WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Cเอกนต นตทณฑประภาศบอร์ด PPP ให้ TOP ขยายเวลาเช่าที่ธนารักษ์อีก 30 ปี-ให้ตั้งกก.หาเอกชนเดินรถไฟฟ้าสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย

   ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP) วันนี้ มีมติให้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาแนวทางการให้เช่าที่ราชพัสดุที่ปัจจุบันใช้ประกอบธุรกิจโรงกลั่นของ บมจ.ไทยออยล์ (TOP) ใน อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี โดยมีความเห็นให้บริษัทเช่าที่ต่อไปอีกเป็นระยะเวลา 30 ปี เพื่อรองรับการลงทุนเพิ่มเติมของบริษัทอีกประมาณ 120,000 ล้านบาท

    "เป็นทางเลือกที่ก่อให้เกิดประโยชน์กับภาครัฐ ประกอบกับการดำเนินการดังกล่าวจะสร้างความต่อเนื่องในการดำเนินกิจการของภาครัฐ และช่วยสนับสนุนความมั่นคงทางด้านพลังงานของประเทศ และให้กำหนดผลประโยชน์ตอบแทนให้แก่ภาครัฐในอัตราที่สูงกว่าอัตราผลตอบแทนตามราคาตลาด" นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ผู้อำนวยการ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) กล่าว

    ทั้งนี้ ที่ประชุมมีการตั้งข้อสังเกตและมอบหมายให้กรมธนารักษ์มีการประเมินมูลค่าตลาดของค่าเช่าจากผู้ประเมินอิสระอีกครั้ง ก่อนการกำหนดผลตอบแทนในการให้เช่าที่ราชพัสดุดังกล่าวเพื่อประโยชน์สูงสุดของรัฐ และให้ดำเนินการพิจารณารายละเอียดทั้งหมดภายใน 3 เดือนก่อนนำเสนอกลับมายังที่ประชุมคณะกรรมการ PPP อีกครั้ง

     นอกจากนี้ ที่ประชุมมอบหมายให้กระทรวงคมนาคมและการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) ไปพิจารณาในเรื่องของแผนแม่บทโครงการพัฒนาพื้นที่ท่าเรือกรุงเทพ โดยให้ไปหารือกับทางสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเกี่ยวกับการใช้สิทธิดังกล่าว ให้สอดคล้องกับข้อจำกัดทางกฏหมายของการใช้ประโยชน์ที่ดินประกอบการพิจารณาในโครงการพัฒนาพื้นที่ 17 ไร่ต่อไป

    นายเอกนิติ กล่าวว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบในหลักการให้เอกชนร่วมลงทุนในโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายช่วงหัวลำโพง-บางแค และ ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ ที่กำหนดให้มีการเดินรถแบบต่อเนื่อง (Through Operation) สำหรับการเดินรถโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน โดยให้เอกชนเป็นผู้ลงทุนงานระบบรถไฟฟ้าและให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุง แบบ PPP net cost โดยให้ตั้งคณะกรรมการตามมาตรา 35 ของ พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ ขึ้นมากำหนดร่างทีโออาร์ รวมถึงคัดเลือกบริษัทเอกชนที่จะมาเดินรถ ซึ่งสามารถเจรจากับเอกชนรายเดิมที่เดินรถ MRT อยู่แล้ว หรือเปิดเจรจากับรายใหม่ หลังจากพิจารณาแล้วเสร็จให้กลับมานำเสนอคณะกรรมการ PPP อีกครั้ง

      อีกทั้ง ที่ประชุมฯ ยังได้ติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานของ 4 โครงการภายใต้มาตรการ PPP Fast Track ของกระทรวงคมนาคม ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู (ช่วงแคราย-มีนบุรี) และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ช่วงลาดพร้าว-สำโรง) โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 35 ของ พ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ.2556 (พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ) ตามกำหนดระยะเวลาของ PPP Fast Track และโครงการ Motorway สายบางปะอิน-นครราชสีมา และสายบางใหญ่-กาญจนบุรี ซึ่งกรมทางหลวงคาดว่าจะเสนอกระทรวงคมนาคมได้ในเดือน พ.ค.นี้ รวมทั้งได้รับทราบการใช้บังคับของกฎกระทรวงที่ได้เพิ่มมูลค่าโครงการ PPP ที่ต้องดำเนินการตามขั้นตอนของ พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ เป็น 5 พันล้านบาท ตั้งแต่วันที่ 26 เม.ย.59

     พร้อมกันนี้ ได้รับทราบความคืบหน้าการดำเนินงานของกองทุนส่งเสริมการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐที่ได้มีการให้เงินสนับสนุนการจ้างที่ปรึกษาสำหรับโครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของ จังหวัดเชียงราย ของกรมการขนส่งทางบกแล้ว

                        อินโฟเควสท์

บอร์ด PPP ให้ตั้งกก.หาเอกชนเดินรถไฟฟ้าสีน้ำเงินส่วนต่อขยายเปิดทางเจรจารายเดิม-หารายใหม่

     คณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP) มีมติเห็นชอบในหลักการให้เอกชนร่วมลงทุนในโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายช่วงหัวลำโพง-บางแค และ ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ ที่กำหนดให้มีการเดินรถแบบต่อเนื่อง (Through Operation) สำหรับการเดินรถโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน โดยให้เอกชนเป็นผู้ลงทุนงานระบบรถไฟฟ้าและให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุง แบบ PPP net cost

    นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ผู้อำนวยการ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) กล่าวว่า ที่ประชุมให้ตั้งคณะกรรมการตามมาตรา 35 ของ พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ ขึ้นมากำหนดร่างทีโออาร์ รวมถึงคัดเลือกบริษัทเอกชนที่จะมาเดินรถ ซึ่งสามารถเจรจากับเอกชนรายเดิมที่เดินรถ MRT อยู่แล้ว หรือเปิดเจรจากับรายใหม่ หลังจากพิจารณาแล้วเสร็จให้กลับมานำเสนอคณะกรรมการ PPP อีกครั้ง

   "รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายหากเกิดขึ้นได้จะส่งผลดีต่อภาพรวมเศรษฐกิจจะทำให้ผู้ลงทุนเกิดความมั่นใจ"นายเอกนิติ กล่าว

  ทั้งนี้ เอกชนจะเป็นผู้รับผลประโยชน์และความเสี่ยงจากค่าโดยสารในการเดินรถและซ่อมบำรุงโครงการ เป็นระยะเวลา 30 ปี และภาครัฐไม่มีภาระทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการสนับสนุนภาระทางการเงินและการลงทุนของภาคเอกชน ทั้งนี้ให้เอกชนดำเนินการติดตั้งระบบรถไฟฟ้าช่วงเตาปูน-บางซื่อให้แล้วเสร็จภายใน 15 เดือน และสามารถเริ่มเดินรถเป็นลำดับแรกก่อน ซึ่งวงเงินลงทุนรวมของโครงการทั้งหมดจะอยู่ที่ประมาณ 84,000 ล้านบาท

  อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!