WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Gสวชญ โรจนวานชสบน.เผย หนี้สาธารณะเดือนก.พ.59 อยู่ที่ 44.13% ของจีดีพี เพิ่มขึ้น 2.51 หมื่นลบ.จากเดือนม.ค.ที่ 44.06% ของจีดีพี

    สบน.เผย หนี้สาธารณะเดือนก.พ.59 อยู่ที่ 44.13% ของจีดีพี เพิ่มขึ้น 2.51 หมื่นลบ.จากเดือนม.ค.ที่ 44.06% ของจีดีพี ชี้พ.ค.นี้ จะออกพันธบัตรรัฐบาล 2 หมื่นลบ. เพื่อชดเชยขาดดุลงบประมาณ และพันธบัตรที่ครบกำหนด ขณะที่แผนกู้เงินปีนี้ฉลุย รับอานิสงส์ดอกเบี้ยต่ำตามนโยบายดอกเบี้ยติดลบในหลายประเทศ

    นายสุวิชญ โรจนวานิช ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ได้รายงานสถานะหนี้สาธารณะคงค้าง และผลการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐ ดังนี้ หนี้สาธารณะคงค้าง ณ 29 กุมภาพันธ์ 2559 มีจำนวน 6,005,787.17 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 44.13 ของ GDP และเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมกราคม 2559 ที่อยู่ที่ 44.06% ของ GDP 

   นายสุวิชญ กล่าวถึงแผนการก่อหนี้ของรัฐบาล หรือ การกู้เงินในปีนี้ คาดว่าจะเป็นไปตามแผนที่วางไว้ เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยต่ำ จากหลายประเทศมีการดำเนินนโยบายอัตรดอกเบี้ยติดลบ ทั้งนี้จากการดำเนินการดังกล่าวยังส่งผลให้มีเงินไหลเข้าไทยเป็นจำนวนมาก เนื่องจากมีความเสี่ยงต่ำ ซึ่งในเดือนพฤษภาคมนี้ สบน.จะออกพันธบัตรรัฐบาล วงเงิน 20,000 ล้านบาท ระยะ 5 และ 10 ปี เพื่อนำมาชดเชยขาดดุลงบประมาณ และไทยเข้มแข็งที่จะครบกำหนดไถ่ถอน 80,000 ล้านบาท 

   ส่วนแผนดำเนินโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานนั้น จากที่กระทรวงคมนาคมรายงานนั้น คาดว่า จะมี 8 โครงการที่สามารถดำเนินการได้ตามแผนที่วางไว้ และอีก 12 โครงการอยู่ระหว่างการเร่งรัดให้เป็นไปตามแผน

  โดย หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์เพิ่มขึ้นสุทธิ 25,126.50 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น หนี้ของรัฐบาล จำนวน 4,415,351.76 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 27,865.09 ล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน จำนวน 1,044,482.35 ล้านบาท ลดลง 134.68 ล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) จำนวน 528,522.96 ล้านบาท ลดลง 2,608.22 ล้านบาท และหนี้หน่วยงานของรัฐ จำนวน17,430.10 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.31 ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้

   หนี้ของรัฐบาล จำนวน 4,415,351.76 ล้านบาท เพิ่มขึ้นสุทธิ 27,865.09 ล้านบาท โดยการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญเกิดจากการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ จำนวน 23,779 ล้านบาท การกู้เงินเพื่อการลงทุนจากแหล่งเงินกู้ในประเทศและต่างประเทศ จำนวน 4,976.24 ล้านบาท มีรายการ ดังนี้

   1. การกู้เงินเพื่อให้กู้ต่อ จำนวน 4,644.22 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย จำนวน 381.70 ล้านบาท สำหรับดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงและสายสีเขียว การรถไฟแห่งประเทศไทย จำนวน 4,262.52 ล้านบาท สำหรับดำเนินโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น และเส้นทางรถไฟ สายชายฝั่งทะเลตะวันออก ช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย พร้อมทางคู่เลี่ยงเมือง (Chord Line) จำนวน 3 แห่ง โครงการปรับปรุงทางรถไฟที่ไม่ปลอดภัย 8 สายทาง และโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง

   2. การกู้เงินบาททดแทนการกู้เงินตราต่างประเทศ จำนวน 268 ล้านบาท เพื่อใช้ในการดำเนินโครงการเงินกู้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (DPL)

   3. การเบิกจ่ายเงินกู้สำหรับโครงการก่อสร้างทางสายหลักเป็น 4 ช่องจราจร (ระยะที่ 2) ของกรมทางหลวง จำนวน 64.02 ล้านบาท

  การชำระหนี้เงินต้น ดอกเบี้ย และค่าธรรมเนียมจากหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง จำนวน 1,987.13 ล้านบาท แบ่งเป็น

  การชำระหนี้เงินกู้ที่รัฐบาลให้กู้ต่อแก่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย จำนวน 1,383.09 ล้านบาท  การชำระคืนต้นเงินกู้ต่างประเทศ จำนวน 374.49 ล้านบาท การชำระคืนดอกเบี้ย จำนวน 217.83 ล้านบาท (แบ่งเป็น ดอกเบี้ยหนี้ในประเทศ จำนวน 90.36 ล้านบาท และดอกเบี้ยหนี้ต่างประเทศ จำนวน 127.47 ล้านบาท)

   การชำระค่าธรรมเนียม จำนวน 11.72 ล้านบาท โดยเป็นค่าธรรมเนียมในการจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ของกระทรวงการคลัง ปีงบประมาณ 2559 ครั้งที่ 1

  การชำระหนี้ที่รัฐบาลกู้เพื่อชดเชยความเสียหายให้แก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน โดยใช้เงินจากบัญชีสะสมเพื่อการชำระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ จำนวน 1,757.97 ล้านบาท แบ่งเป็นชำระเงินต้น จำนวน 238.28 ล้านบาท และชำระดอกเบี้ย จำนวน 1,519.69 ล้านบาทผลของอัตราแลกเปลี่ยนทำให้หนี้ต่างประเทศสกุลต่างๆ เพิ่มขึ้น 1,105.73 ล้านบาท

  หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน จำนวน 1,044,482.35 ล้านบาท ลดลงสุทธิ 134.68 ล้านบาท โดยการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญเกิดจาก

 ผลของอัตราแลกเปลี่ยนทำให้หนี้ต่างประเทศสกุลต่างๆ เพิ่มขึ้น 2,628.63 ล้านบาท

 การไถ่ถอนพันธบัตรที่ครบกำหนดของ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) จำนวน 1,000 ล้านบาท

 การชำระคืนหนี้เงินต้นมากกว่าการเบิกจ่ายทำให้หนี้ลดลง 1,755.36 ล้านบาท โดยรายการที่สำคัญ เกิดจากการชำระหนี้เงินต้นของ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน 1,250.66 ล้านบาท

  หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) จำนวน 528,522.96 ล้านบาท ลดลงสุทธิ 2,608.22 ล้านบาท โดยรายการที่สำคัญเกิดจากการชำระหนี้เงินต้นของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จำนวน 1,578 ล้านบาท และการไถ่ถอนพันธบัตรที่ครบกำหนดของธนาคารอาคารสงเคราะห์ จำนวน 1,000 ล้านบาท

 หนี้หน่วยงานของรัฐ จำนวน 17,430.10 ล้านบาท เพิ่มขึ้นสุทธิ 4.31 ล้านบาท โดยเกิดจากการเบิกจ่ายและชำระคืนต้นเงินกู้ของสำนักงานธนานุเคราะห์ จำนวน 34.31 ล้านบาท และ 25 ล้านบาท ตามลำดับ และการชำระคืนต้นเงินกู้ของมหาวิทยาลัยพะเยา จำนวน 5 ล้านบาท

 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2559 สบน. มีการบริหารจัดการหนี้รัฐวิสาหกิจ วงเงิน 19,500 ล้านบาท โดยเป็นการปรับโครงสร้างหนี้ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จำนวน 18,500 และ 1,000 ล้านบาท ตามลำดับ

 หนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2559 เท่ากับ 6,005,787.17 ล้านบาท แบ่งเป็นหนี้ในประเทศ 5,652,533.66 ล้านบาท หรือร้อยละ 94.12 และหนี้ต่างประเทศ 353,253.51 ล้านบาท (ประมาณ 10,087.77 ล้านเหรียญสหรัฐ) หรือร้อยละ 5.88 ของหนี้สาธารณะคงค้างทั้งหมด และแบ่งเป็นหนี้ระยะยาว 5,725,074.08 ล้านบาท หรือร้อยละ 95.33 และหนี้ระยะสั้น 280,713.09 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.67 ของหนี้สาธารณะคงค้างทั้งหมด

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!