WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

สรรพากร เผย 1 ต.ค. 58 เรียกเก็บภาษี VAT ในอัตรา 10% หรือไม่ ขึ้นอยู่กับรัฐบาลขณะนั้นเป็นผู้ตัดสินใจ

    นายประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า เหตุผลที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ยังคงให้เก็บภาษี VAT ในอัตราเดิมที่ 7% ออกไปอีก 1 ปี เนื่องจากเห็นว่าเศรษฐกิจของประเทศเพิ่งจะเริ่มฟื้นตัว ดังนั้นจึงต้องการช่วยบรรเทาปัญหาค่าครองชีพให้แก่ประชาชน ซึ่งถือว่าการตัดสินใจของ คสช.มาได้ถูกทางแล้ว

    โดยปกติแล้วก่อนที่จะครบกำหนด 6 เดือน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะมีการพิจารณาร่วมกันเพื่อประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจโดยรวม สถานการณ์ค่าครองชีพ ตลอดจนปัจจัยแวดล้อมจากเศรษฐกิจของประเทศเพื่อนบ้านมาประกอบการพิจารณาว่าจะมีการปรับเปลี่ยนอัตราภาษี VAT หรือไม่ ซึ่งในปัจจุบันจะพบว่าอัตราภาษี VAT ของไทยที่ 7% ถือว่าต่ำสุดในอาเซียนแล้ว จากที่บางประเทศมีการเรียกเก็บสูงถึง 15%

    "การจะต่อหรือไม่ต่ออายุนั้น ปกติแล้วในช่วงก่อนจะหมดอายุ 6 เดือนจะมีการพิจารณาแนวโน้มเศรษฐกิจกันว่าการกินดีอยู่ดีของประชาชนเป็นอย่างไร ภาวะค่าครองชีพเป็นอย่างไร ต้องมองภาพรวมหลายๆ อย่าง ก่อนจะตัดสินใจว่าจะยังคงเป็น 7 หรือเป็น 8 หรือเป็น 10 ต้องมองปัจจัยหลายๆ อย่างประกอบกัน มันเป็นเรื่อง sensitive พอสมควร"อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวให้สัมภาษณ์ผ่านรายการโทรทัศน์

     อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวต่อว่า คสช.เล็งเห็นว่าภาวะเศรษฐกิจที่ผ่านมาเป็นช่วงขาลง ประชาชนหรือผู้มีรายได้น้อยมีความลำบาก คสช.เห็นว่าช่วงนี้เศรษฐกิจเพิ่งจะเริ่มมาเป็นขาขึ้น ดังนั้นจึงเห็นว่าให้เก็บที่อัตรา 7% ต่อไปอีกปี เพื่อมิให้เกิดแรงกระเพื่อมต่อภาวะค่าครองชีพทั้งหลาย

    "ตอนที่ผมเข้าไปชี้แจงกฎหมายต่อพล.อ.ประยุทธ์ ก่อนที่จะขยายเวลา 7% ออกไปอีกนั้น ท่านได้สอบถามว่าประชาชนจะมีผลกระทบมากน้อยอย่างไร ท่านเป็นห่วงประชาชนพอสมควร" อธิบดีกรมสรรพากร ระบุ

    ทั้งนี้ ภายหลังจากครบกำหนด 1 ปีแล้ว คือ ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.58 จะมีการเรียกเก็บภาษี VAT ในอัตรา 10% ตามเพดานสูงสุดที่มีอยู่เดิมตามกฎหมายหรือไม่นั้น คงต้องขึ้นอยู่กับรัฐบาลในขณะนั้นที่จะตัดสินใจ แต่หากหลังจาก 1 ต.ค.58 ไปแล้วไม่มีการขยายเวลาการจัดเก็บภาษี VAT ที่ 7% ออกไปอีก ก็จะกลายมาเป็นอัตราภาษีที่ 10% โดยอัตโนมัติทันที

    อนึ่ง การเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา 7% นั้น เป็นการรวมอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มที่ 6.3% และภาษีท้องถิ่นอีก 0.7% ส่วนภาษีมูลค่าเพิ่มที่อัตรา 10% ตามเพดานสูงสุดที่มีอยู่เดิมในกฎหมายนั้น หมายถึงอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม 9% รวมกับภาษีท้องถิ่นอีก 1%

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

คลัง เผยจัดเก็บรายได้ 9 เดือนปีงบ 57 ต่ำเป้า 6.6% รับผลเศรษฐกิจชะลอตัว

   นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) เปิดเผยว่า การจัดเก็บรายได้รัฐบาลในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2557 (ต.ค.56-มิ.ย.57) รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้สุทธิทั้งสิ้น 1,552,633 ล้านบาท ต่ำกว่าเป้าหมาย 110,242 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.6(ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 4.2) โดยการจัดเก็บรายได้ของ 3 กรมจัดเก็บภาษีสังกัดกระทรวงการคลังต่ำกว่าประมาณการ 162,356 ล้านบาท หรือร้อยละ 9.1

    เนื่องจากภาษีที่จัดเก็บจากฐานการค้าระหว่างประเทศ ได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่มจากการนำเข้าและอากรขาเข้าจัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมาย ซึ่งเป็นผลจากการหดตัวของมูลค่าการนำเข้าที่สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ ประกอบกับการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลต่ำกว่าประมาณการ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงส่งผลให้ผลประกอบการของภาคเอกชนไม่ขยายตัวเท่าที่ประมาณการไว้ ทำให้การยื่นชำระภาษีจากผลประกอบการรอบปีบัญชี 2556 ต่ำกว่าประมาณการ

     นอกจากนั้น ภาษีที่จัดเก็บจากฐานการอุปโภคบริโภคโดยเฉพาะภาษีสรรพสามิตรถยนต์และภาษีน้ำมันจัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมาย เนื่องจากอุปสงค์รถยนต์ในประเทศหดตัวมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ และการขยายระยะเวลาปรับลดอัตราภาษีน้ำมันดีเซล

    อย่างไรก็ดี การนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจและการจัดเก็บรายได้ของหน่วยงานอื่นสูงกว่าประมาณการ โดยการนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจสูงกว่าประมาณการ 26,021 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 27.8 และการจัดเก็บรายได้ของหน่วยงานอื่นสูงกว่าประมาณการ 14,514 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 17.3

    ขณะที่ในเดือนมิถุนายน 2557 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 192,781 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 16,771 ล้านบาท หรือร้อยละ 8.0 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 5.3) ส่งผลให้ในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2557 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 1,552,633 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 110,242 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.6 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 4.2)

    นายกฤษฎา กล่าวว่า การจัดเก็บรายได้รัฐบาลยังคงได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง และการขยายระยะเวลาลดอัตราภาษีน้ำมันเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน ส่งผลให้การจัดเก็บรายได้รัฐบาลต่ำกว่าเป้าหมาย อย่างไรก็ดี จากแนวโน้มเศรษฐกิจของประเทศที่มีสัญญาณดีขึ้น ประกอบกับการดำเนินมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีของกรมจัดเก็บภาษี คาดว่าจะเป็นผลดีต่อการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลในช่วงที่เหลือของปีงบประมาณ

                        อินโฟเควสท์

คลัง เผยยอดเก็บรายได้ 9 เดือนแรกของปีงบ 57 อยู่ที่ 1.55 ล้านลบ. ต่ำกว่าเป้าหมาย 6.6%

     นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังเปิดเผยว่า “การจัดเก็บรายได้รัฐบาลในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2557 (ตุลาคม 2556 – มิถุนายน 2557) รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิทั้งสิ้น 1,552,633 ล้านบาท ต่ำกว่าเป้าหมาย 110,242 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.6 เนื่องจากภาษีที่จัดเก็บจากฐานการค้าระหว่างประเทศ ได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่มจากการนำเข้าและอากรขาเข้าจัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมาย ซึ่งเป็นผลจากการหดตัวของมูลค่าการนำเข้าที่สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ ประกอบกับการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลต่ำกว่าประมาณการ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงส่งผลให้ผลประกอบการของภาคเอกชนไม่ขยายตัวเท่าที่ประมาณการไว้ ทำให้การยื่นชำระภาษีจากผลประกอบการรอบปีบัญชี 2556 ต่ำกว่าประมาณการ

    นอกจากนั้น ภาษีที่จัดเก็บจากฐานการอุปโภคบริโภคโดยเฉพาะภาษีสรรพสามิตรถยนต์และภาษีน้ำมันจัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมาย เนื่องจากอุปสงค์รถยนต์ในประเทศหดตัวมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ และการขยายระยะเวลาปรับลดอัตราภาษีน้ำมันดีเซล อย่างไรก็ดี การนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจและการจัดเก็บรายได้ของหน่วยงานอื่นสูงกว่าประมาณการ”

    ทั้งนี้ นายกฤษฎาฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า “การจัดเก็บรายได้รัฐบาลยังคงได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง และการขยายระยะเวลาลดอัตราภาษีน้ำมันเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน ส่งผลให้การจัดเก็บรายได้รัฐบาลต่ำกว่าเป้าหมาย อย่างไรก็ดี จากแนวโน้มเศรษฐกิจของประเทศที่มีสัญญาณดีขึ้น ประกอบกับการดำเนินมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีของกรมจัดเก็บภาษี คาดว่าจะเป็นผลดีต่อการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลในช่วงที่เหลือของปีงบประมาณ”

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!