- Details
- Category: คลัง
- Published: Saturday, 12 March 2016 10:50
- Hits: 1377
รมว.คลังชี้ ECB ลดดบ.ไม่มีผลต่อไทยมาก ยันเงินบาทขยับตามภูมิภาค พร้อมเร่งแก้อุปสรรคกฎหมายลงทุนหวังเวิลด์แบงก์ยกอันดับไทยขึ้นติด 1 ใน 30
นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยถึงกรณีที่ ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง ว่า ไม่น่าจะมีผลกระทบต่อไทยมากนัก โดยจะมีผลทำให้เกิดเงินทุนไหลเข้าไทยและในภูมิภาคมากขึ้นก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี อย่างไรก็ดี เห็นว่าประเทศไทยจะได้รับผลกระทบมากกว่าหากเป็นการตัดสินใจดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ย ของธนาคารกลางสหรัฐ (FED)
สำหรับ อัตราดอกเบี้ยของไทยปัจจุบันอยู่ในระดับต่ำและมีความเหมาะสมแล้ว ซึ่งนโยบายด้านการเงิน เพื่อดูแลเศรษฐกิจที่ผ่านมานั้น ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เข้ามาช่วยเหลือและดูแลได้อย่างดี ประกอบกับสภาพคล่องในตลาดยังดี อัตราแลกเปลี่ยนอยู่ในะระดับเหมาะสมและสามารถแข่ง ขันได้ ส่วนนโยบายด้านการคลังตอนนี้ทำหน้าที่ได้อย่างเต็มที่ ทั้งการเติมเงินเข้าระบบ การอัตราลด ภาษีทั้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และการส่งเสริมการลงทุนด้านต่างๆ ซึ่งเป็นเรื่องที่ได้ดำเนินการ ไปแล้วค่อนข้างมาก
ส่วนเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอยู่ในขณะนี้ ถือว่าเป็นการเคลื่อนไหวไปตามทิศทางเดียวกับค่าเงินในภูมิภาค อย่างไรก็ตามยังไม่อยากให้นำค่าเงินบาทไปเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เท่านั้น แต่อยากให้พิจารณาเปรียบ เทียบกับค่าเงินของประเทศคู่แข่งและประเทศเพื่อนบ้านด้วยว่าเป็นไปในทิศทางเดียวกันหรือไม่ ถ้า สอดคล้องกันก็ถือว่าเหมาะสม
"เศรษฐกิจไทยในตอนนี้ เดินหน้าไปได้บนความร่วมมือของนโยบายภาคการเงิน และการคลัง ด้วย จุดประสงค์ที่ต้องการทำให้ประเทศไทยเติบโตขึ้น และมีความยั่งยืนในอนาคต" รมว.คลัง กล่าว
นอกจากนี้ รมว.คลัง ยังเปิดเผยถึงความคืบหน้าภายหลังการประชุมคณะทำงาน Doing Business ว่า กระทรวงฯ ได้ประสานการทำ งานร่วมกันกับภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) เพื่อให้การทำธุรกิจของนักลงทุนสะดวกมากขึ้น ซึ่ง เป็นการดำเนินการตามกรอบการทำงานของธนาคารโลกที่เสนอมา 8-9 ขั้นตอน โดยเฉพาะการ แก้ไขกฎหมาย และลดขั้นตอนต่างๆ ในการทำธุรกรรมของเอกชนให้แข่งขันได้มากขึ้น
ทั้งนี้ รัฐบาลยังได้ผลักดันให้มีการออก พ.ร.บ.การดำเนินธุรกิจ เพื่อทำให้เอสเอ็มอี สามารถนำ สินค้าคงคลังมาเป็นตัวค้ำประกันได้ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มช่องทางในการทำธุรกิจได้มากขึ้น โดยกฎหมายดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 2 กรกฎาคม 2559 ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้การจัดอันดับความ สะดวกในการดำเนินธุรกิจในไทยของธนาคาร โลกที่จะเข้ามาตรวจสอบอีกครั้งในช่วงเดือน เม.ย.-พ.ค. นี้ ดีขึ้นจากปัจจุบันที่อยู่ที่อันดับที่ 49 จาก 189 ประเทศ ซึ่งหากไทยสามารถแก้ไขได้ดีใน 1 ด้าน อาจทำให้ไทยปรับขึ้นติดอันดับ 1 ใน 30 ได้
อย่างไรก็ตาม การดำเนินการปรับปรุงการให้ความสะดวกในการดำเนินธุรกิจ มุ่งหวังที่จะให้เกิด การแข่งขันระยะยาวด้วยการให้ไทยมีภาพลักษณ์ที่ดีที่นัก ลงทุนคิดถึงเมื่อต้องการหาแหล่งลงทุนที่ดี ซึ่ง เชื่อว่าจะทำให้เกิดการลงทุนระยะยาวได้
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย