WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Customสมชย สจจพงษคลังเชื่อมือ ธปท.คุมบาท เอกชนชงปรับค่าเงินกรอบ 45-46 บ.หวังรักษาเสถียรภาพ

    บ้านเมือง : คลังเชื่อมือ "ธปท." ดูแลค่าบาทให้มีเสถียรภาพได้ ระบุไม่จำเป็นต้องอ่อนค่า 45 บาท ตามข้อเสนอเอกชน ด้านเอกชนเสนอปรับค่าเงินบาทให้เคลื่อนไหวในกรอบ 45-46 บาท หวังรักษาเสถียรภาพการลงทุน ขณะที่ยอดจดทะเบียนธุรกิจ ก.ค.ลดลงต่อเนื่องจากวันหยุดยาว แต่มั่นใจทั้งปีตามเป้าหมายจากหลายมาตรการของภาครัฐหนุนให้ธุรกิจ

    นายสมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า กรณีภาคเอกชนรายใหญ่เสนอให้ปรับค่าเงินบาทอ่อนค่าในกรอบ 45-46 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยระบุว่า รัฐบาลไม่มีแนวคิดแทรกแซงค่าเงินบาทของไทยมีความเปลี่ยนแปลงมากจนเกินไปจากระดับปัจจุบัน จึงต้องปล่อยให้อัตราแลกเปลี่ยนเคลื่อนไหวเป็นไปตามกลไกของตลาด คาดว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สามารถดูแลได้อย่างเหมาะสม

     โดยที่ผ่านมาตนมองว่า ธปท. ดูแลอัตราแลกเปลี่ยนได้ดีแล้ว ซึ่งหาก ธปท.เห็นว่าเงินอ่อนค่า หรือแข็งค่าจนเกินไป สามารถแทรกแซงตลาดเพื่อให้เงินบาทมีเสถียรภาพ และหากเงินบาทอ่อนค่าหรือแข็งค่าเกินไป แต่อาจกระทบกับกลุ่มคนใดกลุ่มคนหนึ่ง จึงต้องดูแลให้เกิดความสมดุล สำหรับค่าเงินบาทในวันนี้ เปิดตลาดอยู่ที่ 34.61-34.63 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

    ทั้งนี้ นายปีย์ มาลากุล ณ อยุธยา นักธุรกิจ ได้โพสต์ข้อความลงเฟซบุ๊คส่วนตัว ‘ปีย์ มาลากุล’ แสดงความคิดเห็นกรณี เศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน โดยเฉพาะในประเทศไทย จนกระทบต่อการส่งออกของประเทศไทยให้ติดลบ รวมถึงสถานการณ์ระเบิดในจังหวัดท่องเที่ยว เมื่อไม่นานมานี่ ได้ซ้ำเติมภาคธุรกิจของไทย ให้อยู่ในสภาพย่ำแย่ จึงเสนอให้ ธปท.ประกาศปรับค่าเงินบาทให้เคลื่อนไหวในกรอบ 45-46 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เพื่อรักษาเสถียรภาพการลงทุน ไม่ให้ภาคธุรกิจ ชะลอการลงทุนหรือหยุดการลงทุน

    น.ส.ผ่องพรรณ เจียรวิริยะพันธ์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยว่า ยอดจดทะเบียนธุรกิจเดือน ก.ค.59 มี ผู้ประกอบธุรกิจยื่นขอจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนบริษัทจัดตั้งใหม่ทั่วประเทศ 4,919 ราย ลดลงเมื่อเทียบกับเดือน มิ.ย.59 ซึ่งมีจำนวน 5,916 ราย ลดลง 997 ราย คิดเป็น 17% สำหรับนิติบุคคลที่จดทะเบียนเลิกเดือน ก.ค.59 มีจำนวน 1,405 ราย ใกล้เคียงกับเดือน มิ.ย.59 เพิ่มขึ้น 13 ราย คิดเป็น 1% โดยธุรกิจที่เลิกสูงสุด คือ ธุรกิจค้าสลาก 158 ราย คิดเป็น 11% สาเหตุส่วนใหญ่เนื่องจากไม่ได้ประกอบกิจการ

    ทั้งนี้ ด้านมูลค่าทุนจดทะเบียนจัดตั้งใหม่เดือน ก.ค.59 มีจำนวนทั้งสิ้น 15,425 ล้านบาท ลดลง 2,377 ล้านบาท คิดเป็น 13% เมื่อเทียบกับเดือน มิ.ย.59 ซึ่งมีจำนวน 17,802 ล้านบาท และมูลค่าลดลง 4,852 ล้านบาท คิดเป็น 24% เมื่อเทียบกับเดือน ก.ค.58 ซึ่งมีจำนวน 20,277 ล้านบาท โดยประเภทธุรกิจที่จดทะเบียนจัดตั้งสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป 572 ราย รองลงมา ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ 287 ราย ธุรกิจให้คำปรึกษาด้านการจัดการ 131 ราย ธุรกิจขายส่งเครื่องจักร 117 ราย และธุรกิจภัตตาคาร/ร้านอาหาร 111 ราย ตามลำดับ

      อย่างไรก็ตาม ห้างหุ้นส่วนบริษัทจดทะเบียนจัดตั้งทั้งสิ้นวันที่ 31 ก.ค.59 จำนวน 1,332,732 ราย มูลค่าทุนจดทะเบียนรวม 20.16 ล้านล้านบาท โดยมีห้างหุ้นส่วนบริษัทที่ดำเนินกิจการทั่วประเทศ 637,200 ราย มูลค่าทุนจดทะเบียน 15.61 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นบริษัทจำกัด 457,409 ราย บริษัทมหาชนจำกัด 1,142 ราย และห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล 178,649 ราย โดยภาพรวมการจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลช่วง 7 เดือนที่ผ่านมาปี 2559 (ม.ค.-ก.ค.) จำนวน 36,711 ราย เมื่อเปรียบเทียบช่วงเดียวกันของปี 58 ซึ่งมีจำนวน 36,945 ราย ใกล้เคียงกันลดลง 234 ราย คิดเป็น 0.6% สำหรับการจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนบริษัทเดือน ก.ค.59 ลดลงจากเดือน มิ.ย.59 อยู่ที่ 17% และลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา 9% เนื่องจากเดือน ก.ค.59 มีวันหยุดต่อเนื่อง ทำให้มีวันทำการเพียง 18 วัน จึงส่งผลต่อปริมาณการจดทะเบียนของนิติบุคคลเดือนนี้ด้วย

       ทั้งนี้ ในช่วง 5 เดือนหลัง (ส.ค.-ธ.ค.) กรมฯ คาดว่าการจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลปี 2559 น่าจะไม่น้อยกว่าปี 2558 หรือประมาณ 60,000-65,000 ราย เนื่องจากมีปัจจัยสนับสนุนจากการที่กระทรวงการคลังเตรียมเสนอคณะรัฐมนตรีให้ยกเว้นภาษีจดทะเบียนนิติบุคคล เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่เป็นบุคคลธรรมดาให้มาจดทะเบียนนิติบุคคลมากขึ้น อีกทั้งมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่รัฐออกมาช่วยผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ได้แก่ โครงการค้ำประกันสินเชื่อเพื่อผู้ประกอบการเอสเอ็มอี กลุ่มผู้ประกอบการใหม่ (Start-up) และกลุ่มที่มีนวัตกรรมและเทคโนโลยี (Innovation &Technology) และมาตรการภาษีพี่ช่วยน้อง เป็นต้น ทั้งนี้ ยังมีโครงการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ และการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษตามแนวชายแดนมีส่วนช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้เป็นอย่างดี ซึ่งสอดคล้องกับภาคการท่องเที่ยวที่ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องประกอบกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้ประกาศตัวเลขมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาส 2 ปี 2559 ที่มีการขยายตัว 3.5%

คลังเมินลอยตัวค่าบาทย้ำธปท.ดูแลดีแล้ว

      แนวหน้า: นายสมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลังกล่าวว่า ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอของเอกชนบางรายที่เสนอให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ลอยตัวค่าเงินบาท เพราะค่าเงินบาทของไทยปัจจุบันเปลี่ยนแปลงตามกลไกตลาด ซึ่งมีความเหมาะสมและดีอยู่แล้ว การกลับไปลอยตัวหรือคงค่าเงินบาทจะเป็นการดำเนินการที่สวนทางกับตลาดและกระแสโลก

       ทั้งนี้ ปัจจุบันธปท. ได้ดูแลการเคลื่อนไหวค่าเงินบาทอย่างใกล้ชิดและกระทรวงการคลังได้สนับสนุนมาตรการดูแลการเคลื่อนย้ายเงินทุนตั้งแต่ระดับเบา กลาง และระดับหนัก ซึ่งธปท. จะตัดสินใจใช้มาตรการให้เหมาะสมกับสถานการณ์สำหรับค่าเงินบาทของไทยในปัจจุบัน หากแข็งค่าขึ้นไปในทิศทางเดียวกับประเทศคู่แข่ง ก็จะไม่ส่งผลกระทบกับขีดความสามารถการแข่งขันของผู้ประกอบการไทย

     "ค่าเงินบาทอ่อนหรือแข็งมีทั้งผู้ที่ได้และเสียประโยชน์ไปพร้อมๆ กัน การบริหารค่าเงินบาทตามกลไกตลาดมีความสมดุล และตามหลักการนี้ก็ไม่ควรไปทำค่าเงินให้สวนทางกับตลาด" นายสมชัย กล่าว

     ก่อนหน้านี้ นายปีย์ มาลากุล ณ อยุธยา นักธุรกิจชื่อดังได้โพสต์ข้อความลงเฟซบุ๊คส่วนตัว 'ปีย์ มาลากุล' แสดงความคิดเห็นกรณี เศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน โดยเฉพาะในประเทศไทย ที่เข้าขั้นวิกฤติ ซึ่งดูได้จากตัวเลขการส่งออกของประเทศไทยที่ติดลบ รวมถึงสถานการณ์ระเบิดในจังหวัดท่องเที่ยว เมื่อไม่นานมานี้ ซึ่งซ้ำเติมภาคธุรกิจของประเทศให้อยู่ในสภาพที่ย่ำแย่ จึงเสนอให้ผู้ว่าฯ ธปท.ประกาศลอยตัวค่าเงินบาท ให้อยู่ที่ 45-46 บาท ต่อ ดอลลาร์สหรัฐ เพื่อรักษาเสถียรภาพการลงทุนไม่ให้ภาคธุรกิจชะลอการลงทุนหรือหยุดการลงทุนซึ่งเป็นหนทางเดียวที่ทำให้ประเทศไทย กลับมามีขีดความสามารถในการแข่งขันด้านเศรษฐกิจอีกครั้ง 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!