะท้อนจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยในไตรมาสที่ 2 มีจำนวนทั้งสิ้น 5.32 ล้านคน หดตัวร้อยละ -12.3 ต่อปี โดยนักท่องเที่ยวที่หดตัวมากที่สุดได้แก่ กลุ่มเอเชีย ซึ่งเป็นนักท่องเที่ยวระยะใกล้ ขณะที่นักท่องเที่ยวกลุ่มยุโรปยังคงสามารถขยายตัวได้ อย่างไรก็ดี ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรมมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยในไตรมาสที่ 2 ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 4.3 ต่อปี ตามการเพิ่มขึ้นของผลผลิตในหมวดปศุสัตว์ที่ยังคงขยายตัวในเกณฑ์ดี โดยเฉพาะสุกรและไก่เนื้อ จากความต้องการที่มีเข้ามาอย่างต่อเนื่อง และไม่มีสถานการณ์โรคระบาด
ด้านเสถียรภาพในประเทศยังคงอยู่ในเกณฑ์ดี แม้ว่าจะเริ่มมีแรงกดดันเงินเฟ้อและการว่างงานสูงขึ้นเล็กน้อย ขณะที่เสถียรภาพต่างประเทศยังคงแข็งแกร่ง โดยในไตรมาสที่ 2 ของปี 2557 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 2.5 ต่อปี เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 2.0 ต่อปี ขณะที่อัตราการว่างงานยังอยู่ในระดับต่ำ โดยอยู่ที่ร้อยละ 1.0 ของกำลังแรงงานรวม เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 0.9 ต่อปี สำหรับเสถียรภาพภายนอกประเทศยังอยู่ในระดับที่แข็งแกร่ง สะท้อนได้จากทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูงที่ 168.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสูงกว่าหนี้ต่างประเทศระยะสั้นประมาณ 2.7 เท่า สามารถรองรับความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลกได้
อินโฟเควสท์
รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนมิถุนายน และไตรมาสที่ 2 ปี 2557
ฉบับที่ 47/2557 วันที่ 30 กรกฎาคม 2557
“เครื่องชี้เศรษฐกิจไทยล่าสุดในเดือนมิถุนายน 2557 และไตรมาสที่ 2 ของปี 2557 แม้ว่าจะยังมีสัญญาณชะลอตัวในด้านการท่องเที่ยวต่างชาติและการใช้จ่ายภาคเอกชน แต่เริ่มมีสัญญาณบวกจากความเชื่อมั่นทั้งทางด้านผู้บริโภคและธุรกิจที่ปรับตัวดีขึ้น สะท้อนทิศทางการใช้จ่ายและการผลิตที่คาดว่าจะเริ่มดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2557 ประกอบกับการส่งออกและการใช้จ่ายภาครัฐกลับมาขยายตัวเป็นบวกอีกครั้ง นอกจากนี้ เสถียรภาพเศรษฐกิจอยู่ในเกณฑ์มั่นคง ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังต่อไป”
นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยรายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนมิถุนายน และไตรมาสที่ 2 ปี 2557 ว่า“เศรษฐกิจไทยล่าสุด แม้ว่าจะยังมีสัญญาณชะลอตัวในด้านการท่องเที่ยวต่างชาติและการใช้จ่ายภาคเอกชน แต่เริ่มมีสัญญาณบวกจากความเชื่อมั่นทั้งทางด้านผู้บริโภคและธุรกิจที่ปรับดีขึ้น สะท้อนทิศทางการใช้จ่ายและการผลิตที่คาดว่าจะเริ่มดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2557 ประกอบกับการส่งออกและการใช้จ่ายภาครัฐกลับมาขยายตัวเป็นบวกอีกครั้ง นอกจากนี้เสถียรภาพเศรษฐกิจอยู่ในเกณฑ์มั่นคง ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังต่อไป” ทั้งนี้ สถานการณ์เศรษฐกิจไทยล่าสุดในรายละเอียดพบว่า
การบริโภคภาคเอกชนในไตรมาสที่ 2 ปี 2557 มีสัญญาณทรงตัวจากไตรมาสก่อนหน้า สะท้อนได้จากยอดการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ในไตรมาสที่ 2 ขยายตัวร้อยละ 0.3 ต่อปี จากไตรมาสก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -0.1 ขณะที่การบริโภคในหมวดสินค้าคงทน สะท้อนจากปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่งในไตรมาสที่ 2 พบว่าหดตัวในอัตราที่ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ -55.3 ต่อปี มาอยู่ที่ร้อยละ -37.7 ต่อปี อย่างไรก็ดี ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมได้ปรับตัวดีขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 61.2 จากไตรมาสก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 59.9 เนื่องจากผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นต่อระบบเศรษฐกิจไทยเพิ่มขึ้น ตามสถานการณ์ทางการเมืองที่คลี่คลายลง
การลงทุนภาคเอกชนทั้งการลงทุนในหมวดก่อสร้าง และหมวดเครื่องจักร ในไตรมาสที่ 2 ปี 2557 ยังคงส่งสัญญาณชะลอตัวต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนหน้า สะท้อนจากภาษีธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ที่หดตัวร้อยละ -7.6 ต่อปี จากไตรมาสก่อนหน้าที่หดตัว -6.6 ต่อปี ขณะที่ยอดขายปูนซิเมนต์หดตัวร้อยละ -3.0 ต่อปี จากไตรมาสก่อนหน้าที่หดตัว -2.4 ต่อปี แต่เมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออก (q-o-q SA) พบว่า มีสัญญาณดีขึ้นเล็กน้อย โดยขยายตัวร้อยละ 0.7 ต่อไตรมาส สำหรับการลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร สะท้อนจากปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์หดตัวร้อยละ -30.6 ต่อปี หดตัวในอัตราที่ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -36.6 ต่อปี
สำหรับ การใช้จ่ายภาครัฐมีอัตราเร่งขึ้น สะท้อนจากภาวะเศรษฐกิจไทยด้านการคลังในไตรมาสที่ 2 ปี 2557 (ไตรมาสที่ 3 ปีงบประมาณ 2557) พบว่า รัฐบาลสามารถเบิกจ่ายงบประมาณรวมในไตรมาสที่ 2 (ไตรมาสที่ 3 ของปีงบประมาณ 2557) ได้จำนวน 514.7 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 6.8 ต่อปี เร่งขึ้นมากจากไตรมาสก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -5.6 ต่อปี สะท้อนให้เห็นว่า ภาครัฐมีส่วนสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจในช่วงที่ภาคการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนยังคงชะลอตัว
ด้านอุปสงค์ต่างประเทศ สะท้อนจากการส่งออกสินค้าของไทยในเดือนมิถุยายน 2557 กลับมาขยายตัวเป็นบวกอีกครั้ง โดยขยายตัวที่ร้อยละ 3.9 ต่อปี ส่งผลทำให้ไตรมาสที่ 2 ปี 2557 ขยายตัวเล็กน้อยอยู่ที่ร้อยละ 0.3 ต่อปี โดยตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ สหภาพยุโรป อินเดีย ตะวันออกกลาง ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน สหรัฐอเมริกา และกลุ่มประเทศ CLMV เป็นสำคัญ โดยสินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ สินค้าในหมวดเกษตรกรรม อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า
สำหรับ เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปทาน ยังมีสัญญาณชะลอตัวในสาขาอุตสาหกรรมและบริการ สะท้อนจากดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 2 หดตัวในอัตราที่ชะลอลงที่ร้อยละ -5.0 ต่อปี โดยอุตสาหกรรมที่ยังคงหดตัว ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องประดับ เครื่องปรับอากาศ และอาหาร เป็นสำคัญ ในขณะที่อุตสาหกรรมที่มีการผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ วิทยุโทรทัศน์ ยางพลาสติก เครื่องหนัง และอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมล่าสุดในเดือนมิถุนายน 2557 อยู่ที่ระดับ 88.4 ปรับเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 เนื่องจากผู้ประกอบการมีระดับความเชื่อมั่นมากขึ้นจากสถานการณ์ทางการเมืองที่คลี่คลายลง สะท้อนภาพรวมของการดำเนินกิจการการผลิตที่คาดว่าจะเริ่มดีขึ้นในระยะต่อไป ขณะที่ภาคบริการสะท้อนจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทยในไตรมาสที่ 2 มีจำนวนทั้งสิ้น 5.32 ล้านคน หดตัวร้อยละ -12.3 ต่อปี โดยนักท่องเที่ยวที่หดตัวมากที่สุดได้แก่ กลุ่มเอเชีย ซึ่งเป็นนักท่องเที่ยวระยะใกล้ ขณะที่นักท่องเที่ยวกลุ่มยุโรปยังคงสามารถขยายตัวได้ อย่างไรก็ดี ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรมมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยในไตรมาสที่ 2 ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 4.3 ต่อปี ตามการเพิ่มขึ้นของผลผลิตในหมวดปศุสัตว์ที่ยังคงขยายตัวในเกณฑ์ดี โดยเฉพาะสุกรและไก่เนื้อ จากความต้องการที่มีเข้ามาอย่างต่อเนื่อง และไม่มีสถานการณ์โรคระบาด
ด้านเสถียรภาพในประเทศยังคงอยู่ในเกณฑ์ดี แม้ว่าจะเริ่มมีแรงกดดันเงินเฟ้อและการว่างงานสูงขึ้นเล็กน้อย ขณะที่เสถียรภาพต่างประเทศยังคงแข็งแกร่ง โดยในไตรมาสที่ 2 ของปี 2557 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 2.5 ต่อปี เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 2.0 ต่อปี ขณะที่อัตราการว่างงานยังอยู่ในระดับต่ำ โดยอยู่ที่ร้อยละ 1.0 ของกำลังแรงงานรวม เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 0.9 ต่อปี สำหรับเสถียรภาพภายนอกประเทศยังอยู่ในระดับที่แข็งแกร่ง สะท้อนได้จากทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูงที่ 168.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสูงกว่าหนี้ต่างประเทศระยะสั้นประมาณ 2.7 เท่า สามารถรองรับความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลกได้
ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
สศค.ปรับคาดการณ์ GDP ปี 57 เป็นโต 2.0% จากเดิมคาด 2.6%, เชื่อปี 58 โต 5%
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.)ปรับลดคาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยในปี 57 ลงเหลือเติบโต 2.0% หรือเติบโตอยู่ในช่วงคาดการณ์ 1.5-2.5% ซึ่งลดลงจากเดิมที่เคยคาดว่าจะเติบโตราว 2.6% เนื่องจากปัญหาการเมืองส่งผลให้เศรษฐกิจไตรมาสแรกหดตัวมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ ส่วนในปี 58 คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะเติบโตได้ถึง 5%
“เศรษฐกิจไทยปี 57 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2 โดยมีแรงส่งในช่วงครึ่งปีหลังตามสถานการณ์ทางการเมืองที่มีทิศทางชัดเจนขึ้น"นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ผู้อำนวยการ สศค. แถลงข่าวประมาณการเศรษฐกิจไทย ณ เดือน ก.ค.57
ผู้อำนวยการ สศค.ระบุว่า ปัญหาทางการเมืองทำให้อัตราการเจริญเติบโตในไตรมาสแรกของปีหดตัวมากกว่าคาดที่ -0.6% และสถานการณ์ทางการเมืองที่ยืดเยื้อได้ส่งผลกระทบต่อระดับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและภาคธุรกิจในช่วงครึ่งปีแรก อย่างไรก็ดี ในช่วงครึ่งปีหลังคาดว่าทิศทางที่ชัดเจนขึ้นของสถานการณ์ทางการเมืองจะส่งสัญญาณที่ดีต่อระดับความเชื่อมั่นของประชาชนและนักลงทุนตามนโยบายเร่งฟื้นฟูความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจและการดำเนินมาตรการที่ให้ความช่วยเหลือบรรเทาความเดือนร้อนของประชาชน
ทั้งนี้ ความชัดเจนในเรื่องนโยบายส่งเสริมการลงทุนของภาครัฐรวมทั้งการเร่งรัดการใช้จ่ายภายใต้แผนการลงทุนภาครัฐที่แต่เดิมมีแนวโน้มล่าช้ากว่าแผนที่กำหนด รวมถึงการเร่งกระบวนการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2558 จะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะเป็นแรงขับเคลื่อนหลักที่ทำให้อุปสงค์ภายในประเทศขยายตัวได้ต่อเนื่อง
สำหรับ มูลค่าการส่งออกสินค้าทั้งปีคาดว่าจะขยายตัวที่ 1.5% (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ 0.5% ถึง 2.5%) โดยแม้ว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าในครึ่งปีแรกจะลดลงต่ำกว่าที่คาด แต่ในครึ่งปีหลังคาดว่าจะขยายตัวในทิศทางที่ดีขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ขณะที่การส่งออกภาคบริการในส่วนของการท่องเที่ยวคาดว่าจะขยายตัวดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว แม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ทางการเมืองในช่วงครึ่งปีแรก ด้านการนำเข้า คาดว่าจะหดตัว -5.2% (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ (-6.2%) ถึง (-4.2%)) แม้จะมีการเร่งตัวสูงขึ้นในช่วงครึ่งปีหลังตามการเร่งขึ้นของอุปสงค์ภายในประเทศที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้จ่ายภาครัฐ
อย่างไรก็ตาม เสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศยังคงแข็งแกร่ง โดยคาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 57 จะปรับสูงขึ้นจากปีก่อนหน้าเล็กน้อยมาอยู่ที่ 2.4% (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ 1.9%-2.9%) ตามแนวโน้มการทยอยปรับเพิ่มขึ้นของราคาต้นทุนวัตถุดิบที่ประสบปัญหาภัยแล้งและสินค้าที่ขาดแคลนวัตถุดิบโดยเฉพาะราคาอาหารสำเร็จรูปและบริการต่างๆ ได้เริ่มทยอยปรับขึ้นราคา เช่น ค่าโดยสารรถไฟฟ้าใต้ดินที่ปรับเพิ่มขึ้นตั้งแต่เดือนกรกฎาคมเป็นต้นไป อย่างไรก็ดี นโยบายการตรึงราคาก๊าซ LPG และน้ำมันดีเซลตลอดจนมาตรการตรึงราคาสินค้าจะช่วยชะลออัตราเร่งของเงินเฟ้อ
ขณะที่เสถียรภาพเศรษฐกิจภายนอกประเทศนั้น คาดว่าดุลการค้าจะเกินดุลเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วเนื่องจากมูลค่าการส่งออกสินค้าที่ขยายตัวในอัตราเร่งกว่าการนำเข้าสินค้าส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลประมาณ 13.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็น 3.3% ของ GDP (โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ 3.1-3.5% ของ GDP)
ทั้งนี้ ในการประมาณการเศรษฐกิจไทยจำเป็นต้องคำนึงถึงปัจจัยเสี่ยงที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด อาทิ แนวโน้มอุปทานน้ำมันโลกที่เผชิญปัญหาขัดแย้งในประเทศอิรักและยูเครน มองว่าเศรษฐกิจไทยจะสามารถขยายตัวได้มากกว่าร้อยละ 2 ต่อปี หากภาครัฐมีการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณปี 2557 และเตรียมความพร้อมในการใช้งบประมาณปี 2558 ในลักษณะเร่งรัดในช่วงแรกของปีงบประมาณ รวมทั้งส่งเสริมการส่งออกสินค้าให้เป็นไปตามเป้าหมายของกระทรวงพาณิชย์ และมีการกระตุ้นการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น
ด้านน.ส.กุลยา ตันติเตมิท ผู้อำนวยการสำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สศค. กล่าวว่า จากที่ สศค.ได้ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยในปี 57 ลงเหลือ 2.0% จากเดิม 2.6% นั้น เป็นเพราะ สศค.ได้มีการปรับสมมติฐานใหม่จากของเดิมในช่วงเดือนมี.ค. ประกอบด้วย 1.ภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลัก 14 ประเทศ ซึ่งแม้ทิศทางเศรษฐกิจโลกในปีนี้จะมีสัญญาณที่ดีขึ้น แต่ก็ยังลดลงจากในปีที่ผ่านมาอยู่เล็กน้อย ดังนั้นจึงปรับลด GDP ของประเทศคู่ค้าหลักลงเหลือ 3.83% จากเดิม 3.9% 2.ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยปี 57 โดยปรับเพิ่มขึ้นเป็น 106 ดอลลาร์/บาร์เรล จากเดิม 105 ดอลลาร์/บาร์เรล เนื่องจากความรุนแรงในอิรักที่มีผลต่ออุปทานน้ำมันในตลาดโลก
3.ดัชนีราคาสินค้าส่งออกและนำเข้าที่ยังคงหดตัว สอดคล้องกับที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ(IMF) คาดว่าดัชนีราคาโภคภัณฑ์โลกในปี 57 ที่หดตัวน้อยลงจากเดิม -5.3% เหลือ -1.9% 4. อัตราแลกเปลี่ยนบาท/ดอลลาร์ ได้ปรับให้อ่อนค่าลงมาอยู่ที่ 32.50 บาท/ดอลลาร์ จากเดิม 32.25 บาท/ดอลลาร์ 5.ยอดนักท่องเที่ยวในปี 57 โดยได้ปรับลดลงมาเหลือ 26.7 ล้านคน จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ราว 27.7 ล้านคน เนื่องจากยอดนักเที่ยวในช่วงครึ่งปีแรก ลดลง 9.9% ซึ่งจะทำให้ทั้งปีมียอดนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นจากปีก่อนเพียง 0.7% 6.ดอกเบี้ยนโยบาย ณ สิ้นปี 57 โดยยังคงไม่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่ 2.00% และ 7.รายจ่ายด้านการบริโภคภาครัฐยังเติบโตในระดับที่ปกติ
สำหรับ ปัจจัยแวดล้อมที่มีผลต่อเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีหลัง ได้แก่ เศรษฐกิจโลกมีการฟื้นตัว แต่การเติบโตโดยรวมยังถือว่าต่ำกว่าศักยภาพ, ราคาน้ำมันมีความเสี่ยงจะเป็นขาขึ้นจากปัญหาทางการเมือง, ราคาสินค้าโดยรวมหดตัวเล็กน้อย, การท่องเที่ยวที่คาดว่าจะฟื้นตัวในช่วงปลายปีนี้ และนโยบายการเงินการ-การคลังที่ช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลัง
อินโฟเควสท์