WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Cกฤษฎา จนะวจารณะรัฐเก็บรายได้ 10 เดือนพุ่ง 4.9% อานิสงส์นำส่งเงินประมูลคลื่น 56,273 ล้านหนุน

    บ้านเมือง : จัดเก็บรายได้ 10 เดือน สูงกว่าประมาณการ 4.9% แรงหนุนจากเงินประมูลใบอนุญาตให้ใช้คลื่นฯ 56,273 ล้านบาท ส่วนภาษีสรรพสามิตและบุคคลธรรมดาก็ปรับสูงขึ้น กระทรวงการคลังมั่นใจจะสามารถจัดเก็บรายได้รัฐบาลได้ตาม เป้าหมายที่ตั้งไว้

     นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลสุทธิในช่วง 10 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2559 (ต.ค.58-ก.ค.59) อยู่ที่ 1,969,729 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสาร งบประมาณ 91,684 ล้านบาท หรือ 4.9% และสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 11.1% เนื่องจากการนำส่งรายได้จากการประมูลใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 900 และ 1800 MHz (4G) ประมาณ 56,273 ล้านบาท

     นอกจากนี้ ยังสามารถจัดเก็บภาษีสรรพสามิตรถยนต์สูงกว่าประมาณการ 7,735 ล้านบาท หรือ 9.9%, ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสูงกว่าประมาณการ 7,249 ล้านบาท หรือ 2.7% และภาษีสรรพสามิตน้ำมันสูงกว่าประมาณการ 6,407 ล้านบาท หรือ 4.6% ขณะที่การนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจสูงกว่าประมาณการ 6,128 ล้านบาท หรือ 5.6%

    "สถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ขยายตัวเป็นไปตามที่กระทรวงการคลังคาดการณ์ไว้ รวมทั้งการนำส่งรายได้พิเศษและการบริหารเร่งรัดการจัดเก็บรายได้รัฐบาลอย่างต่อเนื่อง ทำให้การจัดเก็บรายได้รัฐบาลสุทธิในช่วงที่ผ่านมาเป็นไปตามที่กระทรวงการคลังประเมินไว้ สำหรับในช่วงที่เหลือของปีงบประมาณ กระทรวงการคลังคาดว่าจะสามารถจัดเก็บรายได้รัฐบาลได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้" นายกฤษฎา กล่าว

    นายกฤษฎา กล่าวต่อว่า การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของรัฐบาลมีจำนวนทั้งสิ้น 2,432,848 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 179,634 ล้านบาท (คิดเป็น 8.0% ) ประกอบด้วยรายจ่ายปีปัจจุบัน 2,226,770 ล้านบาท คิดเป็น 80.2% ของวงเงินงบประมาณหลังโอนเปลี่ยนแปลง สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 8.0% และรายจ่ายจากงบประมาณปีก่อน 206,078 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 7.9% ดุลการคลังรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสด ขาดดุล 564,772 ล้านบาท โดยเป็นการขาดดุลเงินงบประมาณ 472,133 ล้านบาท และขาดดุลเงินนอกงบประมาณจำนวน 92,639 ล้านบาท ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากปริมาณตั๋วเงินคลังลดลงจากต้นปีงบประมาณ จำนวน 40,385 ล้านบาท การจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนฯ จำนวน 28,498 ล้านบาท และการจ่ายเงินให้กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการจากกรณี Undo จำนวน 16,056 ล้านบาท

    ทั้งนี้ รัฐบาลได้บริหารเงินสดให้สอดคล้องกับความต้องการใช้เงินโดยการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลจำนวน 386,206 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสด (หลังการกู้เพื่อ ชดเชยการขาดดุล) ขาดดุลเท่ากับ 178,566 ล้านบาท และเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2559 มีจำนวนทั้งสิ้น 247,616 ล้านบาท

    "ภายใต้การเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ ได้ส่งผลให้เศรษฐกิจมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยในไตรมาสที่ 2 ของปี 2559 เศรษฐกิจขยายตัวได้ถึง 3.5% นอกจากนี้ผลจากการบริหารการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลที่เป็นไปตามเป้าหมาย ได้ส่งผลดีต่อฐานะการคลังให้อยู่ระดับที่เข้มแข็งเพียงพอสำหรับการดำเนินนโยบายการคลังในช่วงต่อไป"

    สำหรับ ในเดือน ก.ค.59 รัฐบาลเกินดุลเงินสดจำนวน 1,141 ล้านบาท โดยเป็นการขาดดุลเงินงบประมาณ 32,083 ล้านบาท และเงินนอกงบประมาณเกินดุล 33,224 ล้านบาท โดยรัฐบาลมีรายได้นำส่งคลัง 152,114 ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกันของปีก่อน 11,052 ล้านบาท หรือคิดเป็น 7.8% เนื่องจากการนำส่งรายได้จากการประมูลใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 900 MHz (4G) การรับรู้เงินส่วนเกินจากการจำหน่ายพันธบัตรเป็นรายได้ และการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมันสูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว

    ขณะที่มีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณทั้งสิ้น 184,197 ล้านบาท ต่ำกว่าเดือนเดียวกันของปีก่อน 37,729 ล้านบาท หรือคิดเป็น 17.0% โดยมีการเบิกจ่ายรายจ่ายปีปัจจุบันจำนวน 176,145 ล้านบาท ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 15.6% ประกอบด้วย รายจ่ายประจำ 153,931 ล้านบาท และรายจ่ายลงทุน 22,214 ล้านบาท และมีการเบิกจ่ายเงินจากงบประมาณปีก่อนจำนวน 8,052 ล้านบาท ต่ำกว่าเดือนเดียวกันของปีก่อน 39.0%

คลังเผยผลจัดเก็บรายได้รัฐบาลสุทธิช่วง 10 เดือนแรกปีงบ 59 สูงกว่าประมาณการ 4.9%

    นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลสุทธิในช่วง 10 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2559 (ต.ค.58-ก.ค.59) อยู่ที่ 1,969,729 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 91,684 ล้านบาท หรือ 4.9% และสูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 11.1% เนื่องจากการนำส่งรายได้จากการประมูลใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 900 และ 1800 MHz (4G) ประมาณ 56,273 ล้านบาท

    นอกจากนี้ ยังสามารถจัดเก็บภาษีสรรพสามิตรถยนต์สูงกว่าประมาณการ 7,735 ล้านบาท หรือ 9.9%, ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสูงกว่าประมาณการ  7,249 ล้านบาท หรือ 2.7% และภาษีสรรพสามิตน้ำมันสูงกว่าประมาณการ 6,407 ล้านบาท หรือ  4.6% ขณะที่การนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจสูงกว่าประมาณการ 6,128 ล้านบาท หรือ 5.6%

    "สถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ขยายตัวเป็นไปตามที่กระทรวงการคลังคาดการณ์ไว้ รวมทั้งการนำส่งรายได้พิเศษและการบริหารเร่งรัดการจัดเก็บรายได้รัฐบาลอย่างต่อเนื่อง ทำให้การจัดเก็บรายได้รัฐบาลสุทธิในช่วงที่ผ่านมาเป็นไปตามที่กระทรวงการคลังประเมินไว้ สำหรับในช่วงที่เหลือของปีงบประมาณ กระทรวงการคลังคาดว่า จะสามารถจัดเก็บรายได้รัฐบาลได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้" นายกฤษฎา กล่าว

     อินโฟเควสท์ 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!