WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Cกฤษฎา จนะวจารณะคลัง เผยมาตรการพี่ช่วยน้อง ส่งเสริมการลงทุนในชนบท ช่วยผู้ประกอบการที่มีสินทรัพย์เกิน 200 ลบ. หักภาษีได้ 2 เท่าแต่ไม่เกิน 10%

   คลัง แจงรายละเอียด มาตรการพี่ช่วยน้อง และมาตรการส่งเสริมการลงทุนในชนบท ช่วยผู้ประกอบการที่เป็นนิติบุคคล   มีสินทรัพย์เกิน 200 ลบ. ที่ช่วยส่งเสริมความรู้ SME รายย่อย หรือลงทุนโครงสร้างพื้นบานในชนบท หักภาษีได้ 2 เท่าแต่ไม่เกิน 10%

    รายงานข่าวจากกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2559 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการดำเนินธุรกิจของ SMEs (มาตรการพี่ช่วยน้อง) เพื่อเสริมสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการ SMEs  และมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนในชนบท เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเชิงเศรษฐกิจและสังคมในโครงการที่ท้องถิ่นมีความต้องการ โดยให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ดังนี้

  1.มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการดำเนินธุรกิจของ SMEs (มาตรการพี่ช่วยน้อง)

  บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามกฎหมายไทยที่มีสินทรัพย์ถาวรเกิน 200 ล้านบาท และการจ้างแรงงานเกิน 200 คน (พี่) หักรายจ่าย 2 เท่า แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของกำไรสุทธิก่อนหักรายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะหรือเพื่อการสาธารณะประโยชน์ และรายจ่ายเพื่อการศึกษาหรือเพื่อการกีฬาตามมาตรา 65 ตรี (3) สำหรับรายจ่ายที่ได้จ่ายเพื่อการส่งเสริมการดำเนินธุรกิจของ SMEs ที่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามกฎหมายไทยที่มีสินทรัพย์ถาวรไม่เกิน 200 ล้านบาท และการจ้างแรงงานไม่เกิน 200 คน (น้อง) เป็นระยะเวลา 3 รอบระยะเวลาบัญชี

    ลักษณะโครงการส่งเสริมการดำเนินธุรกิจอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

    1) การถ่ายทอดความรู้ ได้แก่ การบริหาร การตลาด การบัญชี เป็นต้น

    2) การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี และนวัตกรรม

    3) การเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต ลดต้นทุนการผลิต เพิ่มกำไร

                    4) การส่งเสริมการตลาด

    5) จ่ายค่าธรรมเนียมค้ำประกันสินเชื่อแทนผู้ประกอบการที่ได้รับการค้ำประกันสินเชื่อจากบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม

     บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยจะต้องไม่ถือหุ้นทั้งทางตรงและทางอ้อม และไม่มีอำนาจควบคุมหรือกำกับดูแลการดำเนินงานและบริหารงานของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้จ่ายไปเพื่อสนับสนุนการดำเนินกิจการ ค่าใช้จ่ายในโครงการส่งเสริมการดำเนินธุรกิจจะต้องได้รับการรับรองจาก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย

    2. มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนในชนบท

   บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย หักรายจ่าย 2 เท่า แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของกำไรสุทธิก่อนหักรายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะหรือเพื่อการสาธารณะประโยชน์ และรายจ่ายเพื่อการศึกษาหรือเพื่อการกีฬาตามมาตร 65 ตรี (3) สำหรับรายจ่ายที่ได้จ่ายให้แก่โครงการ ในการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน พัฒนาและปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยวในชนบท เป็นระยะเวลา 3 รอบระยะเวลาบัญชี โดยต้องเป็นโครงการที่ท้องถิ่นมีความต้องการจะพัฒนาในเชิงเศรษฐกิจและสังคม

   การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่

    1) ไฟฟ้า 2) ประปา 3) ถนน ทางพิเศษ หรือสัมปทาน 4) โทรคมนาคม หรือโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  5) พลังงานทางเลือก  6) ระบบบริหารจัดการน้ำ หรือการชลประทาน  7) ระบบป้องกันภัยธรรมชาติ ซึ่งรวมถึงระบบเตือนภัยและระบบจัดการเพื่อลดความรุนแรงของภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นด้วย 8) ระบบจัดการของเสีย  9) โครงการที่มี 1) – 8) ประกอบกัน

  ทั้งนี้  การลงทุนดังกล่าวจะต้องสอดคล้องกับระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2548

    พัฒนาและปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยว ตามแผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ได้แก่

   1) อุทยานแห่งชาติ  2) โบราณสถาน  3) แหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ ที่อยู่ในการกำกับดูแลของส่วนราชการ หรือองค์การของรัฐ

    โครงการดังกล่าวต้องได้รับการรับรองโดยส่วนราชการ หรือองค์การของรัฐ

   ต้องโอนกรรมสิทธิ์ในโครงสร้างพื้นฐาน พัฒนาและปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยวให้กับส่วนราชการ หรือองค์การของรัฐ โดยไม่มีค่าตอบแทน

   ทั้งนี้ มาตรการทั้ง 2 ให้เริ่มใช้สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 แต่ไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561 และให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด

คลังคลอด สินเชื่อประชารัฐช่วยผู้มีรายได้น้อยในชุมชนเมือง รายละไม่เกิน 50,000 บ. ดอกเบี้ย 0% ในปีแรก ผ่านแบงก์ออมสินถึง 31 ธ.ค.นี้

 คลัง ออกสินเชื่อประชารัฐช่วยผู้มีรายได้น้อยในชุมชนเมือง รายละไม่เกิน 50,000 บ. ดอกเบี้ย 0% ในปีแรก ส่วนปีที่  2- 5 ดอกเบี้ย 1%  ผ่านแบงก์ออมสินถึง 31 ธ.ค.นี้  ชี้จะช่วยเป็นทุนในการประกอบอาชีพ ชำระหนี้นอกระบบ และลดความเหลื่อมล้ำ  

  นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า จากการที่รัฐบาลได้มีนโยบายในการสนับสนุนให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยได้มีโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบเพื่อการประกอบอาชีพ อีกทั้งยังมีนโยบายส่งเสริมการให้ความรู้ทางการเงิน(Financial Literacy) แก่ประชาชนระดับฐานรากให้มีความรู้ทางการเงิน สามารถพึ่งพาตนเองได้ และลดการพึ่งพาแหล่งเงินกู้นอกระบบ กระทรวงการคลังโดยธนาคารออมสินจึงได้เสนอมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยในชุมชนเมืองตามแนวทางประชารัฐ และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบมาตรการดังกล่าว เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม  2559โดยประกอบด้วย 3 โครงการ สรุปได้ ดังนี้

 1) มาตรการสินเชื่อประชารัฐเพื่อประชาชน โดยให้สินเชื่อผู้ประกอบอาชีพอิสระรายย่อยทั่วไปเช่น พ่อค้า แม่ค้า ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้าง ผู้ให้บริการรถรับจ้างสาธารณะ กลุ่มแม่บ้านที่รวมตัวกันเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชน หรือผู้รับจ้างให้บริการทั่วไป เป็นต้น รายละไม่เกิน 50,000 บาท เพื่อเป็นเงินทุน เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการประกอบอาชีพ  แก้ปัญหาและบรรเทาความเดือดร้อนในการดำรงชีพ และชำระหนี้สินอื่น ๆ รวมทั้งหนี้นอกระบบ ระยะเวลาชำระคืนเงินกู้ 5 ปี อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในปีที่ 1 ร้อยละ 0 ต่อเดือน และในปีที่ 2 - 5 ร้อยละ 1 ต่อเดือนโดยเงื่อนไขนี้จะสิ้นสุดในวันที่ 31 ธันวาคม 2559

  2) มาตรการประชารัฐเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินประชาชนภายใต้นโยบายรัฐบาล เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่ลูกค้าของธนาคารออมสินที่ใช้บริการสินเชื่อและอยู่ในระหว่างการผ่อนชำระคืนที่มีความประสงค์จะขอพักชำระหนี้ชั่วคราวหรือขอขยายระยะเวลาชำระหนี้เพื่อลดภาระรายจ่าย โดยพักชำระเงินต้นและชำระเฉพาะดอกเบี้ยได้นานสูงสุดเป็นระยะเวลา 3 ปี ขยายระยะเวลาชำระหนี้เพิ่มได้เท่ากับระยะเวลาพักชำระเงินต้นหรือขยายเวลาการชำระหนี้ได้ 2 เท่าของระยะเวลาคงเหลือตามสัญญาเงินกู้ สูงสุดไม่เกิน 20 ปี ตามเงื่อนไขของสินเชื่อแต่ละประเภท ทั้งนี้ สามารถติดต่อขอเข้าร่วมมาตรการภายในวันที่ 31 สิงหาคม 2559

 3) โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาอาชีพและสร้างความรู้ทางการเงินแก่ผู้ประกอบอาชีพรายย่อยในชุมชนเมือง โดยจัดอบรมหลักสูตรการให้ความรู้ทางการเงินแก่บุคคลในครอบครัวของประชาชนฐานราก และการพัฒนาและส่งเสริมอาชีพให้แก่ผู้ประกอบการรายย่อย ผู้ประกอบอาชีพอิสระ หรือผู้ที่สนใจเข้ารับการอบรม จำนวน 150,000 ครอบครัว ครอบครัวละ 1 คน กระจายตามพื้นที่ทุกจังหวัดทั่วประเทศ โดยจะมีการจัดอบรมในช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนธันวาคม 2559

 นายกฤษฎาฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า “มาตรการให้ความช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยในชุมชนเมืองตามแนวทางประชารัฐจะช่วยให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบเพื่อการประกอบอาชีพ บรรเทาความเดือดร้อนภายในครอบครัว ลดปัญหาเงินกู้นอกระบบ ช่วยยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ให้อยู่ดีขึ้น นอกจากนี้ ยังช่วยให้ประชาชนในระดับฐานรากได้รับความรู้ทางการเงิน เห็นความสำคัญของการวางแผนทางการเงินของครอบครัว สามารถบริหารรายได้รายจ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีเงินออมเป็นหลักประกันทางการเงินของครอบครัว ลดการพึ่งพาแหล่งเงินกู้นอกระบบและลดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคม

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!