- Details
- Category: คลัง
- Published: Monday, 28 July 2014 20:04
- Hits: 2723
ฐานะการคลังของรัฐบาลในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2557
ฐานะการคลังของรัฐบาลในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2557 'ระดับเงินคงคลังที่เข้มแข็งยังเป็นปัจจัยหนุนการดำเนินนโยบายกระตุ้นการใช้จ่ายภาครัฐในช่วงที่เหลือของปี'
นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง แถลงข่าวฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2557 (ตุลาคม 2556-มิถุนายน 2557) ว่ารัฐบาลมีรายได้นำส่งคลังทั้งสิ้น 1,557,934 ล้านบาท ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 68,115 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.2 มีสาเหตุหลักจากภาษีสรรพสามิตรถยนต์จัดเก็บได้ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว เนื่องจากอุปสงค์รถยนต?ในประเทศที่ชะลอตัวจากภาวะเศรษฐกิจและการส่งมอบรถยนต?ภายใต้โครงการรถยนต์คันแรกเกือบครบทั้งโครงการแล้วในปีงบประมาณก่อนหน้า รวมถึงในปีที่แล้วมีการนำส่งรายได?จากการประมูลให้ใช้คลื่นความถี่ 3G ย่าน 2.1 GHz ในขณะที่การเบิกจ่ายเงินงบประมาณมีจำนวนทั้งสิ้น 1,898,782 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 45,168 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.4 ทำให?ดุลเงินงบประมาณขาดดุล 340,848 ล้านบาท เมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุล 60,809 ล้านบาท ที่มีสาเหตุหลักมาจากการไถ่ถอนตั๋วเงินคลังสุทธิ 42,135 ล้านบาท ส่งผลให้รัฐบาลขาดดุลเงินสดรวม 401,657 ล้านบาท ซึ่งรัฐบาลได้กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล 187,887 ล้านบาท ทำให้ดุลเงินสดหลังกู้ขาดดุลทั้งสิ้น 213,770 ล้านบาท และเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2557 มีจำนวนทั้งสิ้น 391,282 ล้านบาท
นายกฤษฎาฯ สรุปว่า “ฐานะการคลังที่เข้มแข็งจะเป็นปัจจัยที่สนับสนุนการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจไทยให้ขับเคลื่อนได้อย่างต่อเนื่อง ภายใต้แนวทางปฏิรูปโครงสร้างภาคการคลังของประเทศ โดยการปฏิรูประบบภาษี การรักษาวินัยทางการคลัง และการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการคลังภาครัฐ เพื่อเสริมสร้างความยั่งยืนทางการคลังในระยะยาวต่อไป”
ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในช่วง 9 เดือนแรกของป?งบประมาณ 2557
หน่วย: ล้านบาท
9 เดือนแรก เปรียบเทียบ
ปีงบประมาณ 2557 ปีงบประมาณ 2556 จำนวน ร้อยละ
1. รายได้ 1,557,934 1,626,049 -68,115 -4.2
2. รายจ่าย 1,898,782 1,853,614 45,168 2.4
3. ดุลเงินงบประมาณ -340,848 -227,565 -113,283 49.8
4. ดุลเงินนอกงบประมาณ -60,809 -130,972 70,163 -53.6
5. ดุลเงินสดก่อนกู้ (3+4) -401,657 -358,537 -43,120 12
6. เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล 187,887 221,697 -33,810 -15.3
7. ดุลเงินสดหลังกู้ (5+6) -213,770 -136,840 -76,930 56.2
8. เงินคงคลังปลายงวด 391,282 423,497 -32,215 -7.6
ที่มา: กรมบัญชีกลาง และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
รายละเอียดเพิ่มเติม ดูได้จาก www.fpo.go.th สำนักนโยบายการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร0 2273 9020 ต?อ 3558
ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดประจำเดือนมิถุนายน 2557 และในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2557 (ตุลาคม 2556 – มิถุนายน 2557)
ในเดือนมิถุนายน 2557 รัฐบาลเกินดุลเงินสดจำนวน 146,662 ล้านบาท โดยเป็นการเกินดุลงบประมาณ 159,733 ล้านบาท ในขณะที่ดุลเงินนอกงบประมาณขาดดุล 13,071 ล้านบาท ส่งผลให้ในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2557 รัฐบาลขาดดุลเงินสดจำนวน 401,657 ล้านบาท ทั้งนี้รัฐบาลได้กู้เงิน เพื่อชดเชยการขาดดุล 187,887 ล้านบาท ส่งผลให้เงินคงคลัง ณ สิ้นเดือน มิถุนายน 2557 มีจำนวนเท่ากับ 391,282 ล้านบาท ซึ่งเป็นระดับที่มีความมั่นคงต่อฐานะการคลังของรัฐบาล โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. ฐานะการคลังเดือนมิถุนายน 2557
1.1 รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลัง 324,287 ล้านบาท ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 20,620 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 6.0)
1.2 รัฐบาลมีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณทั้งสิ้น 164,554 ล้านบาท ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 1,844 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 1.1) ประกอบด้วยรายจ่ายประจำ 135,722 ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกันป?ที่แล้วร้อยละ 0.2 และรายจ่ายลงทุน 18,704 ล้านบาท ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว ร้อยละ 5.8 ส่วนการเบิกจ่ายเงินจากงบประมาณปีก่อน 10,128 ล้านบาท ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว ร้อยละ 9.0 (ตารางที่ 1)
การเบิกจ่ายเงินงบประมาณที่สำคัญในเดือนนี้ ได้แก่รายจ่ายชำระหนี้กระทรวงการคลังของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ 35,611 ล้านบาท รายจ่ายเงินอุดหนุนของกระทรวงศึกษาธิการ 5,474 ล้านบาท และงบรายจ่ายอื่นของกระทรวงกลาโหม 3,848 ล้านบาท
ตารางที่ 1 การเบิกจ่ายเงินงบประมาณเดือนมิถุนายน 2557
หน่วย: ล้านบาท
มิถุนายน เปลี่ยนแปลง
2557 2556 จำนวน ร้อยละ
1. รายจ่ายปีปัจจุบัน 154,426 155,273 -847 -0.5
1.1 รายจ่ายประจำ 135,722 135,424 298 0.2
1.2 รายจ่ายลงทุน 18,704 19,849 -1,145 -5.8
2. รายจ่ายจากงบประมาณปีก่อน 10,128 11,125 -997 -9
3. รายจ่ายรวม (1+2) 164,554 166,398 -1,844 -1.1
ที่มา: กรมบัญชีกลาง
1.3 จากรายได้นำส่งคลังและการเบิกจ่ายเงินงบประมาณของรัฐบาลข้างต้น ส่งผลให้ดุลเงินงบประมาณในเดือนมิถุนายน 2557 เกินดุล 159,733 ล้านบาท เมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุล 13,071 ล้านบาท ซึ่งมีสาเหตุหลักจากรายจ่ายเหลื่อมมาจากเดือนที่แล้ว 8,631 ล้านบาท และการถอนออกเงินฝากคลังของสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยสุทธิ 2,711 ล้านบาท ทำให?รัฐบาลเกินดุลเงินสด 146,662 ล้านบาท ทั้งนี้ รัฐบาลได?กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล 1,183 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสด (หลังกู้ชดเชยการขาดดุล) เกินดุลเท่ากับ 147,845 ล้านบาท (ตารางที่ 2)
ตารางที่ 2 ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดเดือนมิถุนายน 2557
หน่วย: ล้านบาท
มิถุนายน เปรียบเทียบ
2557 2556 จำนวน ร้อยละ
1. รายได้ 324,287 344,907 -20,620 -6
2. รายจ่าย 164,554 166,398 -1,844 -1.1
3. ดุลเงินงบประมาณ 159,733 178,509 -18,776 -10.5
4. ดุลเงินนอกงบประมาณ -13,071 -5,439 -7,632 140.3
5. ดุลเงินสดก่อนกู้ (3+4) 146,662 173,070 -26,408 -15.3
6. เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล 1,183 24,415 -23,232 -95.2
7. ดุลเงินสดหลังกู้ (5+6) 147,845 197,485 -49,640 -25.1
ที่มา: กรมบัญชีกลาง และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
2. ฐานะการคลังในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2557 (ตุลาคม 2556 – มิถุนายน 2557)
2.1 รายได้นำส่งคลัง รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลังทั้งสิ้น 1,557,934 ล้านบาท ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 68,115 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 4.2) โดยมีสาเหตุหลักจากภาษีสรรพสามิตรถยนต?จัดเก็บได้ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว เนื่องจากอุปสงค์รถยนต?ในประเทศที่ชะลอตัวจากภาวะเศรษฐกิจและการส่งมอบรถยนต?ภายใต้โครงการรถยนต?คันแรกเกือบครบทั้งโครงการแล้วในปีงบประมาณก่อนหน้า รวมถึงในปีที่แล้วมีการนำส่งรายได?จากการประมูลให้ใช้คลื่นความถี่ 3G ย่าน 2.1 GHz
2.2 รายจ่ายรัฐบาล การเบิกจ่ายงบประมาณของรัฐบาลมีจำนวนทั้งสิ้น 1,898,782 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 45,168 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 2.4) ประกอบด้วยรายจ่ายป?ปัจจุบัน1,720,033 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 68.1 ของวงเงินงบประมาณ สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 3.4 และรายจ่ายป?ก่อน 178,749 ล้านบาท ต่ำกว่าช่วงเดียวกันป?ที่แล้วร้อยละ 5.8 (ตารางที่ 3)
รายจ่ายปีปัจจุบันจำนวน 1,720,033 ล้านบาท ประกอบด้วยรายจ่ายประจำ1,510,864 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 3.2 และรายจ่ายลงทุน 209,169 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 5.0
การเบิกจ่ายเงินงบประมาณที่สำคัญในช่วง 9 เดือนแรกของงบประมาณปีนี้ ได้แก?รายจ่ายเงินอุดหนุนของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น 193,533 ล้านบาท รายจ่ายเงินอุดหนุนของกระทรวงศึกษาธิการ 121,421 ล้านบาท รายจ่ายชำระหนี้ของกระทรวงการคลัง 108,863 ล้านบาท รายจ่ายของกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 102,831 ล้านบาท และรายจ่ายของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ?การเกษตร 82,770 ล้านบาท
ตารางที่ 3 การเบิกจ่ายเงินงบประมาณในช?วง 9 เดือนแรกของป?งบประมาณ 2557
(ตุลาคม 2556 – มิถุนายน 2557)
หน่วย: ล้านบาท
9 เดือนแรก เปรียบเทียบ
2557 2556 จำนวน ร้อยละ
1. รายจ่ายปีปัจจุบัน 1,720,033 1,663,938 56,095 3.4
1.1 รายจ่ายประจำ 1,510,864 1,464,688 46,176 3.2
1.2 รายจ่ายลงทุน 209,169 199,250 9,919 5
2. รายจ่ายจากงบประมาณปีก่อน 178,749 189,676 -10,927 -5.8
3. รายจ่ายรวม (1+2) 1,898,782 1,853,614 45,168 2.4
ที่มา: กรมบัญชีกลาง
2.3 ดุลการคลังรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสด ขาดดุล 401,657 ล้านบาท โดยเป็นการขาดดุลเงินงบประมาณ 340,848 ล้านบาท และการขาดดุลเงินนอกงบประมาณจำนวน 60,809 ล้านบาท ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากการไถ่ถอนตั๋วเงินคลังสุทธิ 42,135 ล้านบาท ทั้งนี้ รัฐบาลได?บริหารเงินสดให?สอดคล้องกับความต้องการใช้เงินโดยชดเชยการขาดดุลด้วยการกู?จำนวน 187,887 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสด (หลังการกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล) ขาดดุลเท่ากับ 213,770 ล้านบาท ส่งผลให้เงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2557 มีจำนวนทั้งสิ้น 391,282 ล้านบาท (ตารางที่ 4)
ตารางที่ 4 ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในช่วง 9 เดือนแรก
ปีงบประมาณ 2557 (ตุลาคม 2556 – มิถุนายน 2557)
หน่วย: ล้านบาท
9 เดือนแรก เปรียบเทียบ
ปีงบประมาณ 2557 ปีงบประมาณ 2556 จำนวน ร้อยละ
1. รายได้ 1,557,934 1,626,049 -68,115 -4.2
2. รายจ่าย 1,898,782 1,853,614 45,168 2.4
3. ดุลเงินงบประมาณ -340,848 -227,565 -113,283 49.8
4. ดุลเงินนอกงบประมาณ -60,809 -130,972 70,163 -53.6
5. ดุลเงินสดก่อนกู้ (3+4) -401,657 -358,537 -43,120 12
6. เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล 187,887 221,697 -33,810 -15.3
7. ดุลเงินสดหลังกู้ (5+6) -213,770 -136,840 -76,930 56.2
8. เงินคงคลังปลายงวด 391,282 423,497 -32,215 -7.6
ที่มา: กรมบัญชีกลาง และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
สำนักนโยบายการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร 0 2273 9020 ต่อ 3558 กระทรวงการคลัง