WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Gกฤษฎา จนะวจารณะคลัง เผยครม.ไฟเขียวแก้ไข พ.ร.บ.บสย.เพิ่มความคล่องตัว-ช่วย SMEs เข้าถึงแหล่งทุน

     นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวานนี้ (15 มี.ค.) เห็นชอบการแก้ไข พ.ร.บ.บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม พ.ศ.2534 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ เพื่อช่วยให้บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ซึ่งเป็นสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐมีความคล่องตัวในการบริหารจัดการองค์กร สามารถช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบการเงินได้อย่างกว้างขวางและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

     โดยสาระสำคัญ คือ แก้ไขเพิ่มเติมนิยามของคำว่า 'หลักทรัพย์''สถาบันการเงิน' และ 'การให้สินเชื่อ' เพื่อให้ บสย. สามารถช่วยเหลือ SMEs ผ่านการค้ำประกันสินเชื่อได้อย่างกว้างขวางมากขึ้น รวมทั้งเพื่อให้สอดคล้องกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง, แก้ไขเพิ่มเติมในหมวดการจัดการ เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ และกฎหมายจัดตั้งสถาบันการเงินเฉพาะกิจแห่งอื่นๆ, แก้ไขการให้รัฐบาลค้ำประกันเงินกู้ตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะ และเพิ่มบทบัญญัติให้ บสย. เป็นสถาบันการเงินภาครัฐ ตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะ เพื่อให้ บสย. เกิดความคล่องตัวในการดำเนินงานเช่นเดียวกับสถาบันการเงินเฉพาะกิจอื่นๆ, เพิ่มเติมการสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารจัดการหนี้ โดยการเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา รวมไปถึงยกเว้นบรรดาค่าธรรมเนียมที่เกิดขึ้น เพื่อลดเวลา และค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีของ บสย. ซึ่งจะช่วยลดกระบวนการทางศาลสำหรับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

    ภายหลังจากแก้ไข พ.ร.บ.ดังกล่าวแล้วจะช่วยให้ บสย.สามารถช่วยเหลือ SMEs ผ่านการค้ำประกันสินเชื่อได้อย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น เป็นการช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ SMEs และก่อให้เกิดเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ ตลอดจนสามารถบริหารองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพในภาวะเศรษฐกิจและการเงินที่มีการเปลี่ยนแปลงไป

    อินโฟเควสท์

คลังเผยครม.เห็นชอบมาตรการภาษีสำหรับกิจการเพื่อสังคม

       นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า รัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนการจัดตั้งกิจการที่ทำประโยชน์ให้แก่คนในชุมชน เช่น การสร้างงาน การช่วยเหลือสังคม โดยไม่มีการแบ่งปันผลกำไร ซึ่งในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวานนี้ (15 มี.ค.) มีมติเห็นชอบหลักการมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนวิสาหกิจเพื่อสังคม

สำหรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีดังกล่าว แบ่งเป็น

       1.สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับวิสาหกิจเพื่อสังคม ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิของวิสาหกิจเพื่อสังคมในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี ทั้งนี้ เฉพาะวิสาหกิจเพื่อสังคมที่นำผลกำไรทั้งหมดไปลงทุนในกิจการหรือใช้เพื่อประโยชน์ของเกษตรกร ผู้ยากจน คนพิการ ผู้ด้อยโอกาส หรือใช้เพื่อประโยชน์ส่วนรวมอื่นๆ โดยไม่มีการจ่ายเงินปันผล

    2.สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับผู้สนับสนุนวิสาหกิจเพื่อสังคมที่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล

     โดยกำหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสามารถหักรายจ่ายเงินลงทุนในหุ้นสามัญของวิสาหกิจเพื่อสังคมตามจำนวนที่ลงทุนจริง ทั้งนี้เฉพาะกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลถือหุ้นสามัญของวิสาหกิจเพื่อสังคมไว้จนกว่าบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นหรือวิสาหกิจเพื่อสังคมเลิกกิจการ และกำหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสามารถหักรายจ่ายเงินที่มอบให้หรือทรัพย์สินที่โอนให้วิสาหกิจเพื่อสังคมนำไปใช้ในกิจการหรือใช้เพื่อประโยชน์ของสังคมโดยไม่มีค่าตอบแทนตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่เมื่อรวมกับรายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะแล้วต้องไม่เกินร้อยละ 2 ของกำไรสุทธิก่อนหักรายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะ

    ทั้งนี้ หากจ่ายเงินดังกล่าวให้แก่ผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนไม่เกินร้อยละ 30 ของกำไรสุทธิในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีผู้สนับสนุนวิสาหกิจเพื่อสังคมจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีตามข้อ 2 แต่หากวิสาหกิจเพื่อสังคมไม่มีการจ่ายเงินปันผล วิสาหกิจเพื่อสังคมจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีตามข้อ 1 และผู้สนับสนุนวิสาหกิจเพื่อสังคมจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีตามข้อ 2

   อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!