WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Gอภศกดคลังไร้วิตกยุโรปลดดอกเบี้ยชี้บาทแข็งค่าแต่ยังแข่งได้ย้ำ!หมดห่วงหนี้ครัวเรือน

      ไทยโพสต์ : พระราม 6 * ขุนคลังไร้กังวล ยุโรปลดดอกเบี้ย ชี้ไม่กระทบเศรษฐกิจไทย รับทำให้บาทแข็ง แต่ยังแข่งได้ ระบุนโยบายการเงิน-การคลังประสานอุ้มเศรษฐกิจได้ดี สบน.แจงระดับหนี้ครัวเรือนไม่น่าห่วง เหตุโตในอัตราชะลอต่อเนื่อง มาอยู่ 80.8% ของจีดีพี

       นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.การคลัง เปิดเผยถึงกรณีธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากเดิม 0.05% เป็น 0.0% และลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากจาก -0.3% เป็น -0.4% ว่า ภาวะเศรษฐกิจและตลาดการเงินของยุโรปจะไม่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย ซึ่งการลดดอก เบี้ยอาจทำให้มีเงินทุนไหลเข้า มาในเอเชียมากขึ้น แม้ว่าจะกระทบต่ออัตราแลกเปลี่ยนให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นบ้าง แต่เป็น การแกว่งตัวขึ้นๆ ลงๆ ตามสภาพ ทั่วไป ซึ่งไม่น่าเป็นห่วง เพราะค่าเงินบาทยังแข็งค่าน้อยกว่าบางประเทศคู่แข่งในภูมิภาค

      "ยืนยันว่าไทยมีการร่วมมือกันทั้งนโยบายการคลังและนโยบายการเงินในการสนับสนุนให้เศรษฐกิจเติบโตได้อย่างมีเสถียรภาพ การตัดสินใจลดอัตราดอกเบี้ยของอีซีบี ส่งผลกระทบน้อยกว่าเมื่อเทียบกับการลดดอกเบี้ยของธนาคารสหรัฐ ดังนั้นจึงยังไม่มีอะไรต้องกังวล" นายอภิศักดิ์กล่าว

     นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า ระดับหนี้ครัวเรือนของไทยมีแนวโน้มขยายตัวชะลอลงอย่างต่อเนื่อง โดยในไตรมาส 3 ปี 2558 ระดับหนี้ครัวเรือนมีมูล ค่ารวม 10.84 ล้านล้านบาท หรือ 80.8% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) คิดเป็นการขยายตัว 5.5% จากช่วงเดียวกันปีก่อน ซึ่งเป็นการขยายตัวที่ชะลอลงติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 11

  โดยสินเชื่อทุกประเภท มีแนวโน้มขยายตัวชะลอลง โดยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยขยายตัว 9.2% สินเชื่อบัตรเคร ดิตขยายตัว 6.5% สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ (สินเชื่อ Non-Bank) ขยายตัว 3.8% จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่สินเชื่อรถยนต์หดตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3 อัตราลบ 4.5%.

คลังแจงหนี้ครัวเรือนชะลอตัวยืนยันไม่เป็นอุปสรรคแผนกระตุ้นศก.

     แนวหน้า : นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง  ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลังเปิดเผยว่าสถานการณ์หนี้ครัวเรือนในปัจจุบัน ซึ่งเป็นประเด็นที่สาธารณะให้ความสนใจและเริ่มมีความกังวลถึงแนวโน้มของหนี้ครัวเรือนที่หากมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ส่งผลให้เกิดการก่อหนี้เพิ่มเติมอาจจะกระทบต่อความสามารถในการชำระหนี้และความยั่งยืนทางเศรษฐกิจได้นั้น

       กระทรวงการคลังขอชี้แจงว่าระดับหนี้ครัวเรือนมีแนวโน้มขยายตัวชะลอลงต่อเนื่อง โดยในไตรมาสที่ 3 ปี 2558 ระดับหนี้ครัวเรือนมีมูลค่ารวม 10.84 ล้านล้านบาทหรือ 80.8% ของผลิตภัรฑ์มวลรวมภายในประเทศ( GDP) คิดเป็นการขยายตัว 5.5 % จากช่วงเดียวกันปีก่อน ซึ่งเป็นการขยายตัวที่ชะลอลงติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 11 โดยสินเชื่อทุกประเภทมีแนวโน้มขยายตัวชะลอลงหรือหดตัวโดยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อบัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ (สินเชื่อ Non-Bank) มีอัตราการขยายตัว 9.2% 6.5% และ 3.8% จากช่วงเดียวกันปีก่อน ตามลำดับ ขณะที่สินเชื่อรถยนต์หดตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3 ที่ -4.5%

     หากพิจารณาเชิงเปรียบเทียบจะพบว่า ระดับหนี้ครัวเรือนของไทยอยู่ใกล้เคียงกับ ประเทศในภูมิภาค ได้แก่มาเลเซียและสิงคโปร์ ซึ่งมีสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ที่ 88% และ 75% ตามลำดับ และถือว่าค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับประเทศพัฒนาแล้ว เช่น แคนาดา สหราชอาณาจักร และเดนมาร์ก เป็นต้น

     ทั้งนี้ ในช่วงที่ผ่านมา รัฐบาลได้ดำเนินมาตรการต่างๆ เพื่อสนับสนุนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ อย่างยั่งยืน โดยเร่งบรรเทาผลกระทบจากปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจไทยให้แก่ประชาชนผู้มีรายได้น้อย และเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบ จากปัญหาภัยแล้ง พร้อมทั้งสร้างความ เข้มแข็งให้แก่เศรษฐกิจฐานราก

                "กระทรวงการคลังยังคงเดินหน้าเสริมความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจ โดยดูแล ทุกภาคส่วน ควบคู่กับการวางรากฐานให้กับ เศรษฐกิจในระยะยาว เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจไทยอย่างยั่งยืน"  นายกฤษฎากล่าว

รมว.คลัง เร่งแก้อุปสรรค-กม.ลงทุนหวังเวิลด์แบงก์ยกอันดับไทยขึ้นติด 1 ใน 30

     นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง เปิดเผยถึงความคืบหน้าภายหลังการประชุมคณะทำงาน Doing Business ว่า กระทรวงการคลังได้ประสานการทำงานร่วมกันกับภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) เพื่อให้การทำธุรกิจของนักลงทุนสะดวกมากขึ้น ซึ่งเป็นการดำเนินการตามกรอบการทำงานของธนาคารโลกที่เสนอมา 8-9 ขั้นตอน โดยเฉพาะการแก้ไขกฎหมาย และลดขั้นตอนต่างๆ ในการทำธุรกรรมของเอกชนให้แข่งขันได้มากขึ้น

     ทั้งนี้ รัฐบาลยังได้ผลักดันให้มีการออก พ.ร.บ.การดำเนินธุรกิจ เพื่อทำให้เอสเอ็มอี สามารถนำสินค้าคงคลังมาเป็นตัวค้ำประกันได้ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มช่องทางในการทำธุรกิจได้มากขึ้น โดยกฎหมายดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 2 กรกฎาคม 2559 ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้การจัดอันดับความสะดวกในการดำเนินธุรกิจในไทยของธนาคารโลกที่จะเข้ามาตรวจสอบอีกครั้งในช่วงเดือน เม.ย.-พ.ค. นี้ ดีขึ้นจากปัจจุบันที่อยู่ที่อันดับที่ 49 จาก 189 ประเทศ

     “เราก็หวังว่าการดำเนินการของเราในครั้งนี้จะมีเรื่องดี ๆ เกิดขึ้น ซึ่งหลัก ๆ เราเน้นการปรับปรุงและส่งเสริมด้านการเริ่มต้นธุรกิจให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็น 1 ใน 10 ด้านที่ธนาคารโลกใช้เป็นเกณฑ์ในการประเมินอันดับความสะดวกในการดำเนินธุรกิจ หากไทยสามารถแก้ไขได้ดีใน 1 ด้าน อาจทำให้ไทยปรับขึ้นติดอันดับ 1 ใน 30 ได้" นายอภิศักดิ์ กล่าว

      อย่างไรก็ตาม การดำเนินการปรับปรุงการให้ความสะดวกในการดำเนินธุรกิจ มุ่งหวังที่จะให้เกิดการแข่งขันระยะยาวด้วยการให้ไทยมีภาพลักษณ์ที่ดีที่นักลงทุนคิดถึงเมื่อต้องการหาแหล่งลงทุนที่ดี ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้เกิดการลงทุนระยะยาวได้

      ด้านนายบุญทักษ์ หวังเจริญ ประธานสมาคมธนาคารไทย ยืนยันว่า เอกชนมีความพอใจกับแนวทางดังกล่าว และเป็นสิ่งที่ดีที่จะปรับปรุงการทำธุรกิจในเมืองไทยให้เกิดประโยชน์และสะดวกมากขึ้น ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้เอกชนต่างประเทศอยากเข้ามาลงทุนในไทยมากขึ้น

                อินโฟเควสท์

คลัง'อุ้ม'ผอ.สบน.'นั่งเก้าอี้ต่อ/ชี้คดียังไม่สิ้นสุด

     แนวหน้า : นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง ชี้แจงกรณีที่ ศาลอาญามีคำสั่งตัดสินจำคุก นายสุวิชญ โรจนวานิช ผู้อำนวยการ สำนักงาน บริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) 2 ปี โดยไม่รอ ลงอาญา เนื่องจากการปลด นายพีรกันต์ แก้ววงศ์วัฒนา ออกจากตำแหน่งกรรมการ ผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (แอร์พอร์ตลิ้งค์) ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นก่อนหน้าที่ ซึ่งนายสุวิชญ เองปฏิบัติหน้าที่ในฐานะตัวแทนของกระทรวงการคลัง

    "คดียังไม่สิ้นสุดถึงขั้นฎีกา จึงยังไม่ได้ให้มีการหยุดปฏิบัติหน้าที่ หรือพักงาน แต่อย่างใด โดย ผอ. สบน. ยังคงทำหน้าที่และ ปฏิบัติงานตามปกติ" รมว.คลัง กล่าว

      สำหรับ คดีดังกล่าวสืบเนื่องจากเมื่อเม.ย. 2557 คณะกรรมการบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด โดยนายจำรูญ ตั้งไพศาลกิจ อดีตประธานกรรมการ มีมติเลิกจ้างนายพีรกันต์ โดยให้ออกจากตำแหน่ง ทำให้นายพีรกันต์ นำเรื่องการถูกเลิกจ่ายโดยไม่ชอบมาฟ้องร้องศาลอาญาเพื่อดำเนินคดี

    นายอภิศักดิ์ยังกล่าวถึงกรณีที่ ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ประกาศปรับลด อัตราดอกเบี้ยนโยบายจากเดิม 0.05% เป็น 0.0% ลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากจาก -0.3% เป็น -0.4% ว่า ภาวะเศรษฐกิจและตลาด การเงินของยุโรปจะไม่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย ซึ่งการลดดอกเบี้ยอาจทำให้มีเงินทุนไหลเข้ามาในไทยมากขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี แม้ว่าจะกระทบต่ออัตราแลกเปลี่ยน ให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นบ้าง แต่ก็เป็นไปตามสภาพทั่วไป ซึ่งไม่น่าเป็นห่วง เมื่อเทียบกับ การลดดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่จะมีผลกระทบกับไทยมากกว่า

     ทั้งนี้ ที่ผ่านมาในส่วนของนโยบายการคลัง ก็ดูแลเศรษฐกิจอย่างเต็มที่ในการ ใส่เงินเข้าไปในระบบในช่วงที่เศรษฐกิจ ยังชะลอตัว รวมทั้งมาตรการด้านการคลัง ทั้งการปรับลดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ซึ่งทำไปค่อนข้าง เยอะแล้ว

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!